ถึงวัยเกษียณแล้ว ยังทำประกันชีวิตผู้สูงอายุได้ไหม
ทำงานกันมาก็นาน พอถึงช่วงวัยเกษียณหลายๆ คนอาจจะได้พัก ได้เที่ยว ได้ทำงานอดิเรกอย่างที่ใจอยากเสียที แต่แน่นอนว่าสำหรับคนที่มีครอบครัวก็อาจจะเป็นห่วง กังวลถึงความเป็นอยู่ของลูกหลานไม่มากก็น้อย
เอ๋ แล้วแบบนี้นอกจากเงินเก็บออมแล้ว อยากจะทำประกันชีวิตเป็นการเก็บเงินทิ้งไว้ให้ลูกหลานที่อยู่ข้างหลังด้วย แบบนี้ผู้สูงอายุ หรือคนที่เพิ่งเกษียณมาจะทำได้บ้างหรือเปล่า มาดูกันดีกว่า
วัยเกษียณแล้ว ยังทำประกันชีวิตผู้สูงอายุได้อยู่ไหม
ทำประกันชีวิตตอนอายุมากได้ไหมนะ?
อายุก็ปูนนี้แล้ว หันไปสมัครประกันชีวิต หรือประกันสุขภาพที่ไหน ก็มีแต่บริษัทส่ายหน้า เราบอกเลยว่าไม่จริงเสมอไปที่ผู้สูงวัย ไม่สามารถทำประกันได้! ในบางกรณี หากเป็นผู้สูงวัยที่สุขภาพแข็งแรง หรือไม่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง เพิ่งเกษียณมา บางบริษัทยังอนุโลมให้อยู่ แต่อาจจะแลกมาด้วยเบี้ยประกันที่มีราคาแพงเพิ่มขึ้น
ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า การทำประกันชีวิตนั้น ส่วนใหญ่แผนประกันประเภทนี้จะให้ความคุ้มครองเฉพาะกรณีเสียชีวิตเท่านั้น ถึงแม้บางเจ้าจะให้ค่าสินไหม ค่าชดเชยเมื่อต้องนอนโรงพยาบาลก็ตาม ส่วนนี้จะขึ้นกับส่วนเสริมที่ต้องตกลงเพิ่มเติมกับทางประกัน
จะมีแค่บางแผนประกันเท่านั้นที่มีเงินคืนระหว่างสัญญา ซึ่งก็อาจจะพ่วงมาด้วยอีกหลากหลายเงื่อนไขเหมือนบางประกัน จริงอยู่ไม่ต้องตรวจสุขภาพ แต่ตามกฎหมายก็ควรบอกรายละเอียดเกี่ยวกับสุขภาพ เพื่อประโยชน์สูงสุดนั่นเอง
หากต้องการทำประกันชีวิตเพื่อผู้สูงอายุ เพื่อเป็นมรดกไว้ให้กับลูกหลาน ผู้ทำประกันควรจะศึกษาความคุ้มครองให้ละเอียดว่าความคุ้มครองแต่ละแบบมีเงื่อนไขตามระยะเวลาอย่างไรบ้าง และควรเลือกทุนประกันที่เหมาะกับตัวเองและกำลังในการชำระเบี้ยประกันด้วย
เพราะหลายครั้งที่ผู้ทำประกันมักจะเงินไม่พอจ่าย ทำให้ต้องยกเลิกกรมธรรม์ สูญเสียสิทธิคุ้มครองต่างๆ ไปได้ บางคนกลายเป็นเพิ่มภาระการเงินในบั้นปลายชีวิตไปเสียอีก
สรุปแล้ว ทำได้หรือไม่ได้?
ทำได้! แต่เฉพาะในบางบริษัทเท่านั้น และอาจจะมีเบี้ยประกันที่สูงขึ้น เพื่อชดเชยค่าความเสี่ยงต่างๆ และแน่นอนรวมไปถึงเรื่องของประกันสุขภาพของผู้สูงอายุก็ต้องอยู่ในหลักเกณฑ์เช่นกัน ดังนั้น ถ้าอยากจะลดงบ ขอเพียงแค่เบี้ยประกันที่เหมาะสม คุณอาจจะเปลี่ยนมาทำประกันสูงวัย หรือ ประกันชีวิตสำหรับผู้สูงอายุแทนก็ได้
เพราะโดยทั่วไปแล้ว ประกันแนวนี้จะเจาะจงถึงวัยเกษียณ หรือผู้ทำที่สูงวัยอยู่แล้ว เบี้ยประกันจึงไม่แพงมาก และอาจได้ค่าชดเชยในบางกรมธรรม์อีกด้วย (ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแต่ละบริษัท)
ดังนั้นก็หันมาเลือกทำประกันชีวิตที่สอดคล้องกับวัยตัวเอง จึงเป็นเรื่องที่เหมาะกว่า ที่สำคัญยังช่วยคุณลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นออกไป ต่อให้เกษียณก็สามารถใช้เงินส่วนที่ได้ จากการเกษียณในแต่ละเดือนจ่ายได้สบายๆ ไม่ต้องลำบาก หรือเดือดร้อนลูกหลานอีกด้วย
แบบไหนที่ใช่ กับเทคนิคเลือกประกันสูงวัย
หลายคนอาจจะเริ่มสนใจการทำประกันนี้ขึ้นมากันบ้างแล้ว แต่เราจะเลือกประกันผู้สูงอายุแบบไหนดี วันนี้เราก็มีเทคนิคดีๆ มาฝากกัน
เช็กเบี้ยประกันให้สอดคล้องกับเงินในแต่ละเดือนซะก่อน เราเชื่อว่าแต่ละคนมีเงินรายได้หลังเกษียณไม่เท่ากัน การประเมินความสามารถในการจ่ายเบี้ยประกันนั้นสำคัญมาก ไม่ดีแน่หากคุณขาดการจ่ายเบี้ย หรือจ่ายไม่ไหวจนต้องขอยกเลิกไป เพราะนั่นอาจจะทำให้พลาดผลคุ้มครองต่างๆ หรือสูญเงินเปล่าได้
ศึกษาแผนประกันที่สนใจ เราจะแนะนำให้คุณตรวจสอบ เปรียบเทียบสอบถามข้อมูลจากผู้ขายให้เข้าใจทุกครั้งก่อนตัดสินใจซื้อ เช่น เบี้ยประกันผู้สูงวัยที่ต้องจ่ายต่อเดือนเป็นจำนวนเงินเท่าไหร่, ให้ผลคุ้มครองอะไรบ้าง, คุ้มครองส่วนที่เราต้องการหรือเปล่า? หรือมีข้อห้าม มีเงื่อนไขอะไรเป็นพิเศษไหม?
นอกจากนี้ เราต้องรู้ว่า เป้าหมายการในทำประกันคืออะไร? จริงอยู่ที่หลายคนทำประกันเพื่อคุ้มครองตัวเอง แต่หลายคนเองก็อาจจะอยากให้คุ้มครอง ครอบคลุมไปถึงคนที่อยู่ข้างหลังด้วย สิ่งที่ต้องพิจารณาคือ ดูว่าต้องการแบบไหน หากต้องการตัวช่วยแบ่งเบาภาระค่ารักษาพยาบาลเมื่อยามเจ็บป่วย ก็ให้เน้นไปที่ความคุ้มครองด้านสุขภาพ
หรืออยากจะวางแผนเพื่อชีวิตหลังเกษียณ ก็ต้องเลือกประกันเพื่อการออมและวางแผนเกษียณหากถ้าต้องการสร้างมรดกไว้ให้ลูกหลานในวันที่เราไม่อยู่ ก็ต้องเลือกประกันชีวิตผู้สูงอายุแทน
และถ้าใครไม่รู้ว่าจะไปเปรียบเทียบที่ไหน หรือเช็กว่าบริษัทใดบ้างที่ให้บริการประกันผู้สูงวัย ลองปรึกษา Rabbit Care ประกันชีวิตผู้สูงอายุ ดูสิ เพราะที่นี่คือโบรกเกอร์ประกันภัยที่รวบรวมข้อมูลสารพัดกรมธรรม์ให้คุณได้ลองค้นหา พร้อมดีลสุดพิเศษ สมัครง่าย ติดต่อก็ง่าย!
ใครว่าอายุมากแล้ว ทำประกันไม่ได้ ขอแค่เลือกให้ดี เช็กให้ชัวร์ เท่านี้ก็ไม่มีปัญหาแล้วล่ะ!
นักเขียนรุ่นไฮบริด เขียนบทความด้านการบริหารเงินส่วนบุคคลและการลงทุนต่าง ๆ กว่า 7 ปี เริ่มต้นที่งานเขียนที่ Rabbit Finance จนย้ายมาที่ Rabbit Care และ Asia Direct