
เช็กลิสต์ 10 พฤติกรรมที่คุณ(อาจ)พลาด ขณะเลือกซื้อประกันสุขภาพ
วิตามินซี ใคร ๆ ก็รู้ว่าเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อร่างกาย แต่จะมีมากน้อยแค่ไหน ที่เข้าใจว่าวิตามินซีจำเป็นต่อร่างกายอย่างไร ช่วยดูแลร่างกายในเรื่องไหน วิตามินซีแต่ละประเภทมีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร วิตามินซีกินตอนไหน วิตามินซี ห้ามกินคู่กับอะไร ? หรือใครบ้างที่จะเป็นต้องกินวิตามินเสริม ?
วันนี้ แรบบิท แคร์ รวบรวมเรื่องที่ควรรู้เกี่ยวกับวิตามินซีมาให้ ทุกคนจะได้รับประทานกันได้อย่างถูกวิธีและเกิดผลดีที่สุดต่อร่างกาย
วิตามินซี (Vitamin C) คือ วิตามินชนิดที่สามารถละลายน้ำได้ เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant) และเป็นวิตามินที่ร่างกายไม่สามารถสร้างขึ้นมาเอง ร่างกายของเราทุกคนจึงจำเป็นต้องได้รับวิตามินซีจากแหล่งต่าง ๆ อยู่เสมอ เช่น ในอาหารประเภทผัก ผลไม้ต่าง ๆ และจากอาหารเสริม
สำหรับผู้ที่สงสัยว่าวิตามินซีช่วยอะไร ? มีประโยชน์อย่างไรต่อร่างกายของเรานั้น ในด้านการดูแลสุขภาพ วิตามินซีเป็นสิ่งที่มีประโยชน์มากมาย ทั้งช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันร่างกายของเราให้แข็งแรง มีประสิทธิภาพมากขึ้น ช่วยให้เราไม่ป่วยหรือเป็นหวัดง่าย ๆ อีกทั้งยังช่วยในการซ่อมแซมและฟื้นฟูเนื้อเยื่อภายในร่างกาย ป้องกันเซลล์จากความเสียหาย เพิ่มความต้านทานต่อโรคหัวใจ โดยการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการควบคุมระดับคอเลสเตอรอลในร่างกายนั่นเอง
นอกจาก Vitamin-C จะมีส่วนช่วยในการดูแลสุขภาพแล้ว วิตามินซีก็ยังมีส่วนช่วยในการดูแลเรื่องความสวยความงามของร่างกายด้วยเช่นกัน เพราะวิตามินซีนั้นจะเป็นตัวช่วยกระตุ้นระบบการไหลเวียนโลหิตของผิวพรรณ ช่วยเสริมสร้างคอลลาเจน อีกทั้งยังเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้วิตามินซีกลายเป็นตัวช่วยสำคัญในการดูแลผิวพรรณให้ดูกระจ่างใส สุขภาพดี ดูเรียบเนียน จุดด่างดำจางลงนั่นเอง
รพ.กรุงเทพได้ให้ข้อมูลปริมาณวิตามินซีที่ร่างกายควรได้รับต่อวันไว้ว่าจากความรู้ด้านศาสตร์ชะลอวัยนั้น คนเราควรทานวิตามินซีวันละ 1,000 มิลลิกรัมต่อวัน เพื่อเป็นการช่วยในเรื่องของระบบภูมิต้านทานร่างกายและการบำรุงผิวพรรณ
และสำหรับผู้ที่มักป่วยเป็นโรคหวัดหรือเป็นภูมิแพ้บ่อย ๆ นั้น ควรทานวิตามินซี 2,000 มิลลิกรัมแต่ไม่ควรรับประทานเกิน 2,000 ต่อวัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของแต่ละบุคคล
ทั้งนี้หากร่างกายได้รับวิตามินซีในปริมาณที่มากจนเกินไปอาจส่งผลเสียต่อร่างกายได้ โดยจะมีอาการต่าง ๆ ดังนี้
ทั้งนี้ร่างกายของบางคนก็สามารถทำการย่อยวิตามินซีในปริมาณมาก (หลายพันมิลลิกรัม) ได้ สำหรับใครที่อยากทราบว่าแท้จริงแล้วตนเองสามารถรับประทานวิตามินต่อวันได้ในปริมาณเท่าไหร่ สามารถรับประทานในปริมาณมาก ๆ ได้หรือไม่ แนะนำให้เข้ารับการปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเป็นรายบุคคลไป เพราะร่างกายของคนเรานั้นไม่เหมือนกัน
ปัจจุบันนั้น Vitamin-C ถูกผลิตออกมาในหลากหลายรูปแบบแบ่งเป็นหลายประเภทด้วยกัน ซึ่งแต่ละประเภทก็จะมีลักษณะและวิธีการรับประทานที่แตกต่างกัน ดังต่อไปนี้
สำหรับวิตามินซีที่อยู่ในรูปแบบเม็ดนั้น จะมีขนาดตั้งแต่ 25 – 1,000 มิลลิกรัม แต่ขนาดหรือปริมาณของวิตามินซีที่นิยมขายกันทั่วไปตามร้านขายยาจะเป็น ปริมาณ 500 และ 1,000 มิลลิกรัม ผู้ที่เลือกรับประทานวิตามินซีรูปแบบเม็ดควรเลือกทานเป็นแบบ Buffered หรือ Sustained Release เนื่องจากตัววิตามินซีจะค่อย ๆ ละลายออกมาอย่างช้า ๆ ทำให้สามารถร่างกายของเราดูดซึมได้นานขึ้น แต่ข้อเสียของรูปแบบนี้นั้นจะอยู่ตรงที่ตัวเม็ดยาที่จะจะมีขนาดใหญ่ ทำให้กลืนลำบาก
ในส่วนของวิตามินซีที่อยู่ในรูปแบบของเม็ดอมปกติจะมีขนาดอยู่ที่ 25 – 500 มิลลิกรัม เป็นวิตามินชนิดที่เหมาะสำหรับผู้ที่กลืนยาเม็ดใหญ่ได้ยากและไม่ชอบกลืนแบบเป็นเม็ด แต่การรับประทานวิตามินชนิดนี้ก็มีข้อควรระวังเนื่องจากวิตามินซีเป็นกรด ที่มีฤทธิ์กัดกร่อน หากอมบ่อย ๆ อาจส่งผลทำให้ฟันกร่อนหรือฟันผุได้
วิตามินในรูปแบบเม็ดเคี้ยวนั้นจะมีขนาดประมาณ 30 มิลลิกรัม ซึ่งโดยส่วนมากแล้วนิยมที่จะทำมาให้เด็กทาน เพราะว่าวิตามินชนิดดังกล่าวนั้นมีมีรสหวาน เด็ก ๆ สามารถทานได้ง่าย
ข้อควรระวังก็คือหากรับประทานในปริมาณมาก ๆ ก็อาจจะส่งผลทำให้ฟันผุได้เช่นกัน เนื่องจากวิตามินชนิดนี้นั้นมักมีปริมาณน้ำตาลค่อนข้างสูง เพื่อให้มีรสหวานเป็นที่ชื่นชอบของเด็ก ๆ นั่นเอง
สำหรับ Vitamin-C ในรูปแบบเม็ดฟู่นี้นั้นภายในท้องตลาดมักจะมีขายในขนาดประมาณ 500 มิลลิกรัม และ 1,000 มิลลิกรัม วิธีรับประทานก็คือก่อนรับประทานจะต้องนำไปละลายในน้ำจนฟองหมด เพราะฟองแก๊สที่อยู่ในเม็ดฟู่นั้นอาจทำให้เกิดการแน่นท้องไม่สบายตัว
วิตามินแบบเม็ดฟู่นั้นจะเหมาะกับผู้ที่ไม่สามารถกลืนยาเม็ดขนาดใหญ่ได้ ไม่ชอบการรับประทานยาเม็ด หรือมีปัญหาด้านการกลืนได้ลำบาก
วิตามินในรูปแบบแคปซูลนี้มักจะมีขนาด 500 มิลลิกรัม ซึ่งถือเป็นขนาดที่เล็กกว่า Vitamin-C แบบอัดเม็ด และยังมีให้เลือกทานได้ทั้งในรูปแบบแคปซูลแข็งและรูปแบบแคปซูลนิ่ม โดยวิตามินชนิดนี้ถูกออกแบบมาสำหรับเพื่อเป็นทางเลือกให้แก่คนที่มีปัญหาในด้านการกลืนยาเม็ดเนื่องจากทั้งสองแบบจะมีขนาดเล็กกลืนง่ายมากนั่นเอง
ในส่วนของ Vitamin-C แบบฉีดนั้นจะมีขนาด 500 มิลลิกรัม และมีปริมาตรประมาณ 2 มิลลิลิตร ซึ่งการจะใช้ Vitamin-C แบบฉีดเข้าร่างกายนั้นควรที่จะทำอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ และจำเป็นที่จะต้องได้รับคำแนะนำจากแพทย์ก่อนว่ามีความจำเป็นหรือสมควรที่จะฉีดไหม
Vitamin-C ในรูปแบบฉีดนี้นั้นจะออกฤทธิ์ค่อนข้างเร็วอีกทั้งร่างกายยังสามารถที่จะนำวิตามินไปใช้ได้ทันที ซึ่งในจุดนี้ก็จะมีประโยชน์โดยตรงในการป้องกันหวัด และช่วงบำรุงซ่อมแซมผิว โดยที่ไม่จำเป็นต้องผ่านระบบย่อยอาหารนั่นเอง
ในส่วนของการเลือกช่วงเวลาในการกินวิตามินซีให้ได้ประสิทธิภาพมากที่สุดนั้นควรเลือกรับประทาน พร้อมอาหารมื้อเช้าและมื้อเย็น เนื่องจากโดยปกติแล้ววิตามินซีจะถูกขับออกภายใน 2 – 3 ชั่วโมง ดังนั้นจึงควรรักษาระดับวิตามินซีในเลือดให้สูงจึงนับเป็นสิ่งสำคัญต่อสุขภาพอย่างมาก
ขึ้นชื่อว่าวิตามินซีแล้วย่อมส่งผลดีต่อร่างกายดังนั้นการเลือกรับประทานยี่ห้อไหนนั้นควรเลือกจากการดูส่วนประกอบข้างขวดและระมัดระวังเรื่องส่วนผสมต่าง ๆ ที่ไม่ควรมีน้ำตาลมากเกินไป และพิจารณาตามความพึงพอใจกันได้เลย
ในการรับประทานวิตามินซีนั้นก็มีข้อควรระวังว่าไม่ควรรับประทานคู่กับสารอาหารและยาบางชนิด เพราะจะส่งผลเสียมากกว่าผลดีต่อร่างกายได้นั่นเอง
ได้รู้ถึงประโยชน์ ความสำคัญ รวมถึงวิธีการเลือกรับประทานวิตามินซีที่ถูกต้องเหมาะสมแก่การดูแลสุขภาพร่างกายไปแล้วก็อย่าลืมดูแลสุขภาพกันอย่างสม่ำเสมอ อีกทั้งต้องไม่ลืมที่จะทำประกันสุขภาพ กับ แรบบิท แคร์ เอาไว้ เพื่อเป็นการดูแลร่างกายที่อาจเสื่อมโทรมหรือมีโรคแทรกซ้อนตามวัย ป้องกันค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลที่บานปลายในอนาคตนั่นเอง
มีประสบการณ์มากกว่า 3 ปี เป็นนักเขียนด้านประกันสุขภาพ ประกันชีวิต เพื่อสุขภาพที่ Rabbit Care และ Asia Direct
และ 12 ปี ในอุตสาหกรรม OTA อย่าง Laterooms.com , Expedia.com จึงมีความเชี่ยวชาญด้านการท่องเที่ยว
จบการศึกษาปริญญาตรี สาขาการจัดการการเงิน มหาวิทยาลัยขอนแก่น
บทความแคร์สุขภาพ
เช็กลิสต์ 10 พฤติกรรมที่คุณ(อาจ)พลาด ขณะเลือกซื้อประกันสุขภาพ
โรคพุ่มพวงคืออะไร มีอาการอย่างไร อันตรายถึงชีวิตหรือไม่ ?