แคร์สุขภาพ

สถานการณ์เสี่ยงของคน 3 วัย ที่มีโอกาสติดเชื้อไวรัส Covid-19

ผู้เขียน : กองบรรณาธิการ
กองบรรณาธิการ

ทีมกองบรรณาธิการ กลุ่มนักเขียนผู้มีประสบการณ์ด้านรถยนต์ การเงิน และประกันภัย ของ แรบบิท แคร์ ที่เปิดดำเนินการมาแล้วมากกว่า 10 ปี

close
Facebook iconIG iconlinkedin iconYoutube icon
แก้ไขโดย : Tawan
Tawan

Tawan มีประสบการณ์สร้างสรรค์ผลงานออนไลน์ 2 ปี เขียนด้านยานยนต์ ประกันยานยนต์ที่ Rabbit Care และ Asia Direct มีใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันชีวิตและนายหน้าประกันวินาศภัย มีความเชี่ยวชาญด้านประกันรถยนต์และประกันชีวิต

close
linkedin icon
 
Published: February 22,2021
  
Last edited: December 17, 2021
ระดับความเสี่ยง-covid-19

สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 ระลอกใหม่ ที่อยู่ในช่วงการเฝ้าระวังและควบคุมโรคกันอยู่ในขณะนี้ หลาย ๆ คนก็น่าจะต้องมีวิธีการป้องกันตนเองเพื่อลดความเสี่ยงการติดเชื้อให้ได้มากที่สุด อย่างเช่นการสวมใส่หน้ากากอนามัยทุกครั้งเมื่อออกจากบ้าน, ล้างมือบ่อย ๆ ด้วยสบู่หรือเจลล้างมือแอลกอฮอล์, ใช้ช้อนกลางเมื่อรับประทานทานอาหารร่วมกับผู้อื่น, หลีกเลี่ยงการสัมผัสวัตถุที่มีผู้สัมผัสเยอะ (ลูกบิดประตู, ปุ่มกดลิฟท์ ฯลฯ)

ซึ่งแนวทางการป้องกันตนเองดังกล่าวนั้นเป็นแนวทางขั้นพื้นฐานที่ทุกคนสามารถปฏิบัติได้ แต่จะดีกว่าไหม? ถ้าแต่ละคนรู้ว่าตนเองมีความเสี่ยงแบบไหนมากกว่าคนอื่น เพื่อที่จะได้ช่วยเพิ่มการระมัดระวังตนเอง และป้องกันการติดเชื้อไวรัสได้ดียิ่งขึ้น บทความนี้ จึงขอหยิบยกเอาเรื่องของสถานการณ์เสี่ยงที่แตกต่างกัน ของคน 3 ช่วงวัย มาดูกันว่า คนในช่วงวัยคุณ ต้องเผชิญกับความเสี่ยงในรูปแบบใด จากที่ไหนบ้าง

ระดับความเสี่ยง-โควิด19

สถานการณ์เสี่ยงติด Covid-19 ของคน 3 ช่วงวัย วัยคุณ เสี่ยงแค่ไหน?

วัยเด็ก-วัยรุ่น

คนที่มีช่วงอายุอยู่ในวัยเด็ก-วัยรุ่น ในที่นี้หมายรวมถึงคนวัยเรียน ที่ใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่ในสถานศึกษา ซึ่งเป็นสถานที่ที่มีคนอยู่ร่วมกันเป็นจำนวนมาก ทั้งครูอาจารย์ และนักเรียน/นักศึกษาอีกหลายร้อยคน การใช้สถานที่ร่วมกัน อย่างเช่นห้องเรียน, ห้องน้ำ หรือห้องประชุมแบบปิด ที่มีการรวมตัวของคนจำนวนมากอยู่ด้วยกันในพื้นที่ที่จำกัด ก็เสี่ยงติดเชื้อจากคนที่อยู่ใกล้เคียงได้

ทางสถาบันการศึกษาหลาย ๆ แห่ง ก็ได้ออกประกาศเป็นข้อปฏิบัติเพื่อเสริมสร้างความมั่นใจของผู้ที่เกี่ยวข้องกับสถานศึกษานั้น ๆ ตามมาตรการป้องกันและควบคุมโรคจากทางรัฐบาล โดยจะมีการคัดกรองบุคคลที่จะเข้ามาในพื้นที่สถานศึกษา, จัดเตรียมเจลล้างมือไว้ตามจุดต่าง ๆ หากพบว่าผู้เรียนมีอาการ covid 19 หรือมีอุณหภูมิร่างกายสูง ทางสถานศึกษาจะแจ้งให้ผู้ปกครองมารับตัวกลับ และทางสถาบันจะมีเจ้าหน้าที่คอยดูแลทำความะอาดตามจุดที่มีผู้ใช้งานบ่อย ๆ เพื่อลดการสะสมของเชื้อโรค

การใช้ชีวิตอยู่ในสถานศึกษาของเด็ก ๆ วัยเรียนนั้นก็มีความจำเป็นที่จะต้องใช้งานสิ่งของบางชิ้นร่วมกัน อย่างเช่นโต๊ะเรียน, อุปกรณ์การเรียนบางชิ้น รวมไปถึงเรื่องอาหารการกินที่อาจไม่ได้สะอาดถูกสุขลักษณะเพียงพอ เด็ก ๆ วัยนี้จะชอบทานขนม จึงต้องระวังเรื่องความสะอาดของมือ รวมทั้งสิ่งของที่มักจะสัมผัสบ่อย ๆ

ผู้ปกครองจึงควรกำชับเด็ก ๆ ให้ล้างมือบ่อย ๆ โดยเฉพาะก่อนรับประทานอาหาร และพยายามไม่ให้ใช้มือไปสัมผัส หรือแกะเกา บริเวณใบหน้า, ดวงตา, จมูก และปาก เพราะอาจเป็นการนำพาเชื้อเข้าสู่ร่างกายได้โดยที่ไม่รู้ตัว

ระดับความเสี่ยง-โควิด19-วัยทำงาน

วัยทำงาน

โตขึ้นมาอีกนิด ก็คือวัยทำงานที่หมายรวมไปถึงวัยหนุ่ม-สาว จนถึงวัยกลางคน ที่คนส่วนใหญ่มักจะมองว่า คนในวัยนี้เป็นวัยที่ร่างกายเจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์เต็มที่แล้ว จึงน่าจะมีภูมิต้านทานโรคสูงกว่าวัยอื่น ๆ ก็อาจจะจริง

แต่ถ้ามาลองพิจารณาดูดี ๆ แล้ว คนในวัยทำงานนี่แหละที่ใช้ชีวิตอยู่ท่ามกลางความเสี่ยงมากที่สุด ด้วยอาชีพการงาน ลักษณะของงานที่ทำ ที่ทำให้จำเป็นต้องออกจากบ้านมาเผชิญความเสี่ยงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะงานที่ไม่สามารถปฏิบัติงานผ่านการ Work from home ได้ ก็จะมีความเสี่ยงจากการพบปะผู้คนจำนวนมาก หรือการเดินทางโดยระบบขนส่งสาธารณะที่มีผู้ใช้งานเป็นจำนวนมาก

ตอนนี้หลาย ๆ บริษัทก็เริ่มให้พนักงานกลับมาปฏิบัติงานที่บริษัทตามเดิมแล้ว เหล่าพนักงานออฟฟิศจึงมีความเสี่ยงจากการสัมผัสจุดสัมผัสร่วมในอาคารสำนักงาน อย่างเช่นปุ่มกดลิฟท์, เครื่องสแกนนิ้วมือ, ประตูอาคาร และความเสี่ยงจากการใกล้ชิดกับเพื่อนร่วมงานที่ไม่รู้ว่าไปที่ไหนมาบ้าง ด้วยเหตุนี้ เหล่าคนวัยทำงานจึงต้องระมัดระวังตัวมากเป็นพิเศษ

Covid-19 วัยผู้สูงอายุ

วัยผู้สูงอายุ

สำหรับผู้สูงวัยที่ผ่านการเกษียณอายุแล้ว จะเป็นวัยที่อวัยวะภายในร่างกายเริ่มเสื่อมลง และมีภูมิคุ้มกันโรคที่ต่ำลง จึงเป็นวัยที่ต้องใส่ใจเรื่องของการดูแลสุขภาพมากกว่าวัยอื่น ๆ สำหรับผู้สูงวัยบางคนที่ดูแลตัวเองดีมาตั้งแต่วัยหนุ่มสาว ก็จะมีภูมิต้านทานโรคที่ดีกว่า แต่ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 แบบนี้ วัยผู้สูงอายุ ก็ยังคงเป็นวัยที่มีความเสี่ยงติดเชื้อสูง และใช้เวลาในการรักษาที่นานกว่า

ความเสี่ยงของคนวัยนี้คือการออกไปทำกิจกรรม งานอดิเรกต่าง ๆ ตามสไตล์ผู้สูงวัย เช่นการไปสโมสร, ไปปฏิบัติธรรม, ไปสวนสาธารณะ ที่เป็นการออกไปพบปะกับผู้คนมากหน้าหลายตาที่อาจนำพาเชื้อไวรัสมาติดโดยไม่รู้ตัวได้

และความเสี่ยงอีกรูปแบบหนึ่งก็คือการติดเชื้อมาจากลูกหลานที่ไปนำพาเชื้อไวรัสมาจากภายนอกบ้านอีกที แล้วนำมาติดกับคนในครอบครัวที่ใช้ชีวิตคลุกคลีกันอยู่เป็นประจำ ถึงแม้ผู้สูงวัยจะชอบใช้เวลาอยู่ที่บ้านเป็นส่วนใหญ่ ก็ใช่ว่าจะไม่มีความเสี่ยง

ถึงแม้ว่าระดับความเสี่ยงจะแตกต่างกันออกไปตามการใช้ชีวิตของคนในแต่ละช่วงวัย แต่ทุกคนก็จำเป็นต้องระมัดระวังตัวเองและปฏิบัติตามมาตรการควบคุมโรคอย่างเคร่ดครัด เพราะไม่มีใครที่อยากติดเชื้อ หรือเป็นคนที่แพร่เชื้อต่อให้กับคนอื่นโดยไม่ได้ตั้งใจ จึงอยากฝากให้ทุกท่านดูแลตัวเองให้ดี และอย่าลืมดูแลคนรอบข้าง ให้ทุกคนปลอดภัย ห่างไกลโควิด-19 ไปด้วยกัน


 

บทความแคร์สุขภาพ

Rabbit Care Blog Image 89748

แคร์สุขภาพ

โรคพุ่มพวงคืออะไร มีอาการอย่างไร อันตรายถึงชีวิตหรือไม่ ?

โรคที่คนไทยเรียกกันจนติดปากว่าโรคพุ่มพวง เนื่องจากคนไทยเรารู้จักโรคนี้กันอย่างแพร่หลายเมื่อศิลปินชื่อดังอย่างคุณพุ่มพวง ดวงจันทร์
Nok Srihong
23/05/2024