Rabbit Care Logo
ใช้ใจแคร์ ดูแลครบ
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ในการเก็บข้อมูลเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการใช้งาน และเพื่อเก็บข้อมูลสถิติ ท่านสามารถศึกษารายละเอียด เพิ่มเติมได้ที่นโยบายคุกกี้
info

💙 ต้อนรับปีใหม่! Rabbit Care แจก Airpods 4 และ Rabbit Care Voucher! เพียงสมัครบัตรเครดิต UOB สนใจ คลิก! 💙

user profile image
เขียนโดยTawan A.วันที่เผยแพร่: Mar 14, 2023

คลัชรถยนต์ สิ่งสำคัญในการขับรถเกียร์ธรรมดา

ทราบหรือไม่ว่าคลัชรถยนต์จัดให้เป็นชุดอะไหล่ที่สำคัญของรถยนต์เลยก็ว่าได้ รถยนต์เกียร์ธรรมดาหรือเกียร์กระปุก คลัช (Clutch) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ตัดการส่งกำลังจากเครื่องยนต์สู่ชุดเกียร์เมื่อผู้ขับรถยนต์เหยียบคลัช เพื่อให้ผู้ขับรถยนต์ทำการเปลี่ยนเกียร์และจะเชื่อมต่อการส่งกำลังจากเครื่องยนต์สู่ชุดเกียร์เมื่อผู้ขับรถยนต์ปล่อยคลัช

คลัชรถยนต์คืออะไร สำคัญอย่างไร มีหน้าที่อะไร

คลัชรถยนต์ (Clutch) คือ อะไร หน้าที่ของมันนั้นเป็นอย่างไร ก่อนอื่นเลยเราไปทำความรู้จักกันกับเจ้าชุดคลัชรถยนต์(Clutch) กันก่อน สำหรับชุดคลัชรถยนต์ นี้มันจะทำหน้าที่เป็นตัวตัด หรือต่อกำลัง ที่ส่งมาจากเครื่องยนต์ในการเปลี่ยนเกียร์ โดยอาศัย ความฝืดระหว่างแผ่นคลัช กับแผ่นกดคลัช และล้อช่วยแรง หรือฟลายวีล(Fly Wheel)

ส่วนประกอบคลัชรถยนต์
รถยนต์ที่ใช้กระปุกเกียร์แบบธรรมดํา คลัชคือกลไก ทําหน้าที่ควบคุมการต่อและตัดกำลังจากเครื่องยนต์ไปยังกระปุกเกียร์ คลัตช์จะติดตั้งอยู่ระหว่างเครื่องยนต์กับกระปุกเกียร์ ชุดคลัชจะยึดติดกับล้อช่วยแรงด้วยโบลต์ที่ด้านหลังของเครื่องยนต์ก็คือเพลาข้อเหวี่ยง อุปกรณ์ชุดคลัชรถยนต์มีส่วนประกอบที่สำคัญ ๆ ดังนี้คือ

  • ล้อช่วยแรง (Flywheel)
  • แผ่นคลัช (Clutch Disc)
  • แผ่นกดคลัช (ClutchPressure Plate)
  • ลูกปืนกดคลัช(ClutchReleaseBearing)
  • ก้ามปูกดคลัช(ClutchRelease Fork)
  • เพลาคลัช (Clutch Shaft Bearing)

คลัชรถยนต์เกียร์ธรรมดา มี 2 ประเภท คือ

  • คลัชที่ใช้สายสลิงควบคุม หรือดึงชุด Clutch แบบนี้จะอยู่ใกล้กับแป้น Clutch ใช้แรงเหยียบ Clutch มากจึงไม่เป็นที่นิยมในรถยนต์ที่ใช้งานทั่วไปบนท้องถนน
  • คลัชชนิดที่ใช้ระบบไฮดรอลิก(Hydraulic) ชุด Clutch จะอยู่ไกลจากแป้นเหยียบ จึงทำให้ใช้แรงเหยียบน้อยกว่าแบบแรก ระบบการทำงานคล้ายกับระบบเบรก ที่มีแม่ปั๊มเบรก(Master cylinder) กับตัวลูกปั๊มเบรก(Brake Wheel Cylinder)

ส่วนประกอบของระบบส่งกำลัง

  • ล้อช่วยแรง หรือฟลายวีล(Fly wheel) มีหน้าที่หมุนไปตามแรงเพลาข้อเหวี่ยง หน้าสัมผัสล้อช่วยแรงอีกด้านหนึ่ง จะสัมผัสกับแผ่นคลัช และแรงสัมผัสนี้มีน้ำหนักมาก ในเวลาที่ล้อช่วยแรงหมุน แกนเพลาคลัชในห้องเกียร์จะสามารถหมุนตามได้
  • แผ่นคลัช หรือ Clutch disc มีลักษณะเป็นวงกลม มีเส้นผ่านศูนย์กลางเล็กกว่า เส้นผ่านศูนย์กลางของล้อช่วยแรง เรียกว่า ผ้าคลัช หรือ Clutch Lining ทำมาจากวัสดุที่เป็นใยหิน และสารสังเคราะห์ คุณสมบัติเหนียว และทนทานต่อการเสียดทาน ฉาบอยู่ด้านหน้า และหลังจานคลัตช์
  • แผ่นกดคลัช(Clutch Pressure Plate) หรือที่เรียกกันว่าหวีคลัช จะประกบยึดอยู่กับฝาครอบคลัชรถยนต์ และล้อช่วยแรง ซึ่งจะทำงานเมื่อผู้ขับขี่ออกแรงเหยียบแป้นคลัตช์อยู่ในห้องโดยสาร แรงเหยียบจะถูกถ่ายทอดออกไปสู่ กระเดื่องกดแบริ่ง ที่มีแกนยื่นออกมานอกห้องคลัตช์ จากนั้นจะส่งแรงไปยังชุดกดแบริ่งที่ติดอยู่บนแกนเพลาคลัช ตรงศูนย์กลาง ของแผ่น สปริงไดอะเฟรม

ข้อสังเกตคลัชรถยนต์กำลังจะเสีย

อาการที่บ่งบอกได้ว่าคลัชรถยนต์หมด คลัชรถยนต์พัง หรือคลัชเสียนั้น ถือเป็นเรื่องใหญ่เช่นกัน นอกจากคลัชจะทำให้รถยนต์ของคุณไม่สามารถขับต่อได้แล้ว ยังอาจทำให้ระบบเกียร์นั้นพังไปอีกด้วย ซึ่งก่อนที่คลัชจะพังคุณสามารถตรวจดูอาการต่าง ๆ ได้ว่า มีอะไรบอกหรือส่งสัญญาณเตือนอะไรบ้างที่เจ้าของรถยนต์ต้องคอยสังเกต ดังนี้

1. คลัชรถยนต์ลื่น เกิดได้จาก 2 สาเหตุ ประกอบด้วย

คลัชหมด-ใกล้หมด สาเหตุใหญ่มาจากผ้าคลัตช์ที่เริ่มบางลงจนอาจถึงหมุดที่ย้ำตัวผ้าไว้กับจาน ส่งผลให้เครื่องยนต์ทำงานรอบสูงขึ้นแต่ความเร็วต่ำกว่าปกติ หรือรถไม่มีกำลังเมื่อขึ้นทางชัน เกิดจากสาเหตุเกิดน้ำมันเกียร์รั่ว หรือจาระบีที่ทาแกนเพลาเกียร์ 4 มากเกินความจำเป็น เมื่อเกิดการหมุนจาระบีจึงถูกเหวี่ยงไปถูกผ้าคลัตช์ อาจเกิดจากช่างที่ไม่มีความชำนาญตั้งคลัตช์ใหม่จนเกิดอาการน้ำมันเกียร์รั่วได้ และทำให้คลัชลื่นได้

2. คลัชรถยนต์สั่น

ส่วนใหญ่เกิดจากหน้าสัมผัสระหว่าง หวีคลัช-ผ้าคลัช-ล้อช่วยแรง ไม่เรียบส่งผลให้ขณะออกตัวรถเกิดอาการสั่นหรือกระตุก วิธีแก้ไขคือ เปลี่ยนผ้าคลัชใหม่ หวีคลัตช์จะเปลี่ยนหรือเจียรใหม่ก็ได้ ส่วนล้อช่วยแรงให้เจียรใหม่

3. คลัชรถยนต์พัง

เกิดได้จากหลายสาเหตุ อาทิ สปริงจานคลัชหลุด-หัก หมุดที่ย้ำผ้าคลัตช์แตกออก ลูกปืนคลัชแตก ทำให้รถเข้าเกียร์ไม่ได้ วิธีแก้ไขคือยกคลัชชุดใหม่ ซึ่งถ้าดูไม่เป็นหรือสาเหตุไม่เจอทางที่ดีที่สุดควรนำรถยนต์ของเรานั้นเข้าศูนย์บริการเพื่อทำการตรวจเช็กสภาพรถยนต์อยู่เป็นประจำก็ถือว่าเป็นการป้องกันในเรื่องของความปลอดภัยได้

วิธีถนอมคลัชรถยนต์ ให้มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน

รถยนต์คู่ใจของคุณไม่ว่าจะใช้ระบบเกียร์ธรรมดาหรือเกียร์อัตโนมัติ ก็ต้องใส่ใจดูแลตรวจสอบคลัชว่า ยังคงสภาพดีอยู่หรือไม่ หรือต้องทำการเปลี่ยนได้แล้ว เพราะโดยปกติคลัตช์ 1 ชุด จะมีอายุการใช้งานประมาณ 100,000 – 200,000 กิโลเมตร ซึ่งหากเจ้าของรถยนต์ต้องการให้คลัชใช้งานได้นาน ๆ ควรจะต้องรู้จักวิธีการใช้คลัชให้ถูกต้อง ดังนี้

  • อย่าเลี้ยงคลัช และควรออกตัวรถด้วยเกียร์ 1 เสมอเพื่อลดภาระของชุดคลัช และเมื่อเปลี่ยนเกียร์ควรเหยียบคลัชให้สุด แล้วปล่อยช้า ๆ เมื่อขับขี่รถบนทางลาดชัน อย่าเหยียบคลัชแช่ เพราะจะทำให้ผ้าคลัชสึกหรอมากกว่าปกติ
  • อย่าเหยียบคลัชโดยไม่จำเป็นเช่น การเบรกแบบกะทันหัน ไม่ควรเหยียบคลัตช์ก่อนเหยียบเบรก เพราะเมื่อเหยียบคลัชอยู่ในระหว่างเกียร์ว่างและจะทำให้รถยนต์ของเราไม่เกาะถนน อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ เช่นเกิดเสียหลัก ลื่น และอาจทำให้รถหมุนได้ง่าย
  • ไม่ควรพักเท้าที่คลัช เช่นว่า ช่วงเวลาที่กำลังรอเปลี่ยนเกียร์หลายคนมักจะชอบพักเท้ารอที่คลัช ซึ่งในทางเป็นจริงแล้วเราไม่ควรว่าเท้าไว้ที่คลัช เพราะอาจทำให้จานกดคลัทช์หนีห่างจากฟลายวีล และทำให้คลัชรถยนต์เสื่อมสภาพเร็วกว่ากำหนดนั่นเอง
  • อาการคลัชรถยนต์หมด หลายคนอาจจะไม่ค่อยได้สังเกตเพราะคิดว่าขับรถยนต์ด้วยระบบเกียร์อัตโนมัติแล้วจึงไม่ได้ให้ความสนใจและคิดว่าไม่น่าจะเกิดขึ้นได้กับรถยนต์ของตัวเอง แต่แท้ที่จริงแล้วระบบเกียร์อัตโนมัติก็มีคลัชทำงานอยู่ข้างในเช่นกัน ฉะนั้นแล้วเราต้องคอยสังเกตดูอาการเตือน เพื่อเป็นการดูแลรักษาอยู่เสมอก็ย่อมยืดอายุการใช้งานได้

เทคนิคง่าย ๆ สำหรับการดูแลรักษาคลัชรถยนต์ให้มีอายุที่ยาวนานมากขึ้น หรือช่วยถนอมอายุการใช้งานให้คงสภาพดีไม่สึกหรอก่อนกำหนดนั่นเอง แต่ทางที่ดีไม่ว่าจะเป็นคลัช หรือส่วนอื่น ๆ ของรถยนต์ล้วนแล้วแต่มีความสำคัญด้วยกันทั้งสิ้น ฉะนั้นแล้วเพื่อความปลอดภัยของชีวิตและทรัพย์สิน เราจึงควรใส่ใจดูแลรถยนต์ของเราอย่างสม่ำเสมอ

คลัชรถยนต์กับคนขับรถ “เกียร์ธรรมดา” ควรปฏิบัติ

1. อย่ากระแทก หรือเข้าเกียร์แรงๆ

ยิ่งเกียร์ธรรมดาในรถรุ่นใหม่ ๆ เข้าง่ายกว่ารถสมัยก่อนมาก แถมคลัชก็นิ่ม (ถ้าคลัชแข็ง ๆ ก็จะประมาณรถกระบะ) แต่สิ่งสำคัญที่ควรจำไว้ เวลาขับรถบนถนน “ห้ามมองเกียร์”

2. เลี้ยงคลัชให้ดี เครื่องจะไม่ดับ

เป็นเรื่องที่คนขับรถเกียร์ธรรมดาตอนหัดขับ เป็นกันทุกคน นั่นคือ “ออกตัวแล้วเครื่องดับ” ไม่ใช่เรื่องแปลก คือเรื่องแบบนี้ต้อง “ทำความคุ้นเคย” กับรถ และหมั่น “ฝึกฝน” บ่อย ๆ แรก ๆ อาจจะยาก แต่บ่อยครั้งเข้าเดี๋ยวก็ชิน เพื่อออกรถให้นุ่มนวล มีจังหวะ ไม่ออกตัวกระชาก จับระยะการปล่อยคลัตช์ให้สัมพันธ์กันกับคันเร่ง ซึ่งในรถแต่ละรุ่น ระยะคลัตช์ตื้นลึกไม่เท่ากัน บางคนบอก ถ้ากลัวออกตัวแล้วเครื่องดับ ก็ให้เหยียบคันเร่งลึก ๆ แช่คลัชไว้แล้วค่อยๆ ถอนคลัชก่อนออกตัวรถ ซึ่งก็ทำได้ แต่มันก็จะกินน้ำมัน หรือหากถอนคลัชเร็วไป รถอาจพุ่งไปข้างหน้าได้

3. อย่าเลี้ยงคลัชจนเคยชิน

บางคนติดนิสัยชอบเหยียบคลัชแช่ไว้นาน ๆ แต่การวางเท้าไว้ที่คลัชนาน ๆ นั้น ไม่เป็นผลดีนัก เพราะเหมือนมีน้ำหนักกดไว้อยู่ ทำให้คลัตช์นั้นทำงานตลอด จะทำให้คลัชสึกหรอเร็ว และรถกินน้ำมันมากขึ้นทางที่ดี เมื่อเข้าเกียร์ เหยียบคลัช ออกตัวรถเรียบร้อยแล้ว ควรวางขาไว้ที่ “แป้นพักเท้า” บริเวณมุมซ้ายสุดนะครับ (แบบในรูป) เพื่อความสบายของเท้า และจะช่วยตรึงและดันให้ร่างกายให้แนบสนิท ติดกับตัวเบาะ ทำให้ขับรถได้สบายขึ้น ไม่เมื่อยขาท่อนบน และช่วยให้กล้ามเนื้อแผ่นหลัง รับแรงสั่นสะเทือนจากช่วงล่างของรถน้อยลง เมื่อนั่งนาน ๆ จะได้ไม่ปวดหลัง และปวดขาท่อนบน

ทั้งนี้ทั้งนั้นถ้าหากท่านใช้งานคลัชถูกต้องจะช่วยป้องกันเหตุที่อาจจะเป็นอันตรายได้ เพียงใช้อย่างถูกต้องเข้าใจ ก็จะช่วยสร้างวินัยในการขับขี่ และเพิ่มความปลอดภัยได้ แต่ถ้าหากรถมีประกันชั้น 1 แล้วคลัชรถยนต์ของท่านมีปัญหาโดยเกิดจากความผิดปกติของรถยนต์ ไม่ได้เกิดจากการตกแต่งดัดแปลงใด ๆ ท่านสามารถให้ประกันของท่านเพื่อเข้าเคลมคลัชรถยนต์ของท่านได้ ให้คุณได้หมดปัญหากังวลใจเรื่องคลัชของท่านและขับขี่อย่างสบายใจ หากใครยังตัดสินใจไม่ได้ว่าจะใช้ ประกันรถยนต์ ของบริษัทไหน ให้เรา แรบบิท แคร์ ช่วยเปรียบเทียบประกันแต่ละประเภทให้เหมาะสำหรับรถคุณ

ความคุ้มครองประกันรถยนต์

ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ของเรา