แคร์ขับขี่ปลอดภัย

บีบแตรแบบไหนมีโทษทางกฎหมาย ? รวมเรื่องที่ควรรู้เกี่ยวกับการบีบแตร

ผู้เขียน : Natthamon
Natthamon

ทำงานเกี่ยวข้องกับวงการประกันรถยนต์และยานยนต์มาตั้งแต่ปี 2019 ในหลากหลายตำแหน่งทั้ง SEO Specialist, Senior Executive, SEO / Web Analytics และ SEO Content Writer ในบริษัทประกันรถยนต์่และรถมือสองชั้นนำ นอกจากนั้น ยังเคยอยู่ในแวดวงสื่อมวลชนนานถึง 3 ปีในตำแหน่งนักข่าวไอทีนิตยสารชื่อดังแวดวง E-Commerce ด้านการศึกษาจบระดับชั้นปริญญาโท คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยนเรศวร และปริญญาตรี คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

close
linkedin icon
 
 
Published: August 26,2024
  
 
บีบแตร

การบีบแตรรถยนต์นั้นนอกจากจะมีจุดประสงค์ในการใช้ส่งสัญญาณเตือนเพื่อความปลอดภัย ในปัจจุบันหลายคนมักใช้แตรรถผิดจุดประสงค์หลักกันอย่างมากมาย ทั้งการบีบแตรเพื่อตำหนิหรือต่อว่าผู้ร่วมใช้รถใช้ถนน ระบายอารมณ์ กวนโทสะ ยั่วยุทางอารมณ์ ทำให้หลายครั้งเราได้เห็นข่าวการทะเลาะวิวาทที่เริ่มต้นมาจากการบีบแตร 

ไม่หมดเพียงเท่านั้น ยังมีบางคนที่ทำการปรับแต่งเสียงแตรรถ หรือชอบบีบแตรเล่นเพื่อความสนุกสนานอีกด้วย ซึ่งทุกสิ่งที่ได้กล่าวมาล้วนเป็นการใช้แตรรถที่ผิดจุดประสงค์ อีกทั้งแม้หลายคนอาจจะยังไม่ทราบแต่หลายพฤติกรรมยังผิดข้อกำหนดทางกฎหมาย ดังนั้น แรบบิท แคร์ จึงได้นำข้อมูลเกี่ยวกับการบีบแตรรถมาให้ ว่าแบบไหนที่ผิดกฎหมาย เราควรบีบแตรอย่างไร จึงจะเป็นผู้ร่วมใช้รถใช้ถนนที่ดี

ผ่อนสบาย! ซื้อประกันรถทุกชั้น ผ่อน 0% นานสูงสุด 10 เดือน

รถของคุณยี่ห้ออะไร

< กลับไป
< กลับไป

ระบุยี่ห้อรถของคุณ

ระบุปีผลิตรถของคุณ

แตรรถยนต์

แตรรถยนต์ ถือเป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญอย่างมากต่อการขับขี่รถในชีวิตประจำวัน โดยมีจุดประสงค์ในการใช้เพื่อส่งเสียงสื่อสารกับผู้ร่วมใช้ถนนคนอื่น ๆ ได้ทราบถึงเหตุการณ์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการส่งสัญญาณให้รถคันอื่นไหวตัวหรือตื่นตัวเพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉินตรงหน้า ส่งสัญญาณเตือนก่อนที่อุบัติเหตุจะเกิดขึ้น ส่งสัญญาณหยุดรถ ส่งสัญญาณห้ามทาง ไปจนถึงส่งสัญญาณให้อีกฝ่ายรู้ว่ากำลังจะชนโดนรถของเรา ฯลฯ

บีบแตรผิดกฎหมายหรือไม่ ?

อย่างที่ได้ทราบจุดประสงค์หลักของการใช้งานไปแล้ว และหลายคนคงอาจได้ยินกันมาบ้างแล้วว่าการบีบแตรรถบางลักษณะนั้นมีความผิดทางกฎหมาย แล้วสรุปว่าการบีบแตรนั้นผิดกฎหมายหรือไม่ ? จริง ๆ แล้วการบีบแตรรถโดยทั่วไปนั้นไม่ได้มีโทษทางกฎหมายแต่อย่างใด แต่จะต้องบีบแตรอย่างสุภาพและใช้ตามจุดประสงค์ตั้งต้นของการบีบแตรตามกฎหมาย ซึ่งจะกล่าวถึงการบีบแตรรถที่ถูกต้องเหมาะสม และการบีบแตรรถที่ผิดกฎหมายรวมถึงมีบทลงโทษทางกฎหมายในหัวข้อต่อ ๆ ไปนั่นเอง

บีบแตร 3 ครั้ง

ควรบีบแตรในสถานการณ์ไหน ?

ถึงแม้ว่าจะทราบถึงจุดประสงค์ของการใช้งานแตรรถยนต์กันไปแล้ว แต่แน่นอนว่าบางคนก็ยังนึกไม่ออกว่าควรจะบีบแตรในสถานการณ์ไหนบ้างถึงจะเป็นไปตามกฎกติกามารยาท และไม่ผิดกฎหมาย โดยการบีบแตรรถนั้นควรบีบเมื่ออยู่ในสถานการณ์ ดังนี้

สถานการณ์เหล่านี้เป็นสถานการณ์ที่สมควรบีบแตรและสามารถบีบแตรได้อย่างไม่ผิดกฎหมาย ทั้งนี้ไม่ว่าจะอย่างไรก็ต้องพึงระลึกไว้ว่าการบีบแตรนั้นใช้เพื่อเป็นการส่งสัญญาณเตือนเพื่อความปลอดภัย และป้องกันการเกิดอุบัติเหตุเพียงเท่านั้น

บีบแตรแบบไหนมีโทษทางกฎหมาย ?

หลังจากที่ได้ทราบเกี่ยวกับลักษณะการบีบแตรที่ถูกกฎหมายกันเป็นที่เรียบร้อยแล้ว สิ่งต่อไปที่ควรทราบก็คือการบีบแตรอย่างไรถือเป็นการใช้แตรรถที่ผิดกฎหมายและมีโทษทางกฎหมาย โดยการบีบแตรที่ห้ามทำเพราะจะผิดกฎหมาย มีดังนี้

การบีบแตรรถใน 2 ลักษณะดังกล่าวนอกจากจะผิดกฎหมายแล้วยังเสี่ยงต่อการเกิดข้อพิพาท เป็นต้นเหตุของการทะเลาะวิวาทจนเรื่องราวบานปลายใหญ่โตได้ ดังนั้นต้องหมั่นเตือนสติตัวเองเอาไว้ ใช้แตรรถอย่างถูกต้องตามกฎหมาย และขับรถอย่างมีสติ ใจเย็นอยู่เสมอนั่นเอง

ข้อกฎหมายอื่น ๆ ที่ต้องทราบเกี่ยวกับแตรรถ

นอกจากจะมีการกำหนดลักษณะของการบีบแตรรถที่ผิดกฎหมายและมีบทลงโทษอย่างชัดเจนแล้ว ก็ยังมีข้อกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับแตรรถที่เราทุกคนควรที่จะรู้เอาไว้และควรปฏิบัติตามอย่างมีระเบียบวินัย โดยกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการใช้แตรรถที่ควรรู้ไว้มีดังนี้ 

แตรรถยนต์

ข้อกฎหมายเหล่านี้ถือเป็นข้อกฎหมายพื้นฐานที่ควรทราบ ไม่อย่างนั้นด้วยความไม่รู้อาจทำให้เผลอทำเรื่องผิดกฎหมายลงไปโดยไม่รู้ตัว ถึงเวลารับโทษมาการบอกว่าไม่รู้นั้นฟังไม่ขึ้นอย่างแน่นอน

และนี่ก็คือข้อกฎหมายที่ควรรู้เกี่ยวกับการใช้แตรรถยนต์ในชีวิตประจำวันของเรา ซึ่งเมื่อรู้ดังนี้แล้วก็ควรปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด นอกจากนี้เพื่อเป็นการดูแลรถยนต์ของเรา ต้องไม่ลืมที่จะทำประกันรถยนต์ กับ แรบบิท แคร์ เอาไว้ ไม่ว่าจะเกิดอุบัติเหตุฉุกเฉินแค่ไหน ก็ไม่ต้องกังวลใจเรื่องความเสียหาย เพราะมี แรบบิท แคร์ ช่วยดูแล


สรุป

สรุปบทความ

การบีบแตรเสียงดังลากยาว, การบีบแตรเป็นจังหวะสามช่า เหล่านี้จะถูกนับว่าเป็นการบีบแตรอย่างผิดกฎหมายตามพระราชบัญญัติการจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 14 วรรค 2 จะมีบทลงโทษตามมาตรา 150 (1) โดยมีโทษปรับ 500 บาท โดยการบีบแตรจะต้องใช้ในสถานการณ์จำเป็นหรือป้องกันอุบัติเหตุเท่านั้น ส่วนข้อกฎหมายอื่น ๆ ที่ควรรู้ เจ้าของรถห้ามแต่งเสียงแตรรถ, ห้ามใช้เสียงแตรรถเป็นเสียงไซเรน แต่ในขณะเดียวกัน แตรรถจะต้องได้ยินในระยะที่ไม่น้อยกว่า 60 ด้วย

จบสรุปบทความ

ที่มา


 

บทความแคร์ขับขี่ปลอดภัย

Rabbit Care Blog Image 96324

แคร์ขับขี่ปลอดภัย

เมาไม่ขับกลับบ้านปลอดภัยด้วย 5 บริการที่แสนสะดวกสบาย

ช่วงเทศกาลหรือเวลาที่มีวันหยุดยาวในประเทศไทย มักมีการรณรงค์เรื่องเมาไม่ขับ และความปลอดภัยในการเดินทางอีกหลาย ๆ ด้าน เพื่อให้ประชาชนทุกคนได้มีโอกาสใช้รถ
Natthamon
31/10/2024
Rabbit Care Blog Image 96334

แคร์ขับขี่ปลอดภัย

ขึ้นทางด่วนไม่มีเงินสด ทำไงดี ยังสามารถขึ้นได้อยู่ไหม หรือต้องถอยออกสถานเดียว

เป็นกันไหมเวลาจะขึ้นทางด่วนไม่มีเงินสด ต้องรู้สึกตกใจ ว่าควรทำอย่างไรต่อไป โดยเฉพาะคนที่ไม่ได้มีการใช้งาน M-Flow, M Pass หรือ Easy Pass
Natthamon
22/10/2024
Rabbit Care Blog Image 96023

แคร์ขับขี่ปลอดภัย

ขับรถข้ามประเทศ ทำได้จริงไหม ต้องเตรียมตัวอย่างไรให้สามารถเดินทางได้ราบรื่น

เมื่อความสนุกในการเดินทาง Road Trip ของหลาย ๆ คนเริ่มมีเป้าหมายที่ไกลขึ้น การขับรถข้ามประเทศจึงกลายเป็นความฝันที่ชาวนักเดินทาง
Natthamon
07/10/2024