คลายข้อสงสัย?! ทำไมเราต้องจ่ายเบี้ยประกันภัยแพงขึ้นจากปีก่อน
เบี้ยประกันภัยรถยนต์ ถือเป็นอีกหนึ่งค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับรถที่หนักหน่วงอยู่พอสมควรเลย เพราะต้องจ่ายต่อเนื่องทุกปี เวลาที่จ่ายเบี้ยประกันแล้วค่าเบี้ยสูงขึ้น ไม่เท่ากับปีก่อนเคยสงสัยกันหรือไม่ว่าเกิดจากสาเหตุอะไร วันนี้เราจะพาไปหาคำตอบว่าทำไมเบี้ยประกันภัยถึงแพงขึ้นจากปีก่อน แล้วจะมีวิธีลดได้อย่างไรบ้าง? ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักความหมายของมันก่อนดีกว่า
เบี้ยประกัน คืออะไร?
เบี้ยประกัน คือ จำนวนเงินที่ผู้เอาประกันภัยตกลงยินยอมที่จะจ่ายให้กับผู้รับประกันภัย ตามที่ระบุไว้ในสัญญา ดังนั้น การชำระเบี้ยประกันภัยเริ่มแรก หรือ initial premium เป็นสิ่งที่จำเป็นที่จะต้องทำเพื่อรับความคุ้มครองเมื่อภัยหรืออุบัติเหตุเกิดขึ้น คุณสามารถจ่ายค่าเบี้ยผ่านหลากหลายช่องทางตามกำหนดของ คปภ. หรือ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เช่น จ่ายโดยตรงที่บริษัท ทางธนาคาร หรือทางไปรษณีย์ อย่างไรก็ตามน้องแคร์ขอแนะนำให้คุณเก็บใบเสร็จไว้ทุกครั้งเพื่อเป็นหลักฐานในการชำระเงิน
เบี้ยประกันภัยรถยนต์ คืออะไร?
เบี้ยประกันภัยรถยนต์ คือ จำนวนเงินที่ผู้ทำประกันภัยรถยนต์จะต้องชำระให้แก่ผู้รับประกันภัย หรือบริษัทประกันภัยตามสัญญา เพื่อที่จะได้รับเงินผลประโยชน์หรือค่าสินไหมทดแทนกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ หรือเกิดความเสียหายตามข้อตกลงที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ โดยจ่ายค่าเบี้ยประกันภัยรถยนต์จะมีทั้งการจ่ายครั้งแรกเพียงครั้งเดียว กับการจ่ายครั้งแรกแล้วหลังจากนั้นจ่ายเป็นงวด ซึ่งค่าเบี้ยของประกันรถยนต์แต่ละประเภทก็จะแตกต่างกันออกไป หรือถ้าพูดให้เข้าจ่ายง่ายๆ ก็คือ เงินที่ต้องจ่ายทุกปีเพื่อซื้อประกันนั่นเอง
ประกันภัยรถยนต์มีกี่ประเภท
ประกันภัยรถยนต์ สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทหลัก ๆ คือ ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ(พรบ.) และ ภาคสมัครใจ
ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ
โดยค่าเบี้ยประกันของภาคบังคับจะคงที่ในทุกๆปีและถูกกว่าภาคสมัครใจ เป็นสิ่งที่ผู้มีรถทุกคนจำเป็นต้องทำ หากไม่ทำจะมีโทษทางกฎหมายปรับไม่เกิน 20,000 บาท โดยจะคุ้มครองค่ารักษาพยาบาล ค่าเสียหายเบื้องต้น การเสียชีวิตหรือทุพพลภาพทั้งแบบถาวรและสิ้นเชิง อย่างไรก็ตาม ผู้ประสบภัย (Third party) ก็จะได้รับความคุ้มครองเช่นกัน
ประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ
หลายคนมักซื้อประกันรถยนต์ภาคสมัครใจติดตัวเอาไว้ ถึงแม้เบี้ยจะแพงกว่าภาคบังคับ แต่ความคุ้มครองย่อมมีมากกว่า สามารถแบ่งออกได้เป็น 5 ประเภท ดังนี้
- ประเภทที่ 1 : คุ้มครองความเสียหายต่อบุคคลภายนอกและคุ้มครองตัวรถยนต์เช่นกัน เบี้ยประกันประเภทนี้แพงที่สุดแต่ก็ได้รับความนิยมมากที่สุดเช่นกัน จะคุ้มครอง การเสียชีวิต การบาดเจ็บ และการเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก นอกจากนี้หากรถคุณหาย ถูกไฟไหม้หรือเกิดความเสียหาย ประกันภัยชั้น 1 ก็จะคุ้มครองคุณเช่นกัน
- ประเภทที่ 2 : ประกันภัยรถยนต์ชั้นที่ 2 จะคุ้มครอง การเสียชีวิต การบาดเจ็บ และการเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก และคุ้มครองกรณีรถคุณหายหรือไฟไหม้ แต่จะไม่คุ้มครองความเสียหายที่ตัวรถยนต์ของคุณ
- ประเภทที่ 3 : จะคุ้มครองการเสียชีวิต การบาดเจ็บ และการเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอกเท่านั้น
- ประเภทที่ 4 : ประกันรถยนต์ประเภทที่ 4 จะคุ้มครองการเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอกเท่านั้น
- ประเภทที่ 5 : ประกันภัยรถยนต์ชั้นที่ 5 จะคุ้มครอง การเสียชีวิต การบาดเจ็บ และการเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก คุ้มครองความเสียหายต่อตัวรถของคุณ แต่จะไม่คุ้มครองหากรถคุณหายหรือเกิดไฟไหม้
ขั้นตอนการซื้อประกันรถยนต์
1. เลือกแผนประกันที่ถูกใจ
มีหลากหลายบริษัทประกันชั้นนำทั้งในไทยและต่างประเทศที่เสนอกรมธรรม์ประกันรถยนต์ให้เลือกสรร ก่อนตัดสินใจเลือกซื้อ ควรตรวจสอบความคุ้มครอง ค่าเบี้ย ข้อยกเว้นต่างๆ และเปรียบเทียบแผนประกันกับบริษัทอื่น ๆ และเลือกอันที่ตอบโจทย์ที่สุด
2. คำนวณเบี้ยประกันภัย
ค่าเบี้ยของแต่ละคนไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับปัจจัย (Underwriting Factors) ดังนี้:
- ปีของรถ
- ยี่ห้อรถ
- อายุและอาชีพของคนขับ
- รุ่นของรถ
- วัตถุประสงค์ในการใช้รถ และอื่นๆ
3. ตัดสินใจซื้อ
คุณสามารถซื้อประกันรถยนต์ ผ่านนายหน้า ตัวแทนจำหน่าย ผ่านทางบริษัทประกันโดยตรง หรือผ่านทางออนไลน์ ไม่ว่าคุณจะซื้อผ่านช่องทางไหน คุณจำเป็นต้องกรอกข้อมูลให้ถูกต้อง ครบถ้วน และตรงตามความจริง เพราะหากให้ข้อมูลเท็จแล้วบริษัทประกันตรวจสอบเจอภายหลัง จะมีผลเสียตามมาได้
4. ชำระเบี้ยประกันภัย
ก่อนที่จะได้รับความคุ้มครองใด ๆ เมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้น คุณจำเป็นที่จะต้องจ่ายค่าเบี้ยประกันภัยก่อนให้กับบริษัทประกันภัย หลังจากนั้นคุณสามารถรอรับกรมธรรม์ได้ที่บ้านเลยเพราะทางบริษัทจะจัดส่งให้คุณเอง
5. อัตราเงินเฟ้อ
อัตราเงินเฟ้อทำให้มูลค่าเงินลดลงตามระยะเวลาที่ผ่านไป ดังนั้นบริษัทประกันอาจเพิ่มค่าเบี้ยประกันเพื่อรักษาความคุ้มครองให้เหมาะสมตามสภาวะเงินเฟ้อ
เอกสารที่ต้องใช้ในการซื้อประกันรถยนต์
- สำเนาทะเบียนรถ
- หนังสือเดินทางต่างประเทศ กรณีเป็นชาวต่างชาติ
- สำเนาบัตรประชาชน กรณีเป็นสัญชาติไทย
- ใบอนุญาตขับขี่
จ่ายเบี้ยประกันภัยรถยนต์แพงขึ้น เกิดจากสาเหตุอะไร?
ค่าเบี้ยที่สูงขึ้น อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น
1. เคลมบ่อย ประวัติการเคลมไม่ดี
การเคลมบ่อย ทำให้ประวัติดีลดลง ถือเป็นสาเหตุหลักเลยก็ว่าได้ โดยเฉพาะการเคลมที่เป็นฝ่ายผิด เมื่อมีมูลค่าการเคลมสูงกว่าเงื่อนไข ก็จะทำให้เบี้ยในปีถัดไปเพิ่มสูงขึ้น ดังนั้นคุณควรขับรถด้วยความระมัดระวังและมีสติทุกครั้งเพื่อลดการเกิดอุบัติเหตุ
2. มีการปรับแต่ง ดัดแปลงรถยนต์
โดยปกติประกันจะคุ้มครองชิ้นส่วนที่มาจากโรงงาน หากมีการปรับแต่งดัดแปลงก็ต้องแจ้งให้บริษัทประกันทราบเพื่อรับความคุ้มครองเพิ่มเติม และคำนวณเบี้ยประกันสำหรับรถแต่งและอุปกรณ์ เป็นมูลค่าทุนประกันใหม่ นำไปสู่การเพิ่มขึ้นของค่าเบี้ย
3. บริษัทประกันมีการปรับค่าเบี้ยสูงขึ้น
บางครั้งค่าเบี้ยอาจสูงขึ้นจากการปรับของบริษัทประกัน ซึ่งสิ่งนี้จะอยู่เหนือการควบคุมของผู้ทำประกัน แต่ทางบริษัทประกันภัยจะต้องแจ้งให้ผู้เอาประกันทราบด้วย
วิธีลดเบี้ยประกันภัยรถยนต์ ทำได้อย่างไรบ้าง?
สำหรับเจ้าของรถ หรือผู้ขับขี่ที่รู้สึกว่า เบี้ยประกันรถยนต์แพงขึ้นกว่าปีก่อนๆ วันนี้เรามีวิธีในการลดค่าเบี้ยในหมวดประกันรถยนต์มาแนะนำ ดังนี้:
1. เปลี่ยนบริษัทประกันรถยนต์ใหม่
ในปัจจุบันมีบริษัทประกันมากมายที่เสนอความคุ้มครองเกี่ยวกับประกันรถยนต์ มาพร้อมกับสิทธิประโยชน์และค่าเบี้ยที่แตกต่างกัน บางที่อาจแพงหรือบางที่อาจถูกลง ดังนั้นหากรู้สึกว่าบริษัทประกันเดิมต้องจ่ายค่าเบี้ยที่แพงขึ้นเรื่อยๆ แนะนำให้เปลี่ยนบริษัทประกันรถยนต์ใหม่ ลองเปรียบเทียบหลายๆ บริษัทเพื่อช่วยให้ได้ข้อเสนอที่ดีขึ้นกว่าเดิม
2. ติดกล้อง ลดเบี้ยประกัน
การติดกล้องหน้ารถก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยลดค่าเบี้ยประกันรถยนต์ได้ เนื่องจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ที่ออกกฎเกณฑ์ให้ผู้ที่ติดกล้องหน้ารถยนต์ทุกคนได้รับส่วนลดเบี้ยต่อประกัน 5-10% ของราคาค่าเบี้ย รวมถึงยังสามารถใช้เป็นหลักฐานเกิดอุบัติเหตุได้ด้วย และข้อดีของการติดกล้องหน้ารถมีประโยชน์และข้อดีมากมาย นอกจากจะช่วยทำให้คุณมีหลักฐานเมื่อเกิดอุบัติเหตุ ยังช่วยบันทึกเส้นทางของการเดินทางและ สามารถป้องกันมิจฉาชีพได้ เช่น มีผู้ประสงค์ร้ายกระโดดมาปาดหน้ารถคุณ แล้วเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน เราก็จะมีหลักฐานยืนยันว่า เราไม่ใช่คนชน มากไปกว่านั้น คุณจะสามารถเคลมกับบริษัทประกันได้ง่ายและรวดเร็ว
3. เปลี่ยนไปใช้ประกันรถยนต์ประเภทระบุคนขับ
หากรถยนต์ของคุณมีผู้ใช้งานประจำไม่เกิน 2 คน แนะนำให้เปลี่ยนไปใช้ประกันภัยรถยนต์แบบระบุชื่อคนขับ เพราะเบี้ยประกันจะถูกกว่าประกันภัยรถยนต์ปกติ ซึ่งส่วนใหญ่จะสามารถระบุชื่อผู้ขับได้ 1-2 คน แต่วิธีนี้คุณจะต้องมั่นใจว่าจะไม่เกิดอุบัติเหตุที่เกิดจากการขับขี่ของบุคคลนอกเหนือรายชื่อในกรมธรรม์ เพราะหากเป็นเช่นนั้นบริษัทประกันจะไม่คุ้มครองทันที
4. เพิ่มค่าเสียหายส่วนแรกในกรมธรรม์
โดยปกติการจ่ายค่าเสียหายส่วนแรก (Deductible) จะเริ่มตั้งแต่ครั้งละ 1,000 บาท ซึ่งหากมีการเพิ่มค่าเสียหายส่วนแรกในกรมธรรม์ประกันภัยให้สูงขึ้น บริษัทประกันภัยส่วนใหญ่จะลดเบี้ยประกันรถยนต์ลง ค่าเสียหายส่วนแรกยิ่งสูงขึ้น ค่าเบี้ยประกันรถยนต์ของคุณก็จะยิ่งต่ำลง แต่วิธีนี้ก็ต้องมั่นใจในการขับขี่พอสมควรว่าจะไม่เกิดอุบัติเหตุบ่อยๆ ไม่อย่างนั้นก็ไม่คุ้มเช่นกัน
สำหรับเจ้าของรถ หรือผู้ขับขี่ที่รู้สึกว่าเบี้ยประกันที่จ่ายอยู่แพงขึ้น สามารถนำวิธีลดค่าเบี้ยเหล่านี้ไปลองปรับใช้กันดูได้ แต่ถ้าหากอยากทำประกันรถยนต์ชั้น 1 ในราคาสุดคุ้ม ที่การันตีว่าเป็นราคาที่ถูกที่สุด แนะนำให้ทำประกันรถยนต์ชั้น 1 กับ Rabbit Care เพราะการันตีเรื่องค่าเบี้ยว่าดีที่สุด หากเจอราคาถูกกว่า เราคืนส่วนต่างให้ ภายใต้เงื่อนไขของบริษัทเดียวกัน ที่สำคัญถ้าขับดีไม่มีเคลม ปีต่อไปลด 50% ระบุชื่อผู้ขับขี่ลดเพิ่มอีก 20% ทันที มาพร้อมกับเจ้าหน้าที่ที่คอยดูแลคุณตลอด 24 ชั่วโมง สามารถติดต่อเจ้าหน้าที่เพื่อรับบริการช่วยเหลือฉุกเฉินได้ตลอดเวลา
เคลมแล้วเบี้ยประกันขึ้นเท่าไหร่
หากเราเคลมประกันแบบเป็นฝ่ายผิด สิ่งสำคัญอย่างแรกคือ เราจะถูกนับว่า “เสียประวัติ” ซึ่งมีผลต่อส่วนลดประวัติดีที่เราได้รับในปีที่ผ่านมา โดยการเสียประวัติจะถูกแบ่งเป็น 2 ขั้น ดังนี้:
- 1. เคลมแล้วเป็นฝ่ายผิด แต่ความเสียหายไม่เกิน 200% : ประวัติดีจะถูกลดลง 1 ขั้น
- 2. เคลมแล้วเป็นฝ่ายผิด และความเสียหายเกิน 200% : ประวัติดีจะถูกลดลง 2 ขั้น
ตัวอย่างเช่น หากเราเคยได้รับส่วนลดประวัติดี 30% และถูกลด 1 ขั้น ก็จะเหลือส่วนลดประวัติแค่ 20% ในปีถัดไป
นอกจากนั้น ถ้ามีค่าเสียหายจากอุบัติเหตุมากกว่า 200% ของเบี้ยประกันภัยที่จ่ายในปีนั้น ๆ ในปีถัดไป เบี้ยประกันภัยที่เราต้องจ่ายจะเพิ่มขึ้นอีก 20% จากเบี้ยประกันภัยปีที่ต่ออายุ
เช่น หากเบี้ยประกันรถยนต์ในปีต่ออายุอยู่ที่ 10,000 บาท จะต้องเพิ่มค่าเสียประวัติ 20% (2,000 บาท) รวมเป็นเบี้ยประกันที่ต้องจ่ายทั้งหมด 12,000 บาท
นอกจากนี้ หากรถของเราเสียหายเกิน 200% ติดต่อกันหลายปี เบี้ยประกันภัยจะเพิ่มขึ้นดังนี้
เป็นฝ่ายผิดและความเสียหายเกินกว่า 200% ของค่าเบี้ยประกันต่อปี | อัตราเบี้ยที่เพิ่มขึ้น |
---|---|
ปีแรก | 20% |
ติดต่อกัน 2 ปี | 30% |
ติดต่อกัน 3 ปี | 40% |
ติดต่อกัน 4 ปีหรือมากกว่า | 50% |
ความคุ้มครองประกันรถยนต์