Rabbit Care Logo
ใช้ใจแคร์ ดูแลครบ
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ในการเก็บข้อมูลเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการใช้งาน และเพื่อเก็บข้อมูลสถิติ ท่านสามารถศึกษารายละเอียด เพิ่มเติมได้ที่นโยบายคุกกี้

รีเลย์ไฟเลี้ยวสำคัญอย่างไร มาร่วมไขคำตอบไปด้วยกันได้เลย

รีเลย์ไฟเลี้ยวคงไม่ใช่อุปกรณ์หรือชิ้นส่วนที่เราคุ้นชิ้นกันมากเท่าไหร่นัก ชื่อเหลือเกินว่าหลาย ๆ คนอาจจะเคยได้ยินชื่ออย่าง “รีเลย์ไฟเลี้ยว” เป็นครั้งแรกด้วยซ้ำ แต่เชื่อหรือไม่ว่านี้เป็นอีกหนึ่งอุปกรณ์ชิ้นเล็ก ๆ ที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากกับรถยนต์ เราจึงขอถือโอกาสนี้พาทุกคนไปรู้จักกับรีเลย์ไฟเลี้ยวรถยนต์กันให้มากขึ้นว่าชิ้นส่วนนี้คืออะไร? ทำหน้าที่อะไรบ้าง เพื่อไม่ให้เสียเวลาไปดูกันด้านล่างได้เลย

รีเลย์ไฟเลี้ยวคืออะไร? ทำหน้าที่อะไรบ้าง

รีเลย์ไฟเลี้ยว มีชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า Turn Signal Relay หรือหลาย ๆ คนมักจะเรียกติดปากว่า Flasher Relay ซึ่งรีเลย์ไฟเลี้ยว คือ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ชิ้นสำคัญภายในระบบไฟเลี้ยวและไฟเตือนฉุกเฉินหรือที่เรียกว่า Turn Signal And Hazard Warning Lights System

ขออนุญาตพักเรื่องรีเลย์ไฟเลี้ยวหรือ Flasher Relay เพื่ออธิบายระบบไฟเลี้ยวและไฟเตือนฉุกเฉินให้เข้าใจกันก่อน ซึ่งถ้าเข้าใจระบบไฟนี้แล้วก็จะทำให้เข้าใจการทำงานของรีเลย์ไฟเลี้ยวรถยนต์มากขึ้น โดยระบบนี้คือ ระบบไฟบอกทิศทางที่ีตัวรถยนต์กำลังจะเคลื่อนที่ไป โดยหากจะเลี้ยวไปทางไหนเมื่อสับสวิตช์ไฟเลี้ยวสัญญาณไฟก็จะกระพริบด้านนั้น และสำหรับไฟฉุกเฉินก็เป็นรูปแบบคล้ายกันต่างกันตรงที่ไฟฉุกเฉินจะกระพริบทั้ง 2 ข้าง

กลับมาที่รีเลย์ไฟเลี้ยวกันต่อ โดยตัวรีเลย์ไฟเลี้ยว ทำหน้าที่ในการควบคุมการกระพริบของไฟเลี้ยว ไม่ว่าจะเป็นไฟเลี้ยวกระพริบเร็ว-ช้าได้ตามต้องการ ช่วยให้ไฟเลี้ยวมีการกระพริบที่ต่อเนื่อง

รีเลย์ไฟเลี้ยวมีหลักการทำงานอย่างไร?

สำหรับหลักการทำงานของรีเรย์ไฟเลี้ยวก็ไม่ได้มีอะไรซับซ้อน โดยที่ตัวรีเลย์ไฟเลี้ยวรถยนต์เป็นอุปกรณ์ที่แปลงพลังงานไฟฟ้าให้เป็นพลังงานแม่เหล็ก ด้วยการปล่อยกระแสไฟฟ้าให้ไหลผ่านขดลวดเพื่อเปิด-ปิดหน้าสัมผัสทำตัวเหมือนเป็นสวิตช์อิเล็กทรอนิกส์ โดยมีการทำงานร่วมกับรถยนต์ดังนี้

  • เมื่อผู้ขับขี่สับสวิตช์เลี้ยวซ้ายหรือขวาในรถยนต์ สัญญาณถูกส่งไปยังรีเลย์ไฟเลี้ยว
  • รีเลย์ไฟเลี้ยวรถยนต์ไฟเลี้ยวจะทำหน้าที่เปิดการเชื่อมต่อกระแสไฟฟ้าไปยังไฟเลี้ยวข้างหน้าและข้างหลังที่เกี่ยวข้อง
  • เมื่อการเชื่อมต่อถูกเปิด กระแสไฟฟ้าจะไหลผ่านไฟเลี้ยว ทำให้ไฟเลี้ยวกระพริบเร็วตามทิศทางที่ผู้ขับขี่ต้องการ
  • เมื่อหมดเวลาที่ตั้งค่าสับสวิตซ์ปิดไฟเลี้ยวปิด รีเลย์ไฟเลี้ยวจะปิดการเชื่อมต่อและหยุดกระแสไฟฟ้าไปยังไฟเลี้ยว ทำให้ไฟเลี้ยวกระพริบเร็วนั้นหยุดลง

รีเลย์ไฟเลี้ยวมีส่วนประกอบเป็นอะไรบ้าง?

สำหรับส่วนประกอบที่สำคัญที่จะทำให้รีเรย์ไฟเลี้ยวหรือ Flasher Relay สามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพมีด้วยกันมากมายหลายชิ้นส่วน ไปดูกันเลยว่าจะมีชิ้นส่วนไหนบ้าง

  • Coil หรือขดลวด : เป็นส่วนที่มีลวดซึ่งทำหน้าที่ในการสร้างสนามแม่เหล็กเมื่อไฟกระแสไหลผ่าน สนามแม่เหล็กนี้จะช่วยในกระบวนการ เปิด-ปิด การเชื่อมต่อของกระแสไฟฟ้า
  • Contacts หรือหน้าสัมผัส : เป็นส่วนที่มีหลอดซอฟไฟเบอร์หรือสายไฟที่เชื่อมต่อกับตัวเกี่ยวข้อง โดยการเปิดหรือปิดการเชื่อมต่อเมื่อไฟกระแสไหลผ่านหรือหยุดไหล หรือพูดง่าย ๆ ก็คือเหมือนกับเป็นเหมือนสวิตช์ปิดเปิดนั่นเอง
  • Resistor : เป็นส่วนที่มีหน้าที่ควบคุมแรงดันไฟฟ้าหรือกระแสในวงจรรีเลย์ไฟเลี้ยว เพื่อป้องกันความเสียหายหรือความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นในวงจร
  • Capacitor : เป็นอุปกรณ์ที่สะสมพลังงานไฟฟ้าในระหว่างการทำงานของรีเลย์
  • Diode : เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการควบคุมทิศทางไฟฟ้าในวงจร เพื่อป้องกันการไหลย้อนกลับของกระแสไฟฟ้าและการรั่วไหลไฟฟ้า
  • Housing : กรอบหรือตัวโครงของรีเลย์ไฟเลี้ยว

รีเลย์ไฟเลี้ยวมีกี่ประเภท

รีเลย์ไฟเลี้ยว(Turn Signal Relay / Flasher) ก็ได้มีการแบ่งตามประเภทของการทำงานของตัวรีเลย์ไฟเลี้ยวรถยนต์ เพื่อที่จะสามารถเลือกให้เหมาะสมกับการใช้งานในรูปแบบที่แตกต่างกัน ไปดูกันว่าจะมีรีเลย์ในรูปแบบไหนกันบ้าง

  • แบบเส้นลวดความร้อน (Hot Wire Type)
  • แบบกึ่งทรานซิสเตอร์ (Semi-Transistorized Type)
  • แบบคอนเดนเซอร์และรีเลย์ (Condenser And Relay Type)
  • แบบ IC (IC Type)

นอกจากรีเลย์ไฟเลี้ยวแล้วยังมีรีเลย์อื่น ๆ อีกไหม

เรายังสามารถพบกับรีเลย์รูปแบบอื่น นอกเหนือจากในรูปแบบของรีเลย์ไฟเลี้ยวที่ควบคุมการทำงานของไฟเลี้ยวกระพริบเร็ว-ช้าในระบบไฟเลี้ยวหรือไฟเตือนฉุกเฉิน ซึ่งต้องบอกเลยว่ามีในหลายส่วนด้วยกันไม่ว่าจะเป็น

  • รีเลย์ ไฟ หน้ารถ
  • รีเลย์แตร
  • รีเลย์พัดลมระบายความร้อนของหม้อน้ำ
  • รีเลย์แอร์คอยล์เย็น
  • รีเลย์ปั๊มเชื้อเพลิงในระบบหัวฉีด
  • รีเลย์ช่วยสตาร์ท

และนี่คือบางส่วนเพียงเท่านั้น ด้วยการที่รีเลย์ทำหน้าที่คล้ายกับสวิตซ์ตัวที่สองของระบบไฟฟ้า และในปัจจุบันรถยนต์ต่างพึ่งระบบไฟฟ้าเป็นอย่างมากในการใช้งานส่วนต่าง ๆ ทำให้รีเลย์มีความจำเป็นอย่างมาก และทำให้ได้พบเห็นในส่วนประกอบต่าง ๆ นอกเหนือจากรีเลย์ไฟเลี้ยวเพียงอย่างเดียว

หากรีเลย์ไฟเลี้ยวก็ความเสียหายสามารถทำเรื่องเคลมกับประกันได้หรือไม่

ถึงแม้ว่ารีเลย์ไฟเลี้ยวเพียงจะเป็นชิ้นส่วนเล็ก ๆ ภายในรถก็ตาม แต่ก็ไม่อาจหลีกเลี่ยงความเสียหายที่เกิดขึ้นได้ ในส่วนนี้สำหรับเพื่อน ๆ คนไหนที่ทำประกันรถยนต์เอาไว้อาจเกิดความสงสัยว่าสามารถติดต่อทำเรื่องขอเคลมกับประกันสำหรับรีเลย์ไฟเลี้ยวรถยนต์ได้หรือไม่ ซึ่งต้องแยกออกมาเป็นกรณีดังนี้

เคลมได้

  • กรณีเกิดความเสียหายจากอุบัติเหตุ เช่นถูกรถชนจนรีเลย์ไฟเลี้ยว หรือ รีเลย์ ไฟ หน้ารถได้รับความเสียหาย

เคลมไม่ได้

  • เคลมประกันได้หากความเสียหายเป็นการสึกหรอจากการใช้งานปกติทั่วไป
  • ไม่สามารถเคลมประกันได้หากความเสียหายดัดแปลง ตัวอย่างเช่น อยากซ่อมระบบไฟของรถยนต์ Isuzu TFR แต่ไม่รู้ว่ารีเลย์ไฟเลี้ยว TFR อยู่ตรงไหน จนการรื้ออาจทำให้ระบบรีเลย์เสียหายนั่นเอง

รีเลย์ไฟเลี้ยวเป็นอีกหนึ่งชิ้นส่วนชิ้นสำคัญของระบบไฟเลี้ยวเพื่อบอกทิศที่กำลังจะไป และไฟเลี้ยวกระพริบเร็ว-ช้าในกรณีที่ต้องการความช่วยเหลือหรือเตือนเมื่อมีอุบัติเหตุ ซึ่งการใช้รถใช้ถนนล้วนแล้วแต่มีความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้ เราจึงอยากขอแนะนำสิ่งดี ๆ อย่างการทำประกันรถยนต์ชั้น 1 ไว้ โดยนี่เป็นประกันที่มอบความคุ้มครองครอบคลุมมากที่สุด ทั้งทรัพย์และชีวิตของตัวเพื่อน ๆ เอง คู่กรณี รวมถึงผู้ที่เกี่ยวข้อง อีกทั้งประกันชั้น 1 นี้ยังมาพร้อมกับสิทธิพิเศษอย่างบริการคอยช่วยเหลือ หรือว่าจะเป็นบริการรถลากตลอด 24 ชั่วโมง หากเพื่อน ๆ คนไหนสนใจทำประกันรถยนต์ก็สามารถมาทำกับเราได้ที่ แรบบิท แคร์ กันได้เลย

ประกันรถยนต์คุ้มครองส่วนรีเลย์ไฟเลี้ยวหรือไม่

การประกันรถยนต์โดยทั่วไปจะครอบคลุมความเสียหายต่อรถยนต์ แต่ความคุ้มครองของชิ้นส่วนเฉพาะ เช่น รีเลย์ไฟเลี้ยว ขึ้นอยู่กับประเภทของกรมธรรม์ที่คุณเลือกใช้ ดังนี้:

  1. ประกันชั้น 1: คุ้มครองความเสียหายทั้งจากอุบัติเหตุ ความเสียหายต่อชิ้นส่วนรถยนต์รวมถึงอุปกรณ์ไฟฟ้า เช่น รีเลย์ไฟเลี้ยว หากความเสียหายเกิดขึ้นจากอุบัติเหตุหรือลักษณะที่ครอบคลุมในกรมธรรม์
  2. ประกันชั้น 2+ และ 3+: คุ้มครองรถในกรณีอุบัติเหตุหรือถูกชน แต่จะไม่ครอบคลุมความเสียหายทั่วไปที่ไม่ได้เกิดจากอุบัติเหตุ รวมถึงชิ้นส่วนไฟฟ้า
  3. ประกันชั้น 2 และชั้น 3: ส่วนใหญ่จะไม่คุ้มครองความเสียหายต่อชิ้นส่วนของรถ รวมถึงรีเลย์ไฟเลี้ยว

ดังนั้น หากรีเลย์ไฟเลี้ยวไม่ได้เสียหายจากการใช้งานปกติ ประกันชั้น 1 อาจครอบคลุม แต่ชั้น 2+ จนถึงชั้น 3 มักจะไม่คุ้มครอง

ความคุ้มครองประกันรถยนต์

ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ของเรา