Rabbit Care Logo
ใช้ใจแคร์ ดูแลครบ
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ในการเก็บข้อมูลเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการใช้งาน และเพื่อเก็บข้อมูลสถิติ ท่านสามารถศึกษารายละเอียด เพิ่มเติมได้ที่นโยบายคุกกี้
user profile image
เขียนโดยNok Srihongวันที่เผยแพร่: Apr 04, 2024

ประกันเรียกค่าซ่อมเกินจริง ทำอย่างไรได้บ้าง

เมื่อเกิดอุบัติเหตุรถชน สิ่งแรกที่ควรต้องทำเลยก็คือ การตั้งสติ และโทรเรียกประกันที่ทำไว้ ให้มาตรวจสอบที่เกิดเหตุ และหากมีผู้บาดเจ็บ ควรรีบโทรแจ้งกู้ภัย หรือเรียกรถพยาบาลทันที และไม่ว่าเราจะเป็นฝ่ายถูกหรือผิด ควรจะใจเย็นและรอให้เจ้าหน้าที่ประกันมาเป็นผู้ประสานงานและทำเรื่องเคลมให้จะดีที่สุด เพราะเจ้าหน้าที่ประกันเป็นผู้มีประสบการณ์ จะช่วยให้เราจัดการปัญหาได้ง่ายขึ้น ทั้งในกรณีที่ต้องจัดการเคลียร์กับคู่กรณี และในกรณีที่ประกันเรียกค่าซ่อมเกินจริง

รถถูกชนเสียหาย ทำอย่างไร ไม่ให้เสียเปรียบคู่กรณี

เมื่อเกิดอุบัติเหตุรถชน ประกันสามารถเรียกค่าชดเชยกับคู่กรณีได้ แต่จะทำอย่างไร หากประกันเรียกค่าซ่อมเกินจริง ทำอย่างไรไม่ให้เสียเปรียบ เมื่อประกันเรียกเก็บค่าซ่อมจากคู่กรณี

เมื่อเกิดอุบัติเหตุ สิ่งแรกที่ควรทำ คือ หยุดรถทันที และถ่ายภาพเก็บไว้เป็นหลักฐาน ก่อนที่อีกฝ่ายจะเลื่อนรถออก แต่หากเกิดอุบัติเหตุในที่เปลี่ยว สามารถเลื่อนรถออกก่อนได้ ตามด้วยการโทรเรียกประกันของเราให้มายังที่เกิดเหตุ จากนั้น แนะนำให้แจ้งตำรวจ เพราะหากอีกฝ่ายแจ้งความก่อนที่เราจะแจ้ง เจ้าหน้าที่อาจสรุปว่าเราเป็นฝ่ายหลบหนี และอาจทำให้เรากลายเป็นฝ่ายผิดได้

นอกจากนี้ การเก็บข้อมูลของคู่กรณี ตลอดจนการหาพยานในที่เกิดเหตุ เพื่อเป็นพยานให้เราในการเรียกค่าเสียหาย ก็เป็นอีกหนึ่งขั้นตอนสำคัญ ซึ่งเจ้าหน้าที่ประกันจะสามารถแนะนำเราได้เรื่องการชดใช้ค่าเสียหาย เพื่อไม่ให้ประกันเรียกค่าซ่อมเกินจริง

รถชนแล้วเราเป็นฝ่ายถูก เคลมค่าชดเชยกรณีใดได้บ้าง

หากไม่ต้องการให้ประกันเรียกค่าซ่อมเกินจริง การทำประกันรถยนต์ นับเป็นสิ่งที่ควรทำ เพื่อให้มีผู้ช่วยเจรจา และมีผู้ชดใช้ค่าเสียหายให้แทนเรา ในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ แล้วเราเป็นฝ่ายถูก อีกทั้งคู่กรณียังไม่มีประกัน คู่กรณีจะต้องจ่ายค่าเสียหายให้กับเรา และบริษัทประกันของเราจะต้องเป็นฝ่ายติดตามทวงหนี้จากคู่กรณี และดำเนินการซ่อมตามเงื่อนไขต่าง ๆ ในประกัน

หากมีการแจ้งความ ลงบันทึกประจำวันแล้ว คู่กรณีปฏิเสธความรับผิด หรือเห็นว่าประกันเรียกค่าซ่อมเกินจริง จนไม่ต้องการจ่ายค่าเสียหายที่เกิดขึ้น เราสามารถฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายได้ ซึ่งสามารถเรียกร้องค่าเสียหายต่าง ๆ จากคู่กรณีได้ดังนี้

  • ค่าเสียหายจากค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริง โดยต้องมีใบเสร็จเป็นหลักฐาน เช่น ค่ารักษาพยาบาล ค่าซ่อมรถ ค่าเดินทางไปโรงพยาบาล ซึ่งหากไม่มีใบเสร็จจะไม่สามารถเรียกร้องได้
  • ค่าความเสียหายที่ไม่อาจคำนวณเป็นเงินได้ หรือท่ีเรียกว่า ค่าเสียหายทางความรู้สึก เช่น ความหวาดกลัว ความเศร้าโศกจนไม่อาจใช้ชีวิตปกติได้ แต่จะต้องมีหลักฐานพิสูจน์ได้ว่ามีอาการเหล่านั้นจริง
  • ค่าเสียโอกาส หรือที่เรียกว่า ค่าขาดประโยชน์ ตัวอย่างเช่น หากรถที่เสียหายเป็นรถที่ใช้ในการทำงาน ซึ่งก่อให้เกิดรายได้ เช่น เป็นรถสำหรับค้าขาย ที่สร้างรายได้วันละ 3,000 บาท และต้องใช้ระยะเวลาในการซ่อมทั้งหมด 10 วัน เท่ากับว่าเราเสียรายได้ไปทั้งหมด 30,000 บาท เป็นค่าเสียโอกาสหรือค่าขาดประโยชน์ที่สามารถเรียกร้องได้ตามจริงในจำนวน 30,000 บาท นอกจากนี้ ยังอาจจะมีค่าเดินทาง หรือค่าเช่ารถที่เกิดเป็นค่าใช้จ่ายระหว่างซ่อมรถ ซึ่งก็นับเป็นค่าขาดประโยชน์ที่เรียกร้องได้ในคดีอีกเช่นกัน

แต่จะเคลมค่าชดเชยได้ก็ต่อเมื่อเราเป็นฝ่ายถูกในอุบัติเหตุนั้น มีใบอนุญาตขับขี่ถูกต้อง คู่กรณีเป็นยานพาหนะทางบก และรถที่ขับทำประกันไว้อย่างถูกต้อง ไม่ว่าจะเป็นประกันชั้นอะไร หรือเป็นรถของเราเองหรือไม่ก็ตาม

ประกันเรียกเก็บค่าซ่อม ไม่มีเงินจ่าย ประนอมหนี้ได้ไหม

ปัญหาประกันเรียกค่าซ่อมเกินจริง เป็นปัญหาที่คู่กรณีทุกคนไม่อยากให้เกิด เพราะนับเป็นการสร้างภาระทางการเงินมากเกินไปโดยไม่จำเป็น ซึ่งในกรณีที่ประกันเรียกเก็บค่าซ่อม ไม่มีเงินจ่าย เราก็จะถูกบริษัทประกันฟ้องร้องดำเนินคดี ซึ่งจะต้องต่อสู้คดีและตกลงกันในชั้นศาล เพื่อขอผ่อนจ่ายเป็นงวด ๆ แต่ก่อนที่จะถึงขั้นตอนการฟ้องร้องในชั้นศาล หากเราเห็นว่าประกันเรียกค่าซ่อมเกินจริง สามารถเจรจาไกล่เกลี่ยกันได้ก่อน เพื่อไม่ให้เรื่องราวบานปลาย โดยให้บริษัทประกันช่วยในการไกล่เกลี่ย

ประกันเรียกค่าซ่อมเกินจริง คู่กรณีไม่ยอมจ่าย ทำอย่างไรได้บ้าง

เมื่อตกลงค่าเสียหายกันเรียบร้อยแล้ว แต่คู่กรณีไม่ยอมจ่าย อาจจะเพราะเหตุผลบางประการ เช่น คู่กรณีรู้สึกว่าโดนประกันเรียกโหดมากเกินความจำเป็น หรือมีความคิดที่ว่าประกันเรียกค่าซ่อมเกินจริง เราสามารถรวบรวมหลักฐานไปฟ้องร้องคดีได้ ซึ่งจะเรียกร้องค่าเสียหาย หรือค่าชดเชยได้ตามรายละเอียดที่กล่าวไว้ด้านบน

มีประกัน ทำไมยังต้องจ่ายเงินชดเชย ประกันเรียกค่าซ่อมเกินจริง ไม่จ่ายได้ไหม

จากที่ได้กล่าวไปแล้วว่า เมื่อคู่กรณีรู้สึกว่าประกันเรียกค่าซ่อมเกินจริง และปฏิเสธที่จะจ่าย เราสามารถฟ้องร้องเพื่อให้คู่กรณีจ่ายค่าเสียหายได้

มาดูในส่วนของค่าเสียหายที่เราต้องจ่ายกันบ้าง หากเป็นการเคลมแบบไม่มีคู่กรณี เช่น รถชนต้นไม้ เสาไฟฟ้า จะต้องจ่ายค่าเสียหายส่วนแรกภาคบังคับ (Excess) แต่หากเป็นการเคลมแบบมีคู่กรณี และเราเป็นฝ่ายผิด จะต้องจ่ายค่าเสียหายส่วนแรกภาคสมัครใจ (Deductible) ให้กับบริษัทประกันของเรา

ค่าเสียหายส่วนแรกภาคบังคับ (Excess) เป็นค่าใช้จ่ายที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับ และส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย บังคับเก็บทุกคนที่ทำประกัน ไม่ว่าจะทำประกันชั้นใดก็ตาม เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการแจ้งเคลมเท็จ โดยไม่มีอุบัติเหตุเกิดขึ้นจริง เพื่อหวังซ่อมรถฟรีนั่นเอง ซึ่งหากพิสูจน์ไม่ได้ว่าเกิดอุบัติเหตุขึ้นจริงตามที่เรากล่าวอ้าง ก็จะต้องจ่ายค่าเสียหายในส่วนนี้

ต่อมา คือ ค่าเสียหายส่วนแรกภาคสมัครใจ เป็นค่าใช้จ่ายที่ผู้ทำประกันยินยอมจ่ายทุกครั้งที่เกิดอุบัติเหตุในกรณีที่เราเป็นฝ่ายผิด ซึ่งการจ่ายค่าเสียหายในส่วนนี้ นอกจากจะช่วยให้เราประหยัดค่าเบี้ยประกันที่ต้องจ่ายไปได้ ยังช่วยกระตุ้นให้ผู้ทำประกันมีความระมัดระวังในการใช้รถมากขึ้น ซึ่งหากพิสูจน์ได้ว่าเราเป็นฝ่ายผิดในอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น ก็จะต้องจ่ายค่าเสียหายส่วนนี้ให้กับบริษัทประกันของเรา เป็นจำนวนเงินตามที่บริษัทประกันตีค่าความเสียหายไว้ และเงินส่วนที่เหลือ บริษัทประกันของเราจะเป็นผู้รับผิดชอบจ่ายให้กับคู่กรณีเอง โดยเงินที่เราจ่ายให้กับประกันของเรานั้น สามารถนำมาลดค่าเบี้ยประกันได้ด้วย

คู่กรณีนำรถไปซ่อมเอง มีส่วนต่างจากประกัน เราต้องจ่ายไหม

นอกจากปัญหา ประกันเรียกค่าซ่อมเกินจริง ยังมีอีกหนึ่งปัญหาที่เราต้องให้ความสำคัญ เมื่อเกิดอุบัติเหตุรถชน นั่นก็คือ กรณีที่คู่กรณีนำรถไปซ่อมเอง และมีเงินส่วนต่างจากที่บริษัทประกันตีราคาให้ เช่น คู่กรณีนำรถไปซ่อมในราคา 33,000 บาท แต่บริษัทประกันของอีกฝ่าย ตีราคาซ่อมไว้ที่ 20,000 บาท จากนั้น คู่กรณีจึงมาเรียกเงินส่วนต่าง 13,000 บาทกับบริษัทประกัน เมื่อบริษัทประกันจ่ายให้ไม่เต็ม คู่กรณีจึงไปเรียกเงินส่วนต่างนี้จากผู้ทำประกันแทน

ซึ่งหากความเสียหายที่เกิดขึ้น ยังไม่เกินวงเงินความรับผิดชอบของบริษัทประกันที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ ผู้ทำประกันที่เป็นเจ้าของรถจะไม่ต้องจ่ายส่วนต่างเป็นเงิน 13,000 บาทที่คู่กรณีมาเรียกร้อง เงินดังกล่าวจะนับเป็นความรับผิดชอบของบริษัทประกันทั้งหมด

ประกันเรียกเก็บค่าซ่อมจากคู่กรณี โดนเรียกค่าเสียหายอะไรบ้าง

เมื่อถูกเรียกค่าซ่อมจากคู่กรณี ไม่ว่าจะเป็นในกรณีที่ประกันเรียกค่าซ่อมเกินจริงหรือไม่ก็ตาม แต่เมื่อเราเป็นฝ่ายผิด จะถูกเรียกค่าเสียหายต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

  • ค่าเสียหายของรถยนต์ที่เกิดขึ้นจริง
  • ค่ารักษาพยาบาล
  • ค่าทรัพย์สินที่เสียหายจากอุบัติเหตุ
  • ค่าเสียหายอื่น ๆ ตามความเป็นจริง เช่น ค่าขาดประโยชน์ระหว่างซ่อม ค่ารถลากที่ใช้นำรถไปซ่อม เป็นต้น

ซึ่งหากเจอปัญหาประกันเรียกค่าซ่อมเกินจริง ก็สามารถไกล่เกลี่ย ก่อนจะเข้าสู่กระบวนการฟ้องร้องได้

การทำประกันรถยนต์ จะช่วยลดค่าเสียหาย และลดภาระความรับผิดชอบที่เราต้องจ่ายให้กับคู่กรณีได้ โดยเฉพาะ ประกันรถยนต์ จาก แรบบิท แคร์ ที่มาพร้อมราคาสุดคุ้ม มีแผนประกันจากบริษัทชั้นนำให้เลือกกว่า 15 บริษัท พร้อมด้วยบริการผ่อน 0% ประหยัดเงินในปีถัดไปได้สูงสุด 70% เมื่อไม่มีเคลม

ความคุ้มครองประกันรถยนต์

ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ของเรา