เจ๊งในกระดาษ คืออะไร ? ทำไมเราควรเรียนรู้ไว้ก่อนลงมือทำธุรกิจจริง
‘เจ๊งในกระดาษ’ คำศัพท์ที่อาจค่อนข้างแปลกใหม่สำหรับใครหลาย ๆ คน แต่ความจริงแล้วคำว่าเจ๊งในกระดาษนั้นถือเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ซึ่งต้องการเริ่มต้นทำธุรกิจหรือว่าที่เจ้าของกิจการต่าง ๆ ควรที่จะรู้จักกันไว้และทำความคุ้นเคยกับการเจ๊งในกระดาษกันไว้ให้ชิน เนื่องจากในปัจจุบันนี้มีธุรกิจ SME หน้าใหม่ผุดขึ้นมากมายในวงการธุรกิจรวมถึงยังมีธุรกิจมากมายที่ไม่ได้ไปต่ออย่างที่มุ่งหวังไว้ ซึ่งสาเหตุของการไม่ได้ไปต่อหลายครั้งก็มักมาจากการที่ยังไม่ได้ลองเจ๊งในกระดาษดูซะก่อน
ดังนั้นวันนี้ แรบบิท แคร์ จึงเลือกที่จะนำแนวคิดในการเจ๊งในกระดาษมานำเสนอและแนะนำให้ว่าที่เจ้าของกิจการหลาย ๆ คนได้รู้จักกันดู จะได้รู้และลดโอกาสเจ๊งในชีวิตจริงได้นั่นเอง
เจ๊งในกระดาษ คืออะไร ?
เมื่อได้ยินคำว่า ‘เจ๊งในกระดาษ’ แน่นอนว่าหลายคนที่อาจจะยังไม่มีประสบการณ์ในแวดวงธุรกิจมานานก็อาจจะไม่คุ้นเคยกับวลีนี้เท่าไหร่นัก ซึ่งความจริงแล้วนั้นการเจ๊งในกระดาษไม่ได้มีความหมายแฝงซับซ้อนอะไรมากมายแบบที่หลายคนคิด แต่เป็นแนวคิดที่สามารถเข้าใจได้ง่าย ๆ แปลความหมายได้ตรงตัวตามชื่อ นั่นก็คือการลองเจ๊งลงบนแผ่นกระดาษ หรือการลองดูซิว่าการทำธุรกิจของเราในครั้งนี้นั้นจะเจ๊งหรือไม่ ซึ่งหากจะเจ๊งก็ให้เจ๊งในกระดาษไป ไม่ต้องมาเจ๊งในชีวิตจริงนั่นเอง
สำหรับการเจ๊งในกระดาษนั้นในด้านรายละเอียดจะเป็นการคิดวางแผนธุรกิจอย่างรอบด้าน ตั้งแต่แนวคิดในด้านการบริหาร คอนเซปต์ต่าง ๆ รวมไปถึงกลยุทธ์ที่จะเลือกใช้ในธุรกิจทั้งหมดที่ผ่านการคิดวิเคราะห์อย่างละเอียดถี่ถ้วน มีการคำนวณต้นทุน กำไรที่จะได้รับ ความเสี่ยงในการขาดทุนต่าง ๆ อาจกล่าวได้ว่าเป็นการวางแผนและทดลองทำธุรกิจที่ได้วางแผนไว้ลงในกระดาษ ซึ่งจะสามารถช่วยให้เรามองภาพรวมของธุรกิจรวมถึงผลลัพธ์ในการทำธุรกิจได้อย่างรอบด้าน ว่าการลงทุนทำธุรกิจครั้งนี้จะรุ่งหรือร่วง ซึ่งแน่นอนว่าหากลองคิดวางแผนเป็นที่เรียบร้อยแล้วการทำธุรกิจตามแผนที่วางไว้เมื่อคำนวณออกมาแล้วสามารถสร้างกำไรได้อย่างยั่งยืนเราก็จะสามารถนำแผนดังกล่าวไปดำเนินการทำธุรกิจต่อได้ แต่หากผลลัพธ์ออกมาดูแล้วไม่ไหว คำนวณในกระดาษดูแล้วขาดทุนแทนที่จะได้กำไร นั่นก็หมายความว่าคุณได้เจ๊งในกระดาษไปแล้วนั่นเอง
เจ๊งในกระดาษสำคัญอย่างไร ทำไมถึงต้องลองเจ๊งในกระดาษ ?
บางคนอาจตั้งข้อสงสัยว่าทำไมเราถึงจำเป็นต้องเจ๊งในกระดาษด้วย ก็แค่ลงทุนทำธุรกิจง่าย ๆ ซื้อมาขายไป ลองคิดเล่น ๆ ในสมองแล้วน่าจะรอดก็ลงมือทำไปเลยก็ได้ ค่อยแก้ปัญหาหน้างานเอา จริง ๆ แล้วความคิดเช่นนี้ไม่ได้ผิดเสียทีเดียวแต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าเป็นวิธีคิดในการทำธุรกิจที่ไม่รอบคอบและมีความเสี่ยงสูงมากที่จะเจ๊งในท้ายที่สุด เพราะแม้ว่าคุณจะเป็นคนที่คิดเก่ง คิดไว และสามารถจัดระเบียบความคิดได้เป็นอย่างดีก็ตาม แต่แน่นอนว่าในการทำธุรกิจธุรกิจหนึ่งนั้นมีองค์ประกอบที่หลากหลาย อีกทั้งแน่นอนว่าหลายครั้งจะต้องมีการทำงานร่วมกับคนมากมาย มีลูกน้องที่มีระดับความสามารถหลากหลายที่ต้องสั่งงานและมอบหมายงานให้
จุดนี้นอกจากการเจ๊งในกระดาษนั้นจะให้เจ้าของธุรกิจสามารถมองภาพรวมของธุรกิจในมุมกว้างได้อย่างรอบคอบทุกมิติและไม่เผลอตัวลืมรายละเอียดเล็ก ๆ น้อย ๆ ไปแล้ว เมื่อตัดสินใจนำแผนธุรกิจนั้นไปดำเนินการต่อ ก็สามารถใช้แผนดังกล่าวนั้นไปแจกจ่ายงานและมอบหมายงานให้กับลูกจ้างหรือพนักงานที่ต้องร่วมงานด้วยได้นั่นเอง และด้วยเหตุนี้ก็จะทำให้ลดโอกาสในการเจ๊งด้วยการอุดช่องว่างจากทางต่าง ๆ ได้อย่างรัดกุม
ข้อดีของการเจ๊งในกระดาษ
ในส่วนของข้อดีของการเจ๊งในกระดาษนั้นก็มีอยู่มากมายหลายประการอย่างที่หลายคนอาจไม่ทันที่จะนึกถึง โดยข้อดีของการเจ๊งในกระดาษนั้นมีดังนี้
- เจ๊งในกระดาษช่วยให้สามารถมองเห็นภาพรวมของธุรกิจได้ง่ายมากยิ่งขึ้น : การวางแผนทำธุรกิจนั้นหากเราสามารถมองภาพรวมได้ตั้งแต่แรกก็จะช่วยให้เราสามารถอุดช่องว่างที่อาจเกิดขึ้นหรือมองเห็นโอกาสดี ๆ ที่แฝงอยู่โดยที่เราไม่รู้ตัวได้อย่างง่ายดาย
- เจ๊งในกระดาษช่วยให้สามารถมองเห็นเป้าหมายของธุรกิจได้อย่างชัดเจน : แน่นอนว่าการเขียนแผนธุรกิจของเราลงบนในกระดาษจะทำให้เราสามารถเห็นเป้าหมายของการทำธุรกิจในครั้งนี้ได้อย่างชัดเจนมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้หาทางที่จะบรรลุเป้าหมายดังกล่าวได้ง่ายมากยิ่งขึ้น
- เจ๊งในกระดาษช่วยให้สามารถประเมินความสามารถในการไปถึงเป้าหมายของธุรกิจได้ : เมื่อเราเห็นภาพรวม เป้าหมาย กลยุทธ์ที่จะเลือกใช้ รวมถึงสามารถวิเคราะห์จุดอ่อนจุดแข็งของตนเองได้ ก็จะช่วยให้ประเมินความสามารถในการบรรลุถึงเป้าหมายได้นั่นเอง
- เจ๊งในกระดาษช่วยให้วางแผนกลยุทธ์ในการทำธุรกิจได้อย่างครอบคลุม : แน่นอนว่าเมื่อสามารถมองเห็นภาพรวมของธุรกิจได้ในมุมกว้าง เห็นเป้าหมายได้ชัดเจนจากการเริ่มปฏิบัติขั้นตอนเจ๊งกระดาษ ก็จะช่วยให้เราสามารถเลือกกลยุทธ์ที่จะมาใช้ในการบริหารและการตลาดเพื่อลดโอกาสล้มเหลวได้นั่นเอง
- เจ๊งในกระดาษช่วยให้ทราบถึงต้นทุนที่ใช้ ผลตอบแทนและกำไรที่จะได้รับ : ข้อดีข้อนี้ถือเป็นสิ่งสำคัญและอาจเรียกได้ว่าเป็นหัวใจของการเจ๊งในกระดาษ เพราะจะทำให้เราทราบถึงต้นทุนที่เราต้องใช้ กำไรที่จะได้ เป็นตัวหลักในการตัดสินว่าเมื่อวางแผนทุกอย่างเสร็จเรียบร้อยแล้วธุรกิจของเรามี Potential ที่จะประสบความสำเร็จได้ไหม จะไปต่อได้หรือไม่ วัดกันจากตรงนี้เลยนั่นเอง
- เจ๊งในกระดาษช่วยลดความเสี่ยงในการขาดทุน : แน่นอนว่าเมื่อทราบแล้วว่าธุรกิจของเราจะเจ๊งในกระดาษหรือไม่ ก็จะช่วยลดความเสี่ยงในการเจ๊งในชีวิตลงได้ เพราะหากเจ๊งในกระดาษแต่แรกแน่นอนว่าธุรกิจนี้ถึงลงทุนไปก็จะไม่สร้างกำไร ส่วนถ้าหากไม่เจ๊งในกระดาษก็จะมีแผนธุรกิจที่ผ่านการคิดวิเคราะห์อย่างรอบคอบเอาไว้ใช้ ลดโอกาสในการขาดทุนในอนาคตนั่นเอง
- เจ๊งในกระดาษช่วยจัดระเบียบความคิดและดึงสติได้เป็นอย่างดี : การที่ได้เขียนความคิดมากมายยุ่งเหยิงลงบนกระดาษถือเป็นการช่วยในการจัดการความคิด ลดความฟุ้งซ่าน และช่วยดึงสติได้เป็นอย่างดี เนื่องจากปฏิเสธไม่ได้ว่าเมื่อเราคิดจะทำธุรกิจสักอย่างเราจะมีความคิดล่องลอยมากมาย ซึ่งบางครั้งก็เป็นความคิดที่ฟุ้งจับต้องไม่ได้ ไม่สามารถนำมาปฏิบัติได้จริง
ข้อดีของการเจ๊งในกระดาษเหล่านี้ถือเป็นข้อดีที่ถือว่าสำคัญอย่างมากในการทำธุรกิจ เพราะแน่นอนว่าเมื่อเริ่มทำธุรกิจกันแล้ว ลงแรง ลงใจ ลงเงินทุนไปมากมาย ย่อมไม่มีใครอยากให้ธุรกิจของตนเองนั้นไม่ประสบความสำเร็จอย่างแน่นอน
แนวคิดแบบไหนส่อแววเจ๊งตั้งแต่ยังไม่เริ่มทำธุรกิจ
- ลองทำดูก่อนเดี๋ยวค่อยแก้ปัญหาหน้างาน
- ไม่จำเป็นต้องวางแผนธุรกิจ การทำธุรกิจก็คือการซื้อมาขายไป
- ไม่จำเป็นต้องลองเจ๊งในกระดาษดูก่อน
- ไม่จำเป็นต้องหาความรู้เพิ่มเติมเพราะทำในสิ่งที่ชอบ
- ลงทุนไปเยอะ ๆ เดี๋ยวก็ได้ผลตอบแทนกลับมาเอง
คนแบบไหนที่เหมาะสมกับการทำธุรกิจ
- คนที่มีความสุขุมรอบคอบ มองการณ์ไกล
- คนที่มีความเด็ดขาด ตัดสินใจได้ในสภาวะกดดัน
- คนที่มีความคิดริเริ่มใหม่ ๆ อยู่เสมอ
- คนที่หมั่นศึกษาความรู้ใหม่ ๆ ไม่เป็นน้ำเต็มแก้ว
- คนที่มักมองหาโอกาสใหม่ ๆ รอบตัวอยู่เสมอ
- คนที่สามารถบริหารจัดการความคิดของตนเองได้เป็นอย่างดี
- คนที่มีความสามารถในการคิด วิเคราะห์ และแก้ไขปัญหา
- คนที่รู้ถึงความสามารถ จุดอ่อน จุดแข็ง ของตนเองเป็นอย่างดี
แรบบิท แคร์ หวังว่าการนำข้อมูลเกี่ยวกับการเจ๊งในกระดาษมาแชร์ให้ทุกคนได้รู้จักกันจะเป็นประโยชน์ให้กับทุกคนได้บ้าง ทั้งนี้ต้องไม่ลืมว่าในการทำธุรกิจนั้นเราจะต้องศึกษาข้อมูลรวมถึงมีการเพิ่มพูนองค์ความรู้ต่าง ๆ ให้กับตนเองอยู่เสมอ สำหรับว่าที่เจ้าของธุรกิจทั้งหลายที่ยังไม่มั่นใจว่าตนเองมีความรู้ทางด้านการทำธุรกิจกันดีหรือไม่ สามารถสมัครบัตรเครดิต กับ แรบบิท แคร์ ไว้ไปใช้รูดจ่าย สมัครคอร์สเรียนและซื้อหนังสือที่น่าสนใจมาอ่านเพิ่มพูนความรู้กันได้เลย!
สรุป
‘เจ๊งในกระดาษ’ คือ การลองเจ๊งลงบนแผ่นกระดาษ หรือการทดลแงว่าการทำธุรกิจของเราในครั้งนี้นั้นจะเจ๊งหรือไม่ หรือกล่าวง่าย ๆ ว่าเป็นการคิดวางแผนธุรกิจอย่างรอบด้าน ตั้งแต่แนวคิดในด้านการบริหาร คอนเซปต์ต่าง ๆ รวมไปถึงกลยุทธ์ที่จะเลือกใช้ในธุรกิจทั้งหมดที่ผ่านการคิดวิเคราะห์อย่างละเอียดถี่ถ้วน มีการคำนวณต้นทุน กำไรที่จะได้รับ ความเสี่ยงในการขาดทุนต่าง ๆ นั่นเอง
นักเขียนรุ่นไฮบริด เขียนบทความด้านการบริหารเงินส่วนบุคคลและการลงทุนต่าง ๆ กว่า 7 ปี เริ่มต้นที่งานเขียนที่ Rabbit Finance จนย้ายมาที่ Rabbit Care และ Asia Direct