เตรียมตัวเป็นเจ้าบ่าว เตรียมสินสอดขอเจ้าสาวอย่างไรให้ถูกใจพ่อตา-แม่ยาย
“การให้สินสอด” ถือเป็นธรรมเนียมที่อยู่กับพิธีแต่งงานไทยมาเป็นเวลานาน แม้ว่าประเพณีงานแต่งสมัยใหม่จะมีการเปลี่ยนแปลงไปตามความเหมาะสมของสภาพสังคมและหลายครอบครัวอาจไม่ได้รับสินสอดแล้ว แต่ก็ยังมีบางครอบครัวที่ยังยึดถือการเรียกสินสอดอยู่เพื่อเป็นหลักฐานแสดงฐานะ ความจริงใจ และความมั่นคงของฝ่ายชาย
แต่ปัญหาคือฝ่ายชายจะเตรียมสินสอดกับฝ่ายหญิงเท่าไหร่ดี เพราะแต่คนล้วนมีฐานะและทรัพย์สินเงินทองที่ไม่เท่ากัน ผู้ที่มีฐานะดีอาจไม่มีปัญหาเรื่องสินสอด แต่ผู้ที่มีฐานะปานกลางไปจนถึงผู้ที่เริ่มสร้างตัวอาจต้องตกที่นั่งลำบากเพราะต้องทำงานเก็บเงินมาขอลูกสาวบ้านเขา ในฐานะที่แรบบิท แคร์ เป็นเพื่อนที่เต็มใจคอยดูแลและให้คำปรึกษาสำหรับคุณ เราขอนำเสนอแนวทางการให้สินสอดที่เหมาะสมให้ถูกใจฝ่ายหญิงและไม่ต้องกดดันกับสภาพคล่องทางการเงินของคุณมากเกินไป ดังนี้
ประเภทของสินสอด มีอะไรบ้าง?
ขอทำความเข้าใจกันก่อนว่าโดยปกติแล้วสินสอดในปัจจุบันจะสื่อถึงความเป็นหน้าเป็นตาของผู้ใหญ่ ทรัพย์สินอะไรที่มีราคาก็สามารถนำมาเป็นสินสอดได้ ดังนั้นสินสอดจึงไม่จำเป็นต้องมาในรูปแบบของเงินทองเสมอไปแต่สินสอดยังสามารถหมายถึงทรัพย์สินอันมีค่าอื่น ๆ ในรูปแบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น บ้าน คอนโด ที่ดิน รถยนต์ สร้อย แหวน ทองคำ หรืออาจจะเป็นสิ่งของตามเทรนด์อย่างไม้ด่าง ก็มีเป็นข่าวให้เห็นมาแล้วในปัจจุบัน และด้วยขอบเขตของสินสอดที่เปิดกว้างจึงมีช่องทางให้ฝ่ายชายสามารถจัดการสินสอดได้โดยที่ไม่กระทบถึงสถานะทางการเงินมากนักนั่นเอง
เกร็ดความรู้เสริม – สินสอดมีความคุ้มครองทางบทกฎหมายด้วยนะ ซึ่งสินสอดจะตกเป็นของฝ่ายหญิงทันทีเมื่อมีการส่งมอบแม้ว่าจะยังไม่ได้จดทะเบียนสมรสก็ตาม และหากงานแต่งไม่ได้เกิดขึ้นจากความผิดฝ่ายชาย ฝ่ายชายจะไม่สามารถขอสินสอดคืนได้ แต่ถ้สฝ่ายหญิงเป็นฝ่ายผิดจนทำให้งานแต่งไม่สามารถเกิดขึ้นได้นั้นฝ่ายชายจะมีสิทธิเรียกสินสอดคืนได้
ให้สินสอดเท่าไหร่ จึงจะไม่น่าเกลียด
คราวนี้มาถึงเคล็ดลับที่ฝ่ายชายต่างอยากรู้กันแล้ว หลัก ๆ เลยก็คือจำนวนสินสอดจะขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการได้แก่ ฐานะของฝ่ายชาย ฐานะของฝ่ายหญิง และความพึงพอใจของครอบครัวฝ่ายหญิง ซึ่งการหาจำนวนสินสอดที่ลงตัวและให้หลายฝ่ายโอเคที่สุดอาจจะต้องคิดให้รอบคอบ ซึ่งแรบบิท แคร์ ขอแนะนำให้ลองทำตามดังนี้
1. ฝ่ายชายลองประเมินรายได้และทรัพย์สินของตนเองก่อนว่าสามารถให้สินสอดได้ในมูลค่าที่เท่าไหร่ ลองวาดตัวเลขกลม ๆ ในใจก่อน
2. ประเมินสถานภาพของฝ่ายหญิง เช่น อาชีพ ภูมิหลังของครอบครัว การศึกษา แล้วลองพิจารณาว่าตัวเลขที่เราตั้งเป้าไว้ในใจข้อแรก เหมาะสมหรือไม่ แล้วลองปรับลดเพิ่มจำนวนตามความเหมาะสม
3. จากที่กล่าวไปว่าสินสอดนั้นไม่จำเป็นจะต้องเป็นเงินทองเสมอไป เราสามารถนำทรัพย์สินมีค่าอื่น ๆ มาเพิ่มมูลค่ารวมของสินสอดได้ เช่น อสังหา รถยนต์ หรืออาจจะเป็นเครื่องประดับที่ได้รับมรดกจากวงตระกูล ซึ่งทรัพย์สินเหล่านี้สามารถนำมาเป็นสินสอดเพื่อลดภาระการให้เงินสดได้
4. เมื่อกำหนดขอบเขตของสินสอดได้แล้วลองนำไปคุยกับครอบครัวฝ่ายหญิงก่อนว่าสินสอดที่จะให้มีอะไรบ้าง พยายามคุยด้วยคำสุภาพ มีศิลปะการพูดแต่แฝงไปด้วยความจริงใจ เพื่อให้ทางฝ่ายหญิงเห็นถึงความตั้งใจจริงของเรา
5. หากครอบครัวฝ่ายหญิง Say yes ก็ให้ปิดงานเตรียมขันหมากได้เลย แต่ถ้าจำนวนสินสอดยังไม่ลงตัวอาจลองเจรจากับฝ่ายหญิงว่าต้องการสินสอดประมาณเท่าไหร่ มีหนทางผ่อนผันอย่างไรได้บ้าง หรือลองเพิ่มมูลค่าทรัพย์สินอื่น ๆ ให้สินสอดมีมูลค่ามากขึ้น หรือเจรจาแสดงหลักฐานให้ฝ่ายหญิงเชื่อมั่นว่าคุณรักจริงและจะรับผิดชอบดูแลชีวิตลูกสาวของเขาได้
หากไม่มีเงินสินสอดควรหาทางออกอย่างไร?
ในกรณีที่คุณอยู่ในฐานะกำลังสร้างตัวยังไม่มีเงินเก็บมากมาย แต่ต้องการแต่งงานและต้องให้สินสอดกับฝ่ายหญิง แรบบิท แคร์ ขอแนะนำทางออกไว้ดังนี้
1. นำทรัพย์สินที่มีมูลค่าอื่น ๆ ไปเป็นสินสอดแทนเงินสด เช่น โฉนดที่ดินอสังหาฯ เครื่องประกับที่มีมูลค่า รถยนต์ ทองคำ เป็นต้น
2. ปรึกษาครอบครัวเพื่อขอยืมเงินหรือขอมรดกไปเป็นทรัพย์สินสำหรับขอสินสอด
3. เข้าไปพูดคุยกับทางครอบครัวฝ่ายหญิงขอลดจำนวนหรือขอผ่อนผันสินสอด
4. ใช้บริการเช่าสินสอดกับผู้ให้เช่าสินสอดสำหรับงานแต่ง
5. เจรราขอทรัพย์สินส่วนหนึ่งของทางผู้หญิงมาร่วมเป็นสินสอด ซึ่งในกรณีนี้จะทำได้ก็ต่อเมื่อฝ่ายหญิงไม่ได้ติดที่เรื่องเงิน แต่จะติดเรื่องการวางสินสอดเพื่อเป็นหน้าตาตอนงานแต่งเท่านั้น พอจบงานก็นำสินสอดไปคืนผู้หญิง
6. ขอสินเชื่อส่วนบุคคลกับธนาคารเพื่อนำเงินไปเป็นค่าสินสอด โดยอาจจะเป็นกู้เงินแต่งงานและแบ่งนำเงินส่วนหนึ่งกันไว้เพื่อเป็นสินสอด
ทั้งนี้ลองปรึกกับแราแรบบิท แคร์ เพื่อขอสินเชื่อแต่งงานหรือนำไปเป็นสินสอดได้ตลอด 24 ชั่วโมง กู้ง่าย ได้วงเงินสูง ดอกเบี้ยต่ำ มีข้อเสนอดี ๆ จากธนาคารชั้นนำหลายแห่งรอคุณอยู่
ทีมกองบรรณาธิการ กลุ่มนักเขียนผู้มีประสบการณ์ด้านรถยนต์ การเงิน และประกันภัย ของ แรบบิท แคร์ ที่เปิดดำเนินการมาแล้วมากกว่า 10 ปี