ประกันรถยนต์กรณีเจ้าของรถเสียชีวิต จะทำอย่างไรต่อได้บ้าง?
หากเจ้าของรถเสียชีวิต ต้องทำเรื่องโอนรถก่อนยื่นขอเคลมประกันไหม?
สำหรับในกรณีที่เจ้าของรถเสียชีวิตไปแล้ว ทางบริษัทประกันภัยก็จะยังให้ความคุ้มครองต่อรถยนต์อยู่ตามปกติ แต่ถ้าหากว่าทางผู้ขับขี่คนใหม่เกิดประสบอุบัติเหตุจนรถเกิดความเสียหายอย่างหนักจนทำให้ต้องมีการตัดสินใจขายซากรถขึ้นมา ในกรณีแบบนี้ทางบริษัทประกันภัยก็จะยังคงมีการจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้ตามปกติ โดยจะเป็นการคืนทุนประกันนั่นเอง ดังนั้นทางประกันภัยจึงจะยังมีผลความคุ้มครองให้จนกว่าจะสิ้นสุดความคุ้มครองตามในสัญญา หรือจนกว่าเจ้าของคนใหม่จะดำเนินการแจ้งขอยกเลิกกรมธรรม์ไป และในระหว่างนี้ถ้าหากว่าทางเจ้าของคนใหม่เกิดประสบอุบัติเหตุจนรถเกิดความเสียหายขึ้นมาอย่างหนัก หรือว่าไม่สามารถจัดการซ่อมแซมใหม่ได้ ทางบริษัทประกันภัยก็จะพิจารณาจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้ตามทุนประกันที่ระบุเอาไว้ในสัญญา ซึ่งกระบวนการดังกล่าวนี้จะเป็นไปตามขั้นตอนในการดำเนินการเรียกร้องค่าสินไหมนั่นเอง
แต่ถ้าเป็นในกรณีที่ยังไม่ได้มีการโอนรถ ก็จะขึ้นอยู่กับเงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันภัยด้วย ได้แก่
- ในแผนการขับขี่นั้นไม่ได้มีการระบุถึงรายชื่อประกันภัยที่คุ้มครองตามเงื่อนไขที่กำหนด
- ในแผนการขับขี่นั้นได้มีการระบุรายชื่อหรือระบุรายชื่อพิเศษเอาไว้ ถ้าหากว่าทางผู้ขับขี่ไม่เป็นไปตามเงื่อนไขของกรมธรรม์ประกันภัย
และถ้าหากพบว่าเกิดอุบัติเหตุขึ้นมา ทางบริษัทประกันภัยก็จะยังให้ความคุ้มครองตามปกติ แต่ก็จะต้องมีการจ่ายค่าเสียหายในส่วนแรกด้วย สำหรับในกรณีที่ผิดเงื่อนไขตามที่บริษัทประกันภัยได้กำหนดไว้ และจะต้องเป็นการเกิดเหตุที่ทำให้รถนั้นเกิดความเสียหายขึ้นมาโดยสิ้นเชิง หรือว่าไม่สามารถซ่อมแซมได้ โดยทั้งนี้ทางบริษัทประกันภัยอาจจะมีการขอเอกสารที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม เช่น หนังสือแต่งตั้งผู้จัดการมรดก เป็นต้น และถ้าหากมีการโอนรถเรียบร้อยแล้ว ก็ควรรีบแจ้งให้ทางบริษัทประกันทราบ เพื่อดำเนินการแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้องด้วย
กรณีที่เจ้าของรถเสียชีวิต ต่อภาษีได้ไหม?
อันดับแรกให้ทางภรรยาหรือทางทายาทโดยชอบธรรมของผู้เสียชีวิตนั้นทำเรื่องร้องขอต่อศาลเพื่อที่จะได้เป็นผู้จัดการมรดกได้อย่างถูกต้องเสียก่อน และเมื่อดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว หลังจากนี้ก็จะสามารถดำเนินการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินต่าง ๆ เพื่อมาเป็นของเราให้ถูกต้องตามกฎหมาย เพื่อที่จะได้ทำการผ่อนต่อ หรือติดต่อไฟแนนซ์ หรือเปลี่ยนชื่อ ต่อภาษีรถยนต์ ก็สามารถทำได้ทั้งสิ้น
กรณีที่เจ้าของรถเสียชีวิต ต่อประกันได้ไหม?
คำตอบคือ ต่อประกันรถยนต์ได้ โดยจะเหมือนกับการต่อภาษีเลย นั่นก็คือจะต้องมีชื่อเป็นเจ้าของรถเสียก่อน เพราะว่าผู้เสียชีวิตนั้นจำเป็นที่จะต้องมีผู้จัดการมรดก เพื่อดูแลและบริหารจัดการกับทรัพย์มรดกที่มีอยู่ ซึ่งการร้องขอต่อศาลเพื่อที่จะได้เป็นผู้จัดการมรดกนั้นจะต้องเป็นผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย หรือเป็นผู้ที่มีสิทธิ์ได้รับมรดกอย่างถูกต้องตามกฎหมาย เช่น ภรรยา ลูก ญาติพี่น้อง เป็นต้น
กรณีที่เจ้าของรถเสียชีวิต ต้องผ่อนต่อไหม?
สำหรับในกรณีที่ผู้เสียชีวิตนั้นยังผ่อนรถไม่ครบงวดตามกำหนดของสัญญา รถคันนั้นก็จะยังเป็นของไฟแนนซ์อยู่ตามปกติ ดังนั้นทางผู้รับมรดกสามารถตัดสินใจได้ว่าจะผ่อนต่อหรือไม่ผ่อนต่อก็ได้ โดยที่ตัวผู้จัดการมรดกนั้นจะต้องดำเนินการเปลี่ยนสัญญาเช่าซื้อรถให้มาเป็นของตนก่อน หากผู้รับมรดกไม่ต้องการที่จะผ่อนต่อ ทางบริษัทไฟแนนซ์ก็จะนำรถคันนั้นกลับไปขายทอดตลาดต่อไป และถ้าหากว่าทางบริษัทไฟแนนซ์ขายได้ และมีเงินส่วนต่างจากการชำระหนี้คงเหลืออยู่ ทางผู้รับมรดกนั้นก็มีสิทธิที่จะทวงถามเงินส่วนต่างนั้นได้ด้วย แต่ถ้าหากว่าขายแล้วเงินก้อนนั้นไม่พอชำระหนี้ที่เหลือ ทางบริษัทไฟแนนซ์ก็จะมาเรียกเก็บเงินจากผู้รับมรดกเช่นเดียวกัน ยกเว้นเสียแต่ว่าทางผู้ตายนั้นได้มีการทำประกันชีวิตหรือประกันอุบัติเหตุเอาไว้ก่อนที่เอารถเข้าไฟแนนซ์ ทางประกันภัยก็จะมีการชำระหนี้ให้ด้วยนั่นเอง
การโอนรถในกรณีที่เจ้าของรถเสียชีวิต มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง?
สำหรับเอกสารที่จะต้องเตรียมนั้น ทางเว็บไซต์ tqm ในบทความเรื่อง “ถ้าสามีเสียชีวิต จะต่อทะเบียนรถอย่างไร?” ได้พูดถึงรายละเอียดไว้ ดังนี้
- 1. สำเนาภาพถ่ายใบมรณะบัตรของเจ้ามรดก
- 2. ใบคู่มือจดทะเบียนรถ
- 3. หลักฐานประจำตัวของผู้รับโอน เช่น บัตรประจำตัวประชาชน หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล (สำหรับในกรณีที่เป็นนิติบุคคล) สำเนาทะเบียนบ้าน เป็นต้น
แต่ถ้าเป็นในกรณีที่เจ้าของรถเสียชีวิต และไม่ได้มีการทำพินัยกรรมเอาไว้ หรือว่าไม่มีคำสั่งศาลใด ๆ ก็จะแนะนำให้ทางภรรยาหรือทางทายาทที่มีความประสงค์จะรับโอนรถต่อนั้น ให้ไปยื่นเอกสารขอรับโอนรถได้ที่สำนักงานกรมการขนส่งทางบกที่รถคันนั้นได้มีการจดทะเบียนเอาไว้ ซึ่งทางขนส่งก็จะมีการส่งหนังสือไปยังที่ว่าการอำเภอให้ต่อไป และทางคุณจะต้องเตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
- 1. สำเนาภาพถ่ายใบมรณะบัตรของเจ้าของรถ
- 2. ใบคู่มือจดทะเบียนรถ
- 3. หลักฐานประจำตัวของผู้รับโอน เช่น บัตรประจำตัวประชาชน ภาพถ่ายสำเนา เป็นต้น
หลังจากนั้นสามารถเตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้อง เพื่อดำเนินการต่อได้ตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
- นำรถเข้าไปตรวจสอบที่ฝ่ายตรวจสอบสภาพรถของสำนักงานขนส่ง (หากรถอยู่ในจังหวัดอื่นที่ไม่ใช่จังหวัดที่จดทะเบียน ก็สามารถให้สำนักงานขนส่งของจังหวัดนั้น ๆ ตรวจสภาพได้เช่นเดียวกัน)
- ยื่นแบบคำขอโอนและรับโอนที่จะต้องมีการกรอกข้อความและลงนามในคำขอให้เรียบร้อย พร้อมทั้งเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น สมุดคู่มือจดทะเบียนรถ ใบมรณะบัตรของเจ้าของรถ บัตรประจำตัวประชาชนของผู้จัดการมรดก ผลการตรวจสอบรถ (ถ้ามี) เป็นต้น เพื่อนำไปยื่นคำร้องขอโอนทะเบียน และเปลี่ยนเจ้าของรถพร้อมหลักฐานที่ได้มีการเตรียมไว้ข้างต้น
- ชำระค่าธรรมเนียมให้เรียบร้อย
- รับใบคู่มือจดทะเบียนรถคืน เป็นอันเสร็จสิ้น
และสำหรับในกรณีที่ไม่มีพินัยกรรมหรือว่าไม่มีคำสั่งศาลให้เป็นผู้จัดการมรดก ก็สามารถให้ทายาทเข้ามาติดต่อรับหนังสือที่สำนักงานขนส่งได้เลย เพื่อที่จะได้นำไปดำเนินการสอบปากคำทายาทและประกาศรับมรดก ณ ที่ว่าการอำเภอที่ผู้ตายมีภูมิลำเนาอยู่ และนอกจากนี้ในเรื่องของการโอนกรรมสิทธิ์ให้มาเป็นเจ้าของรถนั้น จะสามารถทำได้ก็ต่อเมื่อมีการปิดบัญชีกับทางบริษัทไฟแนนซ์แล้วเท่านั้น และทางบริษัทไฟแนนซ์จะไม่มีการตรวจสอบรถแต่อย่างใด
ใครจะได้สิทธิถือครองกรมธรรม์ต่อไป หากมีการเกิดอุบัติเหตุขึ้นมากับตัวรถ?
ถ้าหากว่าผู้ครอบครองตามรายการที่จดทะเบียนไว้เกิดเสียชีวิตขึ้นมา ผู้ที่มีกรรมสิทธิ์ตามกฎหมายและมีเอกสารยืนยันต่อบริษัทประกันภัยได้ ก็จะได้สิทธิในการถือครองกรมธรรม์ต่อไป เช่น ผู้จัดการมรดก หรือทายาทตามกฎหมาย เป็นต้น
เจ้าของรถเสียชีวิต รถจะเป็นของใคร
เมื่อเจ้าของรถเสียชีวิต ตามกฎหมายรถจะถือเป็นทรัพย์สินตกทอดแก่ทายาท แต่ทายาทจะต้องร้องต่อศาลเพื่อขอเป็นผู้จัดการมรดกจึงจะได้ครอบครองรถอย่างถูกต้องและจัดการเรื่องไฟแนนซ์ต่อได้ในกรณีที่รถยังอยู่ภายใต้ไฟแนนซ์
หากไม่มีทายาทยื่นร้องต่อศาลเพื่อขอเป็นผู้จัดการมรดกและไม่ผ่อนชำระต่อ รถจะถูกยึดไปขายทอดตลาด หากเงินที่ได้มามีเหลือหลังจากชำระหนี้แล้ว เงินส่วนที่เหลือจะตกเป็นของทายาท แต่ถ้าเงินที่ได้มาไม่พอในการชำระหนี้ บริษัทไฟแนนซ์จะทวงส่วนที่ขาดจากทายาท ยกเว้นว่ามีการทำประกันชีวิตหรือประกันอุบัติเหตุไว้ตอนที่เอารถเข้าไฟแนนซ์ ประกันจะมาชำระหนี้แทน ทายาทไม่ต้องผ่อนค่างวดต่อ แต่ยังคงต้องร้องต่อศาลเพื่อขอเป็นผู้จัดการมรดกเพื่อจะได้ถือกรรมสิทธิ์รถคันนั้น
เจ้าของรถเสียชีวิต ต่อทะเบียนได้ไหม
ถ้าเจ้าของรถเสียชีวิตก่อนต่อทะเบียนรถ หลักๆ แล้วทายาทจะต้องร้องขอต่อศาลจัดการมรดก แล้วจึงสามารถดำเนินการอื่นๆ อย่างเช่น การผ่อนรถต่อ การต่อภาษี หรือ เปลี่ยนชื่อเจ้าของรถ ฯลฯ ต่อไปได้
ความคุ้มครองประกันรถยนต์
<div class="row4 row-det"><img src="https://adbblog.wpengine.com/wp-content/uploads/2023/09/car_cash_car_ed.png" class="pic-icon" title="ชนแบบมีคู่กรณี" alt="ชนแบบมีคู่กรณี" width="36px" height="36px" loading="lazy">ชนแบบมีคู่กรณี</div>
<div class="row4c2 row-cdet"><i class="fa-regular fa-circle-check"></i></div><div class="row4c3 row-cdet"><i class="fa-regular fa-circle-check"></i></div><div class="row4c4 row-cdet">x</div><div class="row4c5 row-cdet"><i class="fa-regular fa-circle-check"></i></div><div class="row4c6 row-cdet">x</div>
<div class="row5 row-det"><img src="https://adbblog.wpengine.com/wp-content/uploads/2023/09/car_cash_no_third_party.png" title="ชนแบบไม่มีคู่กรณี" alt="ชนแบบไม่มีคู่กรณี" class="pic-icon" width="36px" height="36px" loading="lazy">ชนแบบไม่มีคู่กรณี</div>
<div class="row5c2 row-cdet"><i class="fa-regular fa-circle-check"></i></div><div class="row5c3 row-cdet">x</div><div class="row5c4 row-cdet">x</div><div class="row5c5 row-cdet">x</div><div class="row5c6 row-cdet">x</div>
<div class="row6 row-det"><img src="https://adbblog.wpengine.com/wp-content/uploads/2023/09/car_fire.png" title="ไฟไหม้" alt="ไฟไหม้" class="pic-icon" width="36px" height="36px" loading="lazy">ไฟไหม้</div>
<div class="row6c2 row-cdet"><i class="fa-regular fa-circle-check"></i></div><div class="row6c3 row-cdet"><i class="fa-regular fa-circle-check"></i></div><div class="row6c4 row-cdet"><i class="fa-regular fa-circle-check"></i></div><div class="row6c5 row-cdet">x</div><div class="row6c6 row-cdet">x</div>
<div class="row7 row-det"><img src="https://adbblog.wpengine.com/wp-content/uploads/2023/09/lost_car.png" class="pic-icon" title="รถหาย" alt="รถหาย" width="36px" height="36px" loading="lazy">รถหาย</div>
<div class="row7c2 row-cdet"><i class="fa-regular fa-circle-check"></i></div><div class="row7c3 row-cdet"><i class="fa-regular fa-circle-check"></i></div><div class="row7c4 row-cdet"><i class="fa-regular fa-circle-check"></i></div><div class="row7c5 row-cdet">x</div><div class="row7c6 row-cdet">x</div>
<div class="row8 row-det"><img src="https://adbblog.wpengine.com/wp-content/uploads/2023/09/car_flood.png" alt="ภัยธรรมชาติ" title="ภัยธรรมชาติ" class="pic-icon" width="36px" height="36px" loading="lazy">ภัยธรรมชาติ</div>
<div class="row8c2 row-cdet"><i class="fa-regular fa-circle-check"></i></div><div class="row8c3 row-cdet"><i class="fa-regular fa-circle-check"></i></div><div class="row8c4 row-cdet">x</div><div class="row8c5 row-cdet"><i class="fa-regular fa-circle-check"></i></div><div class="row8c6 row-cdet">x</div>
<div class="row9 row-det"><img src="https://adbblog.wpengine.com/wp-content/uploads/2023/09/car_emergency_help.png" title="ช่วยเหลือ 24 ชม. " alt="ช่วยเหลือ 24 ชม. " class="pic-icon" width="36px" height="36px" loading="lazy">ช่วยเหลือ 24 ชม. </div>
<div class="row9c2 row-cdet"><i class="fa-regular fa-circle-check"></i></div><div class="row9c3 row-cdet"><i class="fa-regular fa-circle-check"></i></div><div class="row9c4 row-cdet">x</div><div class="row9c5 row-cdet">x</div><div class="row9c6 row-cdet">x</div>
<div class="row10 row-det" style="text-align: center!important; justify-content:center!important; padding:3px; font-weight: 700;">ซื้อประกันรถยนต์ <i class="fa-sharp fa-regular fa-circle-right fa-beat" style="font-size: 18px!important; martin-top:2px;"></i></div>
<div class="row10c2 row10 btn" onclick="go_page('https://rabbitcare.com/car-insurance/type1?utm_source=other_display&utm_medium=article&utm_campaign=table-car-insurance-by-type&utm_content=money-page-type-one-button&utm_term=table')">คลิก</div>
<div class="row10c3 row10 btn" onclick="go_page('https://rabbitcare.com/car-insurance/type2-plus?utm_source=other_display&utm_medium=article&utm_campaign=table-car-insurance-by-type&utm_content=money-page-type-twoplus-button&utm_term=table')">คลิก</i></div>
<div class="row10c4 row10 btn" onclick="go_page('https://rabbitcare.com/car-insurance/type2?utm_source=other_display&utm_medium=article&utm_campaign=table-car-insurance-by-type&utm_content=money-page-type-two-button&utm_term=table')">คลิก</div>
<div class="row10c5 row10 btn" onclick="go_page('https://rabbitcare.com/car-insurance/type3-plus?utm_source=other_display&utm_medium=article&utm_campaign=table-car-insurance-by-type&utm_content=money-page-type-threeplus-button&utm_term=table')">คลิก</div>
<div class="row10c6 row10 btn" onclick="go_page('https://rabbitcare.com/car-insurance/type3?utm_source=other_display&utm_medium=article&utm_campaign=table-car-insurance-by-type&utm_content=money-page-type-three-button&utm_term=table')">คลิก</div>
คำถามและข้อสงสัยที่พบบ่อย
แล้วควรที่จะเลือกทำประกันภัยรถยนต์ชั้นไหนดี?
สำหรับมือใหม่หัดขับหรือรถยนต์ป้ายแดง แนะนำว่าให้เลือกทำเป็นประกันภัยรถยนต์ชั้น 1 ไปเลยจะดีที่สุด เพราะว่าเป็นกรมธรรม์ที่ให้ความคุ้มครองสูงสุดทุกกรณี จึงทำให้เรามีความมั่นใจในทุกการขับขี่มากยิ่งขึ้น เพราะไม่ว่าจะเกิดเหตุการณ์ใด ๆ ในอนาคต เช่น รถยนต์ไฟไหม้ รถยนต์น้ำท่วม รถยนต์สูญหาย หรือเกิดอุบัติเหตุก็ตาม ทางบริษัทก็จะให้ความคุ้มครองทั้งตัวเราและตัวคู่กรณีอีกด้วย จึงเห็นได้ถึงคุ้มค่ากับเบี้ยประกันที่จะต้องจ่ายไปจริง ๆ เนื่องจากผลประโยชน์ที่เราจะได้รับนั้นมันเหมาะสมกับทั้งตัวเราและกับตัวรถยนต์เองด้วย สามารถคลิกดูรายละเอียดที่น่าสนใจเพิ่มเติมได้ที่ ประกันรถยนต์ชั้น 1
ซื้อประกันรถยนต์ผ่านแรบบิท แคร์ จะได้รับสิทธิประโยชน์อะไรบ้าง?
แผนกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ล้วนมีราคาที่แตกต่างกันออกไป โดยจะขึ้นอยู่กับความคุ้มครองในแต่ละแผนกรมธรรม์ที่ลูกค้าได้เลือก แต่ถ้าจะให้เปรียบเทียบความคุ้มครองกับราคาของเบี้ยประกันภัยรถยนต์แล้ว แน่นอนว่าที่แรบบิท แคร์ นั้นสามารถให้ความสะดวกสบายได้มากเลยทีเดียว เนื่องจากลูกค้าจะสามารถเลือกซื้อแผนกรมธรรม์ที่ตอบโจทย์ความต้องการได้เลยทันที เพราะแรบบิท แคร์ เรามีแผนประกันภัยที่หลากหลายจากบริษัทประกันภัยชั้นนำทั่วประเทศ ที่ลูกค้าสามารถเปรียบเทียบความคุ้มค่าได้เลยทันที เช็กไว เช็กง่าย รวดเร็วทันใจ แถมยังมีความปลอดภัยสูง สามารถคลิกดูข้อเสนอพิเศษและรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ แรบบิท แคร์