แคร์สุขภาพ

รู้จักผ้าอนามัยแบบสอด ตัวช่วยเด็ดของสาว ๆ ซื้อที่ไหน ใส่อย่างไร มีข้อดีข้อเสียอย่างไร อะไรบ้างที่ต้องระวัง ?

ผู้เขียน : Nok Srihong

มีประสบการณ์มากกว่า 3 ปี เป็นนักเขียนด้านประกันสุขภาพ ประกันชีวิต เพื่อสุขภาพที่ Rabbit Care และ Asia Direct และ 12 ปี ในอุตสาหกรรม OTA อย่าง Laterooms.com , Expedia.com จึงมีความเชี่ยวชาญด้านการท่องเที่ยว จบการศึกษาปริญญาตรี สาขาการจัดการการเงิน มหาวิทยาลัยขอนแก่น

close
linkedin icon
 
 
Published: November 16,2023
ผ้าอนามัยแบบสอด

ผ้าอนามัยแบบสอด อีกทางเลือกในการสวมใส่ผ้าอนามัยที่ถือเป็นตัวช่วยเด็ดยามฉุกเฉินของสาว ๆ ที่ผู้หญิงแทบทุกคนที่อยู่ในช่วงวัยเจริญพันธุ์คงได้ยินและรู้จักกันมากบ้าง และแน่นอนว่าสำหรับบางคนผ้าอนามัยแบบสอดก็ไม่ใช่สิ่งใกล้ตัวที่คุ้นเคย แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้จริง ๆ ว่าหากถึงคราวจำเป็นขึ้นมาผ้าอนามัยชนิดนี้นั้นก็ถือเป็นตัวช่วยที่ดีในการแก้สถานการณ์ฉุกเฉินตรงหน้า 

ดังนั้นวันนี้ แรบบิท แคร์ จึงเลือกที่จะหยิบยกประเด็นเกี่ยวกับผ้าอนามัยแบบสอดขึ้นมา ว่าเจ้าผ้าอนามัย แบบสอดนี้สามารถหาซื้อได้ที่ไหน มีข้อดี-ข้อเสียอย่างไร ? วิธีใส่ผ้าอนามัยแบบสอดนั้นต้องทำอย่างไร การใส่ผ้าอนามัย แบบสอดอันตรายหรือไม่ ? เด็กสาวอายุน้อยสามารถใส่ได้ไหม เมื่อต้องใส่มีอะไรบ้างที่ควรระวัง ?

เปรียบเทียบประกันสุขภาพกับ Rabbit Care พิเศษ! ผ่อน 0% นานสูงสุด 10 เดือน
icon angle up or down

เลือกแผนประกันสุขภาพที่คุณสนใจ

    ชื่อนามสกุล

    หมายเลขโทรศัพท์

    ผ้าอนามัยแบบสอด คืออะไร ?

    ผ้าอนามัยแบบสอด คือ ผ้าอนามัยที่ถูกออกแบบมาสำหรับการใช้งานเพื่อสอดเข้าไปในช่องคลอดเพื่อดูดซับประจำเดือน ทำจากผ้าฝ้าย เรยอน หรือผ้าฝ้ายผสมเรยอน ซึ่งสามารถช่วยในการดูดซับประจำเดือนของคุณผู้หญิงได้เป็นอย่างดี

    แต่ทั้งนี้ในประเทศไทยเรายังไม่เป็นที่นิยมมากนัก เนื่องจากเงื่อนไขในเรื่องของการสวมใส่ผ้าอนามัย แบบสอดที่ค่อนข้างยาก สาว ๆ จึงมักจะนิยมใช้ผ้าอนามัย แบบสอดกันเฉพาะช่วงเวลาฉุกเฉินที่ต้องการการคล่องตัวในการทำกิจกรรม เช่น การเล่นกีฬา หรือการว่ายน้ำนั่นเอง

    ประโยชน์ของผ้าอนามัยแบบสอด

    สาว ๆ บางคนที่ยังไม่เข้าใจว่าทำไมเราถึงจำเป็นต้องใช้ผ้าอนามัยแบบสอด มีข้อดีหรือประโยชน์อย่างไร ข้อดีของการใช้ผ้าอนามัยแบบสอดก็คือ

    • มีประสิทธิภาพในการจัดการกับประจำเดือนที่ดีกว่าเมื่อต้องเล่นกีฬาหรือกิจกรรมกลางแจ้ง เนื่องจากผ้าอนามัยแบบสอดนั้นจะให้ความรู้สึกที่คล่องตัว ไม่อึดอัด และไม่ต้องคอยกังวลใจว่าผ้าอนามัยจะเลื่อนหลุดหรือห่อตัวเหมือนการใช้ผ้าอนามัยแบบแผ่น
    • สามารถใช้ขณะอยู่ในน้ำได้ เมื่อจำเป็นที่จะต้องลงน้ำหรือว่ายน้ำขณะมีประจำเดือน ผ้าอนามัยแบบสอดนับเป็นทางเลือกที่ดีที่จะช่วยดูดซับประจำเดือนไม่ให้เลอะออกมาภายนอก แต่เมื่อขึ้นจากน้ำแล้วควรรีบเปลี่ยนผ้าอนามัยทันที เนื่องจากแม้ว่าผ้าอนามัยแบบสอดนั้นจะช่วยดูดซึมประจำเดือนไม่ให้เลอะออกมาได้ดี แต่ไม่มีคุณสมบัติกันน้ำ
    • สะดวกต่อการพกพา เนื่องจากมีขนาดเล็ก พกพาง่าย เวลาต้องเดินทางไปไหนก็ไม่จำเป็นต้องพกห่อใหญ่ ๆ เหมือนผ้าอนามัยชนิดแผ่นนั่นเอง

    ข้อเสียของผ้าอนามัยแบบสอด

    แน่นอนว่าเมื่อผ้าอนามัยแบบสอดมีประโยชน์และข้อดี แน่นอนว่าก็ย่อมต้องมีข้อเสียเช่นกัน มาดูข้อเสียที่ทำให้สาว ๆ หลายคนเลือกที่จะไม่ใช้ผ้าอนามัยแบบสอดกัน

    พบแพทย์ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับข้อเสียของผ้าอนามัยแบบสอดไว้ว่า

    • สำหรับสาว ๆ ที่ยังไม่เคยมีเพศสัมพันธ์การใช้ผ้าอนามัย แบบสอดนั้นอาจก่อให้เกิดอาการเกร็งภายในช่องคลอดอย่างรุนแรงหรือทำให้เยื่อพรหมจรรย์ฉีกขาดได้
    • ทำการสวมใส่ยาก หากใส่ไม่ถูกวิธีอาจทำให้เกิดการปนเปื้อนเชื้อโรคและนำไปสู่การติดเชื้อได้
    • เสี่ยงต่อการติดเชื้อรุนแรง อีกทั้งยังก่อให้เกิดกลุ่มอาการท็อกซิกช็อก (Toxic Shock syndrome: TSS) ที่เป็นอันตรายถึงชีวิตได้

    กลุ่มอาการท็อกซิกช็อก (Toxic Shock syndrome: TSS) คืออะไร ?

    กลุ่มอาการท็อกซิกช็อกจากการใช้ผ้าอนามัยแบบสอด หรือ การติดเชื้อในกระแสเลือด นั้นเป็นผลข้างเคียงที่อันตรายที่สุดในการใช้ผ้าอนามัย แบบสอด ซึ่งแม้ว่าการติดเชื้อเช่นนี้จะเป็นภาวะที่เกิดขึ้นได้น้อยมาก แต่กลับก่อให้เกิดผลลัพธ์ที่น่ากลัวและร้ายแรงจนอาจถึงขั้นทำให้เสียชีวิตได้ 

    โดยสาเหตุของการเกิดภาวะดังกล่าวนั้นจากการใส่ผ้าอนามัย แบบสอดนั้น สาเหตุจะเกิดขึ้นจากพิษของเชื้อแบคทีเรียสแตฟิโลค็อกคัส ออเรียส (Staphylococcus Aureus) กลุ่มเอที่มีความรุนแรงเป็นอย่างมาก ซึ่งจะสามารถที่จะเกิดขึ้นได้กับผู้ที่ใช้ผ้าอนามัย แบบสอดชนิดซึมซับได้ดีเป็นพิเศษ 

    เนื่องจากเมื่อใช้ผ้าอนามัยที่สามารถดูดซับได้ดีเป็นพิเศษแล้วนั้น ก็จะทำให้ระยะห่างหรือระยะเวลาของการเปลี่ยนผ้าอนามัยยาวนานขึ้น จนก่อให้ความเสี่ยงในการติดเชื้อและเชื้อได้กระจายเข้าสู่กระแสเลือดในที่สุด 

    โดยเมื่อเกิดการติดเชื้อในกระแสเลือดดังกล่าวจากการใส่ผ้าอนามัย แบบสอดจะส่งผลให้มีอาการดังนี้

    • ผู้ป่วยมีอาการไข้สูงเฉียบพลัน
    • มีอาการความดันโลหิตต่ำ
    • มีอาการท้องเสีย หรือมีอาการอาเจียนอย่างรุนแรง
    • มีอาการผื่นคล้ายถูกแดดเผาขึ้นบริเวณฝ่ามือและฝ่าเท้า
    • มีอาการปวดศีรษะ และ/หรือเกิดอาการมึนงง
    • มีอาการปวดบริเวณกล้ามเนื้อ
    • มีอาการตา ปาก และคอที่แดงผิดปกติ
    • เกิดอาการชัก

    ดังนั้นหากสาว ๆ คนไหนที่ได้ทำการใช้ผ้าอนามัย แบบสอด ไม่ว่าจะเป็นระยะเวลานานหรือสั้นและพบว่าตนเองมีอาการอย่างใดอย่างหนึ่งที่เข้าข่ายว่าอาจเกิดจากการติดเชื้อในกระแสเลือดและเป็นหนึ่งในอาการของกลุ่มอาการท็อกซิกช็อก ควรหยุดใช้ผ้าอนามัย และรีบไปพบแพทย์โดยทันที

    วิธีใส่ผ้าอนามัยแบบสอด

    ผ้าอนามัยแบบสอด อันตรายไหม ?

    เมื่ออ่านมาจนถึงตรงนี้หลายคนอาจเริ่มตั้งข้อสงสัยกันว่าแล้วสรุปผ้าอนามัยแบบสอดนั้นอันตรายหรือไม่ ปลอดภัยในการใช้งานไหม สำหรับการบอกว่าการใส่ผ้าอนามัยแบบสอดนั้นอันตรายหรือไม่นั้นอาจขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่างที่อาจเกิดได้จากวิธีปฏิบัติตนในการใส่ ว่าระหว่างการใส่นั้นได้ทำการใส่ผ้าอนามัยแบบสอดอย่างถูกวิธีหรือไม่ ได้ดูแลความสะอาดระหว่างขั้นตอนการใส่เป็นอย่างดีไหม และได้ทำการเปลี่ยนผ้าอนามัยแบบสอดตามระยะเวลาที่ควรเปลี่ยนหรือไม่ (ควรเปลี่ยนทุก 4-6 ชั่วโมง) รวมถึงระหว่างที่ใส่ผ้าอนามัยแบบสอดนั้นผู้ใส่ทำกิจกรรมอะไร สิ่งเหล่านี้จะเป็นตัวตัดสินและตัวบ่งบอกว่าการใส่ผ้าอนามัยแบบสอดในครั้งนั้นของคุณอันตรายหรือไม่ เพราะหากทำทุกอย่างถูกต้องด้วยความระมัดระวังการเลือกใส่ผ้าอนามัยแบบสอดก็ไม่ได้มีอันตรายอะไรที่ร้ายแรง

    วิธีการใส่และวิธีการถอด ผ้าอนามัยแบบสอด

    ในส่วนของวิธีการใส่ผ้าอนามัยแบบสอดนั้น จะมีอยู่ทั้งหมด 2 วิธีด้วยกัน นั่นก็คือ

    วิธีใส่ผ้าอนามัยแบบสอดโดยใช้นิ้วมือช่วย

    • ทำการล้างมือให้สะอาดก่อนหยิบผ้าอนามัย
    • ใช้นิ้วที่สะอาดช่วยเปิดช่องคลอดเล็กน้อย
    • ใส่ผ้าอนามัย แบบสอดเข้าไปในช่องคลอด
    • ใช้นิ้วชี้ช่วยดันผ้าอนามัยเข้าไปประมาณ 2 ข้อนิ้วมือ

    วิธีใส่ผ้าอนามัยแบบสอดโดยใช้อุปกรณ์ช่วย

    • ทำการล้างมือให้สะอาดก่อนหยิบผ้าอนามัย
    • จับที่ปลายด้ามผ้าอนามัย แบบสอด
    • ใช้นิ้วที่สะอาดช่วยเปิดช่องคลอดเล็กน้อย
    • ใช้นิ้วดันปลายก้านพลาสติกเพื่อดันให้ผ้าอนามัยเข้าไปภายในช่องคลอด
    • ดันตัวผ้าอนามัย แบบสอดเข้าไปให้สุด
    • ดึงปลอกพลาสติกออก

    วิธีใส่ถอดอนามัยแบบสอด

    • ใช้นิ้วช่วยเปิดช่องคลอดเล็กน้อย
    • ถอดผ้าอนามัย แบบสอดออกด้วยการดึงปลายเชือก
    • ทำการห่อกระดาษให้มิดชิดและทิ้งลงถังขยะให้เรียบร้อย

    ทั้งนี้วิธีการใช้งานผ้าอนามัยแบบสอดมักมีคู่มือการใช้งานพร้อมรูปภาพติดมากับกล่อง หากสาว ๆ คนไหนที่ยังเป็นมือใหม่ยังไม่ค่อยเข้าใจลองศึกษาวิธีการใช้ที่กล่องดูได้ ไม่ยากอย่างแน่นอน

    ผ้าอนามัยแบบสอด 7-11 ราคา

    ข้อห้าม-สิ่งที่ควรระวังเมื่อใช้ผ้าอนามัยแบบสอด

    • หากไม่จำเป็นไม่ควรใส่ตอนนอน
    • ระวังการติดเชื้อท็อกซิกช็อก
    • ห้ามใส่ระหว่างการมีเพศสัมพันธ์เด็ดขาด
    • หากทำตกให้ทิ้งทันทีห้ามนำมาใช้เด็ดขาด

    ผ้าอนามัยแบบสอด เด็กใส่ได้ไหม

    สำหรับเด็กสาวอายุยังน้อยที่เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์นั้นก็สามารถใส่ผ้าอนามัยแบบสอดได้ แต่ว่าจะไม่แนะนำเท่าไหร่ เพราะอาจเสี่ยงทำให้เกิดอาการบาดเจ็บจากการเกร็งของช่องคลอดทำให้เยื่อพรหมจรรย์ฉีกขาดได้ รวมถึงอาจจะยังดูแลเรื่องความสะอาดเพื่อป้องกันความเสี่ยงในการเกิดการติดเชื้อได้ไม่ดี

    ผ้าอนามัยแบบสอดแพงหรือไม่ ?

    สำหรับเรื่องราคาของผ้าอนามัยแบบสอดนั้นมีให้เลือกหลากหลายเรตราคา ไม่ว่าจะหาซื้อจากร้านขายยา หรือร้านสะดวกซื้อต่าง ๆ  เช่น ผ้าอนามัยแบบสอด 7-11 ราคาก็จะมีเริ่มต้นตั้งแต่ 50 บาท ไปจนถึงเรตราคา 185 บาท หรือ 200 กว่าบาทเลยก็มี

    หลังจากทราบเรื่องราวที่จำเป็นต้องรู้ วิธีใส่ วิธีการดูแลรักษาความสะอาด รวมถึงวิธีการลดความเสี่ยงในการเกิดการติดเชื้อหรือความเสี่ยงในการเกิดอันตรายต่อร่างกายเมื่อใส่ผ้าอนามัยแบบสอดกันไปแล้ว ต้องไม่ลืมที่จะต้องพึงระลึกไว้เสมอว่าสุขภาพภายในของคุณผู้หญิงนั้นเป็นสิ่งสำคัญมาก อีกทั้งยังมีความอ่อนไหวเปราะบาง รวมถึงเสี่ยงที่จะเกิดโรคต่าง ๆ ได้อยู่ตลอดเวลา


    ดังนั้นเพื่อเป็นการดูแลสุขภาพร่างกายภายในและลดความเสี่ยงในอนาคตอย่าลืมเลือกทำประกันสุขภาพกันไว้ จะได้อุ่นใจลดภาระค่าเสียหายจากปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้นในอนาคตได้ ติดต่อปรึกษา แรบบิท แคร์ ได้เลย!


     

    บทความแคร์สุขภาพ

    Rabbit Care Blog Image 89748

    แคร์สุขภาพ

    โรคพุ่มพวงคืออะไร มีอาการอย่างไร อันตรายถึงชีวิตหรือไม่ ?

    โรคที่คนไทยเรียกกันจนติดปากว่าโรคพุ่มพวง เนื่องจากคนไทยเรารู้จักโรคนี้กันอย่างแพร่หลายเมื่อศิลปินชื่อดังอย่างคุณพุ่มพวง ดวงจันทร์
    Nok Srihong
    23/05/2024