FOMO อาการของคน “กลัวตกกระแส” พร้อมวิธีรับมือกับอาการนี้
“FOMO” หรือ Fear of Missing Out เป็นอีกหนึ่งคำศัพท์ที่ไม่ใหม่แต่กำลังเป็นที่พูดถึงกันเป็นอย่างมากในปัจจุบัน ถ้าคุณเป็นคนที่ไม่พลาดทุกความเคลื่อนไหวของสังคม เป็นคนตามติดกระแสในโลกออนไลน์ตลอดเวลา และเกลียดการตกข่าว ตกเทรนด์เป็นที่สุดแล้วล่ะก็ คุณอาจอยู่ในกลุ่มของ FOMO แล้วก็ได้ ซึ่งน้องแคร์จะขอพาทุกคนไปทำความรู้จักกันให้ดีขึ้นว่าจริง ๆ แล้ว Fear of Missing Out หรือ FOMO คืออะไรกันแน่น จะส่งผลกระทบอะไรกับเราในการใช้ชีวิตบ้าง ถ้าพร้อมแล้วไปดูกันได้เลย
FOMO คืออะไรกันแน่
Fear of Missing Out หรือ FOMO คือ อาการความกลัว ความกังวลที่จะตกกระเทรนด์ กลัวที่จะพลาดกระแส ประเด็นร้อนแรงที่กำลังเป็นที่พูดถึงกันอยู่ในสังคมปัจจุบันนั่นเอง ซึ่งคนที่เป็น FOMO จะเสพติดการใช้ช่องทาง Social Media ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น Facebook, Instagram, Twitter หรือว่าจะเป็น TikTok
เพื่อที่คนในกลุ่ม FOMO จะได้ทำการโพสหรือแชร์ในสิ่งที่กำลังเป็นกระแสเป็นคนแรก ๆ เนื่องจากกลัวการไม่เป็นที่ยอมรับ และมีความอยากเป็นคนสำคัญ ซึ่งการใช้งานของกลุ่ม FOMO หรือ Fear of Missing Out จะไม่ใช่การใช้งาน Social Media ในระดับปกติเหมือนคนธรรมดาทั่ว ๆ ไป แต่เรียกได้ว่าแทบจะนั่งเฝ้าหน้าจอเกาะติดอยู่ตลอดเวลาเลยก็ว่าได้
อาการ FOMO เป็นอย่างไรเช็กลิสต์ได้ที่นี่
สำหรับคนที่อยากรู้อาการของ FOMO เพื่อเช็กว่าตัวเองอยู่ในกลุ่มอาการ FOMO หรือไม่ รวมไปถึงการนำเอาเช็กลิสต์ไปตรวจสอบดูว่าคนรอบตัวเป็น FOMO หรือ Fear of Missing Out หรือไม่ น้องแคร์ได้ทำการรวบรวมเอาลักษณะอาการต่าง ๆ มาไว้ให้ทุกคนได้ลองตรวจสอบดูแล้ว ตามตัวอย่างข้างล่างนี้
- คนที่เป็น FOMO จะติดโซเชียลมีเดียมากเกินไป
- จะต้องเช็กหน้า Social Media ไม่ว่าจะเป็น Facebook, Twitter, Instagram แทบจะตลอดเวลา
- นอกจากเช็กโลก Social แล้ว ก็ไม่พลาดที่จะโพสหรือแชร์สิ่งเป็นกระแสอยู่เป็นคนแรก ๆ
- ขาดโทรศัพท์มือถือไม่ได้ เปรียบได้ว่าโทรศัพท์มือถือเป็นอวัยวะหนึ่งในร่างกาย
- ใช้งานโทรศัพท์มือถือหนักมากเป็นเวลาหลายชั่วโมง
- กลัวการตกข่าวใหญ่ที่เป็นกระแส กลัวการตกเทรนด์ต่าง ๆ เป็นที่สุด
- รู้สึกกระวนกระวายใจเมื่อไม่ทราบการอัปเดตของสถานการณ์ปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเพื่อนหรือโลกออนไลน์ก็ตาม
- พยายามทำตัวให้เด่น เพื่อเป็นที่ยอมรับรวมถึงเป็นที่รักและสนใจของคนอื่น
- คนที่เป็น FOMO จะรู้สึกด้อยค่าเมื่อเปรียบชีวิตตัวเองกับคนอื่นบนโลกโซเชียลที่ดีกว่า
- รู้สึกกระวนกระวายใจเมื่อไม่มีอินเทอร์เน็ตมากกว่าคนทั่วไปหลายเท่ามาก
- มีอาการของอารมณ์แปรปรวน
- อาจเกิดอาการซึมเศร้า มีความสุขน้อยลง เมื่อตัวเองไม่ได้รับความสนใจเท่าที่ต้องการ
ผลกระทบข้อดี-ข้อเสียของการเป็น FOMO
จากที่เรากล่าวมาทั้งหมดจะเห็นว่าภาวะ FOMO ส่งผลกระทบหลาย ๆ ด้านกับชีวิตของคนที่ประสบปัญหานี้ โดยเฉพาะปัญหาด้านลบที่ตามมาต่าง ๆ มากมาย แต่ก็ใช่ว่าการเป็น FOMO จะมีแต่สิ่งที่เลวร้ายไปสะทั้งหมด หากมองให้ละเอียดลงไปก็มีบางมุมที่เป็นข้อดีของโฟโมอยู่บ้าง ไปดูกันว่าผลกระทบทั้งด้านดีและด้านแย่เป็นอย่างไรบ้าง
ด้านดีของ FOMO
สร้างแรงบันดาลใจ : เนื่องจากการที่เสพสื่อ Social Media อย่างหลากหลาย ซึ่งเราอาจจะไปสะดุดกับแรงบันดาลใจอะไรบางอย่าง ที่สามารถจุดประกายให้กับเราหลงใหลหรือชื่นชอบกับสิ่งนั้นก็ได้
ข้อเสียหรือผลกระทบของ FOMO
ถึงจะพอมีข้อดีอยู่บ้างแต่ผลกระทบหลักของ FOMO จะมาในรูปแบบของผลเสียสะมากกว่า ไปดูกันว่าหากหมกมุ่นหรือเสพติดการเล่น Social Media จนเกินไปจะส่งผลเสียอะไรกับเราได้บ้าง
- โรคนอนไม่หลับ
- โรคเครียด
- โรคหลงตัวเอง
- โรคขาดโทรศัพท์ไม่ได้
- โรคซึมเศร้า
- สายตาเสียเนื่องจากใช้งานโทรศัพท์มากเกินไป
- เสียบุคคลิกภาพเนื่องจากต้องจับมือถือยู่ตลอดเวลา
- อารมณ์แปรปรวน
- ปฏิสัมพันธ์กับบุคคลในชีวิตจริงย่ำแย่
นี่เป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งของผลกระทบด้านลบจากการเป็น FOMO ทีสามารถเกิดกับเราได้เท่านั้น
เป็น FOMO แก้ไขได้อย่างไร
ไม่ต้องตื่นตระหนกตกใจกันเกินไปหากรู้ตัวแล้วว่าเป็น FOMO เนื่องจากกลุ่มอาการแบบนี้สามารถแก้ไขให้หายหรืออาการดีขึ้นได้ ซึ่งเราได้สรุปแนวทางการแก้ไขเพื่อให้เพื่อน ๆ ได้นำไปปรับใช้กับตัวเอง หรือว่าจะนำไปให้คนที่เข้าข่าย FOMO นำไปปรับใช้กับพฤติกรรมของตัวเองได้ โดยมีแนวทางต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
ยอมรับว่าตัวเองเป็น FOMO
ขั้นแรกของการแก้ไขปัญหาคือต้องยอมรับกับตัวเองก่อนว่าเรามีอาการของ FOMO เกิดขึ้นกับตัวเอง เพื่อทำการเปิดใจและหาทางแก้ไข
ปรับพฤติกรรมลดการเล่นโทรศัพท์มือถือรวมถึงทำ Social Detox
ลดการใช้งานโทรศัพท์มือถือของให้น้อยลง หากไม่ใช้การใช้งานที่จำเป็นอาจจะจำกัดชั่วโมงการเล่นซึ่งก็เป็นทำนองเดียวกันกับการใช้งาน Social Media หรืออาจจะไปถึงขั้นการทำ Social Detox
ใช้ชีวิตให้ช้าลง
ด้วยชีวิตที่เร่งรีบทำให้เราอาจจะต้องหาความบันเทิงต่าง ๆ เพื่อเข้ามาเยียวยาความเหนื่อยล้าต่าง ๆ ลองปรับชีวิตให้ช้าลงบ้าง เพื่อใช้เวลาเสพสิ่งต่าง ๆ ให้นานมากขึ้น
ออกค้นหาโลกกว้าง
หากคุณเป็น FOMO แล้วเราขอแนะนำให้คุณได้ลองออกไปท่องโลกกว้างไม่ว่าจะเป็นการท่องเที่ยวตามที่ต่าง ๆ นอกจากจะเป็นการจำกัดให้ใช้ Social น้อยลงและยังเป็นการสร้างประการณ์ใหม่ ๆ กับตัวเองอีกด้วย
มองหางานอดิเรกหรือสิ่งที่ชอบ
ลองมองหากิจกรรมที่ตัวเองชอบหรืองานอดิเรกต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการเล่นกีฬา การเล่นดนตรี การทำอาหาร การอ่านหนังสือ และอีกมากมายให้คุณค้นหา เพื่อเบนความสนใจลด FOMO ที่เกิดขึ้น
ผูกมิตรสร้างปฏิสัมพันธ์ในโลกจริง
สร้างมิตรภาพที่ดีกับคนรอบข้างไม่ว่าจะเป็นคนในครอบครัว เพื่อนสนิท หรือเพื่อนร่วมงาน ลดความสำคัญของโลกออนไลน์ลง
ปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญ
ถ้าวิธีต่าง ๆ ที่เราแนะนำยังไม่สามารถจัดการปัญหา FOMO หรือ Fear of Missing Out ได้ขอแนะนำให้ลองปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญอย่างเช่นจิตแพทย์เพื่อหาทางรับมือปัญหาที่เกิดขึ้น
FOMO เป็นอีกหนึ่งปัญหาสำคัญของผู้คนในยุคนี้ โดยที่ FOMO คือ อาการที่กลัวจะตกกระเทรนด์หรือกระแสต่าง ๆ ซึ่งสามารถก่อให้เกิดผลกระทบต่าง ๆ ในทางลบได้ โดยหนึ่งในทางแนวการรับมือนอกจากการลดการเล่นมือถือและรวมไปถึงการทำ Social Detox ก็คือการออกทำกิจกรรมอื่น ๆ หรืองานอดิเรกเพราะเป็นกิจกรรมที่จะช่วยให้เพื่อน ๆ ได้ผ่อนคลายจากความเครียดที่สะสม ยังเป็นการมีความสุขที่ได้ทำในสิ่งที่ตัวเองรัก
แต่ต้องยอมรับว่ากิจกรรมเหล่านี้ที่จะทำเพื่อลดภาวะ FOMO ย่อมใช้เงินเป็นตัวขับเคลื่อน เราอยากแนะนำให้ใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิต เพราะว่าคุณจะได้รับความสะดวกสบายและรวมไปถึงสิทธิพิเศษต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการสะสมไมล์การเดินทาง สะสมคะแนนแลกของ และอีกนานาผลประโยชน์ที่คุณจะได้รับ โดยคุณสามรถมาสมัครบัตรเครดิตกับเราง่าย ๆ ได้ที่ แรบบิท แคร์ เพราะว่าเรามีบัตรหลากหลายรูปแบบที่สามารถตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิต
มีประสบการณ์มากกว่า 3 ปี เป็นนักเขียนด้านประกันสุขภาพ ประกันชีวิต เพื่อสุขภาพที่ Rabbit Care และ Asia Direct
และ 12 ปี ในอุตสาหกรรม OTA อย่าง Laterooms.com , Expedia.com จึงมีความเชี่ยวชาญด้านการท่องเที่ยว
จบการศึกษาปริญญาตรี สาขาการจัดการการเงิน มหาวิทยาลัยขอนแก่น