แคร์สุขภาพ

“อย.” คืออะไร? ผลิตภัณฑ์ใดบ้างที่ต้องมี อย.? และมีวิธีเช็ค อย. ปลอมอย่างไรได้บ้าง?

ผู้เขียน : Mayya Style

เป็นนักเขียนสายสุขภาพและการเงินที่มีประสบการณ์ในการเขียนมากมาย โดยได้ฝากผลงานในหลากหลายรูปแบบที่เน้นด้านบริหารร่างกายและจิตใจ ทำงานที่ Rabbit Care และ Asia Direct ได้อย่างมืออาชีพ

close
linkedin icon
แก้ไขโดย : Tawan

Tawan มีประสบการณ์สร้างสรรค์ผลงานออนไลน์ 2 ปี เขียนด้านยานยนต์ ประกันยานยนต์ที่ Rabbit Care และ Asia Direct มีใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันชีวิตและนายหน้าประกันวินาศภัย มีความเชี่ยวชาญด้านประกันรถยนต์และประกันชีวิต

close
linkedin icon
 
Published: August 8,2023
  
Last edited: August 14, 2023
อย.

อย. เป็นสิ่งที่หลายคนให้ความสนใจทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค เนื่องจากเป็นเครื่องหมายที่รับรองคุณภาพและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์นั้น ๆ หากสินค้าใดมี อย.ที่ถูกต้องชัดเจนและตรวจสอบได้ ก็จะเพิ่มความน่าเชื่อถือต่อผู้บริโภค ทำให้มั่นใจได้ว่าสินค้าดังกล่าวจะไม่ก่อให้เกิดผลเสียต่อร่างกายเมื่อรับประทานเข้าไป วันนี้ แรบบิท แคร์ จะพาทุกคนมารู้จักกับ อย. ว่ามันคืออะไร สินค้าใดจำเป็นต้องมี ขั้นตอนการจดทะเบียน อย. รวมถึงวิธีเช็กเลข อย. ไปดูกันเลย!!       

Health Insurance Widget

เปรียบเทียบประกันสุขภาพกับ Rabbit Care พิเศษ! ผ่อน 0% นานสูงสุด 10 เดือน
icon angle up or down

เลือกแผนประกันสุขภาพที่คุณสนใจ

    ชื่อนามสกุล

    หมายเลขโทรศัพท์

    อย. คืออะไร?

    อย. ย่อมากจาก สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อังกฤษ: Food and Drug Administration, FDA) เป็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมและกำกับดูแลสินค้าอาหารและยาในประเทศ หน้าที่หลักของสำนักงานคือตรวจสอบความปลอดภัยและคุณภาพของอาหารและยา รวมถึงเวชภัณฑ์ และเครื่องสำอางค์ที่ออกสู่ตลาดเพื่อให้ผู้บริโภคได้รับสินค้าที่มีมาตรฐานและไม่เสี่ยงต่อสุขภาพ

    ผลิตภัณฑ์ใดบ้างที่ต้องมี อย.? 

    ผลิตภัณฑ์ที่จำเป็นต้องขอ อย. ได่แก่ อาหาร, เครื่องมือแพทย์ที่ต้องมีใบอนุญาต, และ วัตถุอันตรายที่ใช้ในครัวเรือน เนื่องจากการมีเครื่องหมาย “อย.” จะเป็นการยืนยันว่าผลิตภัณฑ์นั้นได้ผ่านการตรวจสอบความปลอดภัยและมีคุณภาพตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับอาหารและยาที่มีผลต่อสุขภาพของประชาชน การมีเครื่องหมาย “อย.” เป็นสัญลักษณ์ที่ให้ความน่าเชื่อถือและสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคในการใช้ผลิตภัณฑ์นั้นๆ

    ตรวจสอบเลข อย. 13 หลัก

    1. เช็คเลข อย. 13 หลัก อาหาร

    อาหารที่ต้องมีเครื่องหมาย อย. จะแบ่งออกเป็นทั้งหมด 3 ประเภท ได้แก่ 

    • อาหารควบคุมเฉพาะ : อาหารบรรจุในภาชนะที่ปิดสนิท เครื่องดื่ม 
    • อาหารที่กำหนดคุณภาพหรือมาตรฐาน : อาหารกึ่งสำเร็จรูป น้ำบริโภคในภาชนะบรรจุปิดสนิท ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร น้ำมันพืช 
    • อาหารที่ต้องมีฉลาก : หมากฝรั่งหรือลูกอม ผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ อาหารพร้อมปรุง อาหารสำเร็จรูปพร้อมบริโภคทันที 

    สำหรับผลิตภัณฑ์ประเภทอาหาร จะมีการปรากฎเลข 13 หลัก อยู่ในกรอบเครื่องหมาย จะถูกเรียกว่า “เลขสารบบอาหาร” ซึ่งเลขเหล่านั้นแสดงข้อมูลเกี่ยวกับสินค้า เช่น สถานที่การผลิต เป็นต้น เพื่อสามารถตรวจสอบได้ง่ายเมื่อเกิดปัญหา แต่ละตัวเองจะมีความหมายดังนี้

    สัญลักษณ์ อย. คือ ตัวเลข 13 หลัก: XX-X-XXXXX-X-XXXX

      ลำดับที่

      ความหมาย

      เลขลำดับที่ 1 

    เลขแทนตัวยาที่ออกฤทธิ์ (จะใช้ตัวเลข 1 – 2 เท่านั้น) 

    - เลข 1 หมายถึง มีตัวยาสำคัญที่ออกฤทธิ์เพียงตัวเดียว
    - เลข 2 หมายถึง มีตัวยาสำคัญที่ออกฤทธิ์สองตัวขึ้นไป

      เลขลำดับที่ 2 

    เลขแทนประเภทของยา (ใช้ตัวอักษร A – N) เช่น

    - A แทนยาแผนปัจจุบันที่ใช้กับมนุษย์ซึ่งผลิตภายในประเทศ
    - N แทนยาแผนโบราณที่ใช้กับสัตว์ซึ่งนำเข้าหรือสั่งเข้าจากต่างประเทศ

      เลขลำดับที่ 3 - 4

      เลขแสดงลำดับการขึ้นทะเบียนตำรับยา

      เลขลำดับที่ 5 - 6 

      เลขแสดงปี พ.ศ.ที่ได้รับการขึ้นทะเบียน 

    2. เช็คเลข อย. เครื่องมือแพทย์

    สินค้าในหมวดนี้ประกอบไปด้วยถุงยางอนามัย, ถุงมือยางสำหรับศัลยแพทย์, ชุดตรวจเชื้อ HIV, และคอนแทคเลนส์ โดยที่สัญลักษณ์ อย. จะขึ้นต้นด้วย ผ และ น จากนั้นจึงตามด้วยตัวเลข 

    สัญลักษณ์ อย. : ผ. XX / XXXX หรือ น. XX / XXXX 

    • ผ. ย่อมาจากคำว่า ผลิต
    • น. ย่อมาจากคำว่า นำเข้า 
    • เลขสองตัวแรก หมายถึง เลขที่ใบอนุญาต
    • เลขสี่ตัวหลัง หมายถึง ปี พ.ศ. ที่ได้รับอนุญาต

    3. เช็คเลข อย. วัตถุอันตรายที่ใช้ในครัวเรือน

    ผลิตภัณฑ์ที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายเมื่อรับประทาน สูดดม หรือสัมผัส จำเป็นต้องขอ อย. เช่น ผลิตภัณฑ์กำจัดแมลง ผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อในครัวเรือน ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดพื้นผิว 

    สัญลักษณ์ อย. : วอส. XX / XXXX

    • วอส. ย่อมากจากคำว่า วัตถุอันตรายทางสาธารณสุข
    • เลขสองตัวแรก หมายถึง เลขที่ใบอนุญาต
    • เลขสี่ตัวหลัง หมายถึง ปี พ.ศ. ที่ได้รับอนุญาต

    ผลิตภัณฑ์ใดบ้างที่ไม่ต้องมี อย.?

    สำหรับผิตภัณฑ์ที่ไม่ต้องมี อย. ได้แก่ ยา, เครื่องสำอาง, และ เครื่องมือแพทย์ ถึงแม้ไม่ต้องจด อย. แต่จำเป็นต้องมีเลขทะเบียนตำรับยาและเลขที่ใบรับแจ้ง เพื่อเป็นการยืนยันคุณภาพและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์

    1. ยา 

    อย. คืออะไร

    สำหรับผลิตภัณฑ์ประเภทยา ไม่ต้องมีเครื่องหมาย อย. บนฉลากยาก็ได้ แต่ต้องมี “เลขทะเบียนตำรับยา”

    สัญลักษณ์เลขทะเบียนตำรับยา : Reg no. XX XX / XX

    Reg no. ย่อมาจาก Registered Number หรือเลขทะเบียน

      ลำดับที่

      ความหมาย

      เลขลำดับที่ 1 

    เลขแทนตัวยาที่ออกฤทธิ์ (จะใช้ตัวเลข 1 – 2 เท่านั้น) 

    - เลข 1 หมายถึง มีตัวยาสำคัญที่ออกฤทธิ์เพียงตัวเดียว
    - เลข 2 หมายถึง มีตัวยาสำคัญที่ออกฤทธิ์สองตัวขึ้นไป

      เลขลำดับที่ 2 

    เลขแทนประเภทของยา (ใช้ตัวอักษร A – N) เช่น

    - A แทนยาแผนปัจจุบันที่ใช้กับมนุษย์ซึ่งผลิตภายในประเทศ
    - N แทนยาแผนโบราณที่ใช้กับสัตว์ซึ่งนำเข้าหรือสั่งเข้าจากต่างประเทศ

      เลขลำดับที่ 3 - 4

      เลขแสดงลำดับการขึ้นทะเบียนตำรับยา

      เลขลำดับที่ 5 - 6 

      เลขแสดงปี พ.ศ.ที่ได้รับการขึ้นทะเบียน 

    ตัวอย่าง 1A 17/51 หมายถึง เป็นยาแผนปัจจุบันสำหรับใช้กับมนุษย์ ผลิตภายในประเทศไทย มีตัวยาออกฤทธิ์เพียงตัวเดียว ลำดับทะเบียนเลขที่ 17 ได้รับการขึ้นทะเบียนในปี พ.ศ. 2551

    2. เครื่องสำอาง

    ผลิตภัณฑ์ประเภทเครื่องสำอาง จะไม่มีเครื่องหมาย อย. บนฉลาก หรือกระปุกครีม แต่จะต้องมีเลขที่ใบรับแจ้ง ประกอบไปด้วยตัวเลข 10 หลัก

    สัญลักษณ์ใบรับแจ้ง : XX – X – XXXXXXX

      ลำดับที่

      ความหมาย

      เลขลำดับที่ 1 - 2

      เลขจังหวัดที่ตั้งของสถานที่รับแจ้ง

    เลขลำดับที่ 3

    เลขแสดงสถานะของสถานที่และหน่วยงานที่อนุญาต (จะใช้ตัวเลข 1 – 4 แทนสถานะ)

    - เลข 1 หมายถึง สถานที่ผลิตอาหาร ซึ่งสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยาเป็นผู้อนุญาต
    - เลข 2 หมายถึง สถานที่ผลิตอาหาร ซึ่งจังหวัดเป็นผู้อนุญาต
    - เลข 3 หมายถึง สถานที่นําเข้าอาหาร ซึ่งสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยาเป็นผู้อนุญาต
    - เลข 4 หมายถึง สถานที่นําเข้าอาหาร ซึ่งจังหวัดเป็นผู้อนุญาต

      เลขลำดับที่ 4 - 5

      เลขท้ายของปี พ.ศ.ที่อนุญาต เช่น ตัวเลข 61 แทน พ.ศ.2561

      เลขลำดับที่ 6 - 10 

      เลขลำดับของผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการอนุญาต

    3. เครื่องมือแพทย์

    ตรวจสอบเลข อย. 13 หลัก

    สำหรับเครื่องมือแพทย์ไม่ต้องมีสัญลักษณ์หรือเลข อย. แต่ต้องมีเลขที่ใบรับแจ้งเช่นเดียวกับผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง เช่น เครื่องที่ใช้เพื่อกายภาพบำบัด เครื่องตรวจระดับแอลกอฮอล์ในร่างกาย เต้านมเทียมซิลิโคน

    แต่สำหรับเครื่องมือแพทย์ทั่วไป ไม่ต้องมีทั้งเครื่องหมาย อย. และเลขที่ใบรับแจ้ง เช่น เครื่องตรวจวัดความดันโลหิต เครื่องตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด เตียงผู้ป่วย รถเข็นผู้ป่วย แต่ผู้ประกอบการหรือผู้ที่นำมาขายจะต้องมีหนังสือรับรองการขายในประเทศผู้ผลิต โดยหนังสือต้องออกโดยหน่วยงานรัฐหรือสถาบันเอกชนที่รับรอง เพื่อให้สำนักงาน อย. ตรวจสอบ หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่จะออกหนังสือรับรองการนำเข้าเครื่องมือแพทย์ เพื่อใช้แสดงต่อเจ้าหน้าที่ ณ ด่านศุลกากร

    หมายเหตุ : หากจะนำผลิตภัณฑ์ใดไปโฆษณา จะต้องมีการขออนุญาตจากโฆษณาผลิตภัณฑ์จากทาง อย. เช่นกัน นั่นก็คือ “ฆอ.(โฆษณาอาหาร) ฆพ (โฆษณาเครื่องมือแพทย์)” เพื่อป้องกันการอวดอ้างสรรพคุณที่เกินจริงต่อผู้บริโภค 

    วิธีเช็ค อย ปลอม

    เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค และป้องกัน อย. ปลอม คุณสามารถตรวจสอบว่าผลิตภัณฑ์ที่จะซื้อมีเครื่องหมาย อย. เลขที่จดแจ้งหรือไม่ หรือข้อมูลตรงกับทางผู้ขายให้มาหรือไม่ สามารถทำตามวิธีละขั้นตอน ดังต่อไปนี้ 

    1. เข้าเว็บไซต์ “ตรวจสอบการอนุญาต สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
    2. กรอกข้อมูล เลขรหัส อย. เลขที่ใบจดแจ้ง เลขทะเบียนตำรับยา หรือชื่อผลิตภัณฑ์ ในช่องสืบค้นข้อมูลผลิตภัณฑ์​ (รหัสจะใส่ขีดหรือไม่ก็ได้) แล้วกดค้นหา
    3. หากผลิตภัณฑ์นั้นได้รับการอนุญาตที่ถูกต้อง เมื่อกรอกข้อมูลเรียบร้อย จะปรากฎข้อมูลของสินค้าได้แก่ ประเภทผลิตภัณฑ์ ใบสำคัญ (เลข อย.) ชื่อผลิตภัณฑ์ไทย – อังกฤษ ชื่อผู้รับอนุญาต Newcode (เลขอ้างอิงใบรับแจ้งการนำเข้าผลิตภัณฑ์) และสถานะของผลิตภัณฑ์

    เพียงเท่านี้ผู้บริโภคก็สามารถมั่นใจได้แล้วว่าของชิ้นนั้นได้รับการตรวจสอบในเรื่องของคุณภาพและความปลอดภัย แต่หากกรอกเลขไปแล้วพบว่า ไม่มีข้อมูล ข้อมูลไม่ตรงกับสินค้า หรือปรากฎเป็นผลลิตภัณฑ์ตัวอื่น อาจแปลว่าสินค้าชิ้นนั้นสวมเลข อย. ปลอม 

    สายด่วน อย.

    หากพบความผิดปกติที่น่าสงสัยหรือพบว่าข้อมูลผลิตภัณฑ์ได้ถูกต้อง สามารถติดต่อสายด่วน อย. 1566 หรือติดต่อสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข สามารถส่งเรื่องร้องเรียนเข้ามาได้ในช่องทางออนไลน์ผ่านอีเมล [email protected] นอกจากนี้ ผู้บริโภคสามารถเดินทางมาร้องเรียนได้ที่ ศูนย์จัดการเรื่องร้องเรียนและปราบปรามการกระทำผิดกฎหมาย เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพ อาคาร 1 ชั้น 1 สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา และถ้าหากเป็นคนต่างจังหวัด ไม่สะดวกเดินทางสามารถร้องเรียนได้ที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดในพื้นที่ของตนเองได้เลย
    ข้อมูลทั้งหมดนี้ เป็นเกร็ดความรู้เกี่ยวกับเครื่องหมาย อย. ที่ผู้ประกอบการและผู้บริโภคให้ความสำคัญ ทั้งนี้อย่าลืมซื้อประกันสุขภาพ กับ แรบบิท แคร์ เพราะหากรับประทานอาหารที่ไม่มีมาตรฐาน หรือเป็น อย. ปลอม แล้วเกิดผลเสียต่อร่างกาย เช่น อาหารเป็นพิษ หรือแพ้อาหาร ก็สามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลได้ ครอบคลุมทั้งผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอก หากสนใจโทรเลย 1438


     

    บทความแคร์สุขภาพ

    Rabbit Care Blog Image 89748

    แคร์สุขภาพ

    โรคพุ่มพวงคืออะไร มีอาการอย่างไร อันตรายถึงชีวิตหรือไม่ ?

    โรคที่คนไทยเรียกกันจนติดปากว่าโรคพุ่มพวง เนื่องจากคนไทยเรารู้จักโรคนี้กันอย่างแพร่หลายเมื่อศิลปินชื่อดังอย่างคุณพุ่มพวง ดวงจันทร์
    Nok Srihong
    23/05/2024