Rabbit Care Logo
ใช้ใจแคร์ ดูแลครบ
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ในการเก็บข้อมูลเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการใช้งาน และเพื่อเก็บข้อมูลสถิติ ท่านสามารถศึกษารายละเอียด เพิ่มเติมได้ที่นโยบายคุกกี้
info

💙 แจก Starbuck Voucher มูลค่า 800 บาทฟรี! เพียงเปิดบัญชี Webull ผ่านช่องทางของ Rabbit Care สนใจ คลิก! 💙

user profile image
เขียนโดยTawan A.วันที่เผยแพร่: Jan 09, 2024

สายพานหน้าเครื่องรถยนต์ ดูแลรักษาอย่างไร? เคลมประกันได้ไหม?

สายพานรถยนต์สิ่งที่สามารถตรวจเช็กได้ด้วยตาเปล่าแต่สำคัญไม่ควรมองข้ามเด็ดขาด เนื่องจากสายพานรถยนต์เหมือนเป็นหัวใจหลักในการทำงานของอุปกรณ์อื่นๆ ใช้แรงจากการขับเคลื่อนสายพานขับเคลื่อนอุปกรณ์ชิ้นส่วนต่างๆภายในรถยนต์ วันนี้ แรบบิท แคร์ จึงพาทุกคนมาทำความรู้จักกับสายพานหน้าเครื่องกัน สายพานทำหน้าที่อะไร วันนี้มีคำตอบ

สายพานรถยนต์มีหน้าที่อะไร

สายพานรถยนทำหน้าที่ส่งกำลังจากเพลาไปที่กระเดื่องวาล์ว เพื่อทำหน้าที่เปิดปิดวาลว์ไอดี และไอเสีย สายพานหน้าเครื่อง มีหน้าที่หลักในการส่งกำลังจากจุดหนึ่งไปยังอุปกรณ์ส่วนต่างๆภายในรถยนต์ด้วยพู่เล่ย์ หลักการทำงานคล้ายฟันเฟืองใช้ขับเคลื่อนระบบต่างๆของรถยนต์ เช่น คอมเพลสเซอร์แอร์ ปั๊มน้ำ ปั้มพาวเวอร์ ไดชาร์จ เป็นต้น

ซึ่งบทความในวันนี้จะพูดถึง สายพานหน้าเครื่อง เป็นหลักเพราะมีความสำคัญเป็นอย่างมากกับระบบเครื่องยนต์ ซึ่งรถยนต์ในยุคปัจจุบันถูกออกแบบมาให้ใช้สายพานหน้าเครื่องเพียง 1-2 สายเท่านั้น เรียกว่าสายพาน ซอร์เพนไทน์ (SERPENTINE BELT DRIVE) ใช้ขับเคลื่อนอุปกรณ์ต่างๆภายในรถยนต์ ข้อเสียของสายพานแบบนี้ คือ เมื่อสายพานขาดจะทำให้ระบบต่างๆหยุดทำงานทันที แตกต่างจากสายพานรถสมัยก่อนที่มีหลายเส้น เมื่อขาดอุปกรณ์บ้างชิ้นก็ยังสามารถทำงานได้อยู่ แต่ข้อดีของสายพานเซอร์เพนไทน์ คือ ประหยัดค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนหรือซื้อสายพานใหม่เพราะใช้เพียง 1- 2 เส้นเท่านั้น

สายพานรถยนต์แบ่งได้กี่ประเภท

สายพานหน้าเครื่องรถยนต์สามารถแบ่งออกได้ 3 ประเภท

1. สายพานแบบ V (V-Belts)

เป็นสายพานหน้าเครื่องที่เป็นที่นิยมเพราะมีลักษณะแบน ทำจากวัสดุธรรมชาติและใยสังเคราะห์ โดยหลักการจะอาศัยแรงเสียดทานของร่องพูลเลย์ขับเคลื่อนและตัวตาม ผิวด้านข้างของสายพานมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมคางหมูหน้าตัด คล้ายตัว V มีคุณสมบัติต้านทานแรงดึง แรงกระตุก ทนต่อแรงสั่นสะเทือนได้ดี เปลี่ยนง่าย ไม่มีเสียงดังขณะสายพานทำงาน มีให้เลือกหลายขนาด ขนาดที่นิยมใช้ คือ 9.5 และ 12.5

2. สายพานแบบร่อง V (V-Multi-Ribbed Belts)

เป็นสายพานหน้าเครื่องที่มีประสิทธิภาพไม่น้อยหน้าสายพานแบบอื่นเลยเพราะมีความเร็วในการทำรอบค่อนข้างสูง โดยสามารถรองรับรอบได้สูงสุดถึง 60 METER/SEC คุณสมบัติของสายพานชนิดนี้ คือ ต้านทานต่อฝุ่น ทนต่อสภาพอากาศร้อนชื้น ลดการสะสมของอุณหภูมิ ประสิทธิภาพการทำงานสูง ส่วนมากนิยมใช้สายพานขนาด 3-6 ร่อง

3. สายพานแบบ Synchronous (Synchronous Drive Belts)

เป็นสายพานประเภทฟันเฟืองหรือสายพานไทม์มิ่งมีความยืดหยุ่นสูง ทนต่อการสึกหรอ น้ำมัน และความชื้น มีความแข็งแรงทนต่อความบิดสูง ผิวสายพานออกแบบให้พื้นผิวมีฟันเพื่อให้เกาะและสัมผัสของมู่เล่ยทั้งหมด เพื่อลดการเคลื่อนที่ โดยสายพานจะหุ้มด้วยไนลอนอีกรอบ เพื่อลดแรงเสียดทานขณะใช้งาน

ปัญหาที่พบบ่อยของสายพานหน้าเครื่อง

1. สายพานหน้าเครื่องหย่อน

ปัญหายอดฮิตที่ใครๆก็ต้องเคยเจอ อาการเมื่อสายพานหย่อน คือ เกิดเสียงดังจี๊ดๆเมื่อลองเอานิ้วกดบริเวณสายพานหน้าเครื่อง หากกดแล้วสายพานหย่อนลงเกิน 1 นิ้ว แสดงว่าสายพานหน้าเครื่องหย่อน

วิธีแก้ : ทำได้โดยปรับสายพานหน้าเครื่องใหม่ให้มีความตึงในระดับที่พอดีไม่ตึงจนเกินไป แต่ถ้าหากสายพานหย่อนเนื่องจากการใช้งานเป็นระยะเวลานาน แนะนำให้เปลี่ยนสายพานเส้นใหม่

2. สายพานมีรอยแตกลายงา

เมื่อใช้สายพานเป็นระยะเวลานานแน่นอนเราไม่สามารถหลีกเลี่ยงรอยชำรุด รอยแตกลายงา ของสายพานได้ ทั้งนี้ระยะเวลาการใช้งานของสายพานรถยนต์แต่ละคันมีอายุการใช้งานแตกต่างกันออกไป บางรุ่นสามารถใช้ได้นาน 7-8 ปี บางรุ่นใช้ได้เพียง 3 ปี ก็ต้องทำการเปลี่ยนสายพานเส้นใหม่

วิธีแก้ : แนะนำให้เปลี่ยนสายพานหน้าเครื่องเส้นใหม่ หากฝืนใช้รถขณะที่เกิดรอยแตกของสายพานอาจทำให้เกิดความเสียหายต่ออุปกรณ์ที่เกี่ยวเนื่องกับสายพานได้ จากเสียหายน้อยอาจจะกลายเป็นเสียหายมาก

3. อุปกรณ์ข้างเคียงเสื่อม

หลายคนคงสงสัยว่าทำไมเปลี่ยนสายพานหน้าเครื่องเส้นใหม่แล้วทำไมยังได้ยินเสียง จี๊ดๆ อยู่ สาเหตุที่ยังมีเสียงดังอยู่อาจเกิดจากอุปกรณ์ข้างเคียงที่ทำงานร่วมกันกับสายพาน เช่น ปั้มพาวเวอร์ คลัทซ์แอร์ คอมเพรสเซอร์แอร์ ชิ้นส่วนบ้างชิ้นมีลูกปืนเป็นส่วนประกอบ หากลูกปืนเสื่อมเป็นอีกสาเหตุที่ทำให้เกิดเสียงดังคล้ายปัญหาสายพานหน้าเครื่องหย่อนได้

วิธีตรวจเช็กสภาพสายพานหน้าเครื่อง

ปกติสายพานหน้าเครื่องรถยนต์ทั่วไปอายุใช้งานจะประมาณ 50,000 กิโลเมตร หรือระยะเวลาการใช้งาน 2-3 ปี ตามที่คู่มือการใช้รถแต่ละคันระบุไว้ ซึ่งอาการใดบ้างที่เป็นสัญญาณเตือนว่าเราควรเปลี่ยนสายพานหน้าเครื่องรถยนต์

  • 1. เวลาสตาร์ทเครื่องยนต์ หรือเวลาหมุนพวงมาลัยจะมีเสียง
  • 2. สายพานมีรอยเปื่อยหรือรอยแตกลายงา
  • 3. ด้านข้างสายพานมี แผล ฉีกขาด มีลักษณะเป็นขุย

สัญญาณเตือนว่าสายพานกำลังมีปัญหา

ไฟเตือน T-BELT

ไฟเตือนเกี่ยวกับสายพานไทม์มิ่งหรือสายพานราวลิ้น หากสัญญาณไฟที่หน้าปัดรถแสดงตัวหนังสือสีส้ม T-BELT แสดงว่าถึงระยะ 150,000 กิโลเมตร ระยะที่ควรเปลี่ยนสายพานไทม์มิ่ง ซึ่งหากเรายังไม่มีเวลาเปลี่ยนสายพานเราสามารถขับต่อได้อีก 1,000 - 2,000 กิโลเมตร แต่หากมีเวลาเมื่อสัญญาณไฟเตือนให้รีบไปเปลี่ยนสายพานไทม์มิ่งเพื่อความปลอดภัยในการขับขี่รถยนต์

เสียงสายพานดังขณะสตาร์ทรถยนต์

ขณะสตารท์รถแล้วมักมีเสียงดัง เมื่อขับไปสักระยะเสียงจะเงียบลงเมื่อเครื่องยนต์เริ่มร้อน เกิดจากสภาวะสายพานที่แห้งเนื่องจากสภาวะเครื่องเย็น หามีอาการดังกล่าวควรเปลี่ยนสายพานเส้นใหม่

วิธียืดอายุการใช้งานสายพานหน้าเครื่อง

  • 1. คอยตรวจสอบความตึงและหย่อนของสายพานหน้าเครื่องเป็นประจำ หากพบว่าสายพานตึงหรือหย่อนเกินไปให้รีบปรับตั้งใหม่ทันที
  • 2. ถ้าสังเกตเห็นรอยร้าวหรือรอยแตกลายยางบริเวณสายพานให้ทำการเปลี่ยนสายพานเส้นใหม่ทันที
  • 3. หมั่นตรวจเช็กลูกปืน สายพานปั้มน้ำ ปั้มพาวเวอร์ ไดชารจ์ หากบริเวณดังกล่าวเสียหายอาจทำให้ลูกปืนแตกได้

วิธีการแก้ไขสายพานหน้าเครื่องเสียงดัง

  • 1. ใช้สเปรย์ฉีดบริเวณสายพานเพื่อไล่ความชื้น
  • 2. ใช้สบู่แช่น้ำถูบริเวณร่องใต้สายพานจุดที่สัมผัสพู่เลย์

ซึ่งวิธีแก้ปัญหาเบื้องต้นเป็นวิธีการแก้ปัญหาเพียงชั่วคราวเท่านั้น สักพักสายพานก็จะกลับมามีเสียงอีก วิธีแก้ปัญหาที่ดีที่สุด คือ การเปลี่ยนสายพานใหม่นั้นเอง

อุปกรณ์สำหรับใช้ในการเปลี่ยน

  • 1. สายพานหน้าเครื่องเส้นใหม่
  • 2. ประแจปากตายเบอร์ 14
  • 3. ท่อเหล็ก สำหรับงัดสายพาน


วิธีการเปลี่ยนสายพานหน้าเครื่อง

  • 1. ตรวจสอบสภาพสายพานเส้นเก่าจากนั้นทำการถอดสายพานเส้นเก่าโดยการใช้ประแจปากตายเบอร์ 14 สอดเข้าไปบริเวณตัวตั้งสายพานหน้าเครื่อง
  • 2. ใช้ท่อเหล็กเสียบเข้าไปที่ประแจจากนั้นงัดไปทางขวาเพื่อให้สายพานหย่อนแล้วจึงทำการถอดสายพานหน้าเครื่องออกมา
  • 3. ค่อยๆสอดสายพานเส้นใหม่เข้าไปบริเวณใบพัดและหลังหม้อน้ำ เมื่อสายพานเข้าที่แล้วให้นำประแจเบอร์ 14 งัดสายให้หย่อนเหมือนเดิมเพื่อให้ง่ายต่อการนำสายพานกลับไปคล้องที่เดิม
  • 4. หลังคล้องสายพาน ใช้ประแจเบอร์ 14 งัดกลับไปทางซ้ายเพื่อให้สายพานเกิดความตึง ข้อควรระวัง อย่าให้สายพานตึงจนเกินไป
  • 5. เสร็จแล้วสตารท์รถเพื่อเช็กการทำงานของสายพานว่าเป็นปกติหรือไม่

ปัญหารถยนต์ยอดฮิตอื่น ๆ

เหยียบคันเร่งแล้วรถกระตุก

เหยียบคันเร่งแล้วรถกระตุก

  • รถยนต์กระตุก เกิดจากอะไรได้บ้าง?
  • วิธีการแก้ไขอาการเหยียบคันเร่งแล้วรถกระตุก
เหยียบเบรคแล้วมีเสียง

เหยียบเบรคแล้วมีเสียง

  • ทำไมเหยียบเบรคแล้วมีเสียง?
  • 3 อาการจากเบรคที่ไม่ควรมองข้าม
  • เหยียบเบรคแล้วมีเสียงแก้อย่างไร?
รถมีอาการสั่น

รถมีอาการสั่น

  • รถมีอาการสั่น เกิดขึ้นจากสาเหตุใด?
  • วิธีแก้ปัญหาเบื้องต้นเมื่อมีอาการรถสั่น
เครื่องยนต์สั่น

เครื่องยนต์สั่น

  • เครื่องยนต์สั่น เกิดจากสาเหตุอะไร?
  • วิธีการตรวจสอบ/แก้ไข เครื่องยนต์สั่น
  • ราคาซ่อม เคลมประกันได้ไหม?

หากสายพานเครื่องยนต์มีปัญหา เคลมประกันได้หรือไม่?

การที่สายพานหน้าเครื่องยนต์มีปัญหาสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ เกิดจากอุบัติเหตุและไม่ได้เกิดอุบัติเหตุ ซึ่งทั้งสองกรณีจะมีความแตกต่างกัน หากสายพานเครื่องยนต์ของคุณมีปัญหาแต่ไม่ได้เกิดจากอุบัติเหตุ จะไม่สามารถเคลมประกันได้เพราะอาจเกิดจากการเสื่อมสภาพ หรือระบบขัดข้อง ในขณะที่ถ้าสายพานเสียเนื่องจากอุบัติเหตุ ในกรณีนี้สามารถเคลมประกันได้

สำหรับใครที่ไม่มีเวลาหรือไม่สามารถเปลี่ยนเองได้คิดว่ามันยุ่งยากแนะนำให้นำรถไปเปลี่ยนสายพานเส้นใหม่ที่ อู่ซ่อมรถ หรือศูนย์ให้บริการซ่อมรถทุกสาขา หากฝืนใส่รถยนต์จนสายพานหน้าเครื่องขาดสายพานอาจจะเหวี่ยงไปถูกสิ้นส่วนต่างๆภายในรถทำให้เกิดความเสียหาย อีกทั้งยังทำให้ความร้อนของเครื่องยนต์สูงขึ้นเพราะปั้มน้ำไม่ทำงานเนื่องจากสายพานในการขับเคลื่อนขาด เมื่อรู้ว่าสายพานหน้าเครื่องมีปัญหาควรรีบทำการแก้ไขก่อนสาย

การทำประกันรถยนต์เป็นประกันที่สามารถคุ้มครองทั้งรถยนต์และตัวผู้ขับขี่ ให้คุณได้หมดปัญหากังวลใจระหว่างการเดินทาง หากเกิดปัญหาเกี่ยวกับรถยนต์สามารถเรียกใช้บริการฉุกเฉินได้ 24 ชั่วโมง ไม่ว่าจะรถยก รถลาก ทางประกันภัยยินดีให้บริการและอำนวยความสะดวกให้คุณลูกค้าทุกท่าน หากใครยังตัดสินในไม่ได้ว่าจะใช้ ประกันภัยรถยนต์ ของบริษัทไหน ให้เรา แรบบิท แคร์ ช่วยเปรียบเทียบประกันแต่ละประเภทให้เหมาะสำหรับรถคุณ

ความคุ้มครองประกันภัยรถยนต์

ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ของเรา