แคร์สุขภาพ

อยากไปตรวจภายใน ต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้างนะ?

ผู้เขียน : คะน้าใบเขียว
คะน้าใบเขียว

นักเขียนรุ่นไฮบริด เขียนบทความด้านการบริหารเงินส่วนบุคคลและการลงทุนต่าง ๆ กว่า 7 ปี เริ่มต้นที่งานเขียนที่ Rabbit Finance จนย้ายมาที่ Rabbit Care และ Asia Direct

close
linkedin icon
แก้ไขโดย : Nok Srihong
Nok Srihong

มีประสบการณ์มากกว่า 3 ปี เป็นนักเขียนด้านประกันสุขภาพ ประกันชีวิต เพื่อสุขภาพที่ Rabbit Care และ Asia Direct และ 12 ปี ในอุตสาหกรรม OTA อย่าง Laterooms.com , Expedia.com จึงมีความเชี่ยวชาญด้านการท่องเที่ยว จบการศึกษาปริญญาตรี สาขาการจัดการการเงิน มหาวิทยาลัยขอนแก่น

close
linkedin icon
 
Published: August 15,2022
  
Last edited: March 19, 2024
ตรวจภายใน

ตรวจสุขภาพประจำปีเป็นเรื่องที่สำคัญที่ไม่ควรพลาด และสำหรับผู้หญิงแล้วนอกจากเรื่องการตรวจสุขภาพประจำปี การตรวจภายในก็เป็นอีกหนึ่งเรื่องสำคัญที่ไม่ควรพลาด แต่เรื่องตรวจภายในสำหรับหลายคนอาจจะเป็นเรื่องใหญ่ และเรื่องใหม่! 

แบบนี้จะต้องเตรียมตัวอย่างไรดี? ถ้าอยากไปตรวจภายใน มีข้อห้ามอะไรเป็นพิเศษรึเปล่า ถ้าอยากตรวจ เริ่มต้นได้ตั้งแต่อายุเท่าไหร่? ตรวจภายใน ราคาแพงไหม? อยากตรวจภายในที่ไหนดี? ตรวจภายใน ด้วยประกันสังคมได้ไหม? วันนี้ แรบบิท แคร์ จะมาชวนสาว ๆ ทุกวัยไปเตรียมตัวกัน!

ตรวจภายในคืออะไร ทำไมเราต้องตรวจ? 

ตรวจภายใน (Per Vaginal Examination) คือ การตรวจอวัยวะในอุ้งเชิงกรานของเพศหญิงทั้งภายนอกและภายใน ได้แก่ อวัยวะเพศภายนอก,ช่องคลอด, ปากมดลูก, มดลูก, ปีกมดลูก, รังไข่ และเนื้อเยื่อที่อยู่รอบ ๆ อวัยวะดังกล่าว โดยการตรวจภายในจะช่วยตรวจค้นหาและคัดกรองความผิดปกติทั้งที่มีอาการและโรคที่ไม่แสดงอาการ  เช่น ก้อนเนื้องอกที่มดลูก มะเร็งปากมดลูกในระยะแรก เป็นต้น

ซึ่งการตรวจภายในจะช่วยให้ผู้ตรวจทราบถึงความเสี่ยงต่าง ๆ รวมไปถึงสามารถเข้ารับการรักษาได้อย่างทันท่วงที และช่วยป้องกันไม่ให้โรคลุกลามได้ โดยผลการตรวจส่วนใหญ่สามารถทราบผลภายในหนึ่งวัน ยกเว้นรอผลตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกที่จะต้องใช้เวลาประมาณ 1 สัปดาห์

ส่วนสาเหตุที่ต้องตรวจภายในนั่น เนื่องจากอวัยวะภายในของผู้หญิงมีความซับซ้อนและเป็นระบบปิด หากมีอะไรเปลี่ยนแปลง เช่น การมีเพศสัมพันธ์ การตั้งครรภ์ และการคลอดก็ล้วนแต่ส่งผลกระทบได้ทันที และยังอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคและความผิดปกติต่าง ๆ ภายในอวัยวะสืบพันธุ์ได้อีกด้วย

เตรียมตัวตรวจภายใน

ปัจจุบัน หลายโรงพยาบาลเพิ่มความสะดวกสบายให้ โดยมีการลิสต์โปรแกรมตรวจภายในโดยเฉพาะ สำหรับการตรวจภายใน ราคาเริ่มต้นตั้งแต่หลักพันต้น ๆ จนถึงหลักหลายพัน ซึ่งจะขึ้นกับรายการที่ต้องการตรวจ และในหลาย ๆ โรงพยาบาลก็ได้เปิดโอกาสให้เราสามารถใช้บัตรเครดิตรูดจ่ายโปรแกรมตรวจภายในได้อีกด้วย!

หรือสำหรับใครที่มีงบในกระเป๋า แต่อยากตรวจภายใน ประกันสังคมก็มีสิทธิให้กับผู้ประกันตนที่เป็นสมาชิก สามารถตรวจสุขภาพเต้านมและมะเร็งปากมดลูกฟรีเช่นกัน! เพียงแสดงบัตรประชาชนเพื่อเข้ารับบริการตรวจสุขภาพโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย แต่ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขของทางประกันสังคม

สรุปแล้วหากอยากตรวจภายในให้ครบทุกรายการความเสี่ยง ควรเลือกซื้อโปรแกรมตรวจภายในโดยเฉพาะจะช่วยตรวจหาโรคนรีเวชได้ครบถ้วนมากกว่า แต่ถ้าหากใครที่ต้องการตรวจหาเฉพาะมะเร็งปาดมดลูก ใช้สิทธิ์ตรวจภายใน ประกันสังคม ก็เพียงพอแล้ว!

ตรวจภายใน

แบบนี้เริ่มตรวจภายในตั้งแต่ตอนไหนดี?

ตามหลักการแล้ว แพทย์จะแนะนำให้ผู้หญิงอายุ 25 – 30 ปีขึ้นไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้หญิงที่มีอายุ 35 ปี ขึ้นไป  แต่ในกรณีที่มีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุยังน้อย สามารถเข้ารับการตรวจได้เลยโดยไม่ต้องรอให้อายุถึง 25 ปี นอกจากนี้ กลุ่มที่ควรตรวจ เช่น ผู้ป่วยที่เคยผ่าตัดเอามดลูกออก, ผู้หญิงที่มีบุตรยาก และผู้หญิงที่เริ่มตั้งครรภ์ รวมถึงผู้ที่จะเริ่มคุมกำเนิด, ผู้ที่เคยตรวจพบโรคติดเชื้อจากการมีเพศสัมพันธ์ หรือความผิดปกติอื่น ๆ และแม้แต่ผู้ที่ได้รับวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก HPV ก็ยังคงต้องเข้ารับการตรวจและคัดกรองมะเร็งปากมดลูกสม่ำเสมอ หรือตามแพทย์นัด

ไม่เพียงเรื่องของอายุและกลุ่มเสี่ยงที่ควรตรวจแล้ว หากมีอาการผิดปกติดั่งต่อไปนี้ แรบบิท แคร์ ขอแนะนำว่า ควรเข้ารับการตรวจภายในทันที เพราะภายในของคุณอาจจะกำลังมีปัญหา!

  • มีประจำเดือนมามากนานกว่า 35 วัน หรือน้อยผิดปกติสั้นกว่า 21 วัน
  • ประจำเดือนมากะปริดกะปรอย มีลิ่มเลือดปน มีกลิ่นเหม็น
  • ตกขาวอาจมีปริมาณมากขึ้น หรือมีสีเปลี่ยนไป เช่น สีเขียว, สีเหลือง ในบางรายอาจมีกลิ่นแรงขึ้น หรือลักษณะเปลี่ยนไปเป็นลักษณะมูกสีขาวข้นคล้ายแป้ง
  • ปวดท้องน้อย ทั้งที่มีและไม่มีประจำเดือน
  • พบผื่น หรือติ่งเนื้อที่อวัยวะเพศภายนอก
  • มีอาการแสบคันในช่องคลอด
  • คลำพบก้อนที่ท้องน้อย

เบื้องต้นแล้ว ทางแพทย์ได้ให้คำแนะนำไว้ว่า ผู้หญิงที่เคยมีเพศสัมพันธ์แล้ว ควรตรวจภายในทุก ๆ 1-2 ปี หลังจากนั้น หากเป็นไปได้ควรเข้ารับการตรวจเป็นประจำทุกปีเหมือนการตรวจสุขภาพทั่วไป เพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดโรค แม้จะไม่มีอาการผิดปกติใด ๆ ก็ตาม 

นอกจากนี้ ยังควรตรวจควบคู่กับการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกทุก 3 ปี เนื่องจากอวัยวะในอุ้งเชิงกรานส่วนใหญ่มักไม่แสดงอาการ แต่หากผลตรวจเป็นปกติติดต่อกัน 3 ครั้ง หรือมีอายุมากกว่า 55 ปี ขึ้นไป แพทย์อาจให้เว้นระยะห่างการตรวจครั้งถัดไป

ตรวจภายในตอนอายุเท่าไหร่

ตรวจภายในแล้ว จะเจอโรคอะไรบ้างนะ?

สำหรับโรคที่เราจะพบได้จากการตรวจภายในนั้น หลัก ๆ จะมีอวัยวะภายใน ได้แก่ รังไข่, ท่อนำไข่, มดลูก, เยื่อบุโพรงมดลูก, ช่องคลอด, อวัยวะสืบพันธุ์ส่วนนอก ซึ่งเราจะสามารถตรวจค้นหาโรคภายในได้ ดังนี้

  • ช็อกโกแลตซีสต์ (เยื่อบุโพรงมดลูกเกาะผิดที่)
  • มะเร็งปากมดลูก
  • มะเร็งรังไข่
  • เนื้องอกในมดลูก
  • โรคตกขาวมาก
  • โรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่
  • โรคถุงน้ำในรังไข่
  • โรคทางนรีเวชอื่น ๆ เช่น ช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย หรือเชื้อรา, มะเร็งโพรงมดลูก เป็นต้น

จะเห็นได้ว่า ปัจจุบันเราสามารถเลือกได้ว่าจะไปตรวจภายในที่ไหนดี ไม่ว่าจะเป็น ตรวจภายใน ประกันสังคม หรือซื้อโปรแกรมการตรวจเอง และการตรวจภายในนั้นสำคัญไม่แพ้การตรวจสุขภาพประจำปีเลย ต่อให้ไม่เคยมีเพศสัมพันธ์ก็ควรตรวจเมื่อถึงวัยเสี่ยง เพราะช่วยในเรื่องตรวจหาโรคภายในต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี ช่วยให้คุณวางแผนชีวิตต่าง ๆ ได้อีกด้วย ไม่ว่าจะเป็น การออกกำลังกาย การเลือกทานอาหาร หรือแม้แต่การเลือกทำประกันชีวิตตั้งแต่เนิ่น ๆ หรือประกันสุขภาพที่ช่วยคุณเบิกเคลมได้ในอนาคต

ตรวจภายใน

เตรียมตัวกันให้พร้อม ก่อนไปตรวจภายในกันดีกว่า!

สำหรับการเตรียมตัวก่อนไปตรวจภายในนั้น เบื้องต้นทางแพทย์มีเงื่อนไขว่า ควรเข้าตรวจเมื่อประจำเดือนหมดสนิทประมาณ 1 สัปดาห์ หรือเข้ารับการตรวจในช่วงก่อนมีประจำเดือนรอบถัดไปประมาณ 1 สัปดาห์ เนื่องจากช่วงที่มีประจำเดือนจะมีโอกาสติดเชื้อได้ง่าย แต่หากอยากตรวจวินิจฉัยในขณะที่มีประจำเดือน สามารถมาพบแพทย์โดยไม่ต้องรอให้ประจำเดือนหยุดก่อน

สำหรับคนที่ไม่เคยมีเพศสัมพันธ์ ตรวจครั้งแรก หรือคนโสด ตรวจภายใน รู้สึกเขินอายหรือกังวล สามารถแจ้งพยาบาลหรือเจ้าหน้าที่ได้ เพราะทางเจ้าหน้าที่จะได้เตรียมการตรวจไว้ให้ทุกอย่างราบรื่นมากขึ้น เช่น มีเจ้าหน้าที่ แพทย์ หรือพยาบาลหญิง คอยช่วยดูแล หรือการใช้เครื่องมือตรวจที่เหมาะสม มีการใช้เจลหล่อลื่นช่วยให้การตรวจไม่เจ็บ เพื่อให้การตรวจนั้นราบรื่น

ส่วนขั้นตอนการเตรียมตัวอื่น ๆ ก่อนรับการตรวจจะมี ดังนี้

  • สามารถทำความสะอาดบริเวณช่องคลอดได้ แต่ต้องทำความสะอาดด้วยสบู่ธรรมดาโดยล้างแค่ภายนอกเท่านั้น ไม่ต้องสวนล้างช่องคลอดข้างใน เพราะการสวนล้างอาจทำให้ส่วนที่เป็นสาเหตุของโรคถูกชำระล้างออกไปด้วย ทำให้แพทย์ไม่สามารถตรวจวินิจฉัยได้หรือตรวจไม่พบ
  • ไม่ต้องทาแป้งหรือฉีดสเปรย์เพื่อดับกลิ่นใด ๆ 
  • ไม่ควรใช้ยาเหน็บทางช่องคลอดก่อนการตรวจ  2 วัน
  • หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ก่อนเข้ารับการตรวจ  2  วัน เพื่อให้การตรวจเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และผลตรวจวินิจฉัยไม่คลาดเคลื่อนไปจากความเป็นจริง

ตรวจภายใน ประกันสังคม

  • สวมเสื้อผ้าที่ใส่สบาย เพื่อให้ง่ายต่อการเข้าตรวจ
  • สำหรับที่มีปัญหาตกขาว สามารถตรวจได้โดยไม่ต้องพยายามชำระล้างเพื่อให้แพทย์เห็นปริมาณและตรวจหาเชื้อได้
  • ไม่จำเป็นต้องโกนขน เพราะอาจทำให้การตรวจไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร เนื่องจากโรคบางโรคจะต้องวินิจฉัยโดยดูลักษณะของขนบริเวณอวัยวะเพศด้วย นอกจากนี้ การโกนขนจะทำให้อวัยวะเพศบอบบางลงกว่าเดิม และอาจเกิดการติดเชื้อหรือเป็นเชื้อราได้ง่ายเช่นกัน
  • ปัสสาวะให้เรียบร้อยก่อน เพื่อจะได้ไม่รู้สึกปวดปัสสาวะขณะตรวจ

ตรวจภายใน ราคา

โดยจะใช้เวลาสั้น ๆ ประมาณ 10 นาที เท่านั้น โดยแพทย์จะส่งเซลล์ที่ได้ไปยังห้องปฏิบัติการหรือส่งต่อไปอัลตราซาวนด์หรือเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ซึ่งขึ้นอยู่กับความผิดปกติและความเสี่ยงของแต่ละคน

หลังจากนั้นแพทย์อาจมีการซักประวัติ สอบถามคนไข้เพิ่มเติม โดยเฉพาะในบางรายที่มีอาการความผิดปกติเกี่ยวกับระบบสืบพันธุ์ โดยผู้ตรวจควรตอบคำถามแพทย์ตามเป็นจริง เพื่อให้การวินิจฉัยต่าง ๆ ทำได้ราบรื่นยิ่งขึ้น และหากมีข้อสงสัยสามารถสอบถามแพทย์ได้เช่นกัน

จะเห็นได้ว่า การตรวจภายในไม่ได้เป็นน่ากลัวอย่างที่ใครหลายคนคิด การเตรียมตัวก่อนตรวจก็ไม่มีอะไรที่ยุ่งยาก แถมการตรวจเป็นประจำยังช่วยให้คุณรู้ทันโรคร้ายที่อาจจะเกิดขึ้นได้อีกด้วย!

แต่การจะรอให้โรคภัยเกิดขึ้นก่อนอาจไม่ทันกาล ดังนั้นการเลือกทำประกันโรคร้ายไว้ก่อนเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เลือกทำ ประกันโรคร้ายแรง กับ แรบบิท แคร์ 

คุ้มครองโรคร้ายอย่างมะเร็ง และโรคร้ายแรงอื่น ๆ ตามเงื่อนไขของกรมธรรม์ ครอบคลุมถึงเรื่องค่ารักษาพยาบาล ไม่เดือดร้อนเรื่องค่ารักษา ไม่ต้องสำรองจ่ายก่อน ช่วยให้คนที่คุณรักไม่ต้องกังวลกับเรื่องการเงิน อุ่นใจได้มากขึ้น ด้วยระบบการเปรียบเทียบประกันสุขภาพ ประกันโรคร้ายแรงต่าง ๆ หรือประกันสุขภาพสำหรับผู้หญิงที่ช่วยให้คุณเลือกรูปแบบประกันได้ตรงใจ ตรงไลฟ์สไตล์ มากยิ่งขึ้น พร้อมบริการเสริมอีกมากมาย คลิกเลย!


 

บทความแคร์สุขภาพ

Rabbit Care Blog Image 89748

แคร์สุขภาพ

โรคพุ่มพวงคืออะไร มีอาการอย่างไร อันตรายถึงชีวิตหรือไม่ ?

โรคที่คนไทยเรียกกันจนติดปากว่าโรคพุ่มพวง เนื่องจากคนไทยเรารู้จักโรคนี้กันอย่างแพร่หลายเมื่อศิลปินชื่อดังอย่างคุณพุ่มพวง ดวงจันทร์
Nok Srihong
23/05/2024