Rabbit Care Logo
ใช้ใจแคร์ ดูแลครบ
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ในการเก็บข้อมูลเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการใช้งาน และเพื่อเก็บข้อมูลสถิติ ท่านสามารถศึกษารายละเอียด เพิ่มเติมได้ที่ นโยบายคุกกี้

🎵 9.9 Rabbit แจกฟรี!! หูฟัง Apple Airpods Gen 3 และ Rabbit Voucher มูลค่ารวม 12,790 บาท แค่สมัครบัตรฯ UOB ผ่าน Rabbit Care คลิก! 💳

จานเบรคคืออะไร? แล้วทำไมถึงจะต้องมีการเจียรจานเบรคด้วย?

ระบบเบรกเป็นระบบความปลอดภัยที่ผู้ขับขี่นั้นไม่ควรที่จะละเลยหรือไม่ให้ความสำคัญ ซึ่งในระบบเบรกนั้นก็มีการทำงานของชิ้นส่วนต่าง ๆ มากมายอย่างสัมพันธ์กัน และหนึ่งในนั้นก็คือจานเบรคนั่นเอง ที่จะคอยทำหน้าที่ช่วยชะลอความเร็วหรือเบรกรถได้ตามที่เราต้องการ ดังนั้นก็ควรที่จะต้องมีการดูแลรักษาอย่างสม่ำเสมอเช่นกัน

จานเบรคคืออะไร?

จานเบรคถือได้ว่าเป็นอุปกรณ์ชิ้นสำคัญในระบบความปลอดภัยของรถยนต์โดยตรง เพราะว่าเป็นชิ้นส่วนในระบบเบรกแบบดิสก์เบรกของรถยนต์นั่นเอง มีลักษณะเป็นแผ่นจานทรงกลมแบน และจะมีหน้าที่ในการรองรับแรงเสียดทาน ซึ่งจะอยู่ติดกับล้อรถยนต์โดยจะทำงานร่วมกับผ้าเบรกเพื่อทำให้รถยนต์ชะลอตัวหรือหยุดนิ่งได้เมื่อเราเหยียบเบรก อีกทั้งยังมีหลายเกรดแตกต่างกันไปตามวัสดุที่ใช้ผลิต เช่น วัสดุผสม เหล็กหล่อ เป็นต้น

จานเบรคมีกี่ประเภท?

  • 1. แบบเรียบ (Smooth Brake Rotor) จานเบรคประเภทนี้เรามักจะพบเห็นได้บ่อย เพราะว่าเป็นชิ้นส่วนมาตรฐานจากโรงงานที่จะติดมากับรถยนต์อยู่แล้ว และจะมีจุดเด่นคือผิวหน้าที่เรียบ โดยข้อดีของจานประเภทนี้คือจะสามารถใช้งานได้อย่างยาวนาน เสียงเงียบ และทนต่อการเบรกได้เป็นอย่างดี ส่วนข้อเสียคือจะมีความสามารถในการระบายความร้อนได้น้อยกว่าประเภทอื่น และมักจะมีฝุ่นเบรกที่จับตัวกันได้ง่าย จึงส่งผลทำให้เราจะต้องออกแรงในการเหยียบเบรกที่หนักขึ้นด้วย

  • 2. แบบเซาะร่อง (Slotted Brake Rotor) จานเบรคประเภทนี้จะมีลักษณะเหมือนถูกเซาะที่ผิวหน้าของให้เป็นร่อง ซึ่งจุดนี้เองที่จะส่งผลทำให้การเบรกรถนั้นมีประสิทธิภาพที่สูงขึ้น เลยจะเหมาะสำหรับรถยนต์ประเภท SUV รถประเภท Off-Road หรือรถบรรทุก เพราะว่าจะต้องมีระบบเบรกของรถยนต์ที่มีประสิทธิภาพสูงมากกว่ารถยนต์ประเภทอื่น ๆ อีกทั้งจานประเภทนี้ยังช่วยระบายความร้อนได้ดี และสามารถขจัดเขม่าดำที่เกิดจากความร้อนของผ้าเบรกได้ จึงทำให้ผ้าเบรกสะอาดด้วย ส่วนข้อเสียของจานประเภทนี้คือจะทำให้ผ้าเบรกนั้นหมดเร็ว อันเนื่องมาจากระยะเบรกที่สั้นกว่าประเภทอื่น ๆ

  • 3. แบบเจาะรู (Drill Brake Rotor)

  • จานเบรคประเภทนี้จะมีลักษณะถูกเจาะเป็นรูที่ผิวหน้าของจาน และมักจะถูกใช้งานในรถยนต์ที่มีสมรรถนะสูง เพราะว่ามีประสิทธิภาพในการเบรกมากกว่าแบบเรียบและมีการเสียดสีที่มากขึ้น โดยแบบเจาะรูนี้จะมีคุณสมบัติในเรื่องของการหมุนเวียนอากาศ ระบายความร้อนได้ดี และยังสามารถขจัดฝุ่นได้ดีอีกด้วย แต่ถ้าหากว่าจานประเภทนี้ผลิตมาจากวัสดุที่ไม่ได้มาตรฐาน ก็จะมีโอกาสเกิดเป็นรอยแตกร้าวบริเวณที่เจาะรูได้

  • 4. แบบเจาะรู เซาะร่อง(Drill and Slotted Brake Rotor) จานเบรคประเภทนี้จะเป็นการนำเอาคุณสมบัติที่ดีของแบบเจาะรูกับแบบเซาะร่องมารวมเข้าไว้ด้วยกัน นั่นก็คือจะทำให้จานมีประสิทธิภาพสูงในการเบรกระยะสั้น ระบายความร้อนได้ดี ขจัดฝุ่นที่มาเกาะจาน ทำให้ผ้าเบรกสะอาด และยังสามารถช่วยระบายน้ำออกจากระบบเบรกในช่วงเวลาที่ฝนตกได้อีกด้วย โดยจานประเภทนี้จะเหมาะสำหรับรถบรรทุก รถประเภท Off-Road รถประเภท SUV รวมไปถึงรถที่จะต้องใช้ความเร็วสูง เช่น รถแข่ง เป็นต้น

ทำไมถึงต้องมีการเจียรจานเบรคหลังจากเปลี่ยนผ้าเบรก?

เพราะนอกจากการเจียรจานเบรคจะทำให้ผิวหน้าของจานเรียบ ไม่มีร่องแล้ว ก็ยังทำให้มีค่าแรงเสียดทานระหว่างจานกับผ้าเบรกเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย จึงส่งผลทำให้การชะลอตัวของรถหรือการเหยียบเบรกดีขึ้น อีกทั้งยังช่วยลดเสียงขณะเบรกได้ด้วยเช่นกัน ดังนั้นหลังจากที่มีการเปลี่ยนผ้าเบรกก็ควรที่จะต้องมีการเจียรจานเบรคด้วย เพราะถือว่าเป็นการสร้างแรงเสียดทานระหว่างจานกับผ้าเบรก เพิ่มประสิทธิภาพในการเบรกรถให้ดีขึ้น และมีระยะการเบรกที่สั้นขึ้นอีกด้วย

การเจียรจานเบรคจำเป็นไหม?

การเจียรจานเบรคจะเป็นการปรับสภาพผิวหน้าของจาน โดยจะใช้ใบมีดจากเครื่องเจียรปาดไปที่ผิวหน้าของจาน อีกทั้งยังช่วยสร้างแรงเสียดทานระหว่างจานกับผ้าเบรกด้วย จึงส่งผลทำให้การชะลอตัวของรถ การเบรกรถ หรือว่าการหยุดรถนั้นทำได้ง่ายขึ้น ดังนั้นการเจียรจานจึงสำคัญมาก เพราะเมื่อมีการใช้งานมาได้ระยะหนึ่ง ผิวหน้าของจานเบรคก็จะมีร่องรอยความเสียหายที่เกิดจากผ้าเบรกหรือสิ่งสกปรกอื่น ๆ โดยจะขึ้นอยู่กับการใช้งานของแต่ละคนด้วยเช่นกัน จึงเป็นเหตุผลที่เรานั้นควรจะมีการเจียรจานเบรคนั่นเอง

จานเบรคเจียรได้กี่ครั้ง?

ตราบใดที่จานเบรคยังหนาอยู่และไม่ได้เป็นสนิมเยอะจนเกินไป เราก็สามารถที่จะเจียรจานเบรคได้อยู่เรื่อย ๆ แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่จานเริ่มบางมากกว่า 19 มิลลิเมตร จานเบรคไหม้ จานเบรคคดงอ หรือจานเบรคเป็นสนิมเกินกว่า 50% ก็ควรที่จะเปลี่ยนจานเบรคใหม่ไปเลยจะดีที่สุดเพื่อความปลอดภัย เพราะอาจจะทำให้จานเบรคเกิดแตกกลางทางในระหว่างที่รถกำลังเคลื่อนที่ หรืออาจจะเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ในอนาคตก็เป็นได้

จานเบรคเปลี่ยนเมื่อไหร่ดี?

ถึงแม้ว่าจานเบรคจะเป็นชิ้นส่วนที่ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนบ่อย แต่เราก็ไม่ควรที่จะมองข้ามไป เพราะเมื่อมีการใช้งานก็จะต้องมีการสึกหรอไปตามกาลเวลาเป็นปกติอยู่แล้ว เราจึงจำเป็นที่จะต้องหมั่นสังเกตและหมั่นตรวจเช็กเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ เพราะถ้าหากว่าจานเบรคมีอาการเหล่านี้ขึ้นมา ก็แสดงว่าเราควรที่จะต้องเปลี่ยนจานเบรคแล้ว ได้แก่

  • จานเบรคสึก คือลักษณะผิวหน้าของจานเบรคที่ไม่เสมอกัน เวลาที่เราเหยียบเบรกจะรู้สึกได้ว่ามันสั่น โดยในกรณีที่ไม่ได้เป็นหนักมากเราก็สามารถที่จะเจียรจานเบรคได้ แต่ถ้าหากว่าเป็นหนักก็ควรที่จะต้องเปลี่ยนจานเบรคอันใหม่ทันที
  • จานเบรคเกิดรอยจนเป็นร่องขึ้นมา ในกรณีนี้ถ้าเป็นเพียงเส้นเล็ก ๆ ก็สามารถเจียรจานเบรคให้กลับมาเรียบเหมือนเดิมได้ แต่ถ้าหากว่าเป็นหนักก็ควรที่จะต้องเปลี่ยนจานเบรคใหม่ทันที
  • จานเบรคเป็นสนิม ในกรณีนี้เราจะต้องดูว่าสนิมนั้นขึ้นมาเยอะเท่าไหร่ ถ้าหากว่าขึ้นมาเยอะเกิน 50% ก็ควรที่จะต้องเปลี่ยนจานเบรคอันใหม่ทันที แต่ถ้าหากว่าขึ้นมาเพียงเล็กน้อย เราก็สามารถแก้ไขได้โดยการเจียรจานเบรคเหมือนเดิม
  • จานเบรคคด ในกรณีนี้มักจะเกิดจากการที่จานเบรคนั้นเจอกับอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงไปแบบกะทันหัน ดังนั้นเราจึงจะต้องรีบเปลี่ยนจานเบรคใหม่โดยทันที เพราะด้วยรูปร่างของจานเบรคที่คดงอ มันเลยจะส่งผลทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานของจานเบรคนั้นน้อยลงไปด้วย จึงอาจเกิดเป็นอันตรายต่อรถยนต์และส่งผลต่อการขับขี่ได้
  • จานเบรคไหม้ จะสังเกตได้ว่าจานเบรคนั้นเปลี่ยนเป็นสีฟ้าหรือสีน้ำเงิน เพราะว่าเกิดจากการสะสมความร้อนจนจานเบรคไหม้ ซึ่งถ้าหากว่าเป็นสีฟ้าที่ไม่เข้มมาก ก็ให้รอจนกว่าจานเบรคจะเย็นแล้วจึงกลับมาใช้งานได้ตามปกติ แต่ถ้าหากว่าเป็นสีน้ำเงินเข้มก็ควรที่จะรีบเปลี่ยนจานเบรคใหม่โดยทันที
  • จานเบรคร้าว ในกรณีนี้ถ้ารอยร้าวมีเพียงเล็กน้อยก็สามารถแก้ไขได้โดยการเจียรจานเบรคให้กลับมาเรียบเหมือนเดิม แต่โอกาสที่จานเบรคจะกลับมาร้าวอีกก็มีอยู่เช่นกัน ดังนั้นจึงแนะนำให้เปลี่ยนจานเบรคใหม่ไปเลยจะดีกว่า

การเจียรจานเบรคใช้เวลานานไหม?

โดยปกติแล้ววิธีในการเจียรจานเบรคจะมีอยู่ 2 ประเภท คือ

  • การเจียรจานเบรคแบบประชิดล้อ หรือการเจียรจานเบรคแบบไม่ต้องถอดจานเบรค โดยจะนำเครื่องเจียรมาวางประชิดกับจานเบรค จึงเป็นวิธีที่สะดวกและรวดเร็ว
  • การเจียรจานเบรคแบบแท่น หรือการเจียรจานเบรคแบบถอดจานเบรคออกมา โดยวิธีนี้จะใช้เวลาและขั้นตอนที่มากกว่าการเจียรจานเบรคแบบประชิดล้อ เพราะจะต้องมีการถอดจานเบรคออกมาเจียรที่เครื่องเจียรแบบแท่น แต่วิธีนี้ก็จะสามารถปรับมุมและองศาของใบมีดเจียรได้มากกว่าการเจียรจานเบรคแบบประชิดล้อ

หากเกิดความเสียหายขึ้นกับจานเบรค แบบนี้ประกันภัยรถยนต์จะรับเคลมไหม?

ถ้าหากว่าจานเบรคนั้นเกิดความเสียหายขึ้นมาโดยที่ไม่ได้มีสาเหตุจากอุบัติเหตุ เช่น จานเบรคเสื่อมสภาพจากอายุการใช้งาน หรือว่าจานเบรคเกิดการคดงอจากอุณหภูมิสภาพแวดล้อมทั่วไป แบบนี้ทางบริษัทประกันภัยจะไม่ได้ให้ความคุ้มครองหรือจะเคลมประกันรถยนต์ไม่ได้ แต่ถ้าหากว่ามีสาเหตุมาจากอุบัติเหตุนั้นก็จะสามารถเคลมได้ เพราะว่าอยู่ในแผนความคุ้มครองของประกันภัยรถยนต์นั่นเอง

แล้วควรเลือกทำประกันภัยรถยนต์ชั้นไหนดี หากเพิ่งซื้อรถยนต์มาใหม่?

แนะนำสำหรับท่านที่ต้องการจะได้รับความคุ้มครองแบบครอบคลุมที่สุดว่าให้เลือกทำเป็นประกันภัยรถยนต์ชั้น 1 ถึงแม้ว่าราคาจะแพงเป็นอันดับต้น ๆ ในบรรดาประกันภัยทุกชั้น แต่ในเรื่องของความคุ้มครองที่จะได้รับนั้นก็ถือว่าครอบคลุมมากที่สุด อีกทั้งยังคุ้มค่า คุ้มราคา ไม่ว่าจะเป็นกรณีรถหาย รถไฟไหม้ หรือรถน้ำท่วม ทางบริษัทประกันภัยก็รับเคลมทั้งสิ้น

ซื้อประกันรถยนต์ผ่านแรบบิท แคร์ จะได้สิทธิประโยชน์อะไรบ้าง?

อันดับแรกคือลูกค้าจะสามารถมั่นใจได้อย่างเต็มที่ว่าจะได้รับสิทธิพิเศษตั้งแต่เริ่มวางแผนซื้อประกันภัยกับทางแรบบิท แคร์ เพราะว่าแรบบิท แคร์ นั้นมีระบบเปรียบเทียบแผนประกันออนไลน์ที่ใช้งานง่าย รวดเร็วทันใจ ใช้เวลาเพียงแค่ 30 วินาที ก็สามารถที่จะรู้ราคาของประกันภัยรถยนต์ในแต่ละบริษัทประกันภัยชั้นนำทั่วประเทศได้เลย ทำให้ลูกค้าได้เลือกสรรแผนประกันภัยที่ตอบโจทย์และได้ตรงตามความต้องการมากที่สุด สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ แรบบิท แคร์

ความคุ้มครองประกันรถยนต์

ความคุ้มครองรถผู้ทำประกัน
ประเภทประกันภัย
ชั้น 1
ชั้น 2+
ชั้น 2
ชั้น 3+
ชั้น 3
ชนแบบมีคู่กรณีชนแบบมีคู่กรณี
x
x
ชนแบบไม่มีคู่กรณีชนแบบไม่มีคู่กรณี
x
x
x
x
ไฟไหม้ไฟไหม้
x
x
รถหายรถหาย
x
x
ภัยธรรมชาติภัยธรรมชาติ
x
x
ช่วยเหลือ 24 ชม. ช่วยเหลือ 24 ชม.
x
x
x
ซื้อประกันรถยนต์   
คลิก
คลิก
คลิก
คลิก
คลิก
ความคุ้มครองอื่นๆ ครอบคลุมทุกชั้นประกัน
คุ้มครองคู่กรณี และทรัพย์สินคู่กรณี
อุบัติเหตุ ค่ารักษาพยาบาลบุคคลที่สาม
คุ้มครองชิวิตบุคคลที่สาม
คุ้มครองชีวิตผู้ขับขี่
ค่ารักษาพยาบาลตัวผู้ขับขี่
การประกันตัวผู้ขับขี่

ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ของเรา