แจ้งเคลมประกัน เสียประวัติไหม เบี้ยประกันแพงขึ้นจริงหรือเปล่า
แจ้งเคลมประกัน เสียประวัติไหม? คำถามนี้อาจเป็นคำถามที่ใครหลายคนสงสัย ว่าเมื่อซื้อประกันภัยรถยนต์แล้วแจ้งเคลมประกัน เสียประวัติไหม หรือหากเคลมบ่อยจะส่งผลเสียร้ายแรงหรือไม่ เจ้าหน้าที่ประกันจะเช็คประวัติการเคลมรถ และทำให้เบี้ยในปีถัดไปแพงขึ้นหรือไม่ วันนี้ แรบบิท แคร์ มีคำตอบ
เคลมประกันอย่างไร ไม่ให้เสียประวัติ
แจ้งเคลมประกัน เสียประวัติไหม? บอกเลยว่าเมื่อมีการแจ้งเคลมประกัน จะทำให้เสียประวัติในสัญญาปีนั้น ๆ อย่างแน่นอน เพราะเจ้าหน้าที่จะเช็คประวัติการเคลมรถว่าในรอบสัญญาที่ผ่านมา มีการเคลมไปทั้งหมดกี่ครั้ง หากมีการเคลมโดยที่เราเป็นฝ่ายผิด จะทำให้ไม่ได้รับส่วนลดประวัติดี
หากต้องการไม่ให้เสียประวัติเมื่อมีการเคลมประกัน จะต้องเคลมโดยที่เราเป็นฝ่ายถูกเท่านั้น เพราะเมื่อมีการเช็คประวัติการเคลมรถแล้วบริษัทประกันเห็นว่าเราเป็นฝ่ายถูก จะไม่ส่งผลเสียต่อการคำนวณเบี้ยประกันในปีถัดไป และไม่กระทบต่อส่วนลดประวัติดี
เคลมประกัน ไม่มีคู่กรณี จะเสียประวัติไหม
เคลมประกัน ไม่มีคู่กรณี จะเสียประวัติไหม? เมื่อมีการเคลมประกันแบบไม่มีคู่กรณี หรือเคลมแบบไม่สามารถระบุสาเหตุได้ (เคลมแห้ง) ผู้ทำประกันจะต้องจ่ายค่าเสียหายส่วนแรก หรือที่เรียกว่า ค่า Excess ให้ก้บบริษัทประกัน เป็นจำนวนเงินตามที่ตกลงกันไว้ตั้งแต่เริ่มทำประกัน
ค่าเสียหายส่วนแรก หรือ ค่า Excess คือ เงินที่ผู้ทำประกันจะต้องจ่ายเพิ่มให้กับบริษัทประกัน ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) กำหนด เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการเคลมโดยไม่มีอุบัติเหตุเกิดขึ้นจริง ซึ่งส่วนใหญ่แล้วผู้ทำประกันจะจ่ายครั้งละประมาณ 1,000 บาท และมักจะไม่เกิน 8,000 บาท หากรถไม่ได้รับความเสียหายหนัก
หากไม่ต้องการเสียค่า Excess จะต้องระบุสาเหตุของอุบัติเหตุให้ชัดเจน จะต้องบอกได้ว่ามีการเฉี่ยวชนกับอะไร เช่น ชนเสาไฟ ชนฟุตบาท หรือหากสามารถระบุคู่กรณีได้ ก็จะไม่ต้องเสียค่า Excess แต่ไม่ว่าจะต้องจ่ายค่า Excess หรือไม่ เมื่อมีการเคลมแห้ง ก็ส่งผลเสียต่อประวัติการเคลมของผู้ทำประกันทั้งสิ้น ไม่ต่างจากการเคลมอุบัติเหตุกับคู่กรณีแล้วเราเป็นฝ่ายผิด เพราะเมื่อมีการเช็คประวัติการเคลมรถ ก็มีประวัติเสียไม่ต่างกัน
เคลมประกันฝ่ายถูก เสียประวัติไหม
แจ้งเคลมประกัน เสียประวัติไหม? หากไม่อยากเสียประวัติทุกครั้งที่เคลม จะต้องเป็นการเคลมโดยที่เราเป็นฝ่ายถูก ไม่ว่าจะมีคู่กรณีหรือไม่ก็ตาม อย่างที่ได้กล่าวไปแล้วว่า เมื่อเราเป็นฝ่ายถูก แล้วมีการเช็คประวัติการเคลมรถ จะทำให้ไม่เสียประวัติ ไม่ส่งผลเสียในการต่ออายุประกัน และยังคงได้ส่วนลดประวัติดีสำหรับการซื้อเบี้ยประกันในครั้งถัดไปอยู่ แต่แม้ว่าจะไม่เสียประวัติ เมื่อมีการเช็คประวัติการเคลมรถ ก็ยังส่งผลเสียในหลาย ๆ ด้าน ทั้งเสียเวลาในการเคลม และอาจร้ายแรงถึงขั้นบาดเจ็บ ส่งผลเสียต่อสภาพร่างกาย และสภาพจิตใจตามมาในบางกรณี
เช็คประวัติการเคลมรถ ทำอย่างไร รถมือสอง เช็คได้หรือไม่
หากต้องการเช็คประวัติการเคลมรถก่อนตัดสินใจซื้อรถมือสอง หากเป็นบริษัทประกัน หรือศูนย์บริการต่าง ๆ จะไม่เปิดเผยข้อมูลการเคลมให้กับผู้ที่ไม่ใช่เจ้าของรถ สามารถให้ได้เฉพาะข้อมูลเบื้องต้นเท่านั้น เว้นแต่จะได้รับความยินยอมจากเจ้าของรถ
หรือหากเกิดอุบัติเหตุ แล้วไม่สามารถหาตัวผู้กระทำผิดได้ เช่น เหตุชนแล้วหนี หากเป็นผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียกับข้อมูลที่ต้องการตรวจสอบ จะสามารถตรวจเช็คเลขทะเบียนรถได้ว่าเป็นของใคร และนำข้อมูลไปประกอบการพิจารณาคดีได้
รถยนต์บางแบรนด์ อาจมีบริการเช็คประวัติรถยนต์ออนไลน์ โดยเป็นการเช็คข้อมูลเข้ารับบริการออนไลน์ และประวัติการเคลมเข้าศูนย์บริการ ซึ่งหากเป็นการซื้อขายรถยนต์ สามารถขอให้ผู้ขายเปิดเผยข้อมูลได้ หากได้รับความยินยอม แต่แม้ว่าจะตรวจสอบได้ ก็ไม่สามารถยืนยันได้ว่ารถคันดังกล่าวไม่เคยเกิดอุบัติเหตุมาก่อน เพราะหากมีการเปลี่ยนบริษัทประกันเป็นประจำ ก็จะไม่สามารถเช็คข้อมูลการเคลมได้ทั้งหมด
ประกันเคลมแล้ว ยกเลิกได้ไหม แจ้งเคลมแต่ไม่ได้ไป ทำอย่างไรดี
จากที่ได้รู้คำตอบในประเด็นที่ว่า แจ้งเคลมประกัน เสียประวัติไหม? ไปแล้วเรียบร้อย มาดูกันที่ ประเด็นการเคลมประกัน และต้องการยกเลิกกันบ้าง ว่าเมื่อมีการเคลมแล้ว สามารถยกเลิกได้หรือไม่ คำตอบก็คือ สามารถยกเลิกได้ แต่ก็นับว่าเสียประวัติไปแล้วเช่นกัน เพราะเมื่อมีการแจ้งเคลมและระบุความเสียหายของรถไปแล้ว บริษัทประกันจะบันทึกความเสียหายของรถในครั้งนี้ไว้เป็นประวัติในกรมธรรม์ และหากผู้ทำประกันนำรถไปซ่อมเอง แล้วเรียกให้ประกันเข้าไปตรวจสอบสภาพรถหลังซ่อมแซมเสร็จเรียบร้อย ประกันจึงจะลบประวัติข้อมูลความเสียหายที่บันทึกไว้ออก ซึ่งแม้ว่าจะมีการลบประวัติออกไปแล้ว ก็ยังนับว่ามีประวัติเสีย จนอาจไม่ได้รับส่วนลดประวัติดี และทำให้เบี้ยประกันแพงขึ้นในปีถัดไปอีกด้วย
แจ้งเคลมได้ไหม ถ้าไม่ใช่เจ้าของรถ และไม่ใช่ผู้เอาประกัน
แจ้งเคลมประกัน เสียประวัติไหม? หากไม่ใช่เจ้าของรถ และไม่ใช่ผู้ซื้อประกัน เคลมได้ไหม? บอกเลยว่าก็ยังสามารถเคลมได้เช่นกัน หากทำประกันแบบระบุชื่อผู้ขับขี่ เมื่อเราไปแจ้งเคลมว่าเป็นผู้ขับขี่ในวันเกิดเหตุ แล้วไม่ใช่ชื่อเดียวกับที่อยู่ในกรมธรรม์ ก็สามารถเคลมได้ เพราะชื่อผู้เอาประกันกับผู้ใช้รถ ไม่จำเป็นต้องเป็นคนเดียวกัน เพียงแต่จะต้องเสียค่าผิดเงื่อนไขเป็นค่า Excess ให้กับบริษัทประกัน โดยจ่ายค่าชดเชย 2,000 บาทให้กับรถคู่กรณี และ 6,000 บาทเป็นค่าซ่อมรถของตัวเอง ส่วนอีกกรณีคือ หากทำประกันแบบไม่ได้ระบุชื่อผู้ขับขี่ ก็สามารถเคลมได้โดยความคุ้มครองก็จะเป็นไปตามประเภทของประกันที่ซื้อไว้ เช่น ประกันชั้น 1 ก็จะได้รับความคุ้มครองทั้งรถของตนเองและรถของคู่กรณี ส่วนประกันชั้น 3+ ก็จะให้ความคุ้มครองแค่รถของคู่กรณี เป็นต้น
นอกจากนั้น ในกรณีที่เจ้าของรถเสียชีวิต ผู้ขับขี่ก็ยังสามารถแจ้งเคลมประกันได้ตามปกติ เพราะทางบริษัทประกันภัยจะยังคงให้ความคุ้มครองต่อรถยนต์อยู่ตามปกติจนกว่าจะสิ้นสุดความคุ้มครองตามในสัญญา หรือเจ้าของรถคนใหม่จะดำเนินการแจ้งขอยกเลิกกรมธรรม์ไปก่อนนั่นเอง
เคลมประกันบ่อย ๆ ส่งผลเสียอย่างไร
แจ้งเคลมประกัน เสียประวัติไหม? เคลมบ่อย ๆ ส่งผลเสียอย่างไร? สำหรับใครที่เคลมประกันรถบ่อย ๆ แน่นอนว่าต้องมีผลเสียตามมาอย่างเลี่ยงไม่ได้ โดยเกิดผลเสียดังต่อไปนี้
- เบี้ยประกันในปีถัดไปสูงขึ้น
ไม่ว่าจะเลือกใช้ประกันเจ้าเดิม หรือเปลี่ยนบริษัทประกันใหม่ ก็จะต้องมีการเช็คประวัติการเคลมเพื่อนำมาพิจารณาค่าทุนประกัน เพราะหากเคลมบ่อย ประกันจะมองว่าเรามีความเสี่ยงสูงที่จะขับขี่จนเกิดอุบัติเหตุ จึงจำเป็นต้องเสนอประกันที่มีความคุ้มครองครอบคลุมในทุนประกันที่สูง จนส่งผลให้เบี้ยประกันในปีถัดไปสูงขึ้นตามไปด้วย - เสียประวัติ และไม่ได้รับส่วนลดประวัติดี
หากมีประวัติเสีย หรือมีการเคลมโดยที่เราเป็นฝ่ายผิด เมื่อต่อประกันกับบริษัทเดิม จะทำให้ไม่ได้รับส่วนลดประวัติดี และยังอาจทำให้ค่าเบี้ยสูงขึ้นอีกด้วย - มีความเสี่ยงถูกยกเลิกกรมธรรม์
หากมีการเคลมบ่อยครั้ง บริษัทประกันอาจยกเลิกการต่อประกันในปีถัดไป หรืออาจยกเลิกประกันก่อนหมดสัญญา เพราะเห็นว่าเรามีพฤติกรรมขับขี่ไม่ปลอดภัย มีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง - เสียประวัติ จนอาจโดน Blacklist
หลายคนอาจคิดว่าเมื่อถูกยกเลิกประกันกับเจ้าหนึ่งแล้ว เมื่อเปลี่ยนบริษัทประกันก็ช่วยจบปัญหาได้ แต่ความจริงแล้ว แม้ว่าจะเปลี่ยนบริษัทประกัน แล้วเลือกทำประกันกับเจ้าใหม่ บริษัทก็สามารถเช็คประวัติการเคลมและข้อมูลการขับขี่ได้เช่นกัน จนอาจส่งผลให้บริษัทใหม่ไม่อนุมัติการทำประกัน เพราะประวัติเสียที่ผ่านมาของเราก็เป็นได้
อยากเคลมรอบคัน ก่อนหมดประกัน ก่อนทำ ต้องรู้อะไรบ้าง
เคลมรอบคัน คือ การเคลมทุกร่องรอยของรถที่เกิดความเสียหาย และต้องการแจ้งเคลมรวดเดียว เพื่อให้เกิดการซ่อมแซมในครั้งเดียว โดยส่วนใหญ่แล้วจะนิยมเคลมก่อนหมดประกันกับเจ้าที่ทำอยู่ และต้องการเปลี่ยนบริษัทประกันเป็นเจ้าใหม่ ซึ่งสิ่งต้องรู้เกี่ยวกับการเคลมรอบคัน ก่อนหมดประกัน มีดังนี้
- มีแค่ประกันภัยชั้น 1 เท่านั้นที่สามารถทำได้
- เคลมได้ทั้งเหตุรุนแรงและไม่รุนแรง จะมีคู่กรณี หรือไม่มีคู่กรณีก็เคลมได้
- ครอบคลุมความเสียหายที่เกิดจากภัยธรรมชาติ และภัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ เช่น รถหาย อัคคีภัย อุทกภัย โดยมีเงื่อนไขแตกต่างกันไปในแต่ละกรมธรรม์
- โดยปกติแล้ว จะไม่สามารถเคลมสีรอบคันได้ เพราะหากไม่เกิดเหตุรุนแรง รถจะไม่สามารถเป็นรอยได้ทั้งคัน การอนุมัติให้เคลมรอบคันจึงขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของประกันว่ามีเหตุสมควรหรือไม่
- อาจต้องจ่ายค่าเสียหายส่วนแรก (ค่า Excess) หากเป็นการเคลมในกรณีต่อไปนี้
1.) เกิดอุบัติเหตุจนรถเสียหาย แต่ผู้ทำประกันไม่สามารถบอกที่มาหรือสาเหตุของความเสียหายนั้นได้
2.) โดนชนแล้วหนี และจำทะเบียนรถที่ชนไม่ได้ ระบุตัวตนคนชนไม่ได้
3.) รถเกิดการกระทบกับวัตถุต่าง ๆ แต่ไม่เกิดความเสียหาย เช่น บุบ แตก ร้าว
4.) โดนมุ่งร้าย กลั่นแกล้ง แต่ไม่มีหลักฐาน และไม่สามารถระบุเวลาที่เกิดเหตุได้
การทำประกันรถยนต์ เป็นการป้องกันที่ผู้ขับขี่ทุกคนควรทำ เพื่อความคุ้มครองในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ ซึ่งหากไม่ต้องการให้เสียประวัติในทุกครั้งที่มีการแจ้งเคลม ควรขับขี่อย่างระมัดระวัง และเลือกซื้อประกันรถยนต์จากบริษัทที่ไว้ใจได้ เพื่อให้ทุกการเคลมง่ายขึ้น เช่นเดียวกับ แรบบิท แคร์ ที่มีศูนย์ซ่อมที่ได้มาตรฐานทั่วไทย พร้อมแผนประกันจาก 15 บริษัทชั้นนำให้เลือก มั่นใจได้ว่าจะได้แผนประกันที่คุ้มครองครอบคลุมในราคาที่คุ้มค่าแน่นอน
วิธีแจ้งเคลมประกัน มีคู่กรณี ทำอย่างไร
การแจ้งเคลมประกันรถยนต์มีขั้นตอนดังนี้
1. หยุดรถและเปิดไฟฉุกเฉิน
หลังเกิดอุบัติเหตุ หยุดรถในที่ปลอดภัยและเปิดไฟฉุกเฉินเพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุซ้ำซ้อน
2. ตรวจสอบความปลอดภัย
ตรวจสอบความปลอดภัยของตัวเองและผู้อื่น หากมีผู้บาดเจ็บให้รีบโทรแจ้งหน่วยฉุกเฉิน 1669 หรือ 1646 ทันที
3. รวบรวมหลักฐาน
ถ่ายภาพจุดเกิดเหตุ ความเสียหายของรถ และหลักฐานอื่น ๆ เช่น ป้ายทะเบียนรถคู่กรณี สัญญาณจราจร ฯลฯ
4. แลกเปลี่ยนข้อมูลกับคู่กรณี
หากมีคู่กรณี ให้แลกเปลี่ยนข้อมูลส่วนตัว ข้อมูลการติดต่อ และข้อมูลประกันภัยกับคู่กรณี รวมถึงรายละเอียดของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
5. โทรแจ้งบริษัทประกันภัย
ติดต่อบริษัทประกันภัยของคุณทันทีที่ทำได้ โดยแจ้งรายละเอียดอุบัติเหตุและสถานที่เกิดเหตุให้ชัดเจน บริษัทประกันจะส่งเจ้าหน้าที่เคลมมาประเมินความเสียหายและให้คำแนะนำในการดำเนินการต่อไป
6. ให้ข้อมูลกับเจ้าหน้าที่เคลม
เมื่อเจ้าหน้าที่เคลมมาถึง ให้ข้อมูลเกี่ยวกับอุบัติเหตุตามความเป็นจริง รวมถึงแสดงหลักฐานที่ได้รวบรวมไว้
7. รับใบเคลม (Claim Form)
หลังจากที่เจ้าหน้าที่ประเมินความเสียหายแล้ว คุณจะได้รับใบเคลม ซึ่งจะใช้เป็นเอกสารในการซ่อมรถที่อู่หรือศูนย์บริการที่เป็นคู่สัญญากับบริษัทประกัน
8. นำรถเข้าซ่อม
นำรถเข้าซ่อมตามอู่หรือศูนย์บริการที่บริษัทประกันภัยแนะนำ โดยใช้ใบเคลมที่ได้รับจากเจ้าหน้าที่
9. ติดตามผลการซ่อม
ตรวจสอบความเรียบร้อยของการซ่อมและรับรถคืนหลังจากซ่อมเสร็จ หากพบปัญหาหรือข้อบกพร่อง ควรแจ้งให้ทางอู่หรือศูนย์บริการทราบทันที
10. จัดการเอกสารที่เกี่ยวข้อง
เก็บเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการเคลมประกัน เช่น ใบเคลม ใบเสร็จการซ่อม เพื่อเป็นหลักฐานในการติดต่อบริษัทประกันในอนาคตหากมีปัญหา
แจ้งเคลมประกันย้อนหลัง ทำอย่างไร
การแจ้งเคลมประกันย้อนหลังทำได้ในกรณีที่คุณไม่สามารถแจ้งเคลมได้ทันทีหลังเกิดอุบัติเหตุ โดยขั้นตอนมีดังนี้
1. ตรวจสอบเงื่อนไขกรมธรรม์
ตรวจสอบกรมธรรม์ประกันภัยของคุณว่าอนุญาตให้แจ้งเคลมย้อนหลังได้หรือไม่ รวมถึงกำหนดระยะเวลาในการแจ้งเคลมย้อนหลัง เพราะบางบริษัทอาจกำหนดระยะเวลาที่แน่นอน เช่น ภายใน 7 วัน หรือ 30 วันหลังเกิดเหตุ
2. รวบรวมหลักฐาน
เตรียมเอกสารและหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับอุบัติเหตุ เช่น รูปถ่ายความเสียหายของรถยนต์ ใบแจ้งความ (หากมี) รายละเอียดของคู่กรณี และบันทึกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น รวมถึงพยานหลักฐานอื่น ๆ ที่อาจช่วยสนับสนุนการเคลมย้อนหลัง
3. ติดต่อบริษัทประกันภัย
ติดต่อบริษัทประกันภัยของคุณและแจ้งเหตุผลที่ไม่ได้แจ้งเคลมทันทีหลังเกิดอุบัติเหตุ พร้อมส่งมอบเอกสารและหลักฐานที่เกี่ยวข้อง เจ้าหน้าที่ประกันภัยจะตรวจสอบข้อมูลและประเมินว่าเคลมย้อนหลังจะได้รับการพิจารณาหรือไม่
4. แจ้งรายละเอียดอุบัติเหตุ
ให้ข้อมูลเกี่ยวกับอุบัติเหตุอย่างละเอียดแก่เจ้าหน้าที่ประกัน รวมถึงวันที่และเวลาที่เกิดเหตุ สถานที่เกิดเหตุ สภาพแวดล้อม และความเสียหายที่เกิดขึ้น
5. รอการตรวจสอบและพิจารณา
บริษัทประกันภัยจะตรวจสอบข้อมูลและหลักฐานที่คุณส่งมา หากพิจารณาแล้วว่าสามารถเคลมย้อนหลังได้ คุณจะได้รับการดำเนินการเคลมตามปกติ
6. รับใบเคลมและนำรถเข้าซ่อม
หากเคลมได้รับการอนุมัติ คุณจะได้รับใบเคลมจากบริษัทประกันภัย และสามารถนำรถเข้าซ่อมตามอู่หรือศูนย์บริการที่บริษัทประกันแนะนำได้
7. ติดตามผล
ติดตามการดำเนินการซ่อมแซมและการชดใช้ค่าเสียหายจากบริษัทประกันภัย และเก็บเอกสารที่เกี่ยวข้องไว้เป็นหลักฐาน
แจ้งเคลมประกัน แต่ไม่นำรถไปซ่อม จะเกิดอะไรขึ้น
หากคุณแจ้งเคลมประกันแต่ไม่นำรถไปซ่อม จะส่งผลเสียดังนี้
- ไม่มีการซ่อมแซมรถยนต์ : หากไม่ได้นำรถเข้าซ่อมภายในเวลาที่กำหนด หรือไม่นำรถไปซ่อมเลย รถของคุณจะยังคงอยู่ในสภาพเดิมที่มีความเสียหาย
- ประกันอาจสิ้นสุดการคุ้มครอง : การเคลมประกันแล้วไม่นำรถไปซ่อม อาจส่งผลให้การคุ้มครองในกรณีนี้สิ้นสุดลง เพราะบริษัทประกันจะถือว่า คุณได้รับบริการจากทางบริษัทตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์แล้ว
- ไม่มีการชำระค่าสินไหมทดแทน : บริษัทประกันจะไม่จ่ายเงินค่าซ่อมหรือชดเชยใด ๆ หากไม่ได้นำรถเข้าซ่อม
- ความเสี่ยงที่จะไม่ได้รับประกันในอนาคต : หากเกิดอุบัติเหตุหรือความเสียหายเพิ่มเติมในอนาคต บริษัทประกันอาจปฏิเสธการเคลมใหม่ เนื่องจากมีความเสียหายเก่าที่ไม่ได้รับการซ่อมแซม
แจ้งเคลมประกันรถยนต์ชั้น 1 ไม่มีคู่กรณี
หากต้องการแจ้งเคลมประกันรถยนต์ชั้น 1 กรณีที่ไม่มีคู่กรณี เช่น ชนเสา ชนรั้ว หรือรถได้รับความเสียหายจากอุบัติเหตุอื่น ๆ ที่ไม่มีรถคันอื่นเข้ามาเกี่ยวข้อง คุณสามารถดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้
1. ตรวจสอบความเสียหาย
หลังเกิดอุบัติเหตุ ตรวจสอบความเสียหายของรถยนต์และบันทึกภาพความเสียหายไว้เป็นหลักฐาน
2. โทรแจ้งบริษัทประกันภัย
ติดต่อบริษัทประกันภัยของคุณทันทีเพื่อแจ้งเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น โดยให้รายละเอียดเกี่ยวกับความเสียหาย สถานที่เกิดเหตุ และวันที่เวลาที่เกิดเหตุ
3. เตรียมเอกสารและข้อมูล
เตรียมข้อมูลและเอกสารที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมธรรม์ประกันภัย บัตรประชาชน ใบขับขี่ และบันทึกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
4. นัดหมายเจ้าหน้าที่ตรวจสอบ
บริษัทประกันภัยอาจส่งเจ้าหน้าที่มาตรวจสอบความเสียหายที่จุดเกิดเหตุ หรือคุณอาจต้องนำรถไปยังศูนย์ตรวจสอบที่บริษัทประกันกำหนด
5. รับใบเคลม (Claim Form)
เมื่อเจ้าหน้าที่ประเมินความเสียหายแล้ว คุณจะได้รับใบเคลมซึ่งสามารถนำไปใช้ในการซ่อมรถได้
6. นำรถเข้าซ่อม
นำรถเข้าซ่อมที่อู่หรือศูนย์บริการที่บริษัทประกันภัยแนะนำ โดยใช้ใบเคลมที่ได้รับมา
7. ติดตามการซ่อมแซม
ติดตามกระบวนการซ่อมแซมจนเสร็จสิ้น และตรวจสอบความเรียบร้อยของการซ่อมเมื่อรับรถคืน
8. เก็บเอกสาร
เก็บเอกสารการเคลมและการซ่อมแซมไว้เป็นหลักฐานสำหรับการเคลมในอนาคต
ประกันภัยชั้น 1 มักครอบคลุมกรณีที่ไม่มีคู่กรณี ดังนั้นคุณควรได้รับการเคลมโดยไม่มีปัญหาหากทำตามขั้นตอนที่ถูกต้อง
แจ้งเคลมรถประกันชั้น 1 นานไหม
ระยะเวลาในการแจ้งเคลมรถประกันชั้น 1 อาจแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับบริษัทประกันภัยและกระบวนการที่เกี่ยวข้อง โดยทั่วไปแล้วขั้นตอนนี้ใช้เวลาไม่นาน หากเอกสารและข้อมูลครบถ้วน อาจใช้เวลาเพียงไม่กี่วันถึงหนึ่งสัปดาห์ในการดำเนินการเคลมเบื้องต้น แต่หากมีขั้นตอนเพิ่มเติม เช่น การตรวจสอบรถหรือการประเมินความเสียหายเพิ่มเติม อาจใช้เวลานานขึ้น โดยปกติแล้วขั้นตอนการเคลมจะมีดังนี้:
- การแจ้งเหตุและการยื่นเคลม : ใช้เวลาเพียงไม่กี่ชั่วโมงหรือไม่เกินหนึ่งวัน โดยคุณต้องเตรียมเอกสารและข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เช่น ใบขับขี่, บัตรประชาชน, สำเนาทะเบียนรถ, และใบแจ้งความ (หากมี)
- การประเมินความเสียหาย : บริษัทประกันจะส่งเจ้าหน้าที่มาประเมินความเสียหาย ซึ่งอาจใช้เวลา 1-3 วัน
- การอนุมัติและการนำรถเข้าซ่อม : หากได้รับการอนุมัติ บริษัทประกันจะติดต่ออู่ซ่อมที่ร่วมรายการ ซึ่งอาจใช้เวลาหลายวันถึงหลายสัปดาห์ ขึ้นอยู่กับความซับซ้อนของความเสียหายและคิวงานของอู่
แจ้งเคลมประกันชั้น 1 เสียเงินไหม
การแจ้งเคลมประกันชั้น 1 โดยทั่วไปแล้วจะไม่เสียค่าใช้จ่ายสำหรับการเคลมประกันในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุหรือความเสียหายที่ครอบคลุมตามเงื่อนไขของกรมธรรม์ อย่างไรก็ตาม อาจมีค่าใช้จ่ายหรือข้อพิจารณาบางประการที่ต้องรู้
- กรณีเป็นฝ่ายผิด : หากผู้ขับขี่เป็นฝ่ายผิดในอุบัติเหตุ บางบริษัทประกันอาจเรียกเก็บค่าเสียหายส่วนแรก (Excess) ซึ่งเป็นจำนวนเงินที่ผู้ขับขี่ต้องรับผิดชอบก่อนที่บริษัทประกันจะจ่ายส่วนที่เหลือ
- กรณีไม่มีคู่กรณี : หากเกิดความเสียหายโดยไม่มีคู่กรณี เช่น รอยขีดข่วน, รถชนเสา หรืออุบัติเหตุที่ไม่มีผู้ร่วมเกี่ยวข้อง คุณอาจต้องเสียค่า Excess ตามที่ระบุในกรมธรรม์
- ค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม : อาจมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม เช่น ค่าบริการรับรถจากที่เกิดเหตุ ค่าบริการฉุกเฉิน หรือค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่ไม่ครอบคลุมในกรมธรรม์
ดังนั้น แม้ว่าการเคลมประกันชั้น 1 จะครอบคลุมค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่ แต่ก็ยังมีความเป็นไปได้ที่จะมีค่าใช้จ่ายบางส่วนขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของกรมธรรม์และสถานการณ์ที่เกิดขึ้น
แจ้งเคลมประกัน แต่ประกันไม่อนุมัติซ่อม เพราะอะไร
หากคุณแจ้งเคลมประกันแล้วแต่บริษัทประกันไม่อนุมัติให้ซ่อม อาจเกิดจากสาเหตุดังต่อไปนี้:
- ไม่ตรงตามเงื่อนไขของกรมธรรม์ : ความเสียหายที่เกิดขึ้นอาจไม่ครอบคลุมในเงื่อนไขของกรมธรรม์ เช่น ความเสียหายที่เกิดจากการใช้รถผิดวัตถุประสงค์ หรือเกิดจากการขับขี่ในสถานการณ์ที่กรมธรรม์ไม่ครอบคลุม
- ความเสียหายที่เกิดก่อนหน้า : หากบริษัทประกันพบว่าความเสียหายเกิดขึ้นก่อนที่จะเริ่มทำประกัน หรือเคยมีการเคลมในกรณีเดียวกันมาแล้วก่อนหน้านี้ บริษัทอาจไม่อนุมัติการซ่อมแซม
- เอกสารไม่ครบถ้วน : หากเอกสารหรือข้อมูลที่ใช้ในการแจ้งเคลมไม่ครบถ้วนหรือไม่ชัดเจน อาจทำให้การเคลมถูกปฏิเสธหรือชะลอออกไปจนกว่าจะได้รับเอกสารที่ครบถ้วน
- ไม่มีคู่กรณีหรือหลักฐานที่ชัดเจน : ในกรณีที่ไม่มีคู่กรณีหรือหลักฐานที่ชัดเจน เช่น ภาพถ่ายที่เกิดเหตุ หรือใบแจ้งความ ประกันอาจสงสัยในเหตุการณ์และไม่อนุมัติการเคลม
- การละเมิดข้อกำหนดในกรมธรรม์ : หากคุณละเมิดข้อกำหนดในกรมธรรม์ เช่น ขับรถขณะมึนเมา หรือไม่มีใบขับขี่ ประกันอาจปฏิเสธการเคลม
ความคุ้มครองประกันรถยนต์