5 ข้อห้ามมารยาทญี่ปุ่นที่ควรรู้ ก่อนไปเที่ยวประเทศญี่ปุ่น
อย่างที่ทราบกันดีว่า แต่ละประเทศต่างก็มีกฎ กติกา และมารยาทที่แตกต่างกันออกไป บางประเทศอาจจะซีเรียสเรื่องนี้ บางประเทศก็ไม่แคร์เลย สำหรับ ประเทศญี่ปุ่น ก็เป็นหนึ่งในประเทศที่มีกฎ กติกา และมารยาท หรือข้อห้ามทางมารยาทญี่ปุ่น อยู่มากเช่นกัน
ว่าแต่มีข้อห้ามหรือมารยาทญี่ปุ่นอะไรบ้าง หรือสิ่งที่ควรทําและไม่ควรทํา ประเทศญี่ปุ่น ที่เราควรเรียนรู้ไว้ วันนี้มาทำความเข้าใจให้มากขึ้นกับ แรบบิท แคร์ กันดีกว่า!
มารยาทญี่ปุ่นต้องห้าม อย่าเผลอไปทำที่ประเทศญี่ปุ่น
Rabbit Care ได้รวบรวม 5 ข้อห้ามที่ไม่ควรทำอย่างเด็ดขาด มาฝากเพื่อน ๆ ที่กำลังมีแพลนจะไปญี่ปุ่นกัน จะเที่ยวญี่ปุ่นเอง จะไปกับแฟนหรือไปเป็นครอบครัว อย่าลืมกดแชร์บทความนี้นะ จะได้รู้วัฒนธรรมญี่ปุ่นไว้ก่อน ไม่อย่างนั้นโดนมองแรงแน่
1. อย่ามาแตะเนื้อต้องตัวฉันนะ
ดูไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร เพราะคนไทยเองมองเป็นเรื่องธรรมดา โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเป้นคนที่สนิทกันด้วยแล้ว ยิ่งไม่ใช่เรื่องปกติ แต่กับที่ญี่ปุ่นแล้ว เรื่องนี้อาจจะเป็นอะไรที่หลายแห่งในญี่ปุ่นยังคงเคร่งอยู่ หลัก ๆ ก็จะมีที่เมืองโตเกียวเท่านั้น ที่เปิดรับวัฒนธรรมต่างประเทศเพิ่มขึ้นมาหน่อย แต่ถ้าเป็นที่อื่น แม้จะเป็นคนสูงวัยก็ห้ามไปแตะเนื้อต้องตัวโดยไม่ได้รับอนุญาตเชียว และทางที่ดี คุณควรจะรอจนกว่าจะสนิทกับใครมากพอที่จะถูกตัวกันได้ดีกว่านะ
2. การใช้ตะเกียบ
การรับประทานอาหารของที่ญี่ปุ่นนั้น หลัก ๆ จะใช้ตะเกียบเป็นอุปกรณ์หลักในการทานอาหาร ซึ่งแน่นอนว่าไม่เหนือบ่ากว่าแรงคนไทยแน่นอน เนื่องจากในไทยเองก็มีการใช้ตะเกียบทานอาหารบางประเภทเป็นปกติ แต่สิ่งที่แตกต่างกันเล็กน้อยระหว่างการใช้ตะเกียบที่ไทยและที่ญี่ปุ่นก็มีอยู่เช่นกัน โดยตามมารยาทญี่ปุ่นจะมีข้อห้าม ดังนี้
-
อย่ากัดหรือเลียตะเกียบ
แต่เดิม วัฒนธรรมของคนญี่ปุ่นจะให้ความสำคัญกับความสะอาดเหนือสิ่งอื่นใด ร้านอาหารก็เช่นกัน ดังนั้น ทุกร้านจึงใส่ใจในเรื่องของการทำความสะอาดอุปกรณ์เป็นอย่างดี
ตะเกียบ ถือเป็นสิ่งที่ทำให้มือของคุณไม่ต้องสัมผัสกับอาหารโดยตรง และนั่นก็แปลว่าปากของคุณก็ไม่ควรสัมผัสกับตะเกียบโดยตรงเช่นกัน นอกจากนี้ การกัดหรือดูดตะเกียบยังเป็นการกระทำที่ไม่สุภาพและไม่ถูกสุขลักษณะอีกด้วย
-
อย่าปักตะเกียบลงไปในข้าว
เนื่องจากในงานศพของประเทศญี่ปุ่นจะทีวางข้าวหนึ่งถ้วยเอาไว้ใกล้ ๆ กับศีรษะของศพและปักตะเกียบเอาไว้ตรงนั้น โดยข้าวที่ตักจนพูนที่วางไว้เหนือศีรษะของผู้ตาย ถือเป็นสัญลักษณ์แทนหลุมฝังศพโบราณ เพราะในสมัยที่คนญี่ปุ่นยังจัดการศพด้วยการฝัง ซึ่งตะเกียบ หรือ ฮาชิ ในภาษาญี่ปุ่น เป็นคำพ้องเสียงกับคำว่าสะพาน (ที่ออกเสียงว่า “ฮาชิ” เหมือนกัน) เป็นการสื่อถึงทางผ่านไปสู่สวรรค์ของวิญญาณนั่นเอง
-
อย่าส่งต่อ หรือรับอาหารด้วยตะเกียบ
ข้อนี้ก็ยังคงเกี่ยวข้องกับประเพณีในงานศพอยู่ เพราะจะมีการส่งกระดูกจากกองขี้เถ้าของผู้ตายต่อ ๆ กัน โดยใช้ตะเกียบในงานศพ ดังนั้น อย่าทำแบบเดียวกันนี้กับอาหาร เพราะคนญี่ปุ่นจะรู้สึกเป็นลางร้ายและเป็นมารยาทญี่ปุ่นที่ไม่ควรพึงทำบนโต๊ะอาหารนั่นเอง
3. การใช้โทรศัพท์มือถือบนรถไฟ
เพื่อน ๆ คงทราบกันดีอยู่แล้วว่า คนญี่ปุ่นจะเคร่งครัดเรื่องมารยาทญี่ปุ่นมาก ๆ โดยเฉพาะมารยาทในรถขนส่งและที่สาธารณะ ทั้งนี้ เราจึงได้ยินประกาศเรื่องมารยาทต่าง ๆ บนรถไฟ หรือรถโดยสารอยู่เสมอ ซึ่งแน่นอนว่า จะมีเรื่องของการใช้โทรศัพท์อยู่ในนั้นด้วย บางแห่งอาจมีการประกาศเตือนให้ปิดเสียงโทรศัพท์หลังจากเข้าไปในรถไฟ และใช้ระบบสั่นเพื่อไม่ให้รบกวนผู้โดยสารคนอื่น ๆ นอกจากนี้ยังรวมไปถึงเรื่องการโทรศัพท์ในรถสาธารณะ หรือ การพูดคุยส่งเสียงในชนส่งมวลชนสาธารณะด้วย เรียกได้ว่าเป็นมารยาทญี่ปุ่นหลัก ๆ ที่ควรรู้เลยล่ะ
4. การใช้บันไดเลื่อน
หากย้อนเวลาไปเมื่อหลายปีก่อน หลายคนอาจจะยังไม่เข้าใจในมารยาทญี่ปุ่นเรื่องการขึ้นลงบันไดเลื่อน แต่ในปัจจุบัน แม้แต่ในไทยเองก็ต่างคุ้นเคยกับมารยาทในการใช้บันไดเลื่อนนี้เป็นอย่างดี โดยที่ญี่ปุ่นจะมีการขึ้นลง หรือการใช้บันไดเลื่อนที่คล้ายคลึงกับไทย แต่อาจะมีความแตกต่างกันบ้างเล็กน้อย
เช่น ในเมืองโตเกียว ผู้คนจะยืนทางด้านซ้ายมือ เว้นขวามือไว้ให้คนเดิน ส่วนในแถบคันไซจะกลับกัน ทางที่ดีเพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาด ให้ลองสังเกตรอบ ๆ ตัวดูว่าในแต่ละเมืองนั้น ผู้คนเลือกยืนฝั่งไหนกันเป็นหลักก่อนจะดีที่สุด
ทว่าในปัจจุบันที่ญี่ปุ่นได้ยกเลิกกฎนี้ไปแล้ว เนื่องจากว่ามีการเกิดอุบัติเหตุขึ้นจากการเดิน ทำให้ผู้ใช้เสียสมดุลระหว่างเดินบนบันไดเลื่อนนั่นเอง
5. การให้ทิป
รู้หรือไม่ว่า ตามมารยาทญี่ปุ่นนั้น การทิ้งทิปเอาไว้ถือเป็นการกระทำที่เสียมารยาทมาก และหากคุณทำเช่นนั้น พนักงานญี่ปุ่นก็มักจะวิ่งตามหลังเพื่อคืนเงินทอนแก่คุณเพราะเข้าใจว่าคุณจ่ายเงินเกิน แต่ไม่ต้องลำบากใจไป หากมีพนักงานบริการคุณดีแต่ไม่สามารถให้ทิปได้ โดยพื้นฐานแล้วที่ญี่ปุ่นจะมีการนับรวมิปในบริการต่าง ๆ อยู่แล้ว ซึ่งที่ญี่ปุ่นจะเรียกว่า “โอโทชิ(おとし)” นั่นเอง
ยาที่ห้ามเข้าญี่ปุ่น และ ของห้ามนําเข้าญี่ปุ่น 2566
นอกจากเรื่องมารยาทญี่ปุ่นข้างต้นแล้ว ของห้ามนําเข้าญี่ปุ่น 2566 หรือ ยาที่ห้ามเข้าญี่ปุ่น ก็เป็นสิ่งีท่คุณควรศึกษาไว้เช่นกัน เพราะไม่อย่างงั้นอาจจะต้องทิ้งสิ่งของต่าง ๆ เหล่านี้ก่อนขึ้นเครื่อง หรือในบางกรณีอาจถูกจำได้! โดยสิ่งของห้ามนําเข้าญี่ปุ่น 2566 มีดังนี้
- เนื้อสัตว์และเครื่องในสัตว์ ไม่ว่าจะปรุงสุก เนื้อสด และแบบแปรรูปเป็นอาหาร เช่น ไส้กรอกแพ็ค, หมูยอ, ไส้กรอกอีสาน, แคบหมู, แฮม, เบค่อน, หมูหยอง, กุนเชียง, แหนม, น้ำผึ้ง, แมลงทอด หรือไส้อั่ว เป็นต้น
- ขนมที่ยังคงสภาพเนื้อสัตว์แปรรูปหรืออาหารสด เนื้อสด เช่น ข้าวตังหมูหยอง ซาลาเปา ขนมปังไส้กรอก แซนวิช ปลาแผ่น เป็นต้น
- ผักและผลไม้ ทั้งแบบผลไม้สด และแบบแปรรูป (มีผลไม้บางชนิดที่ได้รับการยกเว้นแต่มักไม่ใช่พืชประจำถิ่นในไทย) เช่น ผักผลไม้แช่อิ่ม, มะม่วง, ข้าวเหนียวมะม่วง, ทุเรียน หรือ มังคุด เป็นต้น
- ผักที่เป็นกลุ่มเครื่องเทศ แม้ว่าจะทำอบแห้งแล้วก็นำเข้ามาไม่ได้ เช่น อบเชย สามเกลือ หอมแดง พริก เป็นต้น
- ผลิตภัณฑ์จากนม เช่น นมกล่องพาสเจอร์ไรส์, ชีส รวมไปถึ เวย์โปรตีนและนมอัลบูมิน
- ธัญพืชทุกชนิดและเมล็ดผักผลไม้ เช่น ซีเรียล, กราโนล่า, คุกกี้, ถั่วคลุกเกลือ, อัลมอนด์, เมล็ดแตงโม หรือ เมล็ดดอกทานตะวัน เป็นต้น
- ผลิตภัณฑ์จากไข่ แม้แต่เปลือกไข่ก็ห้ามนำเข้า เช่น ไข่เค็มไชยา
- เครื่องปรุงหรือน้ำจิ้มปรุงสดหรือแบบโฮมเมด เช่น น้ำพริก น้ำจิ้มซีฟู้ด กะปิ น้ำจิ้มไก่ ปลาร้า เป็นต้น
- สินค้าละเมิดลิขสิทธิ์ โดยเฉพาะสินค้าแบรนด์เนมของปลอม เช่น กระเป๋า, รองเท้า หากตรวจสอบและโดนจับได้อาจเสี่ยงต่อการโดนปรับและยึดของ
- แมลง ไม่ว่าจะเป็นผีเสื้อ ตั๊กแตน หรือสัตว์ประเภทใดก็ตามที่เป็นอันตรายต่อการเกษตรของญี่ปุ่น และโรคระบาดพืช
- ดิน พืชที่มีดินติดมา ฟาง และแกลบข้าว
-
ยาที่ห้ามเข้าญี่ปุ่น ได้แก่ ยาที่มีส่วนผสมของสารซูโดอีเฟดรีน หรือสารไดเฟนอกไซเลต หรือเป็นยาที่ทางการญี่ปุ่นไม่รับรองการพกพาเข้าไป ซึ่งที่ระบุไว้มี 11 ชนิด ด้วยกัน คือ TYLENOL COLD , NYQUIL , NYQUIL LIQUICAPS , ACTIFED , SUDAFED , ADVIL COLD & SINUS , DRISTAN COLD/ “NO DROWSINESS” , DRISTAN SINUS , DRIXORAL SINUS , VICKS INHALER และ LOMOTIL
ในทางกลับกัน สำหรับสิ่งของและอาหารที่สามารถนำเข้าไปได้ต้องอยู่ในหีบห่อหรือซองที่มีการปิดผนึกรัดกุม ไม่ใช่ของแห้งที่บรรจุเองโดยการใส่ถุงพลาสติกมัดกับยาง เช่น ผงทำอาหาร, ปลากระป๋อง, เครื่องปรุงบางชนิด อย่าง ซีอิ๊วขาว น้ำปลา เป็นต้น
นอกจากอาหารแล้ว เรื่องของยาที่ห้ามเข้าญี่ปุ่น ยังมีเรื่องของชนิดและส่วนผสมของยาแล้ว ปริมาณที่นำเข้าไปก็มีส่วนสำคัญเหมือนกัน หากมีจำนวนมากเกินความจำเป็นที่จะต้องใช้ อาจเกิดข้อสงสัยกับทางเจ้าหน้าที่ได้ ฉะนั้นจึงควรพกไปในปริมาณที่เหมาะสม ส่วนยารักษาโรคเฉพาะทางจะต้องมีเอกสารใบรับรองจากแพทย์ระบุรายละเอียดของยาเป็นภาษาอังกฤษอย่างชัดเจน
สำหรับโทษของการลักลอบจะมีทั้งแบบตามดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่และตามเกณฑ์ ในส่วนของตามดุลยพินิจนั้นขึ้นอยู่กับสถานการณ์เฉพาะหน้าที่เจ้าหน้าที่ประเมิน เช่น หากมีการซื้อแซนวิชรับประทานก่อนขึ้นเครื่องบินแล้วทานไม่หมด จากนั้นมีการพกติดกระเป๋ามาที่ญี่ปุ่น เจ้าหน้าที่อาจทำเพียงตักเตือนแล้วทิ้งหรือทำลายอาหารจำนวนนั้น พร้อมชี้แจ้งกฎเกณฑ์ให้ทราบทันที
แต่ถ้าหากเป็นการแอบลักลอบนำเข้าอาหารมาในประเทศอาจเพื่อจุดประสงค์ในการใช้รับประทานขณะพักอาศัยที่ญี่ปุ่นหรือได้รับฝากอาหารนำมาให้ผู้ที่พักอาศัยในญี่ปุ่น
โดยทั่วไปแล้วญี่ปุ่นมีกฏเกณฑ์ทั้งจำคุกทั้งปรับเงิน ตาม พรบ.ควบคุมโรคติดต่อสัตว์และพืช ที่มีการเพิ่มโทษทางกฏหมายเมื่อ 1 กรกฎาคม 2563 ที่ผ่านมา สำหรับการลักลอบอาหารประเภทเนื้อสัตว์และพืชเข้ามา ให้มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 3 ล้านเยน (โทษปรับสูงสุดอยู่ที่ 50 ล้านเยนสำหรับผู้ทำผิดเชิงพาณิชย์)
ไม่ว่าจะไปเที่ยวโอซาก้า โตเกียว หรือจะไปเที่ยวประเทศไหน การศึกษาข้อมูล ทำความเข้าใจ และเรียนรู้เรื่องข้อห้ามและมารยาทของประเทศนั้น ๆ ก็เป็นเรื่องที่ไม่เสียหายนะ เหมือนสุภาษิตที่ว่า เข้าเมืองหลิ่ว ต้องหลิ่วตาตามยังไงล่ะ!
และสำหรับใครที่ต้องการบัตรเครดิตดี ๆ ที่ให้การท่องเที่ยวของคุณสะดวกสบายมากขึ้น ต้องนี่เลย บัตรเครดิต จาก แรบบิท แคร์ ที่นี้นอกจากจะมีบัตรเครดิตประเภท JCB แล้ว ยังมีบัตรเครดิตประเภทอื่น ๆ ไม่ว่าจะท่องเที่ยวที่มุมไหนของโลกการเงินไม่มีสะดุด หรือจะเป็น ประกันการเดินทาง ที่ช่วยให้คุณอุ่นใจได้ทุกการเดินทาง คลิกเลย!
นักเขียนรุ่นไฮบริด เขียนบทความด้านการบริหารเงินส่วนบุคคลและการลงทุนต่าง ๆ กว่า 7 ปี เริ่มต้นที่งานเขียนที่ Rabbit Finance จนย้ายมาที่ Rabbit Care และ Asia Direct