แคร์สุขภาพ

รู้จักกับ Sleep test ตัววัดผลการนอนหลับของคุณอย่างมีคุณภาพ

ผู้เขียน : Nok Srihong
Nok Srihong

มีประสบการณ์มากกว่า 3 ปี เป็นนักเขียนด้านประกันสุขภาพ ประกันชีวิต เพื่อสุขภาพที่ Rabbit Care และ Asia Direct และ 12 ปี ในอุตสาหกรรม OTA อย่าง Laterooms.com , Expedia.com จึงมีความเชี่ยวชาญด้านการท่องเที่ยว จบการศึกษาปริญญาตรี สาขาการจัดการการเงิน มหาวิทยาลัยขอนแก่น

close
linkedin icon
แก้ไขโดย : Nok Srihong
Nok Srihong

มีประสบการณ์มากกว่า 3 ปี เป็นนักเขียนด้านประกันสุขภาพ ประกันชีวิต เพื่อสุขภาพที่ Rabbit Care และ Asia Direct และ 12 ปี ในอุตสาหกรรม OTA อย่าง Laterooms.com , Expedia.com จึงมีความเชี่ยวชาญด้านการท่องเที่ยว จบการศึกษาปริญญาตรี สาขาการจัดการการเงิน มหาวิทยาลัยขอนแก่น

close
linkedin icon
 
Published: February 23,2023
  
Last edited: May 15, 2024
ตรวจ Sleep test

เคยเป็นสงสัยบ้างไหมว่าทำไมที่หลังจากตื่นนอนมาแล้วรู้สึกไม่สดชื่น ทั้ง ๆ เราก็นอนมากเพียงพอ 6-8 ชั่วโมงต่อวัน ปัญหาดังกล่าวอาจเป็นเพราะการนอนของคุณไม่มีคุณภาพแม้จะใช้เวลานอนพักผ่อนอย่างเพียงพอก็ตาม เช่น การนอนกรน การหลับไม่สนิท การนอนไม่เต็มอิ่ม  ด้วยเหตุนี้แรบบิท แคร์ จะขอแนะนำให้คุณรู้จักวิธีตรวจการนอนหลับหรือ Sleep test ซึ่งจะทำให้คุณทราบปัญหาการนอนของคุณได้เป็นอย่างดี เพื่อจะได้หาแนวทางแก้ไขให้การนอนของคุณกลับมาสดชื่นอีกครั้ง

Sleep test คืออะไร? ช่วยแก้ปัญหาการนอนได้อย่างไร

Sleep test หรือ Sleep study คือการตรวจการนอนหลับโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ โดยจะตรวจการทำงานของร่างกายขณะนอนหลับอย่างใกล้ชิด เช่นจังหวะการหายใจ การทำงานของคลื่นสมอง การกระตุกของกล้ามเนื้อ ระดับออกซิเจนในเลือด เป็นต้น เพื่อประเมินว่าการนอนของคุณนั้นมีคุณภาพมากเพียงใด คุณนอนหลับสนิทหรือไม่ มีปัญหาการนอนใด ๆ หรือไม่ ตลอดจนวิเคราะห์ว่าลักษณะการนอนของคุณสุ่มเสี่ยงเป็นโรคอะไรบ้าง เพื่อแพทย์จะได้เตรียมการรักษาหรือติดตามอาการได้อย่างถูกต้อง

การตรวจการนอนหลับ(Sleep test) นั้นเริ่มได้รับความนิยมมากขึ้นในปัจจุบัน เพราะจะทำให้เราทราบสัญญาณของโรคร้ายต่าง ๆ ได้ล่วงหน้า เช่น โรคภาวะหยุดหายใจฉับพลันขณะนอนหลับ รวมถึงช่วยวิเคราะห์พฤติกรรมการนอนหลับได้อย่างเห็นผล ให้ผู้ป่วยกลับมาพักผ่อนได้อย่างเต็มที่และมีความสดชื่นจากการนอนหลับ

ใครบ้างที่ควรรับการตรวจ Sleep test?

การตรวจ Sleep test นั้นใคร ๆ ก็สามารถตรวจได้ ซึ่งเราแนะนำว่าให้ทุกคนลองหาโอกาสไปตรวจดูบ้างสักครั้ง เนื่องจากเราไม่มีทางรู้เลยว่าพฤติกรรมการนอนหลับของเราเป็นอย่างไร แต่หลัก ๆ แล้วผู้ที่ควรรีบไปตรวจ Sleep test เป็นอย่างยิ่งคือผู้ที่พบว่าตอนเองเริ่มมีปัญหาการนอน ได้แก่

  • รู้สึกนอนไม่เต็มอิ่ม หรือหลับไม่สนิท ตื่นเช้ามาไม่สดชื่น ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้อดนอน
  • รู้สึกตกใจตื่นกลางดึก จากการหายใจไม่ออกหรือสำลักขณะนอนหลับ
  • มีอาการหลับ ๆ ตื่น ๆ อย่างเป็นประจำ
  • ผู้ที่มีปัญหาการนอนกรนเสียงดังบ่อยครั้ง
  • ผู้ที่รู้สึกง่วงนอนเวลากลางวัน
  • ผู้ที่มีอาการนอนละเมอ หรือ ฝันบ่อย ๆ  หรืออยู่ในอาการภวังค์ขณะนอนหลับ
  • ผู้ป่วยเป็นโรคนอนไม่หลับ

หรือถ้าคุณไม่แน่ใจว่าขณะหลับคุณมีอาการอะไรบ้าง คุณสามารถตรวจสอบการนอนของคุณได้จากแบบทดสอบการนอนที่โรงพยาบาลพระราม 9 เป็นผู้จัดทำ ได้ที่เว็บไซต์ของโรงพยาบาลโดยตรง เพื่อประกอบการตัดสินใจทดสอบ Sleep test

ง่วงนอนตอนกลางวัน

รายละเอียดการตรวจ Sleep test

การตรวจ Sleep test นั้นจะสามารถตรวจได้อย่างละเอียดที่โรงพยาบาล โดยแพทย์จะเริ่มทดสอบการนอนตอนหัวค่ำ ช่วงประมาณ 20.00 – 21.00 น. โดยจะเริ่มจากการซักประวัติสอบถามพฤติกรรมการนอนของคนไข้ ชำระทำความสะอาดร่างกาย จากนั้นแพทย์จะเริ่มกระบวนการตรวจการนอนหลับตามแพ็กเกจที่คนไข้ได้เลือกไว้ ซึ่งทั่วไปแล้วการทดสอบ Sleep test ที่โรงพยาบาลจะมี 3 แบบคือ

1. การตรวจสุขภาพการนอนแบบสมบูรณ์โดยมีเจ้าหน้าที่ (Comprehensive technician-attended polysomnography) ซึ่งเป็นการตรวจครบทุกกระบวนการ เก็บรายรายละเอียดทุกส่วน ตั้งแต่ การตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง กล้ามเนื้อ อวัยวะ การวัดออกซิเจนในเลือด การตรวจลมหายใจ ฯลฯ แต่จะมีค่าใช้จ่ายแพงที่สุด

2. การตรวจสุขภาพการนอนหลับแบบจำกัดข้อมูล (Limited channel portable Sleep test) ซึ่งเป็นการตรวจคุณภาพการนอนแบบจำกัดตามรายการที่ผู้ทดสอบเลือก ไม่ได้ตรวจแบบสมบูรณ์ครบทุกรูปแบบ ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากขึ้น แต่ผลตรวจที่ได้ก็จะไม่เที่ยงตรงเท่าการตรวจแบบสมบูรณ์

3. การตรวจระดับออกซิเจนในเลือด และวัดลมหายใจขณะหลับ (Single or dual channel portable Sleep test) ซึ่งเป็นการทดสอบแค่ในส่วนการวัดออกซิเจนในเลือด และการตรวจลมหายใจ และการตรวจส่วนอื่น ๆ ที่รวมแล้วไม่เกิน 3 อย่าง แต่ข้อเสียคือจะไม่สามารถวินิจฉัยปัญหาการนอนหลับได้ละเอียด

หมายเหตุ – นอกจากนี้ยังมีการตรวจ Sleep test แบบ Comprehensive-unattended portable polysomnography ซึ่งเป็นการตรวจครบสมบูรณ์แต่เป็นการตรวจที่บ้านของผู้ทดสอบ โดยไม่มีเจ้าหน้าที่เฝ้าการนอน และมีค่าใช้จ่ายที่ถูกกว่า

เมื่อถึงเวลาแพทย์จะทำการเริ่มสดสอบ Sleep test โดยทำการสวมหน้ากาก CPAP หรือซี-แพบ (อุปกรณ์ช่วยหายใจช่วยสร้างแรงดันอากาศขณะหายใจเข้า) ให้กับกรณีผู้ป่วยที่มักหยุดหายใจขณะนอนเพื่อปรับจังหวะการหายใจ จากนั้นจะติดอุปกรณ์ตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง และอุปกรณ์ตรวจกล้ามเนื้อต่าง ๆ ในแต่ละส่วนของร่างกาย รวมถึงสายวัดจมูกเพื่อตรวจระบบหายใจขณะนอนหลับ ตลอดจนอุปกรณ์อื่น ๆ ตามแพ็กเกจที่ผู้ป่วยเลือก ทั้งนี้อาจมีการบันทึกภาพวีดีโอขณะตรวจด้วยเพื่อสังเกตพฤติกรรมของผู้ป่วยขณะนอนหลับ อุปกรณ์ที่แพทย์ติดตั้งจะไม่มีผลข้างเคียงใด ๆ ต่อร่างกายผู้ทดสอบ เมื่อแพทย์ติดตั้งอุปกรณ์ครบแล้วก็สามารถนอนหลับได้ตามปกติ

หลังจากหลับไป 1 คืนแล้ว แพทย์จะวิเคราะห์การนอนหลับจากการวัดค่าคลื่นสมอง จังหวะการหายใจ การนอนกรน ค่าออกซิเจนในเลือดขณะนอนหลับ การกระตุกของกล้ามเนื้อ หากพบปัญหาการนอนใด ๆ ก็จะแจ้งให้ผู้ป่วยทราบเพื่อที่จะหาวิธีแก้ไขในลำดับต่อไป

ผู้ที่ต้องการตรวจ Sleep test ต้องเตรียมตัวอย่างไร?

ก่อนเริ่มตรวจการนอนหลับ (Sleep test) ให้ผู้ทดสอบเตรียมตัวดังต่อไปนี้

  • อาบน้ำชำระร่างกายให้เรียบร้อย ไม่ใส่น้ำหอม ไม่ต้องแต่งหน้า ไม่ใช้สเปรย์เซ็ตผม
  • ลดการดื่มน้ำก่อนเข้าทดสอบประมาณ 4-5 ชั่วโมง เพื่อไม่ให้ปวดปัสสาวะขณะนอนหลับ
  • รับประทานอาหารเย็นให้เรียบร้อยก่อนเข้าทดสอบ Sleep test ประมาณ 3-4 ชั่วโมง
  • งดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ น้ำอัดลม และเครื่องดื่มที่มีสารคาเฟอีนก่อนทดสอบการนอนหลับ 24 ชั่วโมง
  • หากผู้ทดสอบมีโรคประจำตัวและต้องทานยาก่อนนอน ต้องแจ้งให้แพทย์ทราบ
  • เตรียมแปรงสีฟัน ยาสีฟัน สบู่ล้างหน้า เพื่อทำความสะอาดร่างกายหลังจากการทดสอบ Sleep test
  • งดการนอนกลางวันหรืองีบหลับตอนกลางวันก่อนทดสอบ
  • หากมีข้อสงสัยให้รีบถามเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ Sleep test ทันที

ประโยชน์ของการตรวจ Sleep test มีอะไรบ้าง?

ผู้ที่เข้าตรวจการนอนหลับจะสามารถรับทราบถึงพฤติกรรมการนอนหลับและปัญหาการนอนของตนเอง เช่น การนอนกรน ปัญหาการนอนหลับไม่สนิท การนอนละเมอ เป็นต้น ซึ่งปัญหาการนอนดังกล่าวมักเป็นสัญญาณเริ่มต้นของโรคร้ายอย่างโรคหยุดหายใจขณะหลับชนิดอุดกั้น ภาวะชักขณะนอนหลับ โรคลมหลับ ตลอดจนพฤติกรรมผิดปกติต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นขณะนอนหลับ หากแพทย์พบอาการเหล่านี้จากการทดสอบ Sleep test ก็จะได้วางแผนรักษาผู้ป่วยให้ถูกจุดเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรคภัยดังกล่าวนั่นเอง

ยกตัวอย่างเช่น นายอุ่นใจ มีภาวะง่วงซึมทั้ง ๆ ที่เข้านอนตรงเวลา เมื่อทดสอบ Sleep test แล้วแพทย์พบว่า นายอุ่นใจภาวะนอนกรนอย่างรุนแรง และเสี่ยงเป็นโรคหยุดหายใจขณะหลับ แพทย์จึงป้องกันด้วยการให้ใส่เครื่อง CPAP ช่วยหายใจขณะนอนเพื่อรักษาอาการ เป็นต้น

ตรวจการนอนหลับ

ตรวจการนอนหลับ Sleep test ราคาเท่าไหร่?

การตรวจ Sleep test นั้นมีราคาที่แตกต่างกันออกไปตามรายละเอียดแพ็กเกจของแต่ละโรงพยาบาล ซึ่งโรงพยาบาลรัฐทั่วไปราคาจะถูกกว่าโรงพยาบาลเอกชนแต่ต้องรอคิวการตรวจนานกว่า นอกจากนี้ราคา Sleep test ยังขึ้นกับแผนการตรวจด้วย หากคุณตรวจแบบสมบูรณ์ครบทุกรายการก็จะมีราคาแพงกว่าการเลือกตรวจแบบจำกัดข้อมูล หรือการเลือกตรวจ Sleep test ที่บ้านก็จะราคาถูกกว่าตรวจที่โรงพยาบาล

เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจให้กับทุกท่าน เราได้ค้นหาราคา Sleep test มาเป็นตัวอย่างให้คุณดังนี้ (Update ปี 2023)

  • โรงพยาบาลวิภาวดี ราคา 9,000 – 31,000 บาท
  • โรงพยาบาลเปาโล ราคา 18,500 – 19,500 บาท
  • โรงพยาบาลกรุงเทพอินเตอร์เนชั่นแนล ราคาเริ่มต้น  24,000 บาท
  • โรงพยาบาลราชพฤกษ์ ราคาเริ่มต้น 10,000 บาท
  • โรงพยาบาลเพชรเวช ราคาเริ่มต้น 11,000 บาท
  • โรงพยาบาลสมิติเวช ศรีนครินทร์ ราคาเริ่มต้น 12,000 บาท
  • กรุงเทพ สลีป เซ็นเตอร์ ราคาเริ่มต้น 5,500 บาท
  • Vital Sleep Clinic ราคาเริ่มต้น 6,900 บาท

ตรวจ Sleep test ที่ไหนดี?

ในปัจจุบันนี้โรงพยาบาลชั้นนำทั้งโรงพยาบาลรัฐ และเอกชนจะมีบริการตรวจ Sleep test เบื้องต้นแนะนำว่าให้ตรวจสอบปัญหาการนอนของคุณก่อน จากนั้นหาข้อมูลรายละเอียดในแต่ละแพ็กเกจ Sleep test ของแต่ละโรงพยาบาลว่ามีการตรวจ Sleep test ลักษณะใดบ้าง แล้วให้เลือกแพ็กเกจที่ตรงกับพฤติกรรมหรือปัญหาการนอนของคุณ คุณอาจเปรียบเทียบราคาตรวจการนอนหลับของแต่ละโรงพยาบาล รวมถึงมองหาโรงพยาบาลที่เดินทางสะดวก เพื่อประกอบการตัดสินใจ หรือถ้าใครมีประวัติการรักษากับโรงพยาบาลเดิมอยู่แล้วก็อาจตรวจ Sleep test กับโรงพยาบาลนั้นเลยก็ได้เช่นกัน

Sleep test ประกันสังคมเบิกจ่ายได้หรือไม่?

การตรวจ Sleep test นั้น สามารถใช้สิทธิ์ประกันสังคม รวมไปถึงสิทธิ์ข้าราชการเบิกจ่ายได้ นอกจากนี้สิทธิ์ประกันสุขภาพบางแผนก็สามารถเบิกจ่ายได้เช่นกัน แต่ทั้งนี้คุณต้องตรวจสอบสิทธิ์กับโรงพยาบาลที่สังกัดในประกันสังคมให้ดี เพราะการตรวจ Sleep test จะมีอยู่ในบริการของโรงพยาบาลประกันสังคมบางแห่งเท่านั้น หากโรงพยาบาลที่คุณใช้สิทธิ์ประกันสังคมไม่มีการตรวจ Sleep test คุณก็ไม่สามารถเข้ารับการทดสอบได้ เว้นแต่คุณทำเรื่องขอย้ายไปโรงพยาบาลประกันสังคมที่มีบริการ Sleep test หรือให้โรงพยาลเดิมทำเรื่องส่งตัวไปรักษากับโรงพยาบาลที่มีบริการ Sleep test

จะเห็นได้ว่าการตรวจการนอนหลับหรือ Sleep test นั้น มีประโยชน์กับผู้ที่มีปัญหาการนอนได้เป็นอย่างดี หากคุณมีปัญหาด้านการนอน ไม่ว่าจะเป็นการนอนกรน นอนหลับไม่เต็มอิ่ม หลับไม่สนิท แรบบิท แคร์ แนะนำให้คุณทดสอบ Sleep test เพราะคุณอาจเสี่ยงเป็นโรคหยุดหายใจขณะหลับรวมถึงโรคร้ายแรงอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการนอนหลับได้ และหากเป็นโรคร้ายขึ้นมาเมื่อไหร่ก็ย่อมมีค่ารักษาราคาแพง แรบบิท แคร์ จึงขอแนะนำให้คุณทำประกันสุขภาพเผื่อเอาไว้ เพราะประกันจะช่วยให้ความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลเมื่อคุณเจ็บป่วยหรือเป็นโรคร้ายต่าง ๆ เลือกประกันสุขภาพที่เหมาะกับคุณ เปรียบเทียบราคาง่าย ๆ กับแรบบิท แคร์ เพราะเราใส่ใจแคร์ ดูแลครบครันยิ่งกว่าใคร

เปรียบเทียบประกันสุขภาพกับ Rabbit Care พิเศษ! ผ่อน 0% นานสูงสุด 10 เดือน
icon angle up or down

เลือกแผนประกันสุขภาพที่คุณสนใจ

    ชื่อนามสกุล

    หมายเลขโทรศัพท์


     

    บทความแคร์สุขภาพ

    Rabbit Care Blog Image 89748

    แคร์สุขภาพ

    โรคพุ่มพวงคืออะไร มีอาการอย่างไร อันตรายถึงชีวิตหรือไม่ ?

    โรคที่คนไทยเรียกกันจนติดปากว่าโรคพุ่มพวง เนื่องจากคนไทยเรารู้จักโรคนี้กันอย่างแพร่หลายเมื่อศิลปินชื่อดังอย่างคุณพุ่มพวง ดวงจันทร์
    Nok Srihong
    23/05/2024