แคร์สุขภาพ

ผมร่วงเกิดจากอะไร ทำไมคนเราถึงผมร่วง?

ผู้เขียน : คะน้าใบเขียว
คะน้าใบเขียว

นักเขียนรุ่นไฮบริด เขียนบทความด้านการบริหารเงินส่วนบุคคลและการลงทุนต่าง ๆ กว่า 7 ปี เริ่มต้นที่งานเขียนที่ Rabbit Finance จนย้ายมาที่ Rabbit Care และ Asia Direct

close
linkedin icon
แก้ไขโดย : Nok Srihong
Nok Srihong

มีประสบการณ์มากกว่า 3 ปี เป็นนักเขียนด้านประกันสุขภาพ ประกันชีวิต เพื่อสุขภาพที่ Rabbit Care และ Asia Direct และ 12 ปี ในอุตสาหกรรม OTA อย่าง Laterooms.com , Expedia.com จึงมีความเชี่ยวชาญด้านการท่องเที่ยว จบการศึกษาปริญญาตรี สาขาการจัดการการเงิน มหาวิทยาลัยขอนแก่น

close
linkedin icon
 
Published: June 26,2023
  
Last edited: June 25, 2023
ผมร่วงเกิดจากอะไร

อีกหนึ่งในความกังวลใจของใครหลาย ๆ คน คงหนีไม่พ้นเรื่องปัญหาผมร่วงนี่แหละ เพราะผมร่วงเกิดขึ้นได้ทั้งผู้หญิงและในผู้ชาย ส่งผลต่อบุคลิกภาพต่าง ๆ ในบางครั้งอาจบ่งบอกถึงเรื่องสุขภาพได้ด้วย! แล้วแบบนี้ผมร่วงแบบไหนถึงเป็นสัญญาณของโรคร้าย มีวิธีแก้ผมร่วงไหม? สาเหตุผมร่วง ผู้หญิง หรือในผู้ชาย เกิดจากอะไร? ไปหาคำตอบพร้อม ๆ กับ แรบบิท แคร์ กันเลย! 

สมัครประกันสุขภาพกับน้องแคร์ รับบริการปรึกษาแพทย์ฟรี! ไม่ต้องไปโรงพยาบาล
icon angle up or down

เลือกแผนประกันสุขภาพที่คุณสนใจ

    ชื่อนามสกุล

    หมายเลขโทรศัพท์

    ไขข้อข้องใจ สาเหตุผมร่วงเกิดจากอะไรกันนะ?

    สาเหตุผมร่วง ผู้หญิง หรือผู้ชาย นั้น มีหลากหลายสาเหตุ โดยสาเหตุที่พบหลัก ๆ มี ดังนี้ 

    • พันธุกรรมและฮอร์โมน

    เรียกได้ว่าเป็นปัจจัยเลยก็ว่าได้ เพราะลักษณะเส้นผมเล็ก เบาบางลง จะขึ้นอยู่กับการถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ โดยผมจะร่วงง่ายหรือไม่นั้น จะขึ้นอยู่กับประวัติญาติสายตรงพ่อแม่ มีภาวะผมบาง ศีรษะล้าน โดยในเพศชายพบได้มากถึง 50% และเพศหญิงพบได้ถึง 70% เมื่อย่างเข้าอายุปีที่ 50 ทำให้รากผมเสื่อมลงตามกาลเวลา

    กลไกการเกิดผมบาง ศีรษะล้านจากพันธุกรรมนี้เกิดจากมีฮอร์โมน DHT (Dihydrotestosterone) เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น ระดับฮอร์โมน DHT ค่อย ๆ ลดลง นั่นเป็นสาเหตุว่าทำให้อายุมากแล้วผมร่วง ผมบาง นอกจากนี้ยังมีบางกรณีที่เกิดการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนในร่างกายอาจส่งผลต่อการร่วงของเส้นผม เช่น หลังการตั้งครรภ์ ฮอร์โมนเปลี่ยนแปลงจนส่งผลต่อผมร่วง

    • มาจากการรักษา หรือใช้ยาบางชนิด 

    ผมร่วงสามารถเกิดจากการรักษาด้วยยาบางชนิด เช่น รักษามะเร็งด้วยเคมีบำบัด หรือยาบางชนิด เช่น ยาเคมีบำบัด, ยาลดความดัน, ยาต้านเศร้า, ยาต้านมะเร็ง หรือแม้แต่การทานยาคุมกำเนิด อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ผมร่วงได้ 

    • โรคต่าง ๆ 

    ผมร่วงเยอะ อาจมาจากอาการและโรคทางผิวหนังบางประเภท เช่น โรคหัวล้าน, โรคเรื้อนภูมิแพ้, โรคไขมันในเลือดสูง, โรคปอด, เบาหวาน, โรคความดันโลหิตสูง, การติดเชื้อซิฟิลิส, HIV, โรคทางภูมิคุ้มกัน SLE, โรคทางผิวหนัง DLE และโรคโลหิตจาง เป็นต้น

    นอกจากนี้ กรณีที่หนังศรีษะมีปัญหาอย่างการเป็นรังแค แม้ปกติการเป็นรังแคไม่ทำให้ผมร่วงโดยตรง แต่การเกาหนังศีรษะจะทำให้ผมร่วงได้ เนื่องจากการเกาหนังศีรษะไม่เพียงทำให้ผมขาดหรือดึงทึ้งเส้นผม แต่ยังไปทำลายรูขุมขนของผม ทำให้ผมที่งอกออกมาในภายหลังอ่อนแอลง หรืออาจทำให้ผมไม่งอกออกมาอย่างถาวรเลยก็เป็นได้

    ทำสีผมบ่อย ผมร่วงจริงไหม

    • สภาพแวดล้อม

    สภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะเอง ก็สามารถส่งผลต่อการร่วงหลุดของผมได้ ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ ความชื้นรังสี UV จากแสงแดด  และมลพิษในอากาศ

    • ความเครียดและอาหารการกิน

    เมื่อเกิดความเครียดมาก ๆ ร่างกายอาจมีการหลั่งฮอร์โมนคอติซอล (Coritsol) ในระดับสูง ซึ่งส่งผลโดยตรงให้เส้นผมอ่อนแอจนเกิดปัญหาผมร่วงผมบาง และยังส่งผลให้การหลั่งสารไซโตไคน์ (Cytokine) และฮอร์โมนแอนโรเจน (Androgen) ทำงานอย่างผิดปกติ จนเป็นเหตุให้เกิดภาวะผมร่วงบาง ผมไม่แข็งแรงตามมา 

    นอกจากนี้ หากมีการรับประทานอาหารที่ไม่ครบหมู่ หรือร่างกายได้รับสารอาหารที่จำเป็นมากเพียงพอ อย่างการขาดธาตุอาหารบางชนิด เช่น โปรตีน ฟอลิค แอซิด และวิตามินบี ซึ่งจำเป็นสำหรับการเจริญเติบโตของผม หากไม่เพียงพออาจส่งผลทำให้ผมร่วงได้เช่นกัน

    • การดูแลผมที่ไม่เหมาะสม

    หากดูแลผมไม่ดี มีอาการผมเสีย นี่อาจเป้นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้ผมร่วงได้เช่นกัน เพราะเมื่อความชุ่มชื้นในเส้นผมหายไป ทำให้โครงสร้างเส้นผมอ่อนแอลง และทำให้ผมเปราะบางและขาดง่ายยิ่งขึ้น 

    รวมถึงสารเคมีหรือสารสังเคราะห์ต่าง ๆ จากผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผมอย่างเช่น แชมพู ครีมนวด แม้แต่การจัดแต่งทรงผม หรือทำสี ผมเสียจากความร้อนของอุปกรณ์จัดแต่งทรง รวมถึงผมขาดจากการใช้แรงดึงผมอย่างไม่อ่อนโยนขณะสระผม หวีผม สามารถเป็นปัจจัยช่วยทำให้เส้นผมของเราเปราะบาง ขาดง่าย อีกทั้งยังส่งผลให้หนังศีรษะอักเสบ จนเซลล์รากผมอ่อนแอได้

    วิธีแก้ผมร่วง

    วิธีการรักษาผมร่วงทำอย่างไร? มีวิธีแก้ผมร่วงได้ไหม?

    เบื้องต้นแล้ว วิธีแก้ผมร่วงนั้นจะขึ้นอยู่กับสาเหตุ แต่ทั้งนี้ วิธีการรักษาทั่วไป มักจะใช้วิธีดังนี้ 

    • การปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ ไม่ว่าจะเป็นการลดความเครียด ออกกำลังกาย และการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เช่น โปรตีน, วิตามินเอ, วิตามินดี, วิตามินบี, โอเมก้า-3 และเหล็กจะช่วยให้สุขภาพแข็งแรง ส่งผลต่อเส้นผมด้วย
    • หาวิธีการดูแลผมที่เหมาะสม แนะนำให้หลีกเลี่ยงการทำผมที่ทำให้ผมเสียหายในทุกกรณี โดยคุณอาจปรึกษาแพทย์ก่อนเริ่มใช้ยาหรือแผนการรักษาใด ๆ ก่อนได้ และเมื่อแพทย์สามารถวินิจฉัยสาเหตุผลผมร่วงแล้ว จะมีการแนะนำแนวทางการรักษาที่เหมาะสมที่สุดสำหรับคุณต่อไป
    • ใช้ยารักษา บางครั้งการรักษาอาจจะต้องใช้ยาควบคู่ด้วย โดยยารักษาผมร่วงนั้น จำเป็นจะต้องผ่านการรับรองจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเสมอ
    • การผ่าตัดปลูกถ่ายเส้นผม ปัจจุบันมีทั้งวิธีการผ่าตัดและการสกัดเจาะรากผม แล้วย้ายรากผมมาปลูกลงในบริเวณที่ผู้ป่วยต้องการ
    • การฝังเส้นผมเทียมบนหนังศีรษะ หรือที่รู้จักกันในชื่อเส้นไฟเบอร์  วิธีนี้เคยได้รับความนิยมอย่างสูงในประเทศญี่ปุ่น แต่อาจมีผลข้างเคียงแทรกซ้อน เช่น  แผลเป็นดึงรั้งหนังศีรษะ เส้นผมเทียมเปลี่ยนสี เปลี่ยนสภาพ หดงอในภายหลัง จึงทำให้เสื้อมความนิยมอย่างรวดเร็ว

    สาเหตุผมร่วง

    ผมร่วงแบบไหนเรียกอันตรายเสี่ยงเป็นโรคร้าย

    โดยทั่วไปแล้ว เส้นผมคนเราสามารถหลุดร่วงได้มากถึงวันละ 120 – 160 เส้น หากมีผมร่วงมากกว่านี้หรือร่วมกับมีอาการผิดปกติของหนังศีรษะ เช่น คัน แสบ แดง มีสะเก็ด หรือเป็นหนองพุพองถือว่าเป็นภาวะผิดปกติ ควรรีบปรึกษาแพทย์เฉพาะทางที่มีความชำนาญ เพราะบางครั้งอาจเสี่ยงเป็นโรคร้ายต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น

    • โรคโลหิตจาง เป็นสภาพที่ร่างกายขาดเลือดหรือฮีโมโกลบินไม่เพียงพอ โรคนี้มักมีอาการอย่างอื่นร่วมด้วย เช่น รู้สึกอ่อนเพลีย, หัวใจเต้นเร็ว, ผมร่วง และความรู้สึกหนาว ๆ ร้อนๆ 
    • ร่างกายขาดแคลนวิตามินหรือธาตุอาหาร เช่น ร่างกายอาจขาดวิตามินบี, ธาตุเหล็ก, สังกะสี
    • โรคไทรอยด์ เช่น ไทรอยด์เป็นพิษ และภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ นําไปสู่การการเกิดปัญหาผมร่วงซึ่งสืบเนื่องมาจากต่อมไทรอยด์ที่ทำงานผิดปกติ
    • โรคมะเร็ง ซึ่งอาจจะมาจากการใช้เคมีบำบัด ทำให้ผมร่วง
    • โรคผิวหนัง และภูมิคุ้มกันบกพร่องเฉพาะที่ เช่น โรคสะเก็ดเงิน โรคทางภูมิคุ้มกัน SLE  โรคทางผิวหนัง DLE  โรคภูมิแพ้รากผม รวมถึงการติดเชื้อต่างๆ เช่น เชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา และไวรัสของหนังศีรษะ
    • การติดเชื้อซิฟิลิส เอชไอวี ที่ส่งผลกระทบต่อการเติบโตของเส้นผม ทำให้ผมร่วง ผมบางได้
    • ภาวะโรคทางจิตเวช เช่น โรคเครียดเรื้อรัง, โรคซึมเศร้า, โรคทำร้ายตัวเอง (NSSI), โรคดึงผมตนเอง, โรคหลงผิด หรืออาจเป็นผลมาจากอาการลงแดงจากการใช้ยาเสพติด

    การรักษาผมร่วง

    รวมคำถามยอดฮิตเกี่ยวกับปัญหาผมร่วง

    ทำสีผมบ่อย ผมร่วงจริงไหม?

    การย้อมผมบ่อย ๆ อาจทำให้ผมแห้งและเสีย ซึ่งส่งผลให้ผมเปราะบางและเกิดการหักขาดง่ายขึ้น แต่การย้อมผมไม่ได้ทำให้ผมร่วงตรง ๆ มาจากรากผม โดยเราสามารถอธิบายหลักการได้ คือ เมื่อสารเคมีที่ใช้ในการย้อมผมจะเข้าไปทำลายโครงสร้างโปรตีนที่เรียกว่าเคราทินเพื่อให้เกิดการย้อมสีที่ง่ายขึ้น ดังนั้น หากคุณย้อมผมบ่อย ๆ หรือใช้สารเคมีที่แรง ๆ ก็อาจส่งผลให้ผมหลุดร่วงได้ง่ายขึ้นนั่นเอง

    เบื้องต้น เราสามารถป้องกันแก้ผมร่วงได้ ด้วยการรักษาเส้นผมให้ดีหลังการย้อมสี เช่น การใช้ครีมบำรุงผม การทำครีมนวด หรือการใช้สูตรที่อ่อนโยนสำหรับผมที่ย้อมสามารถช่วยปรับปรุงสภาพผม

    สวมหมวกตลอดเวลา ทำให้ผมร่วงจริงหรือ?

    จริงๆ แล้วการสวมหมวกไม่มีส่วนทำให้ผมร่วง เว้นแต่ว่าจะสวมตลอดเวลาจนเกิดเชื้อรา ตรงกันข้าม หากมีการถักเปียแน่น ๆ หรือสวมวิกผมนานเกินไปก็ทำให้ผมขาดร่วงได้แทนเช่นกัน

    ยาปลูกผมทำงานยังไง แก้ผมร่วงได้จริงไหม?

    บางมองว่าวิธีแก้ผมร่วงนั้น การใช้ยารักษาผมร่วงอาจช่วยได้ ซึ่งเบื้องต้นนั้น ยาที่ใช้รักษาผมร่วงมักจะเป็นยาที่ใช้เนื่องจากมีอาการผมร่วงที่เกิดจากสาเหตุฮอร์โมนเป็นหลัก มีทั้งรูปแบบที่ใช้ทา และยาเม็ดที่ใช้ทาน ซึ่งตัวยาเองก็มีผลข้าเคียง จึงควรให้แพทย์เป็นผู้จ่ายยาเท่านั้น

    ทำไมผมร่วง infographic

    เรื่องผมร่วงเรียกได้ว่าเป็นเรื่องใหญ่ของใครหลายคน แต่การหาวิธีแก้ผมร่วงที่ได้ผลและรวดเร็วที่สุด คือตรวจประเมินสุขภาพกับแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพของคุณให้แน่ใจว่าปัญหาผมร่วงคุณมาจากสาเหตุใด และสามารถหาทางรักษาได้เร็วนั่นเอง

    เพราะเรื่องสุขภาพไม่ใช่เรื่องเล็กและไม่ใช่เรื่องไกลตัว การมีประกันสุขภาพเอาไว้เผื่อกรณีเจ็บป่วยจะช่วยให้คุณแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี ต้องที่นี้เลย ประกันสุขภาพ จาก แรบบิท แคร์ ที่มาพร้อมกับเบี้ยประกันที่หลากหลาย จับต้องได้ ครอบคลุมทุกการคุ้มครองเรื่องโรคภัย สมัครง่าย แค่ปลายนิ้วคลิกเลย!


     

    บทความแคร์สุขภาพ

    Rabbit Care Blog Image 89748

    แคร์สุขภาพ

    โรคพุ่มพวงคืออะไร มีอาการอย่างไร อันตรายถึงชีวิตหรือไม่ ?

    โรคที่คนไทยเรียกกันจนติดปากว่าโรคพุ่มพวง เนื่องจากคนไทยเรารู้จักโรคนี้กันอย่างแพร่หลายเมื่อศิลปินชื่อดังอย่างคุณพุ่มพวง ดวงจันทร์
    Nok Srihong
    23/05/2024