“อย.” คืออะไร? ผลิตภัณฑ์ใดบ้างที่ต้องมี อย.? และมีวิธีเช็ค อย. ปลอมอย่างไรได้บ้าง?
อย. เป็นสิ่งที่หลายคนให้ความสนใจทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค เนื่องจากเป็นเครื่องหมายที่รับรองคุณภาพและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์นั้น ๆ หากสินค้าใดมี อย.ที่ถูกต้องชัดเจนและตรวจสอบได้ ก็จะเพิ่มความน่าเชื่อถือต่อผู้บริโภค ทำให้มั่นใจได้ว่าสินค้าดังกล่าวจะไม่ก่อให้เกิดผลเสียต่อร่างกายเมื่อรับประทานเข้าไป วันนี้ แรบบิท แคร์ จะพาทุกคนมารู้จักกับ อย. ว่ามันคืออะไร สินค้าใดจำเป็นต้องมี ขั้นตอนการจดทะเบียน อย. รวมถึงวิธีเช็กเลข อย. ไปดูกันเลย!!
Health Insurance Widget
อย. คืออะไร?
อย. ย่อมากจาก สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อังกฤษ: Food and Drug Administration, FDA) เป็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมและกำกับดูแลสินค้าอาหารและยาในประเทศ หน้าที่หลักของสำนักงานคือตรวจสอบความปลอดภัยและคุณภาพของอาหารและยา รวมถึงเวชภัณฑ์ และเครื่องสำอางค์ที่ออกสู่ตลาดเพื่อให้ผู้บริโภคได้รับสินค้าที่มีมาตรฐานและไม่เสี่ยงต่อสุขภาพ
ผลิตภัณฑ์ใดบ้างที่ต้องมี อย.?
ผลิตภัณฑ์ที่จำเป็นต้องขอ อย. ได่แก่ อาหาร, เครื่องมือแพทย์ที่ต้องมีใบอนุญาต, และ วัตถุอันตรายที่ใช้ในครัวเรือน เนื่องจากการมีเครื่องหมาย “อย.” จะเป็นการยืนยันว่าผลิตภัณฑ์นั้นได้ผ่านการตรวจสอบความปลอดภัยและมีคุณภาพตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับอาหารและยาที่มีผลต่อสุขภาพของประชาชน การมีเครื่องหมาย “อย.” เป็นสัญลักษณ์ที่ให้ความน่าเชื่อถือและสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคในการใช้ผลิตภัณฑ์นั้นๆ
ตรวจสอบเลข อย. 13 หลัก
1. เช็คเลข อย. 13 หลัก อาหาร
อาหารที่ต้องมีเครื่องหมาย อย. จะแบ่งออกเป็นทั้งหมด 3 ประเภท ได้แก่
- อาหารควบคุมเฉพาะ : อาหารบรรจุในภาชนะที่ปิดสนิท เครื่องดื่ม
- อาหารที่กำหนดคุณภาพหรือมาตรฐาน : อาหารกึ่งสำเร็จรูป น้ำบริโภคในภาชนะบรรจุปิดสนิท ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร น้ำมันพืช
- อาหารที่ต้องมีฉลาก : หมากฝรั่งหรือลูกอม ผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ อาหารพร้อมปรุง อาหารสำเร็จรูปพร้อมบริโภคทันที
สำหรับผลิตภัณฑ์ประเภทอาหาร จะมีการปรากฎเลข 13 หลัก อยู่ในกรอบเครื่องหมาย จะถูกเรียกว่า “เลขสารบบอาหาร” ซึ่งเลขเหล่านั้นแสดงข้อมูลเกี่ยวกับสินค้า เช่น สถานที่การผลิต เป็นต้น เพื่อสามารถตรวจสอบได้ง่ายเมื่อเกิดปัญหา แต่ละตัวเองจะมีความหมายดังนี้
สัญลักษณ์ อย. คือ ตัวเลข 13 หลัก: XX-X-XXXXX-X-XXXX
ลำดับที่ | ความหมาย |
เลขลำดับที่ 1 | เลขแทนตัวยาที่ออกฤทธิ์ (จะใช้ตัวเลข 1 – 2 เท่านั้น) - เลข 1 หมายถึง มีตัวยาสำคัญที่ออกฤทธิ์เพียงตัวเดียว |
เลขลำดับที่ 2 | เลขแทนประเภทของยา (ใช้ตัวอักษร A – N) เช่น - A แทนยาแผนปัจจุบันที่ใช้กับมนุษย์ซึ่งผลิตภายในประเทศ |
เลขลำดับที่ 3 - 4 | เลขแสดงลำดับการขึ้นทะเบียนตำรับยา |
เลขลำดับที่ 5 - 6 | เลขแสดงปี พ.ศ.ที่ได้รับการขึ้นทะเบียน |
2. เช็คเลข อย. เครื่องมือแพทย์
สินค้าในหมวดนี้ประกอบไปด้วยถุงยางอนามัย, ถุงมือยางสำหรับศัลยแพทย์, ชุดตรวจเชื้อ HIV, และคอนแทคเลนส์ โดยที่สัญลักษณ์ อย. จะขึ้นต้นด้วย ผ และ น จากนั้นจึงตามด้วยตัวเลข
สัญลักษณ์ อย. : ผ. XX / XXXX หรือ น. XX / XXXX
- ผ. ย่อมาจากคำว่า ผลิต
- น. ย่อมาจากคำว่า นำเข้า
- เลขสองตัวแรก หมายถึง เลขที่ใบอนุญาต
- เลขสี่ตัวหลัง หมายถึง ปี พ.ศ. ที่ได้รับอนุญาต
3. เช็คเลข อย. วัตถุอันตรายที่ใช้ในครัวเรือน
ผลิตภัณฑ์ที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายเมื่อรับประทาน สูดดม หรือสัมผัส จำเป็นต้องขอ อย. เช่น ผลิตภัณฑ์กำจัดแมลง ผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อในครัวเรือน ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดพื้นผิว
สัญลักษณ์ อย. : วอส. XX / XXXX
- วอส. ย่อมากจากคำว่า วัตถุอันตรายทางสาธารณสุข
- เลขสองตัวแรก หมายถึง เลขที่ใบอนุญาต
- เลขสี่ตัวหลัง หมายถึง ปี พ.ศ. ที่ได้รับอนุญาต
ผลิตภัณฑ์ใดบ้างที่ไม่ต้องมี อย.?
สำหรับผิตภัณฑ์ที่ไม่ต้องมี อย. ได้แก่ ยา, เครื่องสำอาง, และ เครื่องมือแพทย์ ถึงแม้ไม่ต้องจด อย. แต่จำเป็นต้องมีเลขทะเบียนตำรับยาและเลขที่ใบรับแจ้ง เพื่อเป็นการยืนยันคุณภาพและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์
1. ยา
สำหรับผลิตภัณฑ์ประเภทยา ไม่ต้องมีเครื่องหมาย อย. บนฉลากยาก็ได้ แต่ต้องมี “เลขทะเบียนตำรับยา”
สัญลักษณ์เลขทะเบียนตำรับยา : Reg no. XX XX / XX
Reg no. ย่อมาจาก Registered Number หรือเลขทะเบียน
ลำดับที่ | ความหมาย |
เลขลำดับที่ 1 | เลขแทนตัวยาที่ออกฤทธิ์ (จะใช้ตัวเลข 1 – 2 เท่านั้น) - เลข 1 หมายถึง มีตัวยาสำคัญที่ออกฤทธิ์เพียงตัวเดียว |
เลขลำดับที่ 2 | เลขแทนประเภทของยา (ใช้ตัวอักษร A – N) เช่น - A แทนยาแผนปัจจุบันที่ใช้กับมนุษย์ซึ่งผลิตภายในประเทศ |
เลขลำดับที่ 3 - 4 | เลขแสดงลำดับการขึ้นทะเบียนตำรับยา |
เลขลำดับที่ 5 - 6 | เลขแสดงปี พ.ศ.ที่ได้รับการขึ้นทะเบียน |
ตัวอย่าง 1A 17/51 หมายถึง เป็นยาแผนปัจจุบันสำหรับใช้กับมนุษย์ ผลิตภายในประเทศไทย มีตัวยาออกฤทธิ์เพียงตัวเดียว ลำดับทะเบียนเลขที่ 17 ได้รับการขึ้นทะเบียนในปี พ.ศ. 2551
2. เครื่องสำอาง
ผลิตภัณฑ์ประเภทเครื่องสำอาง จะไม่มีเครื่องหมาย อย. บนฉลาก หรือกระปุกครีม แต่จะต้องมีเลขที่ใบรับแจ้ง ประกอบไปด้วยตัวเลข 10 หลัก
สัญลักษณ์ใบรับแจ้ง : XX – X – XXXXXXX
ลำดับที่ | ความหมาย |
เลขลำดับที่ 1 - 2 | เลขจังหวัดที่ตั้งของสถานที่รับแจ้ง |
เลขลำดับที่ 3 | เลขแสดงสถานะของสถานที่และหน่วยงานที่อนุญาต (จะใช้ตัวเลข 1 – 4 แทนสถานะ) - เลข 1 หมายถึง สถานที่ผลิตอาหาร ซึ่งสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยาเป็นผู้อนุญาต |
เลขลำดับที่ 4 - 5 | เลขท้ายของปี พ.ศ.ที่อนุญาต เช่น ตัวเลข 61 แทน พ.ศ.2561 |
เลขลำดับที่ 6 - 10 | เลขลำดับของผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการอนุญาต |
3. เครื่องมือแพทย์
สำหรับเครื่องมือแพทย์ไม่ต้องมีสัญลักษณ์หรือเลข อย. แต่ต้องมีเลขที่ใบรับแจ้งเช่นเดียวกับผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง เช่น เครื่องที่ใช้เพื่อกายภาพบำบัด เครื่องตรวจระดับแอลกอฮอล์ในร่างกาย เต้านมเทียมซิลิโคน
แต่สำหรับเครื่องมือแพทย์ทั่วไป ไม่ต้องมีทั้งเครื่องหมาย อย. และเลขที่ใบรับแจ้ง เช่น เครื่องตรวจวัดความดันโลหิต เครื่องตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด เตียงผู้ป่วย รถเข็นผู้ป่วย แต่ผู้ประกอบการหรือผู้ที่นำมาขายจะต้องมีหนังสือรับรองการขายในประเทศผู้ผลิต โดยหนังสือต้องออกโดยหน่วยงานรัฐหรือสถาบันเอกชนที่รับรอง เพื่อให้สำนักงาน อย. ตรวจสอบ หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่จะออกหนังสือรับรองการนำเข้าเครื่องมือแพทย์ เพื่อใช้แสดงต่อเจ้าหน้าที่ ณ ด่านศุลกากร
หมายเหตุ : หากจะนำผลิตภัณฑ์ใดไปโฆษณา จะต้องมีการขออนุญาตจากโฆษณาผลิตภัณฑ์จากทาง อย. เช่นกัน นั่นก็คือ “ฆอ.(โฆษณาอาหาร) ฆพ (โฆษณาเครื่องมือแพทย์)” เพื่อป้องกันการอวดอ้างสรรพคุณที่เกินจริงต่อผู้บริโภค
วิธีเช็ค อย ปลอม
เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค และป้องกัน อย. ปลอม คุณสามารถตรวจสอบว่าผลิตภัณฑ์ที่จะซื้อมีเครื่องหมาย อย. เลขที่จดแจ้งหรือไม่ หรือข้อมูลตรงกับทางผู้ขายให้มาหรือไม่ สามารถทำตามวิธีละขั้นตอน ดังต่อไปนี้
- เข้าเว็บไซต์ “ตรวจสอบการอนุญาต สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข”
- กรอกข้อมูล เลขรหัส อย. เลขที่ใบจดแจ้ง เลขทะเบียนตำรับยา หรือชื่อผลิตภัณฑ์ ในช่องสืบค้นข้อมูลผลิตภัณฑ์ (รหัสจะใส่ขีดหรือไม่ก็ได้) แล้วกดค้นหา
- หากผลิตภัณฑ์นั้นได้รับการอนุญาตที่ถูกต้อง เมื่อกรอกข้อมูลเรียบร้อย จะปรากฎข้อมูลของสินค้าได้แก่ ประเภทผลิตภัณฑ์ ใบสำคัญ (เลข อย.) ชื่อผลิตภัณฑ์ไทย – อังกฤษ ชื่อผู้รับอนุญาต Newcode (เลขอ้างอิงใบรับแจ้งการนำเข้าผลิตภัณฑ์) และสถานะของผลิตภัณฑ์
เพียงเท่านี้ผู้บริโภคก็สามารถมั่นใจได้แล้วว่าของชิ้นนั้นได้รับการตรวจสอบในเรื่องของคุณภาพและความปลอดภัย แต่หากกรอกเลขไปแล้วพบว่า ไม่มีข้อมูล ข้อมูลไม่ตรงกับสินค้า หรือปรากฎเป็นผลลิตภัณฑ์ตัวอื่น อาจแปลว่าสินค้าชิ้นนั้นสวมเลข อย. ปลอม
สายด่วน อย.
หากพบความผิดปกติที่น่าสงสัยหรือพบว่าข้อมูลผลิตภัณฑ์ได้ถูกต้อง สามารถติดต่อสายด่วน อย. 1566 หรือติดต่อสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข สามารถส่งเรื่องร้องเรียนเข้ามาได้ในช่องทางออนไลน์ผ่านอีเมล [email protected] นอกจากนี้ ผู้บริโภคสามารถเดินทางมาร้องเรียนได้ที่ ศูนย์จัดการเรื่องร้องเรียนและปราบปรามการกระทำผิดกฎหมาย เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพ อาคาร 1 ชั้น 1 สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา และถ้าหากเป็นคนต่างจังหวัด ไม่สะดวกเดินทางสามารถร้องเรียนได้ที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดในพื้นที่ของตนเองได้เลย
ข้อมูลทั้งหมดนี้ เป็นเกร็ดความรู้เกี่ยวกับเครื่องหมาย อย. ที่ผู้ประกอบการและผู้บริโภคให้ความสำคัญ ทั้งนี้อย่าลืมซื้อประกันสุขภาพ กับ แรบบิท แคร์ เพราะหากรับประทานอาหารที่ไม่มีมาตรฐาน หรือเป็น อย. ปลอม แล้วเกิดผลเสียต่อร่างกาย เช่น อาหารเป็นพิษ หรือแพ้อาหาร ก็สามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลได้ ครอบคลุมทั้งผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอก หากสนใจโทรเลย 1438
เป็นนักเขียนสายสุขภาพและการเงินที่มีประสบการณ์ในการเขียนมากมาย โดยได้ฝากผลงานในหลากหลายรูปแบบที่เน้นด้านบริหารร่างกายและจิตใจ ทำงานที่ Rabbit Care และ Asia Direct ได้อย่างมืออาชีพ