รวมฤกษ์หมั้น 2567 ต้องการวันมงคลสวมแหวนหมั้นวันไหน เช็กได้ที่นี่!
ฤกษ์หมั้นนับเป็นเวลามงคลที่คุณต้องให้ความสำคัญไม่แพ้ฤกษ์แต่งงานเลยทีเดียว เพราะมีความเชื่อมาอย่างยาวนานว่าหากเลือกวันหมั้นที่เหมาะสมกับดวงชะตาก็จะนำพาความรักที่ยั่งยืนมาให้ อีกทั้งยังส่งผลให้งานแต่งของคู่รักออกมาราบรื่นอีกด้วย สำหรับใครที่วางแผนสละโสดในปีนี้ และกำลังมองหาฤกษ์มงคลเพื่อไปสวมแหวนหมั้น แรบบิท แคร์ ขอนำฤกษ์หมั้น 2566 ข้อมูลรายละเอียดการดูฤกษ์หมั้น รวมถึงพิธีหมั้นแบบไทยและพิธีหมั้นแบบจีนมีข้อแตกต่างกันอย่างไร รวมถึงทริค ตลอดจนการจัดพิธีหมั้นงานหมั้นแบบบ้าน ๆ สำหรับคนที่มีงบจำกัด มาให้กับทุกคนตามบทความนี้
ฤกษ์หมั้นสำคัญอย่างไร?
ความเป็นมาของฤกษ์หมั้น ต้องเริ่มอธิบายก่อนว่าตามความเชื่อสมัยโบราณนั้นงานหมั้นจะจัดก่อนวันแต่ง เพราะการหมั้นนั้นจะเป็นพิธีให้ว่าที่เจ้าบ่าวมอบแหวนหมั้นให้กับว่าที่เจ้าสาวก่อน เหมือนเป็นการให้คำมั่นสัญญากันว่าจะมาครองคู่แต่งงานแน่นอน อีกทั้งยังเป็นการให้เกียรติกับพ่อแม่และเครือญาติของทางฝั่งว่าที่เจ้าสาวด้วย โดยในระยะเวลาหลังจากหมั้นจนถึงแต่งงานก็จะเป็นช่วงที่ให้ทางฝ่ายคู่รักดูใจกัน รวมถึงเปิดโอกาสให้ตระเตรียมงานแต่งอย่างสมเกียรติด้วย
ด้วยเหตุนี้การดูฤกษ์หมั้นจึงมีความสำคัญ เพราะช่วงเวลาในการสวมแหวนหมั้นนั้นจะต้องเป็นเวลามงคล เป็นเวลาประกาศให้ครอบครัวทั้งสองฝั่งรวมถึงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ได้รับทราบ หากใครทำพิธีหมั้นตามฤกษ์มงคลแล้วเชื่อว่าจะทำให้ความรักของทั้งสองฝ่ายราบรื่นไม่เกิดอุปสรรคนั่นเอง
ฤกษ์งานหมั้นนั้นถือว่าเป็นเวลาสำคัญต่อชีวิตคู่ ดังนั้นก่อนที่จะทำพิธีหมั้นก็ควรดูฤกษ์มงคลให้เรียบร้อย โดยส่วนมากแล้วคนไทยมักจะให้พระเกจิสงฆ์ หมอดู และอาจารย์ซินแสเป็นผู้ดูฤกษ์วัน และเวลามงคลให้ หรือคุณสามารถใช้ฤกษ์มงคลที่ระบุอยู่ในปฏิทินหน่ำเอี๊ยงเป็นฤกษ์หมั้นก็ได้เช่นกัน โดยเราแนะนำว่าให้ดูวันไว้สัก 2-3 วัน เผื่อมีการเปลี่ยนแปลงกำหนดการภายหลัง
ฤกษ์หมั้นมงคล ฤกษ์หมั้นเดือนมกราคม 2567
- วันพฤหัสบดี ที่ 4 มกราคม 2567
- วันเสาร์ ที่ 6 มกราคม 2567
- วันเสาร์ ที่ 20 มกราคม 2567
- วันอังคาร ที่ 23 มกราคม 2567
- วันจันทร์ ที่ 29 มกราคม 2567
ฤกษ์หมั้นมงคล ฤกษ์หมั้นเดือนกุมภาพันธ์ 2567
- วันศุกร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ 2567
- วันพฤหัสบดีที่ 8 กุมภาพันธ์ 2567
- วันศุกร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ 2567
- วันพฤหัสบดีที่ 22 กุมภาพันธ์ 2567
- วันพุธที่ 28 กุมภาพันธ์ 2567
ฤกษ์หมั้นมงคล ฤกษ์หมั้นเดือนมีนาคม 2567
- วันอาทิตย์ ที่ 3 มีนาคม 2567
- วันอังคาร ที่ 5 มีนาคม 2567
- จันทร์ ที่ 8 มีนาคม 2567
- วันเสาร์ ที่ 9 มีนาคม 2567
- วันเสาร์ ที่ 16 มีนาคม 2567
- วันอังคาร ที่ 19 มีนาคม 2567
- วันศุกร์ ที่ 22 มีนาคม 2567
- วันพฤหัสบดี ที่ 28 มีนาคม 2567
ฤกษ์หมั้นเดือนเมษายน 2567
- วันจันทร์ ที่ 1 เมษายน 2567
- วันอาทิตย์ ที่ 7 เมษายน 2567
- วันจันทร์ ที่ 15 เมษายน 2567
- วันพฤหัสบดี ที่ 18 เมษายน 2567
- วันอาทิตย์ ที่ 21 เมษายน 2567
- วันเสาร์ ที่ 27 เมษายน 2567
ฤกษ์หมั้นมงคล ฤกษ์หมั้นเดือนพฤษภาคม 2567
- วันศุกร์ ที่ 3 พฤษภาคม 2567
- วันอังคาร ที่ 7 พฤษภาคม 2567
- วันอังคาร ที่ 14 พฤษภาคม 2567
- วันศุกร์ ที่ 17พฤษภาคม 2567
- วันจันทร์ ที่ 20 พฤษภาคม 2567
- วันอาทิตย์ ที่ 26 พฤษภาคม 2567
- วันพฤหัสบดี ที่ 30 พฤษภาคม 2567
ฤกษ์หมั้นเดือนมิถุนายน 2567
- วันเสาร์ ที่ 1 มิถุนายน 2567
- วันพฤหัสบดี ที่ 13 มิถุนายน 2567
- วันอาทิตย์ ที่ 16 มิถุนายน 2567
- วันอังคาร ที่ 25 มิถุนายน 2567
- วันเสาร์ ที่ 29 มิถุนายน 2567
ฤกษ์หมั้นเดือนกรกฎาคม 2567
- วันศุกร์ ที่ 5 กรกฎาคม 2567
- วันศุกร์ ที่ 12 กรกฎาคม 2567
- วันจันทร์ ที่ 15 กรกฎาคม 2567
- วันพฤหัสบดี ที่ 18 กรกฎาคม 2567
- วันอาทิตย์ ที่ 28 กรกฎาคม 2567
- วันอังคาร ที่ 30 กรกฎาคม 2567
ฤกษ์หมั้นเดือนสิงหาคม 2567
- วันเสาร์ ที่ 3 สิงหาคม 2567
- วันอาทิตย์ ที่ 11 สิงหาคม 2567
- วันเสาร์ ที่ 17 สิงหาคม 2567
- วันศุกร์ ที่ 23 สิงหาคม 2567
- วันอังคาร ที่ 27 สิงหาคม 2567
- วันพฤหัสบดี ที่ 29 สิงหาคม 2567
ฤกษ์หมั้นมงคล ฤกษ์หมั้นเดือนกันยายน 2567
- วันจัทร์ ที่ 2 กันยายน 2567
- วันจันทร์ ที่ 9 กันยายน 2567
- วันพฤหัสบดี ที่ 12 กันยายน 2567
- วันอาทิตย์ ที่ 15 กันยายน 2567
- วันเสาร์ ที่ 21 กันยายน 2567
- วันศุกร์ ที่ 27 กันยายน 2567
ฤกษ์หมั้นเดือนตุลาคม 2567
- วันอังคาร ที่ 1 ตุลาคม 2567
- วันเสาร์ ที่ 12 ตุลาคม 2567
- วันอังคาร ที่ 15 ตุลาคม 2567
- วันจันทร์ ที่ 21 ตุลาคม 2567
- วันศุกร์ ที่ 25 ตุลาคม 2567
- วันอาทิตย์ ที่ 27 ตุลาคม 2567
- วันพฤหัสบดี ที่ 31 ตุลาคม 2567
ฤกษ์หมั้นเดือนพฤศจิกายน 2567
- วันพฤหัสบดี ที่ 7 พฤศจิกายน 2567
- วันอาทิตย์ ที่ 10 พฤศจิกายน 2567
- วันอังคาร ที่ 19 พฤศจิกายน 2567
- วันเสาร์ ที่ 23 พฤศจิกายน 2567
- วันจันทร์ ที่ 25 พฤศจิกายน 2567
- วันศุกร์ ที่ 29 พฤศจิกายน 2567
ฤกษ์หมั้นเดือนธันวาคม 2567
- วันเสาร์ ที่ 7 ธันวาคม 2567
- วันอังคาร ที่ 10 ธันวาคม 2567
- วันศุกร์ ที่ 13 ธันวาคม 2567
- วันพฤหัสบดี ที่ 19 ธันวาคม 2567
- วันจันทร์ ที่ 23 ธันวาคม 2567
- วันอาทิตย์ ที่ 29 ธันวาคม 2567
จัดพิธีหมั้นต้องทำอย่างไร?
อย่างที่กล่าวไปว่าฤกษ์หมั้นนั้นมีความสำคัญแต่เพื่อความสมบูรณ์แบบของการจัดงานมงคล น้องค์ขอแชร์พิธีหมั้นมาฝากด้วย การจัดพิธีหมั้นควรเป็นไปตามธรรมเนียมที่ทั้งสองฝ่ายยอมรับ นอกจากนี้อาจดูงบและสถานที่เข้ามาประกอบเพื่อให้งานหมั้นออกมาตรงตามความต้องการ เพราะหากงานหมั้นถือเป็นก้าวแรกของชีวิตคู่ หากออกมาดีดวงชะตาความรักก็จะเสริมสร้างให้ทั้งสองฝ่ายครองรักกันยาวนานด้วย ทั้งนี้คุณสามารถหาฤกษ์หมั้นเพื่อจัดงานหมั้นไว้ก่อนแล้วค่อยหาวันเหมาะสมสำหรับจัดงานแต่งตามมา หรือจะจัดงานหมั้นในตอนเช้าแล้วจัดงานแต่งในตอนบ่ายก็ได้เช่นกัน
พิธีหมั้นแบบไทย
หลังจากหากฤกษ์หมั้นได้ก็ให้ตระเตรียมสถานที่ ซึ่งตามแบบไทยแล้วมักจะจัดขึ้นที่บ้านของเจ้าสาว โดยมีขั้นตอนตามลำดับดังนี้
1. พิธีแห่ขันหมาก โดยฝ่ายเจ้าบ่าวจะต้องยกขบวนขันหมากมาสู่ขอเจ้าสาว ซึ่งจะมีของมงคลต่าง ๆ ใส่พาน มีญาติเจ้าบ่าวและเพื่อเจ้าบ่าวตั้งขบวนขันหมากไปสู่ขอเจ้าสาว ส่วนญาติและเพื่อนฝ่ายเจ้าสาวก็จะเตรียมกั้นประตูเงินประตูทอง เมื่อขันหมากเคลื่อนผ่านก็ต้องใส่ซองให้ผ่านไปถึงเจ้าสาวได้ ซึ่งการตั้งขันหมากนั้นถือว่าเป็นเอกลักษณ์ของพิธีหมั้นแบบไทยเลยทีเดียว
2. ทำพิธีสงฆ์ โดยนิมนต์พระ 9 รูปมาประกอบพิธีบูชาพระรัตนตรัย และรับศีล รวมถึงทำพิธีถวายภัตตาหาร ซึ่งนับเป็นการสร้างกุศลก่อนที่จะเริ่มต้นชีวิตคู่
3. ฝ่ายญาติผู้ใหญ่เจ้าบ่าวเจรจาสู่ขอเจ้าสาว เมื่อตกลงกันเรียบร้อยแล้วก็จะมีการนับสินสอดร่วมกัน
4. เมื่อถึงเวลาฤกษ์หมั้น ทั้งสองฝ่ายก็จะสวมแหวนหมั้นให้แก่กัน เพื่อเป็นคำมั่นสัญญาว่าจะมีการนัดหมายแต่งงานกันต่อไป โดยมีญาติทั้งสองฝ่ายเป็นสักขีพยาน เมื่อทำตามขั้นตอนครบทุกอย่างแล้วก็ถือว่าจบครบตามธรรมเนียมพิธีหมั้นแบบไทย
พิธีหมั้นแบบจีน
พิธีหมั้นแบบจีนนั้นจะให้ความสำคัญกับฤกษ์หมั้นมาก ๆ โดยต้องมีการดูฤกษ์หมั้นจากดวงชะตาชีวิตของทั้งเจ้าบ่าวและเจ้าสาวโดยเฉพาะ ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้
1. เริ่มพิธีหมั้นโดยการสวมแหวนหมั้นกันก่อน โดยตามธรรมเนียมจีนแล้วแต่ละฝ่ายจะนำเฒ่าแก่ซึ่งเป็นบุคคลที่แต่ละครอบครัวนับถือ และบิดามารดาของทั้งสองฝั่งมาขึ้นเวทีหรือชุดรับแขกที่ตระเตรียมไว้ จากนั้นให้เฒ่าแก่ฝ่ายชายสวมแหวนหมั้นให้กับฝ่ายหญิง
2. ฝ่ายชายเตรียมตัวออกไปตั้งขันหมาก ส่วนฝ่ายหญิงจะเตรียมของทำพิธีเปิดสินสอดต่อไป
3. เมื่อได้เวลาตามฤกษ์หมั้นก็ให้เริ่มทำพิธีมอบสินสอด โดยเปิดสินสอดพร้อมประกาศรายชื่อสินสอดแต่ละอย่างให้แขกผู้มีเกียรติรับทราบ หลังจากนั้นร่วมกันโปรยโหงวเจงจี้ (เมล็ดพืช 5 อย่าง) ลงบนสินสอดทั้งหมด ปิดท้ายด้วยการนำเครื่องทองและเพชรพลอยรวมอยู่ในพานสินสอด วางส้ม 4 ลูก แล้วห่อสินสอดทั้งหมด สิ่งของมงคลที่ต้องเตรียมไว้ประกอบของหมั้น มีดังนี้ : เหรียญลายมังกร ใบอั้งฮวย ส้มเช้ง เอี๊ยมสีแดง กล้วย ซาลาเปา ลำไยแห้งเผือก เม็ดสาคู โอวเต่ากิ๊ว กิ๊กเปี๊ยะ
4. ปิดท้ายด้วยการทานขนมอี้ เพื่อความเป็นสิริมงคล เพื่อเป็นการขอพรให้รักของทั้งคู่เหนียวแน่นมั่นคงเหมือนแป้งขนมนั่นเอง เมื่อทำเสร็จตามขั้นตอนแล้วก็ถือว่าจบพิธีหมั้นแบบจีนอย่างสมบูรณ์
พิธีหมั้นงานหมั้นแบบบ้าน ๆ งบไม่บานปลาย
ปิดท้ายเป็นการแนะนำจัดงานพิธีหมั้นงานหมั้นแบบบ้าน ๆ โดยที่ใช้งบประมาณและเวลาไม่มาก แต่ก็ได้ความเป็นสิริมงคลตามแบบประเพณีอย่างครบถ้วน ซึ่งโดนส่วนมากแล้วการจัดพิธีหมั้นแบบไทยจะประหยัดงบที่สุดโดยเลือกทำแต่พิธีหลักเท่านั้น และตัดพิธีรองออกไป ซึ่งคุณสามารถตัดขั้นตอนหรือของบางอย่างออกได้ โดยมีขั้นตอนดังนี้
1. ฝ่ายชายเริ่มเจรจากับฝ่ายหญิง พร้อมดูฤกษ์หมั้น เมื่อได้ฤกษ์ตามวันดีตามที่ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องต้องกันแล้วก็นัดหมายวันจัดพิธีหมั้นได้เลย
2. ในวันหมั้นไม่ต้องเตรียมขันหมากยิ่งใหญ่มากมาย แต่ให้เน้นเตรียมของที่จำเป็นสำหรับพิธีการ ได้แก่ หมากดิบ 8 ลูก, พลู 8 เรียง, ข้าวตอก ถั่วเขียว งาดำ ข้าวเปลือก อย่างละ 1 ถุง, ใบเงิน, ใบทอง, ใบนาก คุณสามารถตัดชุดขันหมากโท เช่น ต้นกล้วยหรือต้นอ้อยออกได้ รวมถึงยังสามารถตัดขั้นตอนแห่ขบวนขันหมากและการกั้นประตูเงินประตูทองออกได้เช่นกัน
3. ให้ญาติผู้ใหญ่เจรจาสู่ขอ ซึ่งฝ่ายชายให้เตรียมสินสอดตามที่เห็นสมควร ซึ่งคุณสามารถตัดขั้นตอนทำพิธีสงฆ์ในงานหมั้นได้เพื่อให้พิธีออกมาเรียบง่ายและประหยัด
4. เมื่อถึงเวลาตามฤกษ์หมั้นที่กำหนด ให้ทำพิธีสวมแหวนหมั้นให้แก่กัน โดยหลังจากนี้อาจมีการเลี้ยงอาหารเล็กน้อยสำหรับแขกผู้มาร่วมงาน ซึ่งงานพิธีหมั้นนั้นคุณสามารถเชิญแต่แขกคนสำคัญมาโดยเฉพาะได้
พิธีหมั้นงานหมั้นแบบบ้าน ๆ เป็นการจัดงานแบบงบไม่บานปลาย หากใครต้องการประหยัดหลังจากดูฤกษ์หมั้นมาดีแล้ว พอดีเวลาก็จัดพิธีหมั้นงานหมั้นแบบบ้าน ๆ ตามที่คุณสะดวกได้เลย
ของหมั้นควรเป็นอะไรดี ?
หากพูดกันตามภาษากฎหมายแล้ว สกธ.ได้นิยามความหมายของหมั้นว่าจะต้องเป็นทรัพย์สิน โดยจะเป็นสังหาริมทรัพย์หรืออสังหาริมทรัพย์ก็ได้ ซึ่งเรียกได้ว่าการให้ของหมั้นนั้นค่อนข้างเปิดกว้าง แต่หลัก ๆ แล้วคู่รักทั่วไปมักจะให้แหวนเป็นของหมั้น นอกจากนี้ยังมีของอื่น ๆ ที่นิยมกันคือนาฬิกา ปากกาสลักชื่อ เทียนหอม ผ้าขนหนู เป็นต้น
จะเห็นได้ว่างานหมั้นนั้นเป็นพิธีการที่ต้องมีการเตรียมพร้อมในทุก ๆ ด้าน และต้องมีการดูฤกษ์หมั้นดวงชีวิตคู่ออกมาราบรื่นที่สุด หากดูฤกษ์หมั้น 2566 แล้วคิดว่าปีนี้เป้นปีที่เหมาะสมและมีแผนการจะจัดงานหมั้นแต่ยังขาดงบประมาณในการจัดพิธี แรบบิท แคร์ ก็มีสินเชื่อส่วนบุคคลที่เหมาะสมกับคุณ กู้ง่าย ผ่อนสบาย ดอกเบี้ยต่ำ ให้คุณนำเงินไปจัดงานหมั้นได้อย่างสมใจหวัง
ทีมกองบรรณาธิการ กลุ่มนักเขียนผู้มีประสบการณ์ด้านรถยนต์ การเงิน และประกันภัย ของ แรบบิท แคร์ ที่เปิดดำเนินการมาแล้วมากกว่า 10 ปี