Rabbit Care Logo
ใช้ใจแคร์ ดูแลครบ
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ในการเก็บข้อมูลเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการใช้งาน และเพื่อเก็บข้อมูลสถิติ ท่านสามารถศึกษารายละเอียด เพิ่มเติมได้ที่นโยบายคุกกี้
info

💙 ต้อนรับปีใหม่! Rabbit Care แจก Airpods 4 และ Rabbit Care Voucher! เพียงสมัครบัตรเครดิต UOB สนใจ คลิก! 💙

user profile image
เขียนโดยTawan A.วันที่เผยแพร่: Apr 12, 2023

แตรรถยนต์ถึงจะไม่ค่อยได้ใช้ แต่สำคัญกว่าที่คิด

แตรรถยนต์ คือ สิ่งสำคัญในการใช้รถใช้ถนนเพื่อใช้ในการส่งสัญญาณเสียงแก่ผู้ร่วมถนน นอกจากบอกให้รู้ว่าเราอยู่ตรงนี้ ควรระวัง (ยังเอาไว้ใช้กดระบายอารมณ์เมื่อเจอสถานการณ์อัดอั้นต่าง ๆได้อีกต่างหาก) ปกติสุภาพชนไม่ควรใช้สัญญาณแตรพร่ำเพรื่อหรือใช้ในที่ห้ามใช้ แต่ถ้าอยากใช้เมื่อไหร่กดแล้วไม่ดัง อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ อันที่จริง ก็เหมือนกับปากของคนเรานั่นแหละ ถ้าเราไม่มีปากไว้ส่งเสียงคนข้างหน้าจะรู้ได้ยังไง ว่าเรากำลังเดินชนเขา เคยมีชายรูปหล่อคนหนึ่ง แต่รถเสียแล้วมัวแต่ผัดผ่อนกับตัวเองไม่ได้ซ่อมสักที วันหนึ่งโดนรถที่เจ้าของเผลอไม่ได้เหยียบเบรคไหลชนเข้าเต็มแรง ไม่รู้จะตะโกนบอกอย่างไร นี่คือตัวอย่างที่เมื่อแตรรถยนต์ไม่ดังในตอนที่อยากให้ดังก็ต้องลำบากแน่ ๆ โดยเฉพาะในช่วงคับขัน

หากแตรรถยนต์ไม่มีเสียงดังควรซ่อมให้ใช้งานได้ เพราะกฎหมายระบุเอาไว้ว่าเสียงแตรรถยนต์ต้องได้ยินในระยะที่ไม่น้อยกว่า 60 เมตร เพื่อลดการเกิดอุบัติเหตุขึ้น และทางที่ดีไม่ควรเปลี่ยนเสียงแตร ควรใช้เสียงแตรรถยนต์เดิมที่มากับรถยนต์เพื่อป้องกันไม่ให้รถคันอื่น ๆ สับสน หากฝ่าฝืนมีโทษปรับตามกฎหมายเพราะแตรรถยนต์ถึงไม่ค่อยได้ใช้ แต่สำคัญกว่าที่คิด วันนี้เรามาทำความรู้จักว่าแตรรถยนต์มีความสำคัญอย่างไร ในเชิงของชิ้นส่วนของรถยนต์อยู่ตรงไหน แตรรถยนต์มีวงจรอย่างไร หากแตรรถยนต์เสียหรือใช้งานไม่ได้จะแก้ไขอย่างไร หากท่านใช้รถยนต์เป็นเป็นประจำอาจทราบอยู่แล้ว แต่วันนี้มือใหม่ที่เป็นเจ้าของรถยนต์จะได้รู้กัน

วงจรการทำงานของแตรรถยนต์

แตร (Horn)แตรรถยนต์ มีหน้าที่ผลิตเสียงสัญญาณเพื่อเตือนให้ผู้ใช้ถนนได้ทราบ เสียงของแตรเกิดจากการสั่นสะเทือนของไดอะแฟรมภายในแตร ปกติในวงจรแตรรถยนต์จะนิยมใช้แตร 2 ตัวเป็นเสียงต่ำ 1 ตัวและเสียงสูงอีก 1 ตัว

การทำงานเมื่อกดสวิตช์ กระแสไฟฟ้าจากแบตเตอรี่จะผ่านฟิวส์ ผ่านเข้าขั้วบวกของแตรรถยนต์ ผ่านคอนแทกซึ่งต่อกันอยู่ ผ่านเข้าไปเลี้ยงคอยล์(ขดลวด)ในตัวแตร ผ่านขั้วลบของแตร เข้าสวิตช์แตรแล้วลงกราวด์ครบวงจร ทำให้แกนเหล็กอ่อนที่คอยล์ของแตรพันอยู่เกิดอำนาจแม่เหล็กดูดให้พลังเยอร์เคลื่อนที่ขึ้นเป็นผลให้ดึงแผ่นไดอะแฟรมของแตรขยับขึ้นตาม ในขณะที่พลังเยอร์เคลื่อนที่ขึ้นจะดันให้คอนแทกแยกจากกัน ทำให้ไม่มีกระแสไฟฟ้าผ่านไปเลี้ยงที่คอยล์ของแตร แกนเหล็กอ่อนจึงหมดอำนาจแม่เหล็ก แผ่นไดอะแฟรมดีดตัวกลับ ดึงให้พลังเยอร์เคลื่อนตัวกลับด้วยเป็นผลให้คอนแทกต่อทางไฟอีกครั้งหนึ่ง เป็นการเริ่มต้นการทำงานใหม่ การขยับขึ้นลงของแผ่นไดอะแฟรมจะทำให้แตรรถยนต์เกิดเสียงดัง- วงจรแตรแบบใช้รีเลย์ในวงจรแบบธรรมดาเวลาทำงานจะมีกระแสไฟฟ้าจำนวนมากที่ผ่านสวิตช์ ทำให้สวิตช์ร้อนเป็นเหตุให้สวิตช์มีอายุการใช้งานสั้น ดังนั้นในปัจจุบันจึงหันมาใช้วงจรแบบใช้รีเลย์

แตรรถยนต์มีส่วนประกอบอะไรบ้าง

รีเลย์แตรรถยนต์ (horn relay)

วงจรแตรรถยนต์ที่มีการติดตั้งรีเลย์เข้าไปในวงจรเพื่อที่จะให้กระแสไฟจำนวนมากจากแบตเตอรี่ไหลไปโดยผ่านรีเลย์ และกระแสไฟจำนวนน้อยไหลไป ทำให้มีอายุการใช้งานนาน และ สายไฟที่ต่อไป สามารถลดขนาดให้เล็กลงได้ เพราะกระแสไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ที่ไหลไปยังรีเลย์ ผ่านปุ่มลงกราวด์ใช้กระแสไฟฟ้าเพียงเล็กน้อยก็เพียงพอที่จะให้รีเลย์ทำงานได้ ภายในรีเลย์จะประกอบด้วยขดลวดแม่เหล็กไฟฟ้าและหน้าทองขาวจำนวน 2 ตัว หน้าทองขาวจะทำหน้าที่ในการต่อวงจรไฟระหว่างแบตเตอรี่รถยนต์กับแตร รีเลย์จะมีขั้วต่อ 3 ขั้วคือ ขั้ว H ขั้ว B (ต่อไปขั้ว BAT) ขั้ว S

การทำงานของแตรรถยนต์และรีเลย์

เมื่อกดสวิตช์แตรรถยนต์จะทำให้กระแสไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ไหลผ่านขั้ว B และขดลวดออกขั้ว S ไปยังสวิตช์แตรลงกราวด์ ทำให้ขดลวดเกิดสนามแม่เหล็กและมีอำนาจแม่เหล็กเกิดขึ้นดูดให้หน้าทองขาวติดกัน กระแสไฟฟ้าจากแบตเตอรี่จะไหลผ่านขั้ว B ผ่านหน้าทองขาวไปขั้ว H ไปยังแตรทำให้แตรทำงานมีเสียงดังเกิดขึ้น รีเลย์โดยทั่ว ๆ ไปขดลวดรีเลย์จะมีขนาดเล็กแต่ความต้านทานสูง จึงทำให้มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านสวิตช์แตรมีน้อย

วีธีต่อแตรรถยนต์และตรวจสอบการทำงานของแตรรถยนต์

แตรรถยนต์ไม่ดัง! อาการนี้เกิดขึ้นได้ทั้งกับรถเก่าและรถใหม่เนื่องจากมีส่วนประกอบต่าง ๆ เป็นปัจจัยมากมายในการที่จะต้องตรวจสอบเริ่มตั้งแต่ แบตเตอรี่มีไฟหรือไม่, สวิตช์ทำงานต่อเนื่องหรือไม่, สายไฟรวมถึงขั้ว ต่อสายไฟต่าง ๆ ในระบบต่อเรียบร้อยหรือไม่ แต่สำหรับในรถใหม่ปัญหาที่พบส่วนมากคือ ตัวแตรรถยนต์ ซึ่งสาเหตุเกิดที่ผ่านการใช้งานมาระยะหนึ่งชิ้นส่วนภายในที่ประกอบด้วยไดอะแฟรม, สปริง ฯลฯ จะเกิดการยืดขยายตัวสำหรับการทำงานในช่วงแรก ๆ แต่ปัญหา ดังกล่าวสามารถตรวจสอบและแก้ไขได้ดังนี้

  • เมื่อพบรถที่มีอาการแตรไม่ดังให้ทำการปลดสายไฟที่ขั้วออกทั้ง 2 ขั้ว
  • ตรวจสอบค่าความต้านทานของแตร โดยใช้พอกเก็ตเทสเตอร์
  • ปรับย่านพอกเก็ตเทสเตอร์ไปที่ X 1โอห์ม และเซ็ท 0 ที่พอกเก็ตเทสเตอร์
  • นำสายพอกเก็ตเทสเตอร์คีบที่ขั้วแตรทั้ง 2 ด้าน
  • สังเกตเข็มที่พอกเก็ต หากเข็มพอกเก็ตเทสเตอร์ขึ้น (ค่าประมาณ 5 – 8 โอห์ม) แสดงว่าไม่ชำรุดให้ตรวจสอบสายไฟและสวิตช์ แฮนด์หากเข็มที่พอกเก็ตเทสเตอร์ไม่ขึ้น (? โอห์ม) ให้ไขสกรูปรับแต่งเสียงทวนเข็มนาฬิกา
  • หากเข็มที่พอกเก็ตเทสเตอร์ยังไม่ขึ้นหมายความว่าเสียให้เปลี่ยนใหม่
  • หากเข็มที่พอกเก็ตเทสเตอร์ขึ้นให้ทำการเสียบสายไฟที่ขั้วทั้ง 2 ขั้ว หลังจากนั้นให้ทำการปรับแต่งเสียงแตรรถยนต์ และ หลังจากปรับเสียงเป็นที่เรียบร้อย ให้ใช้กาวชนิดแห้งเร็วหยอดลงที่สกรูปรับแต่งเสียงเพื่อป้องกันการคลายตัว ของสกรู

แตรรถยนต์ไม่ดังทำไง ซ่อมเองได้ไหม?

ในเมื่อทราบกันแล้วว่าอุปกรณ์ชิ้นนี้มีความสำคัญมากน้อยขนาดไหน เราไปดูวิธีตรวจเช็กและบำรุงรักษากันเลย สาเหตุที่แตรรถยนต์ไม่ดังนั้นมันมีปัจจัย เช่น แบตเตอรี่อ่อน สายไฟหลวม ระบบไฟชื้น ฟิวส์ขาด ก็มีแค่ไม่กี่อย่าง ลองไปไล่เช็กกันดู เผื่อฟลุคจะได้ไม่เสียทั้งเงินและเวลา

วิธีแรก ให้เช็กตรงส่วนของหน้าสัมผัสที่ตัวเป็นแป้นกันก่อน เพราะส่วนใหญ่แล้วจะเกิดมาจากสาเหตุนี้แหล่ะ เราทำได้โดยอันดับแรกให้แกะฝาครอบออก ซึ่งสิ่งที่ยึดฝาครอบนั้นรถแต่ละรุ่นจะไม่เหมือนกัน (ตรงจุดนี้ควรสังเกตดี ๆ เพราะหากบุ่มบ่ามอาจทำให้เกิดความเสียหาย) ค่อยเอาประแจบล็อกหรือกากบาทขันนอตที่ยึดพวงมาลัยออกมา การถอดพวงมาลัยนั้นถ้าจะให้ดึงเฉย ๆ มันไม่ออกมาแน่นอน วิธีการก็คือ ให้ตั้งพวงมาลัยให้ตรง (ตั้งล้อตรง) แล้วใช้มือค่อย ๆ ไล่ทุบทั้งสองข้างซ้าย-ขวาของพวงมาลัย จากนั้นก็ค่อย ๆ ดีงออกมา

ข้อควรระวัง คือ เวลาถอดเราต้องใช้นอตขันคาเอาไว้ตรงแกนให้พอหลวม ๆ ก่อน ตอนที่พวงมาลัยหลุดออกมาจะได้ไม่มากระแทกใส่ตัวจนอาจบาดเจ็บ จากนั้นทำสัญลักษณ์ไว้ด้วยกันลืม เพราะถ้าใส่ไม่ตรงกับที่ถอดมาแล้วหล่ะก็ จะทำให้พวงมาลัยนั้นเปลี่ยนองศาในการควบคุมได้ ต่อไปก็หาจุดที่กดแล้วจะสัมผัสกับพวงมาลัยหรือจุดระหว่างพวงมาลัยกับคอพวงมาลัย เพราะส่วนนั้นอาจจะมีสนิมได้ ตรงจุดนี้ให้นำกระดาษทรายมาขัด แล้วฉีดพ่นด้วยน้ำยากันสนิมเพื่อพ่นกันสนิมหรือเอาจาระบีทาบาง ๆ

จากนั้นจึงจับสายไฟของระบบทั้งสองเส้นจิ้มกับขั้วแบตดูว่าดังไหม?……..ถ้ายังก็ให้เช็คที่ฟิวส์และสายไฟว่ามีส่วนไหนที่ชำรุดแล้วจัดการเปลี่ยนซะให้เรียบร้อย แต่ถ้ายังไม่หายก็นำรถไปหาที่ร้านที่ร้านรับซ่อมระบบไฟฟ้ารถยนต์โดยเฉพาะ หรือตามอู่ซ่อมรถทั่วไปก็ได้ตามแต่สะดวก แต่ถ้าหากว่าดังเหมือนเดิมแล้วก็มาถึงขั้นตอนการประกอบ ทำย้อนจากที่ถอดออกมานั่นแหล่ะ แต่ต้องดูมาร์คด้วยว่าตรงหรือไม่ แล้วจึงใส่กลับเข้าตามขั้นตอน แค่นี้ก็เป็นอันเสร็จพิธี (วิธีการที่กล่าวมาข้างต้นนี้ถ้าหากรถท่านเป็นพวงมาลัยแบบที่มีแอร์แบ็กควรส่งให้ช่างเป็นคนจัดการจะปลอดภัยกว่า)

หลักการใช้แตรรถยนต์อย่างถูกวิธีมีดังนี้

ควรใช้แตรรถยนต์ก่อนเกิดเหตุ ไม่ควรใช้ขณะเกิดเหตุ หรือแก้สถานการณ์ ผู้เชี่ยวชาญในต่างประเทศ เผยว่า แตรรถยนต์ไม่ควรใช้ในช่วงที่ภัยเข้ามาใกล้ตัว เพราะ มันจะทำให้การบังคับรถมีประสิทธิภาพลดลง ควรใช้ก่อนเกิดเหตุ เมื่อเห็นเหตุที่อาจจะทำให้เกิดอุบัติเหตุจากเพื่อนร่วมทาง เราควรเริ่มที่จะใช้แตรรถยนต์ทันที ไม่ควรใช้ขณะเกิดเหตุ หรือแก้สถานการณ์ สิ่งแรกที่ควรทำคือหลีกเลี่ยงเหตุก่อน จากนั้นจึงค่อยส่งสัญญาณแตรรถยนต์ เตือนเพื่อนร่วมทาง

ข้อควรปฎิบัติในการใช้แตรรถยนต์

จังหวะการกด คนส่วนใหญ่มักนิยมกดแตรรถยนต์ครั้งเดียวและยาว ทำให้ผู้อื่นรู้สึกรำคาญได้ ควรสร้างจังหวะในการใช้แตรรถยนต์ทำให้ไม่รู้สึกรำคาญ ให้ความรู้สึกดีกว่าการกดครั้งเดียวยาว ๆ ควรกดเพียงแค่ระยะสั้น ๆ เพื่อเตือนให้รถคันที่เราอยากจะเตือน น้ำหนักการกด โดยใช้การกดและปล่อยอย่างรวดเร็ว ยิ่งเร็วมากเท่าไร เสียงแตรที่ออกไปจะดังน้อยเท่านั้น

  • 1. ควรให้สัญญาณเมื่อขับรถผ่านบริเวณทางโค้งหักศอก ทางโค้งที่มองไม่เห็นรถที่วิ่งสวน รวมไปถึงบริเวณที่มีมุมอับ และเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ
  • 2. การใช้สัญญาณแตรรถยนต์แบบจังหวะสั้นและเบา เป็นการให้สัญญาณเตือนแบบทั่วไป เช่น เวลาต่อแถวติดไฟแดง แล้วรถคันหน้าไหลถอยหลังมา เราควรให้สัญญาณแบบสั้น ๆ และเบา เป็นการบอกผู้ขับขี่คันหน้าให้รู้ว่า “รถกำลังไหลถอยหลังมาชนเรานะ’’ โปรดใช้ความระมัดระวัง เป็นต้น
  • 3. การใช้สัญญาณค่อนข้างดังและยาว เป็นการให้สัญญาณเตือนแบบตั้งใจ เช่น เจอรถเปลี่ยนเลนเข้ามาในเลนเราแบบกะทันหันโดยไม่เปิดไฟเลี้ยว หรือการเจอรถออกจากซอยแบบกะทันหันทันที เป็นต้น

ข้อห้ามเกี่ยวกับแตรรถยนต์

  • 1. ห้ามใช้แตรรถยนต์ที่เป็นเสียงนกหวีด หรือหลายเสียง รวมถึงเสียงไซเรนกับรถยนต์ส่วนบุคคลทั่วไป จะใช้ได้เฉพาะรถฉุกเฉิน รถในราชการทหาร หรือตำรวจ เท่านั้น และต้องใช้เฉพาะเมื่อจำเป็น หรือป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุเท่านั้น ห้ามใช้เสียงดังยาว หรือซ้ำหลายครั้งเกินควร ถ้าฝ่าฝืนปรับไม่เกิน 1,000 บาท
  • 2. การใช้สัญญาณที่ถูกต้องนั้น ควรบีบแตรเป็นจังหวะสัญญาณสั้น ๆ ห้ามใช้สัญญาณยาวเกินควรโดยเด็ดขาด ยกเว้นกรณีฉุกเฉินจริง ๆ หากฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกิน 500 บาท ตามกฎหมาย
  • 3. ควรใช้ระดับเสียงแตรรถยนต์ให้เหมาะสม ไม่ควรดัดแปลง หรือตกแต่งเสียงแตรรถยนต์ให้ดังเกินไป เพราะเสียงที่ดังเกินไป และผิดกฎหมาย
  • 4. การใช้สัญญาณแตรรถยนต์ดังเป็นจังหวะลากยาว เป็นการให้สัญญาณเตือนขอความช่วยเหลือแบบฉุกเฉิน เช่น เวลารถตกหล่ม ต้องการความช่วยเหลือจากคนในบริเวณรอบข้าง การเจอเหตุไม่คาดฝัน เช่น มีคนป่วยกะทันหันภายในรถ หรือโดนทำร้าย ชิงทรัพย์ เป็นต้น การใช้สัญญาณแบบนี้ไม่ควรนำไปใช้ในเวลาปกติทั่วไป เพราะสามารถสร้างความเข้าใจผิดแก่ผู้ขับขี่คนอื่นได้
  • 5. ไม่ควรใช้พร่ำเพรื่อจนเกินไป เพราะเป็นการสร้างความรำคาญแก่รถคันอื่น

การใช้ถูกต้องจะช่วยป้องกันเหตุที่อาจจะเป็นอันตรายได้ ไม่ได้เป็นเรื่องที่ผิดหรือเสียมารยาท เพียงใช้อย่างถูกต้องเข้าใจ ก็จะช่วยสร้างวินัยในการขับขี่ และเพิ่มความปลอดภัยได้

แต่ถ้าหากรถมีประกันชั้น 1 แล้วแตรรถยนต์ของท่านไม่ดังโดยเกิดจากความผิดปกติของรถยนต์ ไม่ได้เกิดจากการตกแต่งดัดแปลงใด ๆ ท่านสามารถให้ประกันของท่านเพื่อเข้าเคลมแตรรถยนต์ท่านได้ ให้คุณได้หมดปัญหากังวลใจเรื่องแตรรถยนต์ของท่าน หากใครยังตัดสินใจไม่ได้ว่าจะใช้ ประกันรถยนต์ ของบริษัทไหน ให้เรา แรบบิท แคร์ ช่วยเปรียบเทียบประกันแต่ละประเภทให้เหมาะสำหรับรถคุณ

ความคุ้มครองประกันรถยนต์

ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ของเรา