
เช็กลิสต์ 10 พฤติกรรมที่คุณ(อาจ)พลาด ขณะเลือกซื้อประกันสุขภาพ
หลังจากร่างกายใช้งานหนักมาตลอดทั้งปี นอกจากการพักผ่อนในช่วงวันหยุดยาวที่ผ่านมาแล้ว สิ่งที่หลายคนหันมาให้ความสนใจมากขึ้น และเป็นเป้าหมายและหนึ่งในเทรนด์ประจำปีของใครหลายคนคงหนีไม่พ้นการหันมาดูแลสุขภาพนั่นเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เรื่องของไขมันคอเลสเตอรอลที่พบเจอปัญหากันทุกปี สรุปแล้ว คอเลสเตอรอล คือ อะไร? คอเลสเตอรอลสูงเท่าไหร่ อันตราย? ไตรกลีเซอไรด์ กับ คอเลสเตอรอล ต่างกันอย่างไร ? วันนี้ แรบบิท แคร์ มีคำตอบ
มาทำความเข้าใจกันก่อนว่า คอเลสเตอรอล คือ ไขมันชนิดหนึ่งที่ร่างกายสามารถสร้างเองได้ โดยหน้าที่หลักของคอเลสเตอรอล คือ การช่วยสร้างเซลล์ต่าง ๆ ให้กับร่างกาย เบื้องต้น สามารถแบ่งออกเป็น 2 ชนิดใหญ่ ๆ ได้แก่
จะเห็นได้ว่า พื้นฐานของไขมันในเลือดเองก็มีประโยชน์กับร่างกาย แต่หากมีมากเกินไป ก็อาจเกิดอันตรายต่อร่างกาย และอาจเสี่ยงเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดสูงขึ้น เนื่องจากไขมันจะไปเกาะตัวกันบนผนังหลอดเลือดทำให้เลือดไหลเวียนได้ไม่สะดวก เช่น ทำให้เป็นโรคเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือด, สมองขาดเลือด, อัมพฤกษ์, อัมพาต, โรคหัวใจขาดเลือด ได้
และหลายคนอาจจะตั้งคำถามว่าคอเลสเตอรอลสูงเท่าไหร่ อันตราย และต้องควบคุมปริมาณไขมันในเลือดให้สมดุลอยู่เสมออยู่ในระดับไหนจะปลอดภัยนั้น ได้มีเกณฑ์มาตรฐานของระดับคอเลสเตอรอลในเลือดจากทางโรงพยาบาลรามคำแหง ดังนี้ ระดับไขมันดี HDL ควรมีค่ามากกว่า 40-60 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ส่วนระดับไขมันไม่ดี LDL ควรมีค่าน้อยกว่า 100-130 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร และโดยเฉลี่ยแล้ว ระดับคอเลสเตอรอลรวม ไม่ควรเกิน 200 มิลลิกรัม/เดซิลิตรขึ้นกับความเสี่ยงของแต่ละบุคคล
หลายคนอาจจะเคยได้ยินมาบ้างถึงไตรกลีเซอไรด์ ซึ่ง เจ้า ไตรกลีเซอไรด์ คือ ไขมันอีกชนิดในร่างกายที่ได้มาจากการเปลี่ยนพลังงานส่วนเกินจากการกิน หรือส่วนมากได้รับมาจากการทานอาหารที่ให้พลังงานสูง เช่น อาหารที่มีน้ำตาลหรือแป้งขัดขาวปริมาณมาก, เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เป็นต้น
โดยพื้นฐานแล้ว ทั้งสองล้วนมีความจำเป็นต่อร่างกายเหมือนกัน และยังสามารถตรวจหาได้ด้วยการตรวจวัดระดับไขมันในเลือด ซึ่งเป็นการตรวจที่ทำได้ง่ายและทุกโรงพยาบาลสามารถตรวจได้ นอกจากนี้ยังใช้เป็นเกณฑ์การวัดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด และหากระดับไตรกลีเซอไรด์ลดลง โดยทั่วไประดับคอเลสเตอรอลมักลดลงตามไปด้วย
แต่แม้จะเหมือนกันมากแค่ไหน แต่ไตรกลีเซอไรด์กับคอเลสเตอรอล ยังมีความแตกต่างกันอยู่ ดังนี้
หลังจากที่เราได้รู้แล้วว่าคอเลสเตอรอล คือ อะไรกันมาแล้ว หลายคนอาจจะสงสัยว่า แล้วแบบนี้ คอเลสเตอรอลสูงขึ้นได้อย่างไร? สำหรับสาเหตุการเกิดไขมันเหล่านี้มาได้จากหลากหลายปัจจัยด้วยกัน ซึ่งปัจจัยต่าง ๆ นั้น จะมีดังนี้
ไขมันในเลือดสูงไม่เพียงแต่เกิดจากร่างกายเราผลิตขึ้นมา เรายังพบได้จากอาหารที่ทานในชีวิตประจำวันอีกด้วย และการทานอาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูง จะส่งผลโดยตรงต่อระดับคอเลสเตอรอลในร่างกาย เช่น อาหารทอด, เครื่องในสัตว์, อาหารทะเล(ยกเว้นปลา), ไข่, หนังสัตว์, เนยเทียม, เนยแข็ง, กะทิ หรือนมไม่พร่องมันเนย เป็นต้น
ดังนั้น ควรหลีกเลี่ยงอาหารข้างต้น หรืออาหารที่มีไขมันทรานส์สูง เพราะหากรับประทานในปริมาณมากก็จะทำให้ระดับไขมัน LDL เพิ่มสูงตามไปด้วย โดยเปลี่ยนมาทานแป้งโฮลวีต ธัญพืชอื่น ๆ หรือทานผักผลไม้ให้มากขึ้น ก็จะช่วยลดความเสี่ยงลงได้
รู้หรือไม่ ความเครียดไม่ได้มีผลแค่กับสุขภาพจิตเท่านั้น แต่ยังส่งผลไปถึงปริมาณคอเลสเตอรอลในร่างกาย! ทั้งนี้ เกิดจากการที่ความเครียดกระตุ้นให้ร่างกายสร้างพลังงานมากขึ้นในรูปของเชื้อเพลิงเมตาบอลิซึม เช่น กรดไขมันและกลูโคส ซึ่งการสร้างสารเหล่านี้ทำให้ตับต้องสร้างและหลั่งไขมัน LDL มากขึ้น ทำให้คอเลสเตอรอลในร่างกายเพิ่มขึ้นสูง นอกจากนี้ความเครียดขัดขวางการขจัดไขมันอีกด้วย
ไม่ว่าจะเป็นโรคภัยบางชนิด เช่น โรคตับ, โรคไต, โรคเบาหวาน, โรคอ้วน หรือการขาดฮอร์โมนจากต่อมไทรอยด์ รวมไปถึงความผิดปกติทางกรรมพันธุ์ มีประวัติคนในครอบครัวป่วยเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจหรือหลอดเลือดสมอง ช่วงอายุ และเพศชายที่มีความเสี่ยงสูงกว่าเพศหญิง และการทานยาบางชนิดอาจทำให้ระดับไขมันในเลือดสูงเพิ่มมากขึ้นได้
การดื่มสุราและสูบบุหรี่ เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ส่งผลต่อระดับคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ในร่างกาย โดยสุราจะทำให้การทำงานของตับไม่สามารถกำจัด LDL ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ และการสูบบุหรี่จะทำให้ไขมันในเลือดสูงส่วนเกินไม่สามารถลำเลียงไปยังตับได้ เป็นเหตุให้หลอดเลือดตีบเนื่องจากการสะสมของคอเลสเตรอลที่ผนังหลอดเลือดและกลายเป็นโรคหลอดเลือดแดงแข็งในที่สุด
นอกจากนี้ การออกกำลังกายหรือเคลื่อนไหวร่างกายน้อย การเคลื่อนไหวร่างกายที่น้อยลงจะทำให้ระดับคอเลสเตอรอลในร่างกายสูงได้
จะเห็นได้ว่าการที่คอเลสเตอเรอลในร่างกายสูงนั้น เบื้องต้นสามารถควบคุมได้จากการทาน การปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ ทั้งงดการดื่มแอลกอฮอล์ ลดการสูบบุหรี่ ลดอาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูง ออกกำลังกาย หรือขยับร่างกายให้มากขึ้น สัปดาห์ละ 2.5 ชั่วโมง จะช่วยกำจัดไขมัน LDL ออกไป อีกทั้งยังช่วยให้เลือดสูบฉีดได้ดี ทำให้หัวใจแข็งแรงขึ้น
ในบางกรณีที่มีค่าคอเลสเตอรอลสูง อาจเลือกปรึกษาแพทย์ถึงวิธีการรักษาและความจำเป็นในการใช้ยาเข้าช่วย แต่ทั้งนี้ ในกรณีที่ต้องใช้ยาในการรักษา แพทย์จะต้องทำการติดตามผลอย่างใกล้ชิด และแน่นอนว่า หากปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ปรับเปลี่ยนรูปแบบการทาน นอกจากจะช่วยลดค่าไขมันในเลือดสูงได้แล้ว ยังช่วยลดค่าไตรกลีเซอไรด์อีกด้วย
ส่วนคำแนะนำในการเข้ารับการตรวจวัดระดับคอเลสเตอรอลนั้น ควรหมั่นตรวจวัดเป็นประจำทุกปี โดยผู้ที่จะรับการตรวจควรงดอาหารและเครื่องดื่ม (ยกเว้นน้ำเปล่า) อย่างน้อย 12 ชั่วโมง และควรงดแอลกอฮอล์ 72 ชั่วโมง และการตรวจสามารถตรวจแยกชนิดของคอเลสเตอรอลและระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์ ช่วยให้จัดการกับความเสี่ยงได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป
เพราะเรื่องของสุขภาพไม่ใช่เรื่องไกลตัว การตรวจสุขภาพเป็นประจำสม่ำเสมอจะช่วยให้คุณวางแผนลดเลี่ยงความเสี่ยงต่าง ๆ ได้มากยิ่งขึ้น และแน่นอน การทำประกันสุขภาพไว้ตั้งแต่เนิ่น ๆ ก็เป็นอีกหนทางที่ช่วยลดความเสี่ยงได้เป็นอย่างดี สำหรับใครที่กำลังมองหาประกันสุขภาพดี ๆ อยู่ คลิกเลย ประกันสุขภาพ จาก แรบบิท แคร์ ที่มาพร้อมเบี้ยประกันที่จับต้องได้ มีหลากหลายประกันสุขภาพให้คุณได้เลือกให้เหมาะกับไลฟ์สไตล์ หรือความเสี่ยงต่าง ๆ ของคุณ
นักเขียนรุ่นไฮบริด เขียนบทความด้านการบริหารเงินส่วนบุคคลและการลงทุนต่าง ๆ กว่า 7 ปี เริ่มต้นที่งานเขียนที่ Rabbit Finance จนย้ายมาที่ Rabbit Care และ Asia Direct
บทความแคร์สุขภาพ
เช็กลิสต์ 10 พฤติกรรมที่คุณ(อาจ)พลาด ขณะเลือกซื้อประกันสุขภาพ
โรคพุ่มพวงคืออะไร มีอาการอย่างไร อันตรายถึงชีวิตหรือไม่ ?