Rabbit Care Logo
ใช้ใจแคร์ ดูแลครบ
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ในการเก็บข้อมูลเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการใช้งาน และเพื่อเก็บข้อมูลสถิติ ท่านสามารถศึกษารายละเอียด เพิ่มเติมได้ที่นโยบายคุกกี้
info

💙 ต้อนรับปีใหม่! Rabbit Care แจก Airpods 4 และ Rabbit Care Voucher! เพียงสมัครบัตรเครดิต UOB สนใจ คลิก! 💙

เปรียบเทียบบัตรเครดิต ง่าย ๆ ภายใน 30 วินาที กับ

Rabbit Care

mock up credit card desktop.png

การปิดยอดบัตรเครดิต และการยกเลิกบัตรเครดิตแตกต่างกันอย่างไร?

การปิดยอดบัตรเครดิตคืออะไร?

การปิดยอดบัตรเครดิต คือ การชำระหนี้บัตรเครดิตให้ครบถ้วนและไม่มีคงค้างหนี้อยู่ เพื่อให้กลับมาใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตได้ตามปกติในวงเงินที่มีอยู่ในบัตรเครดิตนั่นเอง ดังนั้นเวลาที่จะชำระยอดหนี้ในแต่ละงวด จึงไม่ควรที่จะชำระเพียงขั้นต่ำเท่านั้น เพราะจะทำให้เกิดดอกเบี้ยพอกพูนสะสมขึ้นมาเรื่อย ๆ จนทำให้เกิดเป็นหนี้ก้อนโตในอนาคตขึ้นมาได้ อีกทั้งการชำระเต็มจำนวนจะช่วยให้เราได้รับสิทธิประโยชน์จากการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตได้อย่างเต็มที่มากยิ่งขึ้น เช่น คะแนนสะสม หรือเงินคืน เป็นต้น

วิธีการปิดยอดบัตรเครดิตต้องทำอย่างไร?

  • 1. ทำการปิดบัญชีบัตรเครดิตที่เราไม่ได้ใช้แล้ว
  • 2. เจรจากับทางธนาคารเจ้าของบัตร เพื่อปรับเปลี่ยนโครงสร้างหนี้บัตรเครดิต ซึ่งจะส่งผลดีทั้งในเรื่องของการช่วยขยายเวลาผ่อนชำระ ช่วยลดอัตราดอกเบี้ย และช่วยลดหนี้ค้างชำระในบางส่วนด้วย
  • 3. การรวมหนี้เป็นก้อนเดียว เพื่อทยอยชำระใหม่ จะเป็นการช่วยเช็กยอดหนี้ที่ค้างจ่ายอยู่ทั้งหมด รวมไปถึงดอกเบี้ยของในแต่ละบัตรด้วย เพื่อที่เราจะได้ปิดหนี้บัตรเครดิตใบที่มีอัตราดอกเบี้ยสูงที่สุดก่อน แต่ถ้าหากว่าเป็นหนี้บัตรเครดิตหลายใบ ก็ให้เลือกนำเงินก้อนไปปิดหนี้บัตรเครดิตใบที่เหลือน้อยกว่าก่อน จะได้จัดการให้จบไปทีละรายการ เพราะถ้าหากว่าเรากระจายเงินไปใช้หนี้แบบหลายก้อน มันจะทำให้ภาระหนี้ต่อเดือนเราไม่ลดลงนั่นเอง
  • 4. เลือกซื้อของด้วยเงินสด และซื้อเฉพาะของที่จำเป็นเท่านั้น ให้ลองเปลี่ยนพฤติกรรมการซื้อของด้วยบัตรเครดิตมาเป็นการซื้อด้วยเงินสดแทน เพราะจะทำให้เราใช้เงินได้น้อยลง เนื่องจากว่าจะเห็นจำนวนเงินสดเท่าที่มีเท่านั้น
  • 5. เริ่มต้นวางแผนทางการเงินใหม่อย่างจริงจัง โดยการทำบันทึกรายรับและรายจ่ายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อที่จะได้รู้ว่ามีรายการค่าใช้จ่ายในส่วนใดบ้างที่ควรลดลง และจะได้จัดลำดับความสำคัญของการใช้จ่ายได้ง่ายมากยิ่งขึ้น

การยกเลิกบัตรเครดิตหรือยกเลิกบัตรเครดิต คืออะไร?

การยกเลิกบัตรเครดิต คือ การปิดบัตรเครดิตใบนั้น ๆ โดยถาวร ซึ่งเราสามารถแจ้งความประสงค์ได้ด้วยตนเองกับทางธนาคารหรือสถาบันการเงินที่เป็นเจ้าของบัตร โดยที่จะต้องไม่มีหนี้คงเหลืออยู่ในบัตรเครดิตใบนั้น ๆ ด้วย และจะมีในกรณีที่ทางธนาคารสามารถยกเลิกบัตรเครดิตได้โดยพลการ ซึ่งจะมีอยู่ทั้งหมด 4 กรณี ดังนี้

  • 1. ไม่มีการเปิดใช้งานหรือมีการ Activate บัตรเกิน 1 ปี
  • 2. มีการเปิดใช้งานหรือ Activate บัตรแล้ว แต่ไม่เคยใช้เลยเกิน 2 - 3 ปี
  • 3. มีการค้างชำระหนี้บัตรเครดิตหลายงวดติดต่อกัน ตั้งแต่ 3 - 4 งวดขึ้นไป ซึ่งการค้างชำระนั้นอาจจะเกิดขึ้นได้ใน 2 กรณี คือ

    - ผู้ถือบัตรไม่ได้เป็นผู้ใช้จ่าย หรืออาจจะมีคนขโมยบัตรไปใช้ โดยทางธนาคารจะทำการระงับหรืออายัดบัตรไว้ชั่วคราวจนกว่าเรื่องจะคลี่คลาย
    - ผู้ถือบัตรเป็นผู้ใช้จ่ายเอง แต่ไม่ยอมจ่ายหนี้ให้กับทางธนาคาร ดังนั้นธนาคารจึงจะต้องมีการทวงหนี้ด้วยการส่งจดหมายเพื่อติดตามทวงถามหนี้ แต่ถ้าหากว่าทางผู้ถือบัตรนั้นยังไม่ยอมจ่ายหนี้ คราวนี้ก็จะเกิดเป็นคดีความกันต่อไป และทางธนาคารก็จะทำการยกเลิกบัตรเครดิตในเวลาต่อมา

  • 4. ผู้ถือบัตรเครดิตเสียชีวิต ทางทายาทของผู้ถือบัตรจะต้องเป็นผู้แจ้งเรื่องไปยังธนาคารหรือสถาบันการเงินเจ้าของบัตร และธนาคารจะทำการระงับบัตรเอาไว้ชั่วคราวจนกว่าจะพิสูจน์ได้ว่าผู้ถือบัตรนั้นเสียชีวิตลงจริง โดยทางธนาคารหรือสถาบันการเงินอาจจะขอเอกสารเพิ่มเติม เพื่อพิสูจน์ว่าผู้ถือบัตรนั้นได้เสียชีวิตแล้วจริง ๆ เช่น ใบมรณะบัตร เป็นต้น แล้วจึงทำการยกเลิกบัตรเครดิตใบนั้นไป

วิธีการยกเลิกบัตรเครดิตต้องทำอย่างไร?

  • 1. อันดับแรกควรตรวจสอบให้ดีก่อนว่าเราได้มีการตั้งค่าให้หักค่าใช้จ่ายอัตโนมัติ โดยการจ่ายผ่านบัตรเครดิตไว้ช่องทางใดบ้าง ไม่ว่าจะเป็นการชำระค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ หรือค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เพราะจะต้องทำการยกเลิก และเปลี่ยนวิธีการชำระเงินใหม่ให้เรียบร้อยก่อนที่จะมีการยกเลิกบัตรเครดิต
  • 2. ตรวจสอบสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ จากบัตรเครดิต เช่น คะแนนสะสม เงินคืน เป็นต้น เพราะถ้าหากว่ามีคะแนนสะสมอยู่ ให้เราทำการแลกเป็นของรางวัลให้เรียบร้อยก่อน
  • 3. จะต้องมีการชำระยอดหนี้ที่เหลือ รวมไปถึงดอกเบี้ยคงค้างในบัตรเครดิตให้แล้วเสร็จก่อน โดยจะต้องมีการจ่ายยอดเงินคงค้างทั้งหมดในวันที่เรายื่นเรื่องขอยกเลิกบัตรเครดิต
  • 4. โทรแจ้งทางคอลเซนเตอร์ของธนาคารหรือสถาบันการเงิน ว่าเรามีความประสงค์ที่จะยกเลิกบัตรเครดิต หรือจะเดินทางไปแจ้งยกเลิกที่ธนาคารหรือสถาบันการเงินที่เป็นเจ้าของบัตรก็ได้เช่นเดียวกัน
  • 5. หลังจากทำการยกเลิกบัตรเครดิตเสร็จสิ้นแล้ว ให้ทำลายบัตรเครดิตนั้นทิ้งโดยการใช้กรรไกรตัดบัตรเครดิตออกเป็น 2 ส่วน ซึ่งจะต้องทำลายแถบแม่เหล็กและ Chip Card เพื่อความปลอดภัยและเพื่อป้องกันการโจรกรรมข้อมูลนั่นเอง

แนวทางการปิดหนี้บัตรเครดิตมีอะไรบ้าง?

จากข้อมูลในเว็บไซต์ของธนาคารแห่งประเทศไทย ได้พูดถึงเรื่องของการปรับโครงสร้างหนี้ไว้ว่า การปรับโครงสร้างหนี้นั้นจะเป็นการเปลี่ยนเงื่อนไขในการชำระหนี้ เพื่อให้เรายังสามารถจ่ายหนี้ได้โดยที่ไม่ผิดนัดชำระ เนื่องจากว่าการผิดนัดชำระหนี้นั้นมักจะทำให้ลูกหนี้มีประวัติค้างจ่ายในเครดิตบูโร และมักจะส่งผลเสียต่อการยื่นสินเชื่อแบบอื่น ๆ ในอนาคตได้อีกด้วย ดังนั้นการปรับโครงสร้างหนี้จึงจะเหมาะสมกับสถานการณ์ทางการเงินที่แตกต่างกันออกไป ดังนี้

1. ยังจ่ายหนี้ไหว เพียงแต่อยากลดภาระดอกเบี้ยเพิ่ม

  • เปลี่ยนประเภทหนี้ โดยจะเปลี่ยนจากหนี้ที่มีอัตราดอกเบี้ยสูง ให้กลายเป็นหนี้ที่มีอัตราดอกเบี้ยต่ำลง
  • รีไฟแนนซ์ (Refinance) หรือการเปลี่ยนเจ้าหนี้ โดยการปิดหนี้จากเจ้าหนี้รายเดิมแล้วย้ายไปขอกู้กับเจ้าหนี้รายใหม่ที่ให้อัตราดอกเบี้ยที่ถูกกว่า

2. จ่ายไหวแค่บางส่วนเท่านั้น

  • ขอลดอัตราดอกเบี้ย ซึ่งส่วนมากทางสถาบันการเงินมักจะลดอัตราดอกเบี้ย เพื่อให้ทางลูกหนี้นั้นมีเวลาปรับตัวในช่วงที่รายได้เกิดลดกะทันหัน
  • ขอพักชำระเงินต้น กล่าวคือเราจะยังไม่ต้องจ่ายเงินต้น เพียงแต่ยังต้องจ่ายดอกเบี้ยอยู่ ซึ่งส่วนใหญ่ทางสถาบันการเงินมักจะให้พักชำระเงินต้นประมาณ 3 – 6 เดือน
  • ขอขยายเวลาชำระหนี้ ซึ่งเราจะสามารถขอขยายเวลาชำระหนี้ได้เป็นปี

3. มีเงินก้อนแต่ยังไม่พอที่จะปิดหนี้ทั้งหมด

อาจจะขอปรับโครงสร้างหนี้โดยการปิดจบด้วยเงินก้อนที่น้อยกว่าจำนวนหนี้ทั้งก้อนได้ โดยที่การปิดจบด้วยเงินก้อน (hair cut) จะเป็นการปรับโครงสร้างหนี้โดยการขอส่วนลดจากเจ้าหนี้ แล้วทำการจ่ายทั้งหมดเพื่อปิดบัญชีทันที ซึ่งการปิดจบด้วยเงินก้อนแบบนี้ ทางสถาบันการเงินมักจะมีเงื่อนไขว่าจะต้องจ่ายให้ครบภายในเวลาที่กำหนด ซึ่งมักจะเป็นช่วงเวลาสั้น ๆ เช่น 1 – 6 งวด เป็นต้น

4. จ่ายไม่ไหวเลย

อาจจะขอปรับโครงสร้างหนี้โดยการพักชำระเงินต้นและดอกเบี้ยในช่วงเวลาหนึ่งไปก่อน เพื่อให้ปรับตัวกับปัญหาทางการเงินได้ แล้วจึงค่อยกลับมาจ่ายหนี้ตามเดิม

การปิดยอดบัตรเครดิตและการยกเลิกบัตรเครดิต แตกต่างกันอย่างไร?

ทั้ง 2 กรณีนี้จะแตกต่างกันเพียงการใช้งานบัตรเครดิตเท่านั้น กล่าวคือ “การปิดยอดบัตรเครดิต” จะเป็นเพียงการชำระหนี้คงค้างทั้งหมดในบัตรเครดิต แล้วจึงใช้งานบัตรเครดิตต่อไปได้ตามปกติ ส่วนในกรณีที่เป็น “การปิดบัตรเครดิต หรือ การยกเลิกบัตรเครดิต” จะเป็นการยกเลิกการใช้งานบัตรเครดิตอย่างถาวร ดังนั้นผู้ถือบัตรจึงจะหมดสิทธิ์ในการใช้งานและไม่สามารถใช้งานบัตรเครดิตใบนั้นต่อไปได้นั่นเอง

สมัครบัตรเครดิตใบแรก ควรเลือกสมัครของธนาคารอะไรดี?

สำหรับการสมัครบัตรเครดิตใบแรกนั้น อันดับแรกจะแนะนำให้พิจารณาจากไลฟ์สไตล์ในการใช้ชีวิตประจำวันของเราก่อน เพราะบัตรเครดิตจะมีสิทธิพิเศษที่เฉพาะเจาะจงสำหรับการใช้งาน เช่น สายเที่ยว สายกิน สายช็อปปิ้ง สายสุขภาพ เป็นต้น เพื่อที่คุณจะได้รับสิทธิประโยชน์จากการใช้บัตรเครดิตได้อย่างเต็มที่ แต่ถ้าหากยังไม่มั่นใจว่าจะเลือกสมัครบัตรเครดิตใบแรกของธนาคารอะไรดี ก็สามารถใช้บริการเปรียบเทียบบัตรเครดิต ในเว็บไซต์แรบบิท แคร์ ได้เช่นเดียวกัน

เปรียบเทียบบัตรเครดิตกับแรบบิท แคร์ ดีอย่างไร?

เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกสบายให้แก่ลูกค้าได้อย่างเต็มที่ ทางแรบบิท แคร์ จึงมีบริการเปรียบเทียบบัตรเครดิต ที่ใช้งานง่าย รู้ผลได้ภายใน 30 วินาที โดยจะเป็นข้อเสนอสุดพิเศษจากธนาคารชั้นนำของประเทศไทย โดยจะแสดงผลตามที่คุณเลือกไว้ ดังนั้นจึงมั่นใจได้เลยในสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ และจะเหมาะสมกับไลฟ์สไตล์ของคุณอย่างแน่นอน

สมัครบัตรเครดิตผ่านแรบบิท แคร์ จะได้รับสิทธิประโยชน์อะไรบ้าง?

แรบบิท แคร์ ได้มีการเชื่อมต่อระบบกับบริษัทผู้รับประกันภัยและทางธนาคารโดยตรง ดังนั้นจึงทำให้ในทุกขั้นตอนเป็นไปด้วยความปลอดภัยและความรวดเร็ว อีกทั้งสามารถติดตามสถานะได้ตลอด 24 ชั่วโมง และนอกจากนี้แรบบิท แคร์ ยังมีบริการให้คำปรึกษา เพื่อเตรียมเอกสารในการยื่นสมัครบัตรเครดิตออนไลน์ได้อย่างถูกต้องและครบถ้วน จึงส่งผลทำให้ทางธนาคารอนุมัติได้ง่ายมากยิ่งขึ้น

ผลิตภัณฑ์บัตรเครดิต

บัตรเครดิต เคทีซี ดิจิทัล แพลตินัม วีซ่า

บัตรเครดิต เคทีซี ดิจิทัล แพลตินัม วีซ่า

KTC / VISA

  • ไม่มีค่าธรรมเนียมรายปี
  • ปลอดภัยกว่า ช้อปออนไลน์มั่นใจขั้นสุดด้วย Dynamic CVV รหัสหลังบัตรที่เปลี่ยนทุกครั้งที่ขอ
  • สบายใจกว่า เมื่อใช้จ่ายที่ร้านค้าทั่วไป ด้วย Numberless Physical Credit Card บัตรพลาสติกไร้หมายเลขที่สามารถขอได้ผ่านแอป KTC Mobile
  • รับส่วนลดตลอดปีที่ห้องอาหารในโรงแรมชั้นนำทั่วไทย และใช้ง่ายสะดวกรอบโลก
บัตรเครดิต เคทีซี วีซ่า แพลตทินั่ม

บัตรเครดิต เคทีซี วีซ่า แพลตทินั่ม

KTC / VISA

  • ไม่มีค่าธรรมเนียมรายปี
  • ผ่อนชำระด้วยอัตราดอกเบี้ยพิเศษ 0.74%
  • ประกันการเดินทาง 8 ล้านบาท
  • รับส่วนลดตลอดปีที่ห้องอาหารในโรงแรมชั้นนำทั่วไทย และใช้ง่ายสะดวกรอบโลก
บัตรเครดิต เคทีซี บางจาก แพลตทินั่ม

บัตรเครดิต เคทีซี บางจาก แพลตทินั่ม

KTC / Mastercard

  • ไม่มีค่าธรรมเนียมรายปี
  • รับเครดิตเงินคืน 1% เมื่อเติมน้ำมันที่ปั๊มบางจาก
  • ประกันการเดินทาง 8 ล้านบาท
  • รับส่วนลดร้านค้าออนไลน์ทุกเดือน พร้อมรับสิทธิพิเศษที่ร้านอาหารหรูในไทยตลอดปี
บัตรเครดิต เคทีซี แคชแบ็ค แพลตทินัม มาสเตอร์การ์ด

บัตรเครดิต เคทีซี แคชแบ็ค แพลตทินัม มาสเตอร์การ์ด

KTC / Mastercard

  • ไม่มีค่าธรรมเนียมรายปี
  • รับเครดิตเงินคืนสูงสุด 0.8%
  • ประกันการเดินทาง 8 ล้านบาท
  • รับส่วนลดร้านค้าออนไลน์ทุกเดือน พร้อมรับสิทธิพิเศษที่ร้านอาหารหรูในไทยตลอดปี
บัตรเครดิต เคทีซี อโกด้า แพลทินัม มาสเตอร์การ์ด

บัตรเครดิต เคทีซี อโกด้า แพลทินัม มาสเตอร์การ์ด

KTC / Mastercard

  • รับสิทธิ์ AgodaVIP Platinum
  • รับเพิ่ม 250 คะแนน KTC FOREVER เมื่อใช้จ่ายที่ Agoda ตามกำหนด
  • ใช้คะแนนน้อยกว่า 800 คะแนน KTC FOREVER แลกได้ 100 บาท AgodaCash
  • รับส่วนลดร้านค้าออนไลน์ทุกเดือน พร้อมรับสิทธิพิเศษที่ร้านอาหารหรูในไทยตลอดปี
บัตรเครดิต ยูโอบี เลดี้ แพลตทินัม

บัตรเครดิต ยูโอบี เลดี้ แพลตทินัม

UOB / Mastercard

  • รับคะแนนสะสม 10 บาท = 1 คะแนน
  • แลกรับเครดิตเงินคืน 15% เพียงใช้คะแนนสะสมเท่ายอดซื้อที่ EVEANDBOY, Cental&Zen, The mall, Paragon, Emporium, EmQuartier, Blueport และ Robinson
  • แลกรับเครดิตเงินคืน 15% เมื่อใช้คะแนนสะสม ยูโอบี รีวอร์ด พลัส เท่ากับยอดใช้จ่ายในหมวดร้านอาหาร
  • รับเครดิตเงินคืน 3% เมื่อชำระค่าเติมน้ำมันที่สถานีบริการน้ำมันคาลเท็กซ์ทุก 800 บาท/เซลล์สลิป
บัตรเครดิต ยูโอบี โยโล่ แพลตทินั่ม

บัตรเครดิต ยูโอบี โยโล่ แพลตทินั่ม

UOB / VISA

  • รับเครดิตเงินคืนสูงสุด 15% เมื่อใช้จ่ายที่รถไฟฟ้า BTS MRT 7-11, All Online by 7-Eleven ร้านบูทส์ ร้านวัตสัน ร้านมัตสึโมโตะ คิโยชิ เบอร์เกอร์ คิง, Shopee, Grab และ Atome
  • แบ่งชำระ 0% นาน 3 เดือน เมื่อมียอดใช้จ่ายในหมวดท่องเที่ยวและออนไลน์
  • 1 ฟรี 1 เมื่อซื้อบัตรชมภาพยนตร์ในเครือ SF
  • เครดิตเงินคืน 3% เมื่อชำระค่าเติมน้ำมันที่สถานีบริการน้ำมันคาลเท็กซ์ทุก 800 บาท/เซลล์สลิป เฉพาะสถานีที่ร่วมรายการ
บัตรเครดิตไทเทเนียม โรงพยาบาลรามาธิปดี

บัตรเครดิตไทเทเนียม โรงพยาบาลรามาธิปดี

BBL / Mastercard

  • รับเงินคืนสูงสุด 2% ทุกรอบบัญชี
  • บริจาคสมทบ 0.2% ทุกยอดใช้จ่าย
  • ให้แก่คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
  • เอกสิทธิ์จากโรงพยาบาลรามาธิบดี
บัตรเครดิต แอร์เอเชีย

บัตรเครดิต แอร์เอเชีย

BBL / Mastercard

  • บริการเลือกที่นั่ง Hot Seat ฟรี
  • บริการฝากสัมภาระใต้ท้องเครื่อง ฟรี
  • บริการเครื่องดื่มร้อนหรือเย็นบนเครื่อง ฟรี
  • รูดช้อปรับคะแนน BIG Points สูงสุด 3 เท่า
  • แบ่งชำระสบายๆ 0% หรือ 0.79% นานสูงสุดถึง 10 เดือน
บัตรเครดิต วีซ่า แพลทินัม

บัตรเครดิต วีซ่า แพลทินัม

BBL / VISA

  • รับคะแนนสะสมทุกการใช้จ่าย 25 บาท รับคะแนนสะสม 1 คะแนน ทั้งในและต่างประเทศ
  • สะสมไมล์เดินทางคะแนนสะสมสามารถแลกเป็นไมล์เดินทางจากสายการบินชั้นนำ
บัตรเครดิต ทีทีบี โซ ชิลล์

บัตรเครดิต ทีทีบี โซ ชิลล์

TTB / VISA

  • ผ่อน 0% 3 เดือน
  • ฟรีค่าธรรมเนียมทุกการกดเงินสด 3%
  • ฟรีค่าธรรมเนียมรายปี
  • รับดอกเบี้ยพิเศษ 3 รอบบัญชีแรก
บัตรเครดิต ทีทีบี โซ ฟาสต์

บัตรเครดิต ทีทีบี โซ ฟาสต์

TTB / VISA

  • ทุก 10 บาท รับ 1 คะแนน
  • ผ่อน 0% 3 เดือน
  • ฟรี ความคุ้มครองประกันอุบัติเหตุจากการเดินทาง
  • ฟรีค่าธรรมเนียม ทั้งแรกเข้าและรายปี

ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ของเรา