
เช็กลิสต์ 10 พฤติกรรมที่คุณ(อาจ)พลาด ขณะเลือกซื้อประกันสุขภาพ
น้ำตาเทียม ไอเทมสำคัญช่วยกู้ตาแห้งที่หลายคนคงเคยได้ยินมาบ้าง และคงเป็นที่คุ้นเคยกันดีในกลุ่มคนที่ใช้คอนแทคเลนส์เป็นอย่างดี ว่าแต่เจ้าน้ำตาเทียมนี้สามารถใช้ได้เฉพาะในผู้ที่ใส่คอนแทคเลนส์เพียงอย่างเดียวหรือไม่ ผู้ที่มีสายตาปกติหรือมีปัญหาด้านสายตาแต่ใส่แว่นสามารถใช้ได้ไหม? วันนี้ แรบบิท แคร์ รวบรวมเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับน้ำตาเทียมมาให้ เพื่อให้หลายคนที่ยังไม่รู้ได้ลองทำความเข้าใจ และศึกษาวิธีใช้น้ำตาเทียมที่ถูกต้องกัน!
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ให้ข้อมูลว่าน้ำตาเทียมคือสารที่ให้ความชุ่มชื้นแก่ดวงตา ช่วยในการทดแทนน้ำตา บรรเทาอาการตาแห้งและระคายเคืองดวงตา ซึ่งจะมีส่วนประกอบที่เป็นสารที่ให้ความชุ่มชื้น ได้แก่ Carboxymethylcellulose, Hydroxyethyl Cellulose, Hydroxypropyl Methylcellulose และ Dextran
ทั้งนี้น้ำตาเทียมส่วนใหญ่ที่มีขายอยู่ในท้องตลาดนั้น จะถูกจัดเป็นหนึ่งในอุปกรณ์ทางการแพทย์ (Medical Devices) หรือยา (Medicines) โดยบุคคลทั่วไปเองก็สามารถหาซื้อได้ที่เคาน์เตอร์หรือร้านขายยาได้โดยไม่ต้องมีใบสั่งยาจากแพทย์ด้วยนั่นเอง
สำหรับประเภทของน้ำตาเทียมนั้น ในปัจจุบันน้ำตาเทียมที่วางขายอยู่ในตลาดจะถูกจัดประเภทแบ่งเป็น 3 กลุ่มหลัก ๆ ตามปฏิกิริยาที่มีต่อดวงตาด้วยกัน ได้แก่
นอกจากจะมีการแบ่งกลุ่มประเภทของน้ำตาเทียมอย่างชัดเจนแล้ว น้ำตาเทียมยังถูกแบ่งออกเป็น 2 ชนิดหลัก ๆ ตามลักษณะของน้ำตาเทียมชนิดนั้น ๆ คือ
โดยน้ำตา เทียมทั้ง 2 ชนิดนี้จะมีข้อดี-ข้อเสียที่แตกต่างกันไป คือ
นอกจากสิ่งที่เราต่างก็ทราบกันดีอยู่แล้วว่าเมื่อต้องการเติมความชุ่มชื้นให้กับดวงตาก็ต้องใช้น้ำตาเทียม ตาแห้ง ก็ต้องใช้น้ำตาเทียม เนื่องจากไอเทมเด็ดชิ้นนี้มีสรรพคุณในการดูแลความชุ่มชื้นภายในดวงตาของเราได้เป็นอย่างดี แต่ทราบหรือไม่ว่านอกจากสรรพคุณเหล่านี้ ยังมีประโยชน์ดี ๆ ที่น้ำตาเทียมช่วยดูแลดวงตาของเรา
การใช้น้ำตาเทียมร่วมกับการประคบเย็นนั้นจะสามารถช่วยลดการอักเสบของชั้นที่อยู่ระหว่างเยื่อตา และตาขาวหลังผ่าตัดกระจกตา ทำให้สามารถฟื้นตัวด้านการมองเห็นหลังผ่าตัดเร็วมากยิ่งขึ้น
และทั้งหมดนี้ก็คือข้อดีของการใช้น้ำตาเทียม จะเห็นได้ว่าน้ำตาเทียมนั้นมีประโยชน์ทั้งในแง่ของการรักษาอาการผิดปกติของดวงตา และช่วยให้รู้สึกสบายตาเมื่อตาแห้งหรือใช้สายตาค่อนข้างมากได้อย่างครอบคลุมเลยทีเดียว
แน่นอนว่าในการใช้ผลิตภัณฑ์ที่ต้องสัมผัสกับดวงตาของเราโดยตรงย่อมต้องมีสิ่งที่ต้องระวัง โดยการใช้น้ำตาเทียมนั้นก็จะมีข้อควรระวัง ดังนี้
และทั้งหมดนี้ก็คือข้อควรระวังเบื้องต้นสำหรับผู้ใช้น้ำตาเทียมที่ต้องระวัง ไม่เช่นนั้นจากที่จะเป็นการดูแลรักษาอาการดวงตาของเราให้ดีขึ้นอาจก่อปัญหาที่ไม่คาดคิดตามมาได้ และสำหรับใครที่คิดว่าดวงตาของตนเองนั้นอาจมีปัญหาหรือมีแนวโน้มที่จะมีปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับดวงตาในอนาคตก็อย่าลืมทำประกันสุขภาพกับ แรบบิท แคร์ ไว้ เพื่อความอุ่นใจกันไว้ดีกว่าแก้นั่นเอง
วิธีการใช้น้ำตาเทียมนั้น สามารถใช้ได้โดยการหยดน้ำตาเทียมปริมาณ 1-2 หยดลงไปในดวงตาทั้ง 2 ข้างเมื่อมีอาการตาแห้งหรือตามที่แพทย์สั่ง โดยต้องระมัดระวังไม่ให้ปลายหลอดหยดสัมผัสกับดวงตา ขนตา หรือมือของเรา
สำหรับความถี่ในการหยอดน้ำตาเทียมน้ำ ความถี่ที่เหมาะสมคือไม่ควรใช้มากเกินวันละ 4 ครั้งต่อวัน หรือตามสั่งของแพทย์เพราะอาจก่อให้เกิดความเสี่ยงในการแพ้น้ำตาเทียมหรือรับสารที่อยู่ในนั้นมากจนเกินไปจนอาจเป็นสาเหตุในการที่กระจกตาถูกทำลายได้
น้ำตาเทียมชนิด Unit Dose (รายวัน) หลังจากเปิดใช้งานแล้วไม่ควรใช้เกิน 12-24 ชั่วโมง
ส่วนน้ำตาเทียมชนิด Multiple Dose หลังจากเปิดใช้งานแล้วไม่ควรใช้เกินหนึ่งเดือน
ปัจจุบันมีน้ำตาเทียมแบบเย็นที่ถูกผลิตออกมาวางขายตามท้องตลาด ซึ่งได้รับความนิยมในหมู่วัยรุ่นค่อนข้างมาก เนื่องจากมีความเย็นสะใจ อีกทั้งเหมือนช่วยทำให้ทัศนวิสัยชัดเจนขึ้นมาความเย็นหายไป โดยส่วนนี้ก็มีหลายคนที่กังวลว่าอันตรายหรือไม่ ความจริงแล้วน้ำตาเทียมชนิดนี้นั้นไม่ได้มีอันตรายแต่อย่างใด เพียงแต่ไม่แนะนำให้ใช้ร่วมกับการใส่คอนแทคเลนส์ เนื่องจากอาจเพิ่มการระคายเคือง หรืออาจทำปฏิกิริยาที่ส่งผลกับคอนแทคเลนส์ของเราได้นั่นเอง
และทั้งหมดนี้ก็คือข้อมูลน่ารู้ที่เกี่ยวข้องกับน้ำตาเทียมที่ทาง แรบบิท แคร์ ได้รวบรวมมาให้ หวังว่าจะเป็นประโยชน์และสามารถช่วยไขข้อข้องใจ ทุกคนจะได้สามารถใช้น้ำตาเทียมกันได้อย่างสบายใจและใช้กันได้อย่างถูกวิธี
มีประสบการณ์มากกว่า 3 ปี เป็นนักเขียนด้านประกันสุขภาพ ประกันชีวิต เพื่อสุขภาพที่ Rabbit Care และ Asia Direct
และ 12 ปี ในอุตสาหกรรม OTA อย่าง Laterooms.com , Expedia.com จึงมีความเชี่ยวชาญด้านการท่องเที่ยว
จบการศึกษาปริญญาตรี สาขาการจัดการการเงิน มหาวิทยาลัยขอนแก่น
บทความแคร์สุขภาพ
เช็กลิสต์ 10 พฤติกรรมที่คุณ(อาจ)พลาด ขณะเลือกซื้อประกันสุขภาพ
โรคพุ่มพวงคืออะไร มีอาการอย่างไร อันตรายถึงชีวิตหรือไม่ ?