Rabbit Care Logo
ใช้ใจแคร์ ดูแลครบ
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ในการเก็บข้อมูลเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการใช้งาน และเพื่อเก็บข้อมูลสถิติ ท่านสามารถศึกษารายละเอียด เพิ่มเติมได้ที่นโยบายคุกกี้
info

💙 แจก Starbuck Voucher มูลค่า 800 บาทฟรี! เพียงเปิดบัญชี Webull ผ่านช่องทางของ Rabbit Care สนใจ คลิก! 💙

user profile image
เขียนโดยTawan A.วันที่เผยแพร่: Jul 04, 2024

เครื่องยนต์รถยนต์ หัวใจสำคัญของการขับเคลื่อน

เมื่อพูดถึงรถยนต์แล้ว ชิ้นส่วนหนึ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับรถยนต์นั่นก็คือเครื่องยนต์ รถยนต์ ซึ่งมีผลอย่างมากสำหรับสมรรถนะการขับเคลื่อนของรถยนต์แต่ละรุ่น โดยรถยนต์แต่ละรุ่นอาจใช้เครื่องชนิดเดียวกัน หรือใช้ชนิดของเครื่องที่แตกต่างกันก็ได้ อีกทั้ง เครื่องยนต์ รถยนต์ถือเป็นสิ่งที่ควรคำนึงเป็นอย่างมากในการซื้อรถแต่ละครั้ง ในบทความนี้ เราจะพูดถึงเครื่องยนต์ รถยนต์ ว่าคืออะไร มีกี่ประเภท มีส่วนประกอบอะไรภายในบ้าง หลักการทำงานเป็นอย่างไร และ

เครื่องยนต์ รถยนต์คืออะไร

เครื่องยนต์ คือเครื่องจักรที่ใช้พลังงานความร้อนเพื่อเปลี่ยนให้เป็นพลังงานกล แล้วใช้พลังงานกลที่ได้จากการเปลี่ยนแปลงพลังงานเพื่อนำไปขับเคลื่อนเครื่องจักรกลต่าง ๆ ตามการทำงานที่ออกแบบไว้ รวมไปถึงรถยนต์ สำหรับรถยนต์แล้ว เครื่องยนต์ รถยนต์ถือเป็นต้นกำเนิดของพลังงานที่ใช้ขับเคลื่อนให้สามารถขับขี่ได้ โดยทั่วไปแล้ว ตัวเครื่องยนต์ รถยนต์จะได้พลังงานจากการเผาไหม้ของน้ำมันเชื้อเพลิงกับอากาศภายในระบบเครื่อง หรือที่เรียกว่า การเผาไหม้ภายใน โดยน้ำมันเชื้อเพลิงที่ใช้ในการเผาไหม้มีอยู่ 2 ชนิดหลัก ได้แก่ น้ำมันเบนซิน และน้ำมันดีเซล

ประเภทของเครื่องยนต์รถยนต์

เครื่องยนต์ รถยนต์สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทตามน้ำมันเชื้อเพลิงที่ใช้ในการเผาไหม้ ได้แก่ เครื่องเบนซิน หรือเครื่องแก๊สโซลีน และเครื่องดีเซล

  • เครื่องเบนซิน (Gasoline Engine)
    เครื่องเบนซิน คือเครื่องยนต์ รถยนต์ที่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิงกับอากาศภายในห้องเครื่องผสมกันในชิ้นส่วนเครื่องที่เรียกว่า “คาร์บูเรเตอร์” แล้วนำส่วนผสมที่ได้เข้าสู่ระบบเครื่องทางกระบอกสูบ และทำการจุดระเบิดภายในกระบอกสูบของเครื่องยนต์ รถยนต์ โดยใช้ประกายไฟที่จุดจากหัวเทียน เครื่องเบนซินยังสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ตามจังหวะการทำงานภายในรถยนต์ ได้แก่ เครื่อง 4 จังหวะ และเครื่อง 2 จังหวะ
  • เครื่องดีเซล (Diesel Engine)
    เครื่องดีเซล คือเครื่องยนต์ รถยนต์ที่ใช้น้ำมันดีเซลเป็นน้ำมันเชื้อเพลิง โดยเครื่องประเภทนี้ยังมีชื่อเรียกอีกหนึ่งชื่อว่า เครื่องจุดระเบิดด้วยกำลังอัด (Compression Ignition Engine) มีหลักการทำงานคร่าว ๆ คือการอัดอากาศเข้าไปในกระบอกสูบด้วยกำลังที่สูง และใช้น้ำมันเชื้อเพลิงอัดฉีดเข้าไปภายในกระบอกสูบด้วยแรงอัดที่สูง ทำให้เกิดการจุดระเบิดภายในกระบอกสูบ และทำให้ได้พลังงานออกมาใช้งาน ซึ่งจะต่างจากเครื่องยนต์ รถยนต์เบนซิน

ส่วนประกอบของเครื่องยนต์ รถยนต์ มีอะไรบ้าง

ชิ้นส่วนของเครื่องยนต์ รถยนต์ ในเครื่องแต่ละประเภทจะแตกต่างกันออกไปตามหลักการทำงานของเครื่องยนต์ รถยนต์ แต่ละประเภท โดยส่วนประกอบของเครื่องยนต์ รถยนต์ของประเภทต่าง ๆ มีดังต่อไปนี้

  • ส่วนประกอบเครื่องเบนซิน
    สำหรับเครื่องยนต์ รถยนต์เบนซิน จะมีชิ้นส่วนหรือส่วนประกอบภายในเครื่องอยู่ประมาณ 19 ชิ้น ได้แก่ ลูกสูบ (Piston) ก้านสูบ (Connecting Rod) เพลาข้อเหวี่ยง (Crank Shaft) แหวนลูกสูบ (Piston Rings) สลักลูกสูบ (Piston Pins) ล้อช่วยแรง (Fly Wheel) เพลาลูกเบี้ยว (Cam Shaft) ลิ้น (Valve) ลูกกระทุ้งลิ้น (Valve Tappet) สปริงลิ้น (Valve Spring) เสื้อสูบ (Cylinder Block) ฝาสูบ (Cylinder Head) กระบอกสูบ (Cylinder) ปะเป็นฝาสูบ (Cylinder Head Gasket) อ่างน้ำมันเครื่อง (Crank Case) คาร์บูเรเตอร์ (Carburetor) หม้อกรองอากาศ (Air Cleaner) ถังน้ำมันเชื้อเพลิง (Fuel Tank) และหัวเทียน (Spark Plug)
  • ส่วนประกอบเครื่องดีเซล
    สำหรับเครื่องยนต์ รถยนต์ดีเซล จะมีชิ้นส่วนหรือส่วนประกอบที่คล้ายกันกับเครื่องเบนซิน แต่เครื่องยนต์ดีเซลจะไม่มีหัวเทียน เพราะจากหลักการทำงานของเครื่องดีเซล เครื่องยนต์ รถยนต์ชนิดนี้สามารถสร้างการระเบิดด้วยการอัดด้วยแรงที่สูง จึงไม่จำเป็นที่จะต้องมีหัวเทียน

หลักการทำงานของเครื่องยนต์ รถยนต์ เป็นอย่างไร

สำหรับหลักการทำงานของเครื่องยนต์ รถยนต์แต่ละประเภท จะมีความแตกต่างกันอยู่บ้าง จากที่กล่าวไว้ข้างต้น เครื่องเบนซินมีการทำงานของเครื่องอยู่ 2 แบบ นั่นคือ การทำงานของเครื่องแบบ 4 จังหวะ และการทำงานของเครื่องแบบ 2 จังหวะ ส่วนเครื่องดีเซลจะมีการทำงานของเครื่องแบบ 4 จังหวะ คล้ายกับเครื่องเบนซิน

  • การทำงานของเครื่องเบนซินแบบ 4 จังหวะ
    สำหรับเครื่องยนต์ รถยนต์เบนซิน 4 จังหวะ จะมีการทำงานอยู่ 4 ขั้นตอน ได้แก่ จังหวะดูด จังหวะอัด จังหวะระเบิด และจังหวะคาย ซึ่งการทำงานของเครื่องแบบ 4 จังหวะจะมีการเคลื่อนไหวของชิ้นส่วนนั่นคือ จะเกิดการเลื่อนขึ้น-ลงของลูกสูบ 4 ครั้ง การหมุนของเพลาข้อเหวี่ยง 2 รอบ และการหมุนของเพลาลูกเบี้ยว 1 รอบ จึงจะได้งาน 1 ครั้ง
  • การทำงานของเครื่องเบนซินแบบ 2 จังหวะ
    สำหรับเครื่องยนต์ รถยนต์เบนซิน 2 จังหวะ จะมีการทำงานอยู่ 2 จังหวะ แต่จะมีจังหวะดูด และจังหวะอื่น ๆ เหมือนกับเครื่อง 4 จังหวะ แต่จะมีบางขั้นตอนที่เกิดขึ้นพร้อมกัน สรุปได้ว่า จากการทำงานของเครื่อง 2 จังหวะ จะเกิดการเลื่อนขึ้น-ลงของลูกสูบ 2 ครั้ง การหมุนของเพลาข้อเหวี่ยง 1 รอบ จึงจะเกิดการจุดระเบิด 1 ครั้ง และได้งาน 1 ครั้ง
  • การทำงานของเครื่องดีเซลแบบ 4 จังหวะ
    สำหรับการทำงานของเครื่องยนต์ รถยนต์ดีเซล 4 จังหวะ จะมีการทำงานที่คล้ายกับเครื่องเบนซิน แต่มีรายละเอียดที่ต่างกัน นั่นคือ มีการเลื่อนขึ้น-ลงของลูกสูบ 4 ครั้ง การหมุนของเพลาข้อเหวี่ยง 2 รอบ การหมุนของเพลาราวลิ้นหมุน 1 รอบ จึงจะได้งาน 1 ครั้ง

รถยนต์ เครื่อง 1.5 หมายความว่าอะไร

หากพบเจอว่ารถยนต์คันนี้เป็นรถยนต์ เครื่อง 1.5 หรือรถยนต์เครื่อง 1500 หมายความว่ารถยนต์คันนี้มีปริมาตรรวมของกระบอกลูกสูบอยู่ที่ 1.5 ลิตร หรือ 1,500 ซีซี นั่นเอง ซึ่งสามารถคำนวณปริมาตรของกระบอกลูกสูบแต่ละกระบอกได้ด้วยการนำปริมาตรรวมหารด้วยจำนวนลูกสูบในเครื่อง

รถยนต์ เครื่อง 1.6 หมายความว่าอะไร

หากพบเจอว่ารถยนต์คันนี้เป็นรถยนต์ เครื่อง 1.6 หรือรถยนต์ เครื่อง 1600 หมายความว่ารถยนต์คันนี้มีปริมาตรรวมของกระบอกลูกสูบอยู่ที่ 1.6 ลิตร หรือ 1,600 ซีซี นั่นเอง ซึ่งสามารถคำนวณปริมาตรของกระบอกลูกสูบแต่ละกระบอกได้ด้วยการนำปริมาตรรวมหารด้วยจำนวนลูกสูบในเครื่อง

โดยปริมาตรรวมของกระบอกลูกสูบจะมีผลต่อแรงขับเคลื่อนที่เกิดจากการจุดระเบิดเชื้อเพลิงภายในกระบอกสูบ ซึ่งถ้าหากภายในระบบเครื่องมีช่วงชักของลูกสูบที่เท่ากัน ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของลูกสูบที่เท่ากัน และปัจจัยอื่น ๆ ที่เหมือนกัน สามารถบอกได้ว่ารถยนต์ เครื่อง 1600 หรือรถยนต์ เครื่อง 1.6 สามารถสร้างแรงขับเคลื่อนได้มากกว่ารถยนต์เครื่อง 1500 หรือรถยนต์ เครื่อง 1.5 นั่นเอง แต่ในหลาย ๆ ครั้ง จะต้องพิจารณาถึงปัจจัยต่าง ๆ เช่น ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของลูกสูบ ช่วงชักของลูกสูบ รวมไปถึงการอัดฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงร่วมด้วย ดังนั้น โดยปกติแล้ว เราจึงไม่สามารถสรุปได้ชัดเจนว่ารถยนต์ เครื่อง 1600 ดีกว่ารถยนต์เครื่อง 1500

ปริมาตรลูกสูบของกระบอกลูกสูบเครื่องยนต์ รถยนต์ กับการใช้งานรถยนต์

ในการเลือกซื้อรถยนต์แต่ละครั้ง สิ่งหนึ่งที่เราควรพิจารณานั่นคือปริมาตรรวมของกระบอกลูกสูบเครื่องยนต์ รถยนต์ เพราะมีผลอย่างมากต่อลักษณะการใช้งานรถของแต่ละคน หากเราใช้งานรถเพื่อเดินทางภายในพื้นที่ที่ไม่ไกลมาก โดยเฉพาะใช้ขับภายในจังหวัด หรือใช้ขับออกต่างจังหวัดไม่บ่อยมาก อาจเลือกใช้รถยนต์ที่มีเครื่องยนต์รถยนต์ประมาณ 1.2 - 1.5 ลิตร ซึ่งข้อดีของเครื่องประเภทนี้นั่นคือ ประหยัดน้ำมัน เพราะใช้ความเร็วที่ไม่สูงมาก แต่ถ้าหากต้องเดินทางไปในพื้นที่ที่ไกลขึ้น ต้องเดินทางไกลบ่อยขึ้น ควรใช้รถที่มีเครื่องยนต์ รถยนต์อยู่ที่ 1.6 - 1.8 ลิตร เพื่อให้สมรรถนะในการขับขี่ในแต่ละครั้งดีขึ้น แต่ยังคงประหยัดน้ำมันอยู่ แต่ก็จะใช้น้ำมันมากขึ้นเมื่อเทียบกับเครื่องชนิดก่อน แต่สำหรับเครื่องยนต์ รถยนต์ที่มีขนาด 2 ลิตรขึ้นไป จะเหมาะสำหรับผู้ที่จำเป็นต้องเดินทางไกลเป็นประจำ ซึ่งต้องการสมรรถนะในการขับขี่ที่ดีเพื่อเดินทางไกล ดังนั้น เมื่อจะซื้อรถ ควรคำนึงถึงการใช้งานรถของเราว่าเป็นอย่างไร เพื่อที่จะได้เลือกซื้อรถได้ตรงตามความต้องการของเรามากที่สุด อีกทั้งยังเป็นการประหยัดในทางอ้อมด้วย

สำหรับเรื่องเครื่องยนต์ รถยนต์ต่าง ๆ เราควรศึกษาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับความรู้ต่าง ๆ เพื่อนำไปประกอบการตัดสินใจซื้อรถ เพื่อให้ได้ตรงตามความต้องการของเรามากที่สุด โดยเฉพาะชิ้นส่วนต่าง ๆ ภายในเครื่อง เพราะหากเกิดปัญหาใด ๆ ก็ตาม เราจะสามารถแก้ไขปัญหาเบื้องต้นได้ รวมไปถึงการเคลมกับประกันรถยนต์หากเกิดปัญหาขึ้น แน่นอนว่าหากเกิดความเสียหายจากอุบัติเหตุ สามารถเคลมประกันได้ แต่ถ้าหากกระทำการที่ผิดวิสัยต่าง ๆ อาจไม่สามารถทำการเคลมได้ จึงต้องระมัดระวัง หากต้องการประกันรถยนต์ไว้เพื่อทำให้เราอุ่นใจ ควรเลือกซื้อประกันที่สามารถคุ้มครองเราได้ตามความต้องการของเรา และเลือกประกันที่มีบริการเตรียมพร้อมสำหรับเรายามเกิดเหตุฉุกเฉิน สุดท้ายนี้ ขอให้ทุกคนเลือกซื้อรถยนต์ให้ตรงใจตัวเองนะ

การดูแลรักษาเครื่องยนต์ของรถยนต์

การดูแลรักษาเครื่องยนต์เป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยยืดอายุการใช้งานและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของรถยนต์ ควรเริ่มจากการตรวจเช็คและเปลี่ยนน้ำมันเครื่องตามระยะเวลาที่ผู้ผลิตแนะนำ ซึ่งช่วยลดการสึกหรอและรักษาความสะอาดของชิ้นส่วนภายใน

นอกจากนี้ การตรวจเช็คสายพาน ไส้กรองอากาศ และระบบระบายความร้อนก็สำคัญไม่แพ้กัน เพื่อให้เครื่องยนต์ทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ การฟลัชชิ่งเครื่องยนต์เป็นขั้นตอนที่ช่วยขจัดคราบน้ำมันเก่าและสิ่งสกปรกที่สะสมอยู่ภายใน ทำให้เครื่องยนต์ทำงานได้ราบรื่นและช่วยลดการสึกหรอ ควรทำการฟลัชชิ่งตามคำแนะนำของผู้ผลิตเพื่อรักษาสภาพเครื่องยนต์ให้อยู่ในสภาพดี

ความคุ้มครองประกันรถยนต์

ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ของเรา