Rabbit Care Logo
ใช้ใจแคร์ ดูแลครบ
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ในการเก็บข้อมูลเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการใช้งาน และเพื่อเก็บข้อมูลสถิติ ท่านสามารถศึกษารายละเอียด เพิ่มเติมได้ที่นโยบายคุกกี้
user profile image
เขียนโดยTawan A.วันที่เผยแพร่: Jan 06, 2022

ระบบขับเคลื่อนรถยนต์มีกี่แบบ? ระบบขับเคลื่อนล้อหน้า VS. ล้อหลังต่างกันอย่างไร?

การเลือกซื้อรถยนต์สักหนึ่งคันมีหลายปัจจัยหลายอย่างที่ต้องคำนึงถึง ไม่ว่าจะเป็นยี่ห้อ ราคา เครื่องยนต์ รวมไปถึงระบบขับเคลื่อนรถยนต์ ที่มีให้เลือกทั้งระบบขับเคลื่อนแบบ 2 ล้อหน้า ระบบขับเคลื่อนแบบ 2 ล้อหลัง และระบบขับเคลื่อนแบบ 4 ล้อ วันนี้ แรบบิท แคร์ จะพาไปดูกันว่าระบบขับเคลื่อนแต่ละรูปแบบมีความแตกต่างกันอย่างไรบ้าง?

ระบบขับเคลื่อนรถยนต์ คืออะไร?

ระบบขับเคลื่อน เป็นระบบควบคุมการเคลื่อนที่ของรถ ซึ่งรถยนต์ในท้องตลาดแต่ละรุ่นก็จะใช้ระบบขับเคลื่อนที่แตกต่างกันออกไป ทำให้ความสามารถ และสมรรถนะในการขับขี่บนพื้นถนนเปียกลื่น หรือดินทรายที่แตกต่างกัน ระบบขับเคลื่อนรถยนต์ถือเป็นหนึ่งปัจจัยในการเลือกซื้อรถยนต์ เพราะจะช่วยให้ได้รถที่เหมาะสมกับการใช้งานมากที่สุด

ระบบขับเคลื่อนรถยนต์ มีกี่แบบ แตกต่างกันอย่างไร?

ระบบขับเคลื่อนรถยนต์มี 3 รูปแบบหลัก ๆ ด้วยกัน โดยมีความแตกต่างตามการออกแบบและการใช้งานร่วมกับรถแต่ละรุ่น หรือสภาพการขับขี่ ทำให้จำเป็นต้องมีระบบขับเคลื่อนรถยนต์ที่แตกต่างกัน ได้แก่

1) ระบบขับเคลื่อนล้อหน้า (FWD) หรือระบบขับเคลื่อนแบบ 2 ล้อหน้า (Front-engine, Front-wheel Drive : FF) มักพบการใช้งานในรถยนต์นั่งส่วนบุคคลเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากโครงสร้างขนาดเล็ก ช่วยประหยัดเชื้อเพลิง
2) ระบบขับเคลื่อนล้อหลัง (RWD) หรือระบบขับเคลื่อนแบบ 2 ล้อหลัง (Front-engine, Rear-wheel drive : FR) มักใช้งานในรถเพื่อการพาณิชย์เป็นส่วนมาก เนื่องจากสามารถรองรับน้ำหนักตัวถังและกำลังเครื่องยนต์ที่มากกว่าได้
3) ระบบขับเคลื่อนสี่ล้อ เหมาะสำหรับเกาะพื้นผิวถนนที่มากกว่า ได้แก่ ระบบขับเคลื่อนสี่ล้อตลอดเวลา (AWD) และระบบขับเคลื่อนสี่ล้อ (4WD) ซึ่งประกอบด้วยระบบขับเคลื่อนสี่ล้อ Full Time และระบบขับเคลื่อนสี่ล้อ Part Time มีรายละเอียดระบบขับเคลื่อนรถยนต์ในแต่ละประเภทดังนี้

1. ระบบขับเคลื่อนล้อหน้า (FWD)

ระบบขับเคลื่อนล้อหน้า (Front-wheel Drive : FWD) คือ ระบบการขับขี่ที่ใช้การส่งกำลังของเครื่องยนต์ให้ไปตกลงบนล้อคู่หน้าที่ใช้ในการขับเคลื่อนตัวรถ โดยระบบขับเคลื่อนด้วยล้อหน้าได้รับความนิยมในอุตสาหกรรมรถยนต์มาอย่างยาวนาน เนื่องจากโครงสร้างระบบขับเคลื่อนแบบล้อหน้าที่มีขนาดเล็ก ทำให้ประหยัดเชื้อเพลิงในการขับขี่และเพิ่มพื้นที่ภายในห้องโดยสาร รวมถึงช่วยสร้างเสถียรภาพในการขับขี่ และเพิ่มความสามารถในการยึดเกาะพื้นผิวถนนได้ดีมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม รถยนต์ที่ใช้ระบบขับเคลื่อนด้วยล้อหน้าเป็นระบบขับเคลื่อนหลักของรถ อาจพบปัญหา “อันเดอร์สเตียร์” (Understeer) หรือลักษณะอาการที่ตัวรถไม่เลี้ยวตามการบังคับของพวงมาลัยรถ โดยเฉพาะกรณีการเข้าโค้งด้วยความเร็วสูงเกินไป อาจทำให้ตัวรถเกิดการไถลไปด้านหน้าโดยไม่สามารถควบคุมตัวรถได้ แม้ว่าผู้ขับขี่จะบังคับหักเลี้ยงพวงมาลัยเพื่อควบคุมทิศทางการเคลื่อนที่ของรถอยู่ก็ตาม

มักพบระบบการขับเคลื่อนประเภทล้อหน้าในรถยนต์ขนาดเล็ก เช่น Suzuki Swift, Nissan, March, Toyota Vios, Honda Jazz, Chevrolet Cruze, Chevrolet Sonic หรือ Chevrolet Spin

1.1 ระบบขับเคลื่อนแบบ 2 ล้อหน้า

ระบบขับเคลื่อนแบบ 2 ล้อหน้า (Front-engine, Front-wheel Drive : FF) คือ ระบบ ? ซึ่งส่วนใหญ่รถยนต์ที่ใช้ระบบขับเคลื่อนล้อหน้าจะเป็นรถขนาดเล็ก วางเครื่องยนต์ด้านหน้ารถ โดยมีเพลาซ้าย - ขวา ต่อออกจากชุดเฟืองท้าย ไปหมุนล้อแบบนี้ไม่ต้องมีเพลากลาง ทำให้พละกำลังจากตัวเครื่องสามารถวิ่งไปสู่ล้อได้ในทันที ระบบที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน เนื่องจากมีระบบส่งกำลังที่ดีกว่าเพราะเครื่องยนต์อยู่เหนือล้อ และมีส่วนประกอบน้อยชิ้น จุดเด่น : ประหยัดน้ำมัน ยึดเกาะถนนได้ดี

ตัวอย่างรถยนต์ที่ใช้ระบบขับเคลื่อนแบบ 2 ล้อหน้า

  • Honda Jazz
  • Toyota Vios
  • Nissan March

2. ระบบขับเคลื่อนล้อหลัง (RWD)

ระบบขับเคลื่อนล้อหลัง (Rear-wheel Drive : RWD) คือ ระบบการขับขี่ที่ใช้การส่งกำลังของเครื่องยนต์ให้ไปยังล้อคู่หลังเพื่อขับเคลื่อนตัวรถ แม้ว่าระบบขับเคลื่อนด้วยล้อหลังจะถูกแทนที่ด้วยระบบขับเคลื่อนด้วยล้อหน้าอย่างกว้างขวางในอุตสาหกรรมรถยนต์สมัยใหม่ แต่ระบบขับเคลื่อนแบบล้อหลังยังคงเป็นระบบขับเคลื่อนหลักของรถที่มีเครื่องยนต์กำลังสูงหรือรถที่มีน้ำหนักมากกว่าปกติ เนื่องจากสามารถรองรับน้ำหนักตัวถังและสมรรถนะการทำงานได้มากกว่า ตัวอย่างประเภทรถที่ใช้ระบบขับเคลื่อนล้อหลัง เช่น รถกระบะ รถแข่ง หรือรถ Super Car

อย่างไรก็ตาม รถยนต์ที่ใช้ระบบขับเคลื่อนแบบล้อหลังเป็นหลัก มีโอกาสพบปัญหา “โอเวอร์สเตียร์” (Oversteer) เมื่อเข้าโค้งด้วยความเร็วสูง โดยตัวรถอาจหมุนเคว้ง หรือสไลด์ตัวไปมาเหนือการควบคุมของพวงมาลัยรถ ซึ่งลักษณะข้างต้นเป็นลักษณะการสูญเสียการทรงตัวของตัวรถที่มีความอันตรายมากกว่าอาการ “อันเดอร์สเตียร์”

มักพบระบบการขับเคลื่อนด้วยล้อหลังในรถยนต์ที่ใช้กำลังเครื่องยนต์สูง เช่น Lamborghini Aventador Toyota FT86 หรือ Toyota Revo

2.1 ระบบขับเคลื่อนแบบ 2 ล้อหลัง

ระบบขับเคลื่อนแบบ 2 ล้อหลัง (Front-engine Rear-wheel drive : FR) เป็นระบบขับเคลื่อนที่เหมาะกับรถยนต์ที่มีเครื่องยนต์สูง ตัวถังมีน้ำหนักมาก หรือต้องใช้บรรทุกของที่มีน้ำหนัก ระบบนี้จึงถูกนำมาใช้กับรถกระบะ รถ Sport และรถระดับ Super Car เสียส่วนใหญ่ โดยระบบขับเคลื่อนแบบ 2 ล้อหลังจะวางเครื่องยนต์เอาไว้ด้านหน้ารถ มีเพลากลางต่อออกจากห้องเกียร์เชื่อมไปสู่ชุดเฟืองท้ายที่ติดตั้งไว้ทางด้านหลังรถ เพื่อต่อเพลาขับซ้าย-ขวา ออกจากชุดเฟืองท้าย ด้วยความซับซ้อนและมีส่วนประกอบหลายชิ้นจึงทำให้ระบบนี้ไม่ค่อยเป็นที่นิยมสักเท่าไหร่ จุดเด่น : สามารถรองรับน้ำหนักและเครื่องยนต์ที่มีกำลังสูงได้ดี ใช้กำลังขับเคลื่อนได้เต็มที่

ตัวอย่างรถยนต์ที่ใช้ระบบขับเคลื่อนแบบ 2 ล้อหลัง

  • Lamborghini Aventador
  • BMW 118i M-Sport
  • Toyota FT86

3. ระบบขับเคลื่อนสี่ล้อ

ระบบขับเคลื่อนแบบ 4 ล้อ นับว่าเป็นระบบขับเคลื่อนรถยนต์ที่มีความสามารถในการเกาะพื้นผิวถนนและควบคุมได้ง่ายที่สุด เมื่อเทียบกับระบบขับเคลื่อนรถยนต์ประเภทอื่น ๆ เนื่องจากมีการถ่ายเทพลังงานไปยังคู่ล้อครบด้านหน้าและด้านหลัง ทำให้ทุกล้อได้สัมผัสผิวถนนเท่า ๆ กัน ซี่งระบบขับเคลื่อนสี่ล้อยังมีรูปแบบการออกแบบและการทำงานที่แตกต่างกัน แบ่งได้อีก 2 ระบบ คือ 1) ระบบขับเคลื่อนสี่ล้อตลอดเวลา (AWD) 2) ระบบขับเคลื่อนสี่ล้อ (4WD)

3.1 ระบบขับเคลื่อนสี่ล้อตลอดเวลา (AWD)

ระบบขับเคลื่อนสี่ล้อตลอดเวลา (All Wheel Drive : AWD) คือ ระบบขับเคลื่อนรถยนต์ที่มีความสามารถในการเกาะพื้นผิวถนนที่มากกว่าทั้งระบบขับเคลื่อนล้อหน้าและระบบ โดยเฉพาะในสถาพถนนเปียก ถนนลื่น หรือพื้นถนนที่มีหิมะหรือน้ำแข็งปกคลุม อย่างไรก็ตาม ระบบขับเคลื่อนสี่ล้อตลอดเวลาไม่เหมาะกับการขับขี่ในรูปแบบ “ออฟโรด” (Off Road) หรือการขับขี่ในพื้นที่ที่มีความทุรกันดารหรือยากลำบากกว่าการขับขี่บนถนนปกติ

3.2 ระบบขับเคลื่อนแบบ 4 ล้อ (4WD)

ระบบขับเคลื่อนแบบ 4 ล้อ (Four-wheel Drive : 4WD หรือ 4×4) คือ ระบบขับเคลื่อนรถยนต์ที่ถ่ายทอดกำลังขับจากเครื่องยนต์ไปยังคู่ล้อทั้งด้านหน้าและด้านหลังของตัวรถด้วยประสิทธิภาพของแรงฉุดในการขับเคลื่อนสูง ทำให้ควบคุมรถได้ง่ายกว่าระบบอื่น ๆ โดยระบบขับเคลื่อนสี่ล้ออาจขับเคลื่อนด้วยล้อหลังเป็นหลักจนกว่าจะมีความจำเป็นหรือเลือกใช้ระบบขับเคลื่อนสี่ล้อ

ระบบขับเคลื่อสี่ล้อจึงเหมาะสำหรับการขับขี่แบบ Off Road หรือการขับขี่ในสภาพถนนที่มีความลำบากหรือทุรกันดารมากกว่าถนนทั่วไป จึงทำให้มักเห็นรถกระบะหรือรถที่มีขนาดใหญ่มักใช้ระบบขับเคลื่อนสี่ล้อในการขับเคลื่อนตัวรถเป็นหลัก เช่น รถ SUV, หรือ รถ Crossover นอกจากนั้นแล้ว ระบบขับเคลื่อนแบบสี่ล้อในรถยนต์บางรุ่น สามารถเลือกปรับใช้เป็นระบบขับเคลื่อนหลังหรือ ระบบขับเคลื่อนสี่ล้อได้ด้วยเช่นกัน

โดยระบบขับเคลื่อนแบบ 4 ล้อ แบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือ

3.2.1 ระบบขับเคลื่อน 4 ล้อ Part Time

ระบบขับเคลื่อน 4 ล้อแบบ Part Time เป็นระบบที่จะมีการทำงานแบบระบบขับเคลื่อน 2 ล้อหลังก่อน จนกว่าจะมีการเปลี่ยนไปใช้แบบระบบขับเคลื่อน 4 ล้อ ทำให้สามารถกระจายแรงขับเคลื่อนไปในล้อที่มีแรงเสียดทานต่างกันให้มีแรงขับเคลื่อนที่เท่าๆ กัน ส่วนใหญ่จะใช้ในรถยนต์ประเภท OffRoad ลุยป่าลุยน้ำ

3.2.2 ระบบขับเคลื่อน 4 ล้อ Full Time

ระบบขับเคลื่อน 4 ล้อ Full Time จะมีการส่งกำลังไปที่เพลาหน้าและเพลาหลังระหว่างการออกตัวเพื่อป้องกันการลื่นไถล แต่ระบบนี้จะส่งกำลังไม่คงที่ เมื่อเลี้ยวรถจะทำให้ล้อคู่หน้าเกิดแรงเสียดทานมากกว่าล้อคู่หลัง ส่วนใหญ่ถูกใช้ในรถยนต์กลุ่มรถประเภท SUV จุดเด่น : ยึดเกาะถนนได้ดี มีความสมบุกสมบัน ปรับการใช้งานได้ เมื่อเจอกับสภาพถนนที่เป็นอุปสรรค

ตัวอย่างรถยนต์ที่ใช้ระบบขับเคลื่อน 4 ล้อ

  • Isuzu D-max
  • Ford Ranger Wildtrak
  • Mitsubishi Pajero Sport

ระบบขับเคลื่อนรถยนต์มีผลต่อเบี้ยประกันหรือไม่?

ระบบขับเคลื่อนรถยนต์แต่ละประเภทที่แตกต่างกัน นับเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่บริษัทประกันภัยรถยนต์นำมาใช้คำนวณเบี้ยประกัน ทำให้รถที่มีระบบขับเคลื่อนที่แตกต่างกัน จะมีค่าเบี้ยประกันที่ไม่เท่ากัน ตัวอย่างเช่น รถยนต์ที่ใช้ระบบขับเคลื่อน 4 ล้อ ส่วนใหญ่จะจัดอยู่ในกลุ่มรถกระบะ ทำให้เบี้ยประกันรถยนต์สำหรับรถกระบะจะสูงกว่ารถทั่วไป หากต้องการทราบรายละเอียดเบี้ยประกันรถยนต์เบื้องต้น สามารถปรึกษาผู้เชี่ยวชาญจากโบรคเกอร์ประกันรถยนต์ได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย

เวลาเลือกซื้อรถยนต์หลายคนจะดูเรื่องความชอบ ยี่ห้อ หรือราคาเสียเป็นส่วนใหญ่ จนลืมไปว่าการเลือกประเภทระบบขับเคลื่อนให้เหมาะกับการใช้งานก็มีความสำคัญเช่นเดียวกัน เพราะถ้าคุณเลือกซื้อระบบที่ไม่เหมาะกับการใช้งานก็จะทำให้ รถยนต์ของคุณมีอายุการใช้งานน้อยลง ไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มสมรรถนะ จะซื้อรถยนต์ทั้งทีเปรียบเทียบให้ดี ให้คุ้มค่ากับการลงทุน เช่นเดียวกับการทำประกันรถยนต์จะทำทั้งทีก็ต้องเลือกที่คุ้มค่า สนใจทำประกันรถยนต์ออนไลน์ ต้อง แรบบิท แคร์ ตัวช่วยที่จะทำให้การทำประกันรถยนต์กลายเป็นเรื่องง่าย

ความคุ้มครองประกันรถยนต์

ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ของเรา