แคร์ยานยนต์

ตั้งศูนย์คืออะไร เมื่อไหร่ควรตั้งศูนย์

ผู้เขียน : กองบรรณาธิการ

ทีมกองบรรณาธิการ กลุ่มนักเขียนผู้มีประสบการณ์ด้านรถยนต์ การเงิน และประกันภัย ของ แรบบิท แคร์ ที่เปิดดำเนินการมาแล้วมากกว่า 10 ปี

close
Published February 04, 2020

คงเป็นคำถามที่เพื่อนๆนึกเสมอว่าเปลี่ยนยางใหม่ต้องตั้งศูนย์ใช่ไหมล่ะครับ วันนี้ทาง ไทร์บิด ของเราจะมาให้คำแนะนำการเรื่องตั้งศูนย์กันครับ รถทุกคันปกติแล้วจะมีมุมองศาล้อของรถที่ทางผู้ผลิตเซตตั้งขึ้นมาเพื่อให้รถขับตรงเมื่อมีการกดทับของน้ำหนัก แต่การที่จะให้ล้อมีมุมที่ถูกต้องนั่นก็ไม่ใช่เพียงเราต้องตั้งศูนย์ก็ทำให้รถใช้งานได้อย่างปกติครับยังคงมีปัจจัยในส่วนของเรื่องช่วงล่างซึ่งเมื่อเพื่อนใช้รถไปนานๆอาจมีการคลายตัวของน๊อตบ้างเล็กน้อย หรือไม่ว่าเพื่อนๆจะไปตกหลุมหรือชนกระแทกมาอะไหล่ต่างๆเสียหายอาจจะส่งผลทำให้มีล้อนั้นไม่อยู่ในองศาที่ถูกต้องในระยะยาวแม้จะตั้งศูนย์แล้วก็ตาม ซึ่งการที่ศูนย์ล้อไม่ได้มาตรฐานนั่นจะส่งผลให้ยางมีความผิดปกติโดยการสึกนั่นจะเป็นสึกโดยเฉพาะไหล่ยางริมขอบใดขอบหนึ่งครับและยังส่งผลให้การขับขี่ที่มีการดึงซ้ายบ้างขวาบ้างครับ ดังนั้นเมื่อรถมีปัญหาเรื่องศูนย์ของรถเราควรที่จะเช็คช่วงล่างก่อนแล้วค่อยนำไปตั้งศูนย์ครับเพื่อให้ใช้งานได้ผลดีในระยะยาวไม่ใช่เปลี่ยนยางล้อใหม่แล้วตั้งศูนย์ครับซึ่งเป็นความเข้าใจผิดๆของเพื่อนๆหลายๆท่านอยู่ครับ

งั้นเรามาลงรายละเอียดอีกนิดนะครับว่าลักษณะมุมหลักๆของที่ร้านเวลาตั้งศูนย์มีอะไรบ้างนะครับ

มุมโท (Toe)

อย่างแรกเลย คือ มุมโท ถ้าเราเปรียบเทียบกับเท้าเราเหมือนเราเดินเท้าเป็นรูปตัว V ซึ่งหากเป็นกรณีดังกล่าวเพื่อนๆคงนึกภาพออกใช่ไหมครับว่ามุมด้านในยางจะมีการแถไปเรื่อยๆซึ่งจะทำให้มุมด้านในสึกมากกว่าปกติครับ ซึ่งหากมุมนี่ยิ่งผิดปกติมากเท่าไหร่ยางยิ่งสึกเร็วมากขึ้นเท่านั้นครับ ซึ่งในมุมกลับกันก็เช่นกันดังนั้นการตั้งศูนย์ที่ดีก็ควรที่จะตั้งเพื่อให้ยางขนานกัน

มุมแคมเบอร์ (Camber)

เป็นมุมที่สำคัญอีกหนึ่งมุมครับก็เปรียบเทียบง่ายๆคือ เหมือนคนเดินเท้าแบะครับ จะทำให้น้ำหนักลงที่ยางแค่ฝั่งเดียวซึ่งถ้าเป็นยางก็จะทำให้หน้ายางฝั่งใดฝั่งหนึ่งที่แบะจะมีการรับน้ำหนักที่มากกว่า ซึ่งจะทำให้ยางบริเวณนั้นสึกได้เร็วมากกว่าอีกฝั่งครับ

มุมแคสเตอร์ (Caster)

อันนี่คือความขนานในแนวแกนตั้งครับ ถ้าเปรียบก็คือคนขาโก่งครับ ซึ่งอาจทำให้น้ำหนักลงมากเกินไปหากยิ่งมุมองศาผิดไปจากที่รถตั้งมาก็อาจจะทำให้น้ำหนักลงที่ยางมากเกินไป ซึ่งจะทำให้ยางสึกเร็วมากขึ้นครับ

โดยทั่วไปแล้ว ควรตั้งศูนย์รถยนต์ทุก ๆ 6,000-10,000 กิโลเมตร หรืออย่างน้อยปีละ 2 ครั้งครับ ในกรณีที่รถมีการใช้งานรถยนต์มาอย่างหนัก หรือ ผู้ที่มีลักษณะการขับรถบนถนนขรุขระเป็นประจำ ควรตั้งศูนย์รถยนต์บ่อยขึ้น เช่น ทุก ๆ 3,000-5,000 กิโลเมตร หรือทุก ๆ 6 เดือน

สัญญาณที่บ่งบอกว่าควรตั้งศูนย์รถยนต์

หากพบสัญญาณเหล่านี้ ควรรีบนำรถไปตั้งศูนย์รถยนต์โดยเร็ว เพื่อความปลอดภัยในการขับขี่และยืดอายุการใช้งานของยาง สัญญาณที่บ่งบอกว่าควรตั้งศูนย์รถยนต์ ได้แก่

  • รถยนต์กินเลน
  • รถยนต์สั่นขณะขับขี่
  • ยางสึกหรอไม่เท่ากัน
  • ยางมีเสียงดัง
  • บังคับเลี้ยวยาก

นอกจากการตั้งศูนย์รถยนต์แล้ว ควรหมั่นตรวจสอบและดูแลยางรถยนต์อย่างสม่ำเสมอ เพื่อความปลอดภัยในการขับขี่และยืดอายุการใช้งานของยางอีกด้วยนะครับ

ทั้งหมดทั้งมวลสิ่งที่ทางไทร์บิดอยากให้เพื่อนๆเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องตั้งศูนย์ก็คือ การเปลี่ยนยางใหม่นั้นไม่ได้กระทบกับศูนย์ล้อเดิมๆแน่นอนครับไม่จำเป็นต้องตั้งทุกครั้งหากศูนย์ล้อเดิมเราไม่ได้มีปัญหา หรือหากมีปัญหาก่อนที่จะนำรถไปตั้งศูนย์นั้นเพื่อนๆควรเช็คช่วงล่างให้เรียบร้อยก่อน แล้วค่อนนำรถไปตั้งศูนย์ครับเพื่อให้ระยะยาวศูนย์ของรถจะได้ไม่กลับมาเพี้ยนอีกครับ ถ้าหากเพื่อนๆมีข้อสงสัยเรื่องยางรถยนต์การดูแลยางรถยนต์สามารถสอบถามเข้ามาทางไทร์บิดได้ทางช่องทาง Line@ : @tiresbid ครับเพราะทางเราพร้อมจะให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องยางกับเพื่อนๆมากขึ้นครับ

บทความที่เกี่ยวข้อง

สนใจทำประกันรถยนต์ติดต่อ Rabbit Care ได้ทันที 


บทความแคร์ยานยนต์

แคร์ยานยนต์

เติมน้ำมันก่อนราคาขึ้นคุ้มจริงไหม? แล้วระหว่างเต็มถัง กับครึ่งถัง อะไรคุ้มกว่ากัน

เคยมีความคิดซับซ้อน หรือถามตัวเองซ้ำ ๆ กันไหมว่าในยุคที่เชื้อเพลิงแพงขนาดนี้ เราเติมน้ำมันกันยังไงให้คุ้มค่าที่สุดในแต่ละรอบ?
Thirakan T
17/04/2024

แคร์ยานยนต์

ทำไมรถยนต์สีขาวมุก ถึงมีราคาแพงมากกว่าสีขาวธรรมดา

ไหนออกรถทั้งใครเล็งสีอะไรไว้บ้าง? มีใครที่ชอบสีขาวมุกและเคยคิดอยากถามกันไหมว่า ทำไมสีนี้ถึงต้องมีบวกราคาเพิ่มเติมมากกว่าสีขาวธรรมดา ซึ่งจะมีบวกกันประมาณ
Thirakan T
12/04/2024

แคร์ยานยนต์

รถบินได้ มีจริงไหม? ตอนนี้มีคอนเซปต์หรือโมเดลไหนน่าจับตามอง

กี่ครั้งแล้วที่เราเห็นข่าวรถบินได้ปรากฎออกบนโลกออนไลน์นับหลายปี แต่กลับไม่ได้ติดตามอย่างเป็นจริงเป็นจังกันอีกครั้งว่ามันสามารถใช้งานได้มากน้อยแค่ไหน
Thirakan T
09/04/2024