Rabbit Care Logo
ใช้ใจแคร์ ดูแลครบ

เลือกล้อรถแบบไหนดี? เปลี่ยนล้อรถยนต์อย่างไรให้ถูกกฎหมาย?

เมื่อพูดถึงล้อรถยนต์แล้ว หลาย ๆ คนอาจเคยได้ยินหรือได้ข้อมูลว่าล้อแม็กมีคุณสมบัติที่ดีกว่าล้อรถที่แถมมาตอนซื้อรถยนต์ หรือที่บางครั้งเรียกกันว่าล้อติดรถ อีกทั้ง ล้อรถยนต์เป็นส่วนแรก ๆ ที่เจ้าของรถมักเลือกที่จะเปลี่ยนเพื่อเพิ่มสมรรถนะในการขับขี่เป็นอันดับแรก ๆ

ฉะนั้น ในบทความนี้ เราจะพูดถึงล้อแม็กรถยนต์และล้อรถยนต์ธรรมดา ว่าแตกต่างกันอย่างไร คุณสมบัติและการใช้งานที่เหมาะสมสำหรับล้อรถยนต์แต่ละประเภท ควรเลือกใช้ล้อรถยนต์ชนิดใดจึงจะเหมาะสมที่สุด รวมถึงอายุการใช้งาน เมื่อไหร่ที่ควรเปลี่ยน และพลาดไม่ได้กับข้อกฎหมายเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพรถยนต์ให้ถูกกฎหมาย

ประเภทของล้อแม็ก

โดยทั่วไปแล้ว “ล้อแม็ก” เป็นคำที่ใช้เรียกล้อรถยนต์ทุกประเภท โดยประเภทของล้อแม็กหรือล้อรถยนต์มีวิธีการแบ่งประเภทได้หลายแบบ เช่น แบ่งตามลวดลาย แบ่งตามขนาดของล้อแม็ก แต่อีกหนึ่งวิธีการแบ่งประเภทล้อแม็กรถยนต์ที่สามารถพบได้ง่ายในไทยมีอยู่ 3 ประเภทหลัก นั่นคือ การแบ่งตามวัสดุที่ใช้ผลิต ได้แก่ ล้อเหล็กหรือล้อกระทะ ล้อแม็กนีเซียมอัลลอย และล้ออะลูมิเนียมอัลลอย


ล้อเหล็กหรือล้อกระทะ (Steel Wheel)

ล้อแม็กประเภทล้อเหล็กหรือล้อกระทะคือล้อแม็กที่เป็นล้อรถยนต์แบบพื้นฐานที่มากับตัวรถตั้งแต่ซื้อรถ มีวัสดุเหล็กเป็นวัสดุหลักในการผลิต สามารถทนทานต่อการกัดกร่อนสูงเนื่องจากผลิตจากเหล็ก ทำให้ล้อประเภทนี้สามารถวิ่งได้ทั้งทางที่มีพื้นผิวเรียบและทางที่มีพื้นผิวขรุขระได้ โดยเทคโนโลยีที่ใช้ผลิตล้อประเภทนี้ไม่ซับซ้อน อีกทั้งวัสดุเหล็กที่เป็นวัสดุหลักในการผลิตมีต้นทุนที่ไม่สูง ทำให้ล้อเหล็กมีราคาที่ค่อนข้างถูก และเป็นตัวเลือกที่ผู้ผลิตและประกอบรถยนต์เลือกใช้ล้อประเภทนี้

อย่างไรก็ตาม ล้อประเภทนี้มีน้ำหนักค่อนข้างมาก ทำให้เกิดแรงต้านในการหมุนที่สูงพอสมควร ดังนั้น ล้อรถยนต์ประเภทนี้จึงทำให้อัตราเร่งของรถต่ำลง ถ่วงน้ำหนักช่วงล่างของรถ และส่งผลให้เครื่องยนต์ต้องใช้น้ำมันหรือเชื้อเพลิงที่มากขึ้นโดยปริยาย อีกทั้งยังมีลวดลายที่ไม่ค่อยสวยงามเมื่อเทียบกับล้อแม็กอีก 2 ประเภทที่เหลือ ทำให้หลาย ๆ คนเลือกที่จะเปลี่ยนล้อเป็นล้อประเภทอื่นเพื่อเพิ่มสมรรถนะในการขับขี่ให้ดีขึ้น และเพื่อเพิ่มความสวยงามภายนอกให้กับรถยนต์ของตัวเองอีกด้วย


ล้อแม็กนีเซียมอัลลอย (Magnesium Alloy Wheel)

ล้อแม็กประเภทแม็กนีเซียมอัลลอยเป็นล้อที่มีการผลิตครั้งแรกเพื่อใช้ในการแข่งขันรถซูเปอร์คาร์เมื่อประมาณ 60 ปีที่แล้ว ในภายหลัง ล้อแม็กนีเซียมอัลลอยจึงเริ่มเข้ามาในท้องตลาดมากขึ้นเพื่อให้ผู้ขับรถยนต์ทั่วไปได้เลือกใช้งาน และด้วยชื่อของ “ล้อแม็กนีเซียมอัลลอย” ทำให้คนทั่วไปเรียกล้อชนิดนี้สั้น ๆ ว่า “ล้อแม็ก” และใช้ชื่อนี้เรียกชิ้นส่วนล้อรถยนต์โดยรวม ๆ ว่า “ล้อแม็ก” ถึงแม้ว่าล้อรถยนต์ประเภทอื่นไม่ได้ผลิตมาจากแม็กนีเซียมอัลลอยก็ตาม

ล้อประเภทนี้ใช้โลหะผสมซึ่งมีแม็กนีเซียมเป็นส่วนผสมหลัก ทำให้ล้อประเภทนี้มีน้ำหนักที่น้อยลงเมื่อเทียบกับล้อเหล็ก อีกทั้งยังมีพื้นที่ผิวที่กว้าง ทำให้สามารถใส่ยางรถยนต์ขนาดที่ใหญ่ขึ้นได้ ด้วยคุณสมบัติดังกล่าวของล้อแม็กชนิดนี้ ทำให้สมรรถนะในการขับขี่ของรถที่เลือกใช้ล้อชนิดนี้ดีขึ้น เพราะทำให้รถยนต์สามารถทรงตัวได้ดีกว่า อีกทั้งด้วยน้ำหนักที่เบา ซึ่งเป็นจุดเด่นของล้อชนิดนี้ ทำให้มีแรงต้านในการหมุนที่น้อยกว่า ช่วงล่างของรถยนต์สามารถตอบสนองได้ดีกว่าทั้งในด้านอัตราเร่งของรถและการเบรกของรถยนต์

อย่างไรก็ตาม วัสดุที่ใช้ผลิตล้อชนิดนี้มีราคาที่สูงกว่าเหล็กธรรมดา ทำให้ราคาของล้อชนิดนี้สูงกว่าล้อเหล็ก อีกทั้งวัสดุชนิดนี้มีความทนทานต่อการกัดกร่อนที่น้อยกว่าเหล็ก ดังนั้น ล้อแม็กรถยนต์ชนิดนี้จึงเหมาะสำหรับรถยนต์ที่ใช้วิ่งบนทางเรียบมากกว่า โดยเฉพาะพื้นที่ผิวที่เรียบแบบสนามแข่ง เพราะดั้งเดิมแล้ว ล้อชนิดนี้ออกแบบเพื่อรถยนต์ที่ใช้วิ่งบนสนามแข่งรถ


ล้ออะลูมิเนียมอัลลอย (Aluminum Alloy Wheel)

ล้อแม็กชนิดนี้ได้รับการออกแบบที่คล้ายกับล้อแม็กนีเซียมอัลลอย เพียงแต่ล้อชนิดนี้ใช้วัสดุที่แตกต่างจากล้อแม็กนีเซียมอัลลอย นั่นคือ อะลูมิเนียมอัลลอย วัสดุชนิดนี้มีคุณสมบัติที่คล้ายกับแม็กนีเซียมอัลลอย แต่มีน้ำหนักที่มากกว่าแม็กนีเซียมอัลลอย

อย่างไรก็ตาม วัสดุชนิดนี้ยังคงมีน้ำหนักที่เบากว่าเหล็ก ทำให้ล้อแม็กชนิดนี้อยู่กึ่งกลางระหว่างล้อเหล็กและล้อแม็กนีเซียมอัลลอย และด้วยเทคโนโลยีการผลิตล้อรถยนต์ที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทำให้ล้ออะลูมิเนียมอัลลอยได้รับการออกแบบทั้งในด้านคุณภาพของวัสดุที่ใช้ และการออกแบบที่สวยงาม จนทำให้ล้อชนิดนี้มีจุดเด่นของล้อรถยนต์ทั้งสองประเภท นั่นคือ จุดเด่นของล้อเหล็กที่มีความทนทานสูง และจุดเด่นของล้อแม็กนีเซียมอัลลอยที่มีน้ำหนักเบา และสามารถออกแบบให้สวยงามได้

ถึงอย่างไรก็ตาม ล้อประเภทนี้มีขั้นตอนการผลิตที่ค่อนข้างซับซ้อนพอสมควร จึงทำให้ล้อแม็กรถยนต์ชนิดนี้มีราคาสูงพอสมควร แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าล้อแม็กประเภทนี้ได้รับความนิยมในหมู่มาก และเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลาย

วิธีเลือกใช้งานล้อรถแต่ละประเภท

เมื่อได้ทราบถึงล้อแม็กรถยนต์ประเภทต่าง ๆ แล้ว หลาย ๆ คนก็คงจะสามารถแยกออกได้ว่าล้อประเภทใดเหมาะสมกับการใช้งานของรถของตัวเอง กล่าวคือ ล้อประเภทล้อเหล็กหรือล้อกระทะ เหมาะสมกับการขับรถในชีวิตประจำวันที่ไม่จำเป็นต้องปรับแต่งเพื่อสมรรถนะในการขับที่ดีขึ้นมากนัก เพราะล้อประเภทนี้ผ่านการคิดและตรวจสอบจากผู้ผลิตและประกอบรถยนต์เรียบร้อยแล้ว เพียงแต่ใครที่อาจต้องการความสวยงามจากล้อแล้ว อาจพิจารณาว่าอยากเปลี่ยนตามความพึงพอใจของตนเอง โดยอาจเลือกเปลี่ยนเป็นล้อแม็กนีเซียมอัลลอย หรือล้ออะลูมิเนียมอัลลอยแทนก็เป็นได้

ทั้งนี้ทั้งนั้น ทั้งล้อแม็กนีเซียมอัลลอยและล้ออะลูมิเนียมอัลลอยต่างมีข้อด้อยในด้านความทนทานเมื่อเทียบกับล้อเหล็ก ดังนั้น หากคุณต้องขับรถบนพื้นที่ผิวที่มีลักษณะขรุขระ ไม่เรียบ ไม่แนะนำว่าให้เปลี่ยนไปใช้ล้อทั้ง 2 ประเภทนี้ เพราะล้อทั้ง 2 ประเภทนี้ไม่เหมาะสำหรับกับการใช้งานดังกล่าว โดยเฉพาะล้อแม็กนีเซียมอัลลอยที่มีข้อด้อยในเรื่องความทนทานอย่างชัดเจน หรือหากคุณแน่ใจว่าคุณใช้งานรถในพื้นที่ที่ไม่ค่อยพบเจอถนนที่ขรุขระ ก็อาจเลือกเปลี่ยนเป็นล้ออะลูมิเนียมอัลลอยก็ได้ เพราะมีความทนทานมากกว่าล้อแม็กนีเซียมอัลลอย

อายุการใช้งานล้อรถยนต์

ล้อแม็กอาจไม่ใช้สิ่งที่เราต้องเปลี่ยนบ่อยครั้ง แต่สำหรับล้อรถยนต์นั้นสามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในช่วง 4-6 ปีแรก หรือเมื่อวิ่งในระยะทางก่อน 50,000 กิโลเมตร ยางจะยังคงมีประสิทธิภาพในการขับเคลื่อนได้ดี

แต่ทั้งนี้อายุการใช้งานของยางรถยนต์ ยังขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่น ๆ ด้วย เช่น พฤติกรรมการขับขี่ของเจ้าของรถ สภาพพื้นที่ถนนที่ใช้เป็นประจำ การดูแลล้อรถยนต์ สิ่งเหล่านี้จะส่งผลกระทบต่ออายุของยางรถยนต์ได้ ซึ่งเจ้าของรถยนต์จะต้องสังเกตสภาพยางรถยนต์ของตนเองอย่างสม่ำเสมอ เพื่อความปลอดภัยในการขับขี่ และป้องกันอันตรายจากการใช้ยางรถยนต์เสื่อม

ส่วนตรงที่เป็นล้อแม็กซ์ ส่วนมากจะใช้งานได้เกิน 30 ปี หรือตลอดชีพของการใช้รถเลย หากเป็นล้อแม็กซ์ที่มาจากโรงงานที่เป็นอะไหล่รถดั้งเดิม เพราะเป็นวัสดุที่มีความทนทาน ยกเว้นแต่ตอนเกิดอุบัติเหตุ

กรณีไหนบ้างที่ต้องเปลี่ยนล้อรถยนต์?

สภาพความสมบูรณ์ของล้อรถยนต์ จะขึ้นอยู่กับการขับขี่ของคุณด้วย ถ้าหากไม่นับเรื่องการเปลี่ยนยางรถยนต์ ยังมีเรื่องสภาพล้อแม็กที่หากใช้ไปนาน ๆ เราต้องสังเกตล้อรถยนต์กันด้วย ว่าล้อแม็กซ์สภาพไหนที่ถึงเวลาเปลี่ยนแล้ว


ล้อรถยนต์มีรอยขีดข่วน

หากเป็นรอยขีดข่วนแบบผิวเผินที่ไม่ได้ส่งผลเสียให้ล้อแม็กซ์ผิดรูปผิดร่าง บางคนก็อาจเลือกเปลี่ยนล้อแม็กซ์เพื่อความสบายตาในการมอง เพราะไม่ชอบให้รถเป็นรอยนาน ๆ ก็จะเป็นในเรื่องของความสวยความงามไป แต่สำหรับข้อนี้แล้วหากใครที่ไม่ได้ติดในเรื่องของความสวยงาม ก็ข้ามไปได้เลย


มีรอยแตกตรงล้อแม็กซ์

ส่วนมากมักเกิดจากการชนอย่างรุนแรง จึงจะทำให้ล้อรถยนต์แตกได้ ให้ลองตรวจดูที่ก้านล้อเพิ่มเติมว่ามีรอบแตกหักร่วมด้วยหรือไม่ หากมีรอยแตกให้ทำการเปลี่ยนล้อแม็กซ์ใหม่ เพื่อจะได้ล้อแม็กซ์ที่มีคุณภาพในการขับขี่มากกว่าแบบที่ชำรุด


ล้อรถยนต์บิ่น ไม่กลมเหมือนปกติ

ส่วนมากมักเกิดจากการที่คุณขับรถแบบไม่ระมัดระวัง เช่น การขับรถชนขอบถนนเป็นประจำ ขับรถตกหลุม หรือเคยปล่อยให้ยางแตกมาแล้ว ก็จะทำให้ล้อรถยนต์บิ่นได้ ส่วนมากอาจไม่ทันสังเกตเห็นหากล้อรถยนต์เบี้ยวเพียงเล็กน้อย แต่จะสังเกตได้จากอาการของรถที่แสดงออกให้เห็นจากอาการพวงมาลัยไม่นิ่ง พวงมาลัยสั่นมากกว่าปกติ จะต้องเปลี่ยนล้อแม็กซ์ใหม่ เพื่อป้องกันอันตรายหากขับขี่ต่อไป

เลือกล้อรถยนต์แบบไหนดี?

เมื่อจำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนล้อรถยนต์เป็นล้อใหม่ หรือยากแต่งล้อแม็กซ์รถยนต์ให้เป็นแบบที่ชอบ จะมีวิธีการเลือกรถยนต์แบบไหนให้ปลอดภัยบ้าง ซึ่งการเลือกล้อรถยนต์ก็ยังต้องระวังไม่ให้แต่งแบบผิดกฎหมายด้วย ดังนั้นก่อนการซื้อล้อรถยนต์ใหม่จะต้องศึกษาก่อน เพื่อไม่ให้ผิดกฎหมาย


เลือกขนาดของล้อแม็กซ์ให้สัมพันธ์กับขนาดยาง

โดยขนาดของล้อรถยนต์ไม่ควรเลือกใหญ่เกินจากขนาดเดิม 4 นิ้ว ซึ่งเหตุผลที่ไม่ควรเลือกล้อรถยนต์ให้มีขนาดใหญ่เกินไป จะส่งผลต่อการขับขี่ที่ต้องรับน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น


เลือกยางรถยนต์ไม่ให้ผิดกฎหมาย

เมื่อเลือกล้อรถยนต์ได้แล้ว ต่อมาก็จะเป็นการเลือกยางรถยนต์กัน การเลือกยางรถยนต์ใส่ล้อ ไม่ควรเลือกยางรถยนต์ใหญ่จนเกินบังโคลนล้อ เพราะจะมีความผิดตามกฎหมาย โทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท เพราะจะทำให้เกิดอันตรายต่อผู้ร่วมทางได้

เปลี่ยนล้อแม็กอย่างไรให้ถูกกฎหมาย

ในปัจจุบัน เราอาจพบเจอรถยนต์ที่เปลี่ยนล้อรถยนต์แล้วทำให้ตัวล้อเกินออกมาจากตัวถัง หรือที่เรียกกันในสังคมปัจจุบันว่า “ล้อล้น” ซึ่งในหลาย ๆ ครั้งสามารถนำไปสู่อุบัติเหตุบนท้องถนนได้ เพราะล้อที่ล้นออกมาจากตัวถัง ทำให้รถคันข้างหลัง หรือคันข้าง ๆ ที่ต้องการแซงรถ ไม่สามารถกะระยะห่างได้แน่นอน

และด้วยพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 มาตรา 12 บัญญัติไว้ว่า “รถใดที่จดทะเบียนแล้ว หากปรากฏในภายหลังว่ารถนั้นมีส่วนควบหรือเครื่องอุปกรณ์สำหรับรถไม่ครบถ้วนถูกต้องตามที่กำหนดในกฎกระทรวง หรือเพิ่มสิ่งใดสิ่งหนึ่งเข้าไป ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจผู้อื่น ห้ามมิให้ผู้ใดใช้รถนั้นจนกว่าจะจัดให้มีครบถ้วนถูกต้องหรือเอาออกแล้ว”

ดังนั้น หากเปลี่ยนล้อแม็กแล้วปรากฏว่าตัวล้อได้ล้นออกมาจากตัวถัง แนะนำว่าให้เปลี่ยนเป็นล้อที่มีขนาดเล็กกว่าเพื่อให้ตัวล้อไม่ล้น เพื่อความปลอดภัยต่อผู้ใช้รถใช้ถนนคนอื่น ๆ และเพื่อให้คุณสามารถเปลี่ยนแปลงล้อแม็กของคุณได้โดยที่ไม่ขัดแย้งต่อข้อกฎหมาย

ล้อรถยนต์หรือล้อแม็กมีปัญหา เคลมประกันได้หรือไม่?

ในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุเล็ก ๆ น้อย ๆ กับล้อรถยนต์หรือล้อแม็กของเรา จนเกิดรอยขึ้นมาอย่างชัดเจน หากต้องการนำไปเคลมในกรณีนี้ รถต้องทำประกันชั้น 1 เอาไว้ เนื่องครอบคลุมความเสียหายหลากหลายแบบ แต่อาจมีเงื่อนไขในการรับประกันบางข้อ ที่ทำให้มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม คือ หากเป็นล้อแม็กที่ตกแต่งเพิ่มเอง เจ้าของรถต้องแจ้งประกันทันที เพราะอาจมีการเก็บค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมก่อนเคลมประกันได้เต็มจำนวน และต้องจ่ายค่าเสียหายส่วนแรก (Excess) 1,000 บาทต่อครั้งอีกด้วย

จากล้อแม็กที่คุณอาจมองข้ามไป จะเห็นได้ว่าล้อเป็นส่วนสำคัญของรถอีกหนึ่งส่วนที่สามารถทำให้สมรรถนะของรถยนต์ดีขึ้นได้ ทั้งนี้ ก่อนเปลี่ยนล้อรถยนต์ ควรพิจารณาถึงปัจจัยต่าง ๆ ที่ได้กล่าวไว้ก่อน จะเป็นการดีที่สุด สุดท้ายนี้ น้องแคร์ขอฝากประกันรถยนต์ผ่านทาง แรบบิท แคร์ ที่พร้อมให้บริการสำหรับคุณและรถของคุณด้วยนะ และขอให้ทุกคนขับขี่กันอย่างปลอดภัย เพื่อประสบการณ์ในการขับขี่ที่ดีของผู้ใช้รถใช้ถนนทุก ๆ คน!

ความคุ้มครองประกันภัยรถยนต์แต่ละประเภท

ความคุ้มครองรถผู้ทำประกัน
ประเภทประกันภัย
ชั้น 1
ชั้น 2+
ชั้น 2
ชั้น 3+
ชั้น 3
ชนแบบมีคู่กรณีชนแบบมีคู่กรณี
x
x
ชนแบบไม่มีคู่กรณีชนแบบไม่มีคู่กรณี
x
x
x
x
ไฟไหม้ไฟไหม้
x
x
รถหายรถหาย
x
x
ภัยธรรมชาติภัยธรรมชาติ
x
x
ช่วยเหลือ 24 ชม. ช่วยเหลือ 24 ชม.
x
x
x
ซื้อประกันรถยนต์   
คลิก
คลิก
คลิก
คลิก
คลิก
ความคุ้มครองอื่นๆ ครอบคลุมทุกชั้นประกัน
คุ้มครองคู่กรณี และทรัพย์สินคู่กรณี
อุบัติเหตุ ค่ารักษาพยาบาลบุคคลที่สาม
คุ้มครองชิวิตบุคคลที่สาม
คุ้มครองชีวิตผู้ขับขี่
ค่ารักษาพยาบาลตัวผู้ขับขี่
การประกันตัวผู้ขับขี่

ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ของเรา