สาระน่ารู้กับพวงมาลัยรถยนต์ อุปกรณ์สำคัญที่ช่วยให้คุณคุมรถได้ดั่งใจ
เชื่อว่าทุกคนคงรู้จักกับพวงมาลัยรถยนต์เป็นอย่างดีโดยเฉพาะผู้ที่ขับรถยนต์ เนื่องจากพวงมาลัยนั้นเป็นอุปกรณ์สำคัญที่รถทุกคนต้องมี และทุกการขับขี่ต้องมีการจับพวงมาลัยทุกครั้ง แต่คุณรู้หรือไม่ว่าพวงมาลัยนั้นมีหลักการทำงานอย่างไร และหากเกิดปัญหาเกี่ยวกับพวงมาลัยรถจะมีวิธีการแก้ปัญหาอย่างไรบ้าง วันนี้แรบบิท แคร์ จะมาแชร์ข้อมูลให้คุณรู้จักกับพวงมาลัยรถยนต์ให้มากขึ้น
พวงมาลัยรถยนต์มีหน้าที่ทำอะไร?
พวงมาลัยรถยนต์มีหน้าที่สำคัญในการควบคุมทิศทางของรถยนต์ โดยช่วยให้ผู้ขับขี่สามารถเปลี่ยนทิศทางของรถยนต์ได้อย่างสะดวกและปลอดภัย ผู้ขับขี่สามารถหมุนพวงมาลัยไปทางซ้ายหรือขวาเพื่อเปลี่ยนเลนหรือเลี่ยงสิ่งกีดขวางบนท้องถนนได้ นอกจากนี้พวงมาลัยยังเป็นตัวกลางในการควบคุมฟังก์ชันต่าง ๆ ของรถยนต์ด้วย เช่นการควบคุมระบบเสียง อุณหภูมิ ระบบควบคุมความเร็วรถ (cruise control) และระบบอื่น ๆ เป็นต้น
ต้องบอกเลยว่าตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน พวงมาลัยรถยนต์มีการพัฒนาไปมาก จากพวกมาลัยเมื่อก่อนที่ไม่มีฟังก์ชันช่วยในการขับขี่เลย จนในปัจจุบันนี้พวงมาลัยก็ได้มีการปรับเปลี่ยนให้คุณสามารถควบคุมยานยนต์ได้ดียิ่งขึ้นกว่าเดิม ซึ่งพวงมาลัยที่ใช้งานกันอยู่ทุกวันนี้มี 3 รูปแบบคือ
- พวงมาลัยเพาเวอร์ ซึ่งเป็นพวงมาลัยที่นิยมใช้งานมากที่สุด มักพบในรถเก๋ง และรถใช้งานตามบ้านทั่วไป ข้อดีของพวงมาลัยนี้คือเบามือ ทำให้ควบคุมรถง่าย
- พวงมาลัยแรคแอนด์พีเนียน เป็นพวงมาลัยแบบสะพานมีเฟืองกับเฟืองหมุน กินพื้นที่รถไม่มาก ราคาถูก เหมาะกับการขับขี่ทำความเร็ว
- พวงมาลัยบอลล์แอนด์นัท เป็นพวงมาลัยรถที่อยู่ในรถขนส่งต่าง ๆ อย่างรถบัส รถบรรทุก และรถกระบะบางรุ่น พวงมาลัยแบบนี้จะมีชุดวาล์วควบคุมทิศทางน้ำมันไฮดรอลิกส์แบบโรตารี่ โดยควบคุมการทำงานด้วยแรงหมุนพวงมาลัยจากผู้ขับ ร่วมกับความฝืดของยางรถยนต์กับพื้นถนน
พวงมาลัยเพาเวอร์และพวงมาลัยไฟฟ้าคืออะไร มีกลไกทำงานอย่างไร?
พวงมาลัยเพาเวอร์ (Power Steering system) เป็นระบบพวงมาลัยที่ช่วยทดกำลังเวลาหมุนพวงมาลัย ซึ่งจะลดความหนักของพวงมาลัยรถช่วยให้ผู้ขับขี่สามารถหมุนพวงมาลัยได้ง่ายและเบามากขึ้น สามารถควบคุมได้ดียิ่งขึ้น ตลอดจนทำให้การจอดรถง่ายขึ้นกว่าเดิมด้วย โดยพวงมาลัยเพาเวอร์จะแบ่งประเภทย่อยออกเป็นดังนี้
1. พวงมาลัยรถเพาเวอร์แบบไฮดรอลิก ซึ่งมีการลักการทำงานโดยใช้ปั๊มไฮดรอลิคในการสร้างแรงบีบของน้ำมันไฮดรอลิคเพื่อช่วยในการหมุนพวงมาลัย ทั้งนี้ผู้ใช้งานต้องเปลี่ยนน้ำมันพวงมาลัยเพาเวอร์เมื่อครบอายุตามที่กำหนดด้วย
2. พวงมาลัยไฟฟ้า มีหลักการทำงานคือการทำมอเตอร์ไฟฟ้าร่วมกับระบบคอมพิวเตอร์และเซ็นเซอร์ ซึ่งจะคำนวณจากปัจจัยความเร็วรถว่าต้องใช้กำลังหมุนพวงมาลัยมากแค่ไหน เพื่อให้คุณหมุนพวงมาลัยได้ง่ายขึ้นตามความเร็วของรถ ณ ขณะนั้น นอกจากนี้ยังมีการเพิ่มเทคโนโลยีด้านความปลอดภัยลงไปด้วย อย่างระบบช่วยเลี้ยงเลน และระบบช่วยจอดรถ เป็นต้น
3. พวงมาลัยเพาเวอร์แบบไฮดรอลิกร่วมกับไฟฟ้า ซื้อเป็นการนำสองระบบด้านบนอย่างพวงมาลัยไฟฟ้าและพวงมาลัยรถเพาเวอร์แบบไฮดรอลิกมาใช้งานร่วมกัน
สรุปก็คือพวงมาลัยไฟฟ้าถือเป็นพวงมาลัยเพาเวอร์ประเภทหนึ่ง ที่ให้ผลลัพท์ความคล่องตัวขณะเลี้ยวเหมือนกัน
รวมปัญหาที่เกิดจากพวงมาลัยขณะขับขี่
1. พวงมาลัยรถยนต์หนัก (Heavy Steering)
อาการ : พวงมาลัยพวงมาลัยเพาเวอร์หนักยากต่อการหมุน ต้องใช้ความแรงมากกว่าปกติในการควบคุมทิศทาง
สาเหตุ : พวงมาลัยหนักสาเหตุมากจากน้ำมันไฮดรอลิคอยู่ในระดับต่ำหรือสกปรก, เลือกใช้ยางรถที่หน้ายางใหญ่เกินไป, ยางแบน, ข้อต่อแกนพวงมาลัยชำรุด, ตั้งศูนย์ล้อไม่ถูกต้อง
วิธีแก้ไข : พวงมาลัยหนัก การแก้ไขคือตรวจสอบระบบไฮดรอลิคและเติมน้ำมันไฮดรอลิคตามความเหมาะสม, ตรวจสอบลมยางรถยนต์ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม
2. พวงมาลัยรถสั่น (Steering Wheel Vibrations)
อาการ : พวงมาลัยสั่นหรือกระตุกขณะขับขี่
สาเหตุ : ล้อรถหรือยางล้อไม่สมดุลหรือชำรุด, ส่วนยึดล้อบิดเบี้ยวหรือชำรุด
วิธีแก้ไข : ตรวจสอบล้อและยางรถยนต์ว่ามีปัญหาหรือไม่, ตรวจสอบสมดุลของล้อและยางรถยนต์
3. พวงมาลัยรถยนต์มีเสียงดัง (Steering Wheel Noise)
อาการ : พวงมาลัยรถยนต์มีเสียงดังขณะใช้งาน
สาเหตุ : ระบบไฮดรอลิคมีการรั่วหรือมีอาการชำรุด, สายพานหรือส่วนของระบบพวงมาลัยมีความผิดปกติหรือชำรุด
วิธีแก้ไข : ตรวจสอบระบบเฟืองล้อว่ามีสายพานและส่วนประกอบ ๆ อื่นที่ขาดหรือชำรุดหรือไม่, ตรวจสอบสายไฮดรอลิคว่ามีการรั่วหรือหยุดทำงานหรือไม่
4. พวงมาลัยรถมีความฝืด (Sticky Steering)
อาการ : เวลาหมุนพวงมาลัยเพาเวอร์จะฝืด ๆ เป็นบางช่วง หมุนไม่ไหลลื่นตามที่ควร มีการติดขัดหรือค้างติดในบางจุด
สาเหตุ : น้ำมันไฮดรอลิคเสียหรือมีสกปรก, อุปกรณ์หมุนหรือส่วนอื่นของพวงมาลัยมีปัญหาขัดข้อง
วิธีแก้ไข : เติมหรือเปลี่ยนน้ำมันไฮดรอลิคใหม่, ตรวจสอบส่วนอื่น ๆ ของพวงมาลัยว่ามีส่วนที่ขัดข้องหรือชำรุดหรือไม่
5. พวงมาลัยรถไม่คืนกลับ (Steering Wheel Not Returning to Center)
อาการ : หลังจากที่หมุนพวงมาลัยไปแล้วพวงมาลัยไม่หมุนคืนกลับตามตำแหน่งตรงกลาง
สาเหตุ : ข้อต่อ สปริงพวงมาลัย หรือส่วนของระบบพวงมาลัยมีการชำรุด
วิธีแก้ไข : ตรวจสอบสภาพของข้อต่อหรือส่วนอื่นของระบบพวงมาลัย, ตรวจสอบสปริงส่วนของระบบพวงมาลัยและเปลี่ยนหากมีความผิดปกติ.
6. พวงมาลัยรถมีการสั่นขณะเบรก (Steering Wheel Shakes When Braking)
อาการ : พวงมาลัยมีการสั่นหรือกระตุกเมื่อเหยียบเบรก
สาเหตุ : จานเบรกมีปัญหาหรือชำรุด, ระบบเบรกมีปัญหา
วิธีแก้ไข : ตรวจสอบจานเบรกว่ามีความผิดปกติหรือชำรุดหรือไม่
7. การบังคับทิศทางพวงมาลัยรถไม่สอดคล้องกับการเลี้ยว (Lack of Responsiveness)
อาการ : พวงมาลัยมีความลื่นไหลไม่เท่าทันตามการเปลี่ยนทิศทางหรือคำสั่ง
สาเหตุ : ระบบลูกปืนหรือส่วนยึดพวงมาลัยแตกหรือมีปัญหา
วิธีแก้ไข : ตรวจสอบสภาพของลูกปืนหรือส่วนยึดพวงมาลัย, ตรวจสอบระบบเฟืองล้อว่ามีส่วนอื่น ๆ ที่ขัดข้องหรือไม่
การแก้ไขปัญหาพวงมาลัยรถยนต์ควรทำโดยช่างมืออาชีพหรือศูนย์บริการรถยนต์ที่มีความเชี่ยวชาญในการซ่อมแซมระบบพวงมาลัย แนะนำให้ติดต่อศูนย์บริการรถยนต์เพื่อปรึกษาและดำเนินการซ่อมแซมตามความเหมาะสม เพื่อให้รับประกันคุณภาพและความปลอดภัยของรถยนต์ของคุณ
พวงมาลัยรถยนต์เสียแบบไหนถึงเคลมประกันภัยได้?
ประกันภัยจะครอบคลุมความคุ้มครองไปยังอะไหล่และอุปกรณ์ต่าง ๆ ของรถที่ติดตั้งมาจากโรงงาน ดังนั้นพวงมาลัยรถยนต์รวมถึงพวงมาลัยเพาเวอร์ก็อยู่ในเงื่อนไขความคุ้มครองของประกันรถยนต์เช่นกัน แต่คุณจะทำเรื่องเคลมค่าซ่อมพวงมาลัยได้ก็ต่อเมื่อรถยนต์ของคุณได้รับความเสียหายจากอุบัติเหตุเท่านั้น หากพวงมาลัยของคุณเสียหายเอง หรือเสื่อมสภาพเองจากการใช้งานหลายปี หรือเกิดจากความละเลยการใช้งานอย่างไม่ถนุถนอมของคุณ จะไม่สามารถเบิกเคลมค่าซ่อมกับพวงมาลัยรถยนต์ได้
แรบบิท แคร์ ขอแนะนำว่าให้คุณศึกษารายละเอียดของประกันภัยรถยนต์ให้ดีก่อนการทำ หากคุณมีข้อสงสัยเกี่ยวกับประกันภัย หรือกำลังตามหาแผนประกันรถยนต์ที่ถูกใจคุณในราคาคุ้มค่า คุณสามารถขอคำปรึกษาจากแรบบิท แคร์ ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
ความคุ้มครองประกันรถยนต์