แคร์สุขภาพ

ถ้วยอนามัยคืออะไร มีข้อดีอย่างไร? ทำไมถึงควรใช้? วิธีใส่และการทำความสะอาดอย่างถูกวิธี

ผู้เขียน : Nok Srihong
Nok Srihong

มีประสบการณ์มากกว่า 3 ปี เป็นนักเขียนด้านประกันสุขภาพ ประกันชีวิต เพื่อสุขภาพที่ Rabbit Care และ Asia Direct และ 12 ปี ในอุตสาหกรรม OTA อย่าง Laterooms.com , Expedia.com จึงมีความเชี่ยวชาญด้านการท่องเที่ยว จบการศึกษาปริญญาตรี สาขาการจัดการการเงิน มหาวิทยาลัยขอนแก่น

close
linkedin icon
แก้ไขโดย : คะน้าใบเขียว
คะน้าใบเขียว

นักเขียนรุ่นไฮบริด เขียนบทความด้านการบริหารเงินส่วนบุคคลและการลงทุนต่าง ๆ กว่า 7 ปี เริ่มต้นที่งานเขียนที่ Rabbit Finance จนย้ายมาที่ Rabbit Care และ Asia Direct

close
linkedin icon
 
Published: March 5,2024
  
Last edited: July 16, 2024
ถ้วยอนามัย

ถ้วยอนามัยอีกหนึ่งไอเทมเด็ดที่สาว ๆ ควรรู้จักเอาไว้ เพราะนอกจากจะช่วยแก้ปัญหาให้กับสาว ๆ ที่แพ้ผ้าอนามัยได้แล้ว ก็ยังช่วยประหยัดเงินในกระเป๋า รวมถึงเป็นอีกหนึ่งวิธีเล็ก ๆ ในการเริ่มต้นรักษาสิ่งแวดล้อมได้ และสำหรับใครที่ยังไม่ทราบหรือไม่รู้จักว่าถ้วยอนามัยนั้นคืออะไร ? วันนี้ แรบบิท แคร์ ได้รวบรวมข้อมูลมาให้ ทั้งชนิดของถ้วยอนามัย ข้อดี-ข้อควรระวัง และการเลือกไซส์ วิธีใช้และวิธีทำความสะอาดสารพัดเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับไอเทมเด็ดชิ้นนี้มาให้ได้ทำความเข้าใจกัน

เปรียบเทียบประกันสุขภาพกับ Rabbit Care พิเศษ! ผ่อน 0% นานสูงสุด 10 เดือน
icon angle up or down

เลือกแผนประกันสุขภาพที่คุณสนใจ

    ชื่อนามสกุล

    หมายเลขโทรศัพท์

    ถ้วยอนามัยคืออะไร ?

    ถ้วยอนามัย หรือที่บางคนอาจเรียกว่าผ้าอนามัยแบบถ้วย คือ อุปกรณ์สำหรับดูแลสุขอนามัยของสาว ๆ และคุณผู้หญิงทั้งหลาย ซึ่งมีจุดประสงค์ในการใช้งานเหมือนกันกับผ้าอนามัยแบบทั่วไป ที่จะช่วยรองรับประจำเดือน แต่จะมีรูปร่างและลักษณะการใช้งานที่แตกต่างจากผ้าอนามัยแบบปกตินั่นเอง 

    ถ้วย อนามัยนั้นจะมีลักษณะเป็นทรงกรวยคล้ายกับถ้วยและที่บริเวณก้นถ้วยด้านนอกจะมีก้านเล็ก ๆ ยาวออกมาจากบริเวณก้นถ้วย วัสดุที่ใช้ทำส่วนใหญ่จะทำจากยางหรือซิลิโคน ทำให้มีความยืดหยุ่นสูงและพับได้ อีกทั้งลักษณะการใช้จะเป็นการนำมาล้างทำความสะอาดและนำกลับมาใช้ซ้ำได้ ไม่ใช่การใช้แล้วทิ้งเหมือนกันผ้าอนามัยทั่วไป ซึ่งแม้ปัจจุบันการใช้ถ้วย อนามัยจะยังไม่แพร่หลายนักในประเทศไทย แต่ในหลาย ๆ ประเทศก็ได้รับความนิยมมากเลยทีเดียว

    ถ้วยอนามัยมีกี่ชนิด ?

    สำหรับชนิดของถ้วยอนามัยนั้น ปัจจุบันในท้องตลาดจะมีอยู่ทั้งหมด 2 ชนิดด้วยกัน ได้แก่

    • ชนิดแรก : เป็นชนิดสอดใส่เข้าไปในบริเวณช่องคลอด จะมีลักษณะรูปร่างเหมือนกับระฆัง ใช้สอดใส่เข้าไปในบริเวณช่องคลอดโดยไม่ต้องใส่ลึกมาก 
    • ชนิดที่สอง : เป็นชนิดครอบปากมดลูก จะมีรูปร่างลักษณะเหมือนถ้วย และจะสอดใส่เข้าไปค่อนข้างลึกจนชิดกับบริเวณปากมดลูก

    ถ้วยอนามัยทำจากอะไร ?

    สำหรับคนที่สงสัยว่าถ้วยอนามัยนั้นทำมาจากอะไร สะอาดปลอดภัยจนสามารถใส่เข้าไปในช่องคลอดได้จริงหรือไม่ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลให้ข้อมูลของถ้วยอนามัยว่า สำหรับวัสดุที่ใช้ทำนั้นอาจมีความแตกต่างกันไป ซึ่งวัสดุที่ใช้บ่อยก็จะเป็นเทอร์โมพลาสติก, อีลาสโตเมอร์ ซิลิโคนทางการแพทย์ และน้ำยาง ซึ่งวัสดุที่เลือกใช้จะมีความยืดหยุ่นสูง แข็งแรงทนทาน ใช้แล้วนำมาล้างเพื่อใช้ซ้ำได้ อาจใช้ซ้ำได้นานถึง 10 ปีเลยทีเดียว

    ถ้วยอนามัย

    ขนาดของถ้วยอนามัย

    เมื่อทราบแล้วว่าการใช้ถ้วย อนามัยนั้นจะต้องใส่เข้าไปในช่องคลอด คุณผู้หญิงหลาย ๆ คนคงเกิดความกังวลขึ้นบ้าง โดยเฉพาะสาว ๆ อายุยังน้อยที่อาจกังวลเรื่องขนาด สำหรับผ้าอนามัยแบบถ้วยนั้นจะมีให้เลือกใช้ทั้งหมด 3 ขนาด ทั้งไซส์ S,M,L โดยจะแบ่งเป็นไซส์ที่เหมาะสมกับผู้ใช้งาน ดังนี้

    • ไซส์ S เหมาะกับวัยรุ่นที่มีอายุน้อยกว่า 18 ปี และยังไม่เคยมีลูก
    • ไซส์ M เหมาะกับผู้หญิงในช่วงอายุ 18-30 ปี ซึ่งยังไม่เคยคลอดบุตร, ไม่เคยคลอดบุตรผ่านช่องคลอด , เคยคลอดบุตรผ่านช่องคลอดแต่ช่องคลอดไม่กว้าง
    • ไซส์ L เหมาะกับผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 30 ปี และเคยผ่านการคลอดบุตรตามธรรมชาติผ่านช่องคลอด หรือมีประจำเดือนมามาก

    ทั้งนี้การเลือกใช้ขนาดอาจขึ้นอยู่กับปัจจัยจำเพาะของแต่ละบุคคล ทั้งในด้านความยืดหยุ่นของช่องคลอด และปริมาณประจำเดือนว่ามีมากน้อยแค่ไหน สามารถลองปรับให้เหมาะสมกับตนเองได้ เลือกไซส์ที่เหมาะสมก็จะสามารถใช้งานได้อย่างสะดวกสบาย ไม่ต้องกังวลใจระหว่างการใช้งาน

    ก้านของถ้วยอนามัยมีกี่แบบ ?

    อย่างที่ทราบกันไปแล้วว่าลักษณะของถ้วย อนามัยนั้นจะมีลักษณะเป็นถ้วยและมีก้านจับบริเวณก้นของถ้วยยื่นออกมา ซึ่งก้านจับเหล่านั้นจะจะถูกแบ่งออกเป็น 3 แบบด้วยกัน ซึ่งจะส่งผลต่อกับจับและดึงที่แตกต่างกัน โดยจะมีลักษณะและคุณสมบัติที่แตกต่างกัน ดังนี้

    • ก้านจับแบบปกติ เป็นรูปแบบของก้านซิลิโคนหนาที่มักจะทำจากยาง สามารถจับได้ง่าย จึงทำให้สามารถดึงถ้วยออกมาได้ค่อนข้างง่ายนั่นเอง
    • ก้านจับแบบแบน จะมีรูปแบบที่คล้ายกับก้านจับแบบปกติ แต่จะถูกทำให้แบนลง เพื่อให้ง่ายต่อการจับและดึงมากยิ่งขึ้น
    • ก้านจับแบบปลายมน ก้านจับแบบนี้นั้นจะมีห่วงทรงกลมเล็กๆ อยู่ที่ที่ปลายซิลิโคน ซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวช่วยจับและทำให้นิ้วของผู้ใช้งานไม่หลุดออกมาง่าย ๆ เมื่อต้องการดึงออก

    และทั้งหมดนี้ก็คือก้านจับทั้ง 3 แบบที่มีลักษณะแตกต่างกันไป แต่ล้วนทำออกมาเพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถใช้งานได้อย่างสะดวกสบายมากที่สุด ใครถนัดใช้ถ้วยอนามัยที่มีก้านจับแบบไหนก็ลองเลือกดูกันได้ตามใจชอบได้เลย

    ข้อดีของถ้วยอนามัย

    ข้อดี

    สำหรับใครที่ต้องการทราบเกี่ยวกับข้อดีของถ้วยอนามัยว่ามีข้อดีอย่างไรให้น่าลองเปลี่ยนมาใช้บ้าง ความจริงแล้วถ้วยอนามัยมีข้อดีมากมาย ดังนี้

    • สามารถนำกลับมาใช้ซ้ำได้ เนื่องจากทำมาจากวัสดุที่เป็นยางหรือซิลิโคนซึ่งมีความยืดหยุ่นและความแข็งแรงทนทานสูงทำให้สามารถใช้งานได้นานหลายปี
    • ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม ลดขยะ ลดภาระค่าใช้จ่าย เนื่องจากสามารถนำมาใช้ซ้ำได้ทำให้ช่วยลดปริมาณขยะและค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือนของสาว ๆ ได้เป็นอย่างดี
    • สามารถรองรับประจำเดือนได้ค่อนข้างดี โดยปกติแล้วสาว ๆ จำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนผ้าอนามัยทุก ๆ 4-6 ชั่วโมง แต่สำหรับถ้วยอนามัยนั้นสามารถรองรับประจำเดือนได้มากสูงสุดถึง 12 ชั่วโมงเลยทีเดียว ทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับปริมาณของประจำเดือนว่ามามากน้อยแค่ไหน แต่อย่างไรก็ตามเพื่อสุขอนามัยที่ดีก็ควรเปลี่ยนอย่างน้อย 1-2 ครั้งต่อวัน
    • ช่วยลดกลิ่นไม่พึงประสงค์ ถ้วยอนามัยนั้นจะช่วยลดโอกาสที่ประจำเดือนจะระเหยออกมาสัมผัสอากาศภายนอกได้ จึงทำให้ลดโอกาสในการเกิดกลิ่นไม่พึงประสงค์ได้เป็นอย่างดี
    • ลดการติดเชื้อและค่อนข้างปลอดภัย หากใช้อย่างถูกต้องและมีการทำความสะอาดอย่างถูกวิธีการใช้ผ้าอนามัยแบบถ้วยจะช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อจากการใช้ผ้าอนามัยแบบสอดได้ และยังไม่เสี่ยงต่อการเกิดอาการแพ้เหมือนผ้าอนามัยชนิดแผ่นอีกด้วย

    ข้อควรระวังของถ้วยอนามัย

    • ควรเลือกขนาดที่เหมาะสมกับตนเองโดยอาจปรึกษากับเภสัชกรอย่างละเอียดก่อนตัดสินใจเลือกซื้อ
    • เมื่อจำเป็นต้องล้างทำความสะอาดในห้องน้ำสาธารณะจำเป็นต้องระมัดระวังเรื่องสุขอนามัยให้ดี
    • สำหรับผู้ที่แพ้ยางหรือแพ้ซิลิโคนอาจเสี่ยงต่อการระคายเคืองต่อผิวหนังภายในช่องคลอด และหากทำความสะอาดได้ไม่ดีพอก็อาจเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้
    • ส่วนใหญ่จะไม่สามารถใช้ร่วมกับห่วงอนามัยได้ แต่ก็มีบางประเภทที่ใช้ร่วมกับห่วงอนามัยได้เช่นกัน ดังนั้นจึงควรปรึกษาแพทย์ให้แน่ใจก่อนทุกครั้ง
    • ต้องให้ความสำคัญในการทำความสะอาดอย่างถูกวิธีและเก็บรักษาอย่างถูกต้องเหมาะสมเพื่อสุขอนามัยที่ดีและป้องกันการติดเชื้อ

    วิธีใส่ถ้วยอนามัย

    • อ่านคำแนะนำที่มาพร้อมกับถ้วยอนามัยอย่างละเอียด
    • ก่อนสัมผัสถ้วยอนามัยต้องล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำอุ่นและใช้สบู่ล้างมืออย่างน้อย 20 วินาที
    • ก่อนใช้ถ้วยอนามัยครั้งแรกล้างถ้วยอนามัยด้วยสบู่อ่อน ๆ ที่ไม่มีน้ำหอมและเป็นสูตรอ่อนโยน
    • นั่งอยู่ในท่าที่รู้สึกสบายตัว
    • ทำการพับถ้วยอนามัยเพื่อให้ง่ายต่อการใส่ ตัวก้านของถ้วยอนามัยต้องหันลงด้านล่าง
    • ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ ห้ามเกร็ง จากนั้นค่อย ๆ ดันถ้วยอนามัยที่พับไว้เข้าไปในช่องคลอด
    • บิดถ้วยอนามัยเพื่อให้เข้าที่โดยการจับฐานถ้วยด้านข้าง จากนั้นหมุนอย่างน้อย 1 ครั้งจนได้ยินเสียงดัง ‘ป็อป’ เป็นสัญญาณว่าถ้วยอนามัยแนบสนิท

    วิธีใส่ถ้วยอนามัย

    วิธีทำความสะอาดถ้วยอนามัย

    • ทำการตรวจดูถ้วยอนามัยทุก 12 ชั่วโมง
    • นั่งบนโถส้วมเพื่อเตรียมดึงถ้วยอนามัยออกมา
    • ดึงถ้วยออกมาโดยการจับยึดฐานของถ้วยบริเวณเหนือก้านเอาไว้บีบด้านข้างเข้าหากันก่อนค่อย ๆ ดึงออก
    • เทประจำเดือนลงในโถส้วม (ห้ามให้ถ้วยอนามัยตกลงไปในโถส้วมเด็ดขาด)
    • หากไม่สามารถล้างได้ทันทีสามารถใช้กระดาษชำระเช็ดทำความสะอาดและใส่เข้าไปใหม่
    • เมื่อล้างได้ควรทำการล้างถ้วยอนามัยด้วยน้ำอุ่นและสบู่อ่อน ๆ ที่ไม่มีน้ำหอมและเป็นสูตรอ่อนโยน
    • ฆ่าเชื้อถ้วยอนามัยด้วยการต้มฆ่าเชื้อประมาณ 5-7 นาที

    ถ้วยอนามัยเหมาะกับใคร ?

    • เหมาะกับผู้ที่ต้องมีเวลาในการดูแลรักษาทำความสะอาดถ้วยอนามัยอย่างถูกวิธี
    • ผู้ที่มีอาการแพ้ผ้าอนามัยแบบแผ่น
    • ผู้ที่ต้องการประหยัดค่าใช้จ่ายในการซื้อผ้าอนามัย
    • ผู้ที่ต้องการช่วยลดปริมาณขยะและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

    สรุป

    และข้อมูลทั้งหมดนี้ก็คือข้อมูลพื้นฐานที่ควรรู้ไว้สำหรับสาว ๆ ผู้ที่สนใจในการเปลี่ยนมาดูแลสุขอนามัยด้วยถ้วยอนามัย ลองศึกษาข้อดี-ข้อเสียก่อนทำการตัดสินใจ ทั้งนี้ไม่ว่าจะเลือกดูแลตนเองแบบไหนก็ไม่ควรที่จะละเลยการทำประกันสุขภาพไว้ เพราะสุขภาพร่างกายของผู้หญิงเรานั้นค่อนข้างมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคภัย ป้องกันเอาไว้อุ่นใจกว่าแน่นอน


     

    บทความแคร์สุขภาพ

    Rabbit Care Blog Image 89748

    แคร์สุขภาพ

    โรคพุ่มพวงคืออะไร มีอาการอย่างไร อันตรายถึงชีวิตหรือไม่ ?

    โรคที่คนไทยเรียกกันจนติดปากว่าโรคพุ่มพวง เนื่องจากคนไทยเรารู้จักโรคนี้กันอย่างแพร่หลายเมื่อศิลปินชื่อดังอย่างคุณพุ่มพวง ดวงจันทร์
    Nok Srihong
    23/05/2024