แคร์สุขภาพ

รู้จัก วัคซีนโควิด-19 อ่านให้ชัด รู้ให้ชัวร์ ก่อนฉีดเข็มแรก

ผู้เขียน : ใบไม้ร่าเริง

มีประสบการณ์สร้างสรรค์ผลงานออนไลน์ 10 ปี เขียนด้านเงิน การลงทุน บทความวิเคราะห์สถานการณ์การเงินในประเทศ และฝากผลงานไว้ที่ Rabbit Care ถึง 4 ปี

close
แก้ไขโดย : Nok Srihong

มีประสบการณ์มากกว่า 3 ปี เป็นนักเขียนด้านประกันสุขภาพ ประกันชีวิต เพื่อสุขภาพที่ Rabbit Care และ Asia Direct และ 12 ปี ในอุตสาหกรรม OTA อย่าง Laterooms.com , Expedia.com จึงมีความเชี่ยวชาญด้านการท่องเที่ยว จบการศึกษาปริญญาตรี สาขาการจัดการการเงิน มหาวิทยาลัยขอนแก่น

close
linkedin icon
 
Published: May 19,2021
  
Last edited: February 14, 2020
วัคซีนโควิด

ในช่วงวิกฤตแบบนี้ วัคซีน ถือว่าเป็นความหวังเดียวในการเอาชนะไวรัสโควิด-19 ได้ หลังจากที่มีการระบาดของโรคตั้งแต่ต้นปี 2563 ไปทั่วโลกทำให้เกิดการติดเชื้อ และเสียชีวิตมากมาย แต่เริ่มมีบางประเทศที่ได้มีการคิดค้นผลิตวัคซีนออกมาเพื่อเป็นการป้องกันในครั้งนี้ ซึ่งก็มีหลายประเทศ และมีวัคซีนที่ผลิตออกมาน้ันมีคุณสมบัติที่ค่อนข้างแตกต่างกันอย่างไร  

ชนิดของวัคซีน COVID-19

ชนิดของวัคซีน COVID-19 ที่คนไทยต้องรู้

จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลก มีการคิดค้นวัคซีนโควิด-19 โดยหลายบริษัทผู้ผลิตและหลายรูปแบบ วิธีการผลิตวัคซีนหรือที่มาของวัคซีนมีหลายวิธีการดังนี้

1.mRNA vaccine หรือ messenger RNA (mRNA) vaccine 

เป็นวัคซีนจากบริษัทไฟเซอร์ ไบโอเอ็นเทค (Pfizer BioNTech) และของบริษัทโมเดอร์นา (Moderna) ประเทศสหรัฐอเมริกา ราคาไม่สูงมาก เพราะขั้นตอนการผลิตไม่ยุ่งยาก ผลิตง่าย และรวดเร็ว ผลิตจากสารพันธุกรรมของไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคโควิด-19 หรือไวรัสซาร์ส-โควี-2 (SARS-CoV-2) เมื่อฉีดวัคซีนเข้ามาในร่างกายมนุษย์ ตัวสารพันธุกรรมจะทำร่างกายมนุษย์สร้างโปรตีนที่สามารถกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสขึ้นมา วัคซีนประเภทนี้ใช้เทคโนโลยีใหม่ซึ่งไม่เคยมีประสบการณ์ในการใช้ในมนุษย์มาก่อน โดยคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้นำวัคซีนของบริษัท Moderna มาวิจัยระยะที่ 3 แล้วและให้ผลกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ดีในคนปกติ รวมทั้งในผู้สูงอายุด้วย

2.Viral Vector หรือ viral vector vaccine

เป็นวัคซีนของบริษัท AstraZeneca ร่วมกับ University of Oxford ของประเทศอังกฤษ ซึ่งใช้หลักการฝากสารพันธุกรรมของเชื้อไวรัสซาร์ส-โควี-2 (SARS-CoV-2) เข้าไปในไวรัสพาหะชนิดอื่นๆ เช่น adenovirus เพื่อพาเข้ามาในร่างกายมนุษย์ ทำให้เกิดการสร้างโปรตีนที่จำเพาะต่อเชื้อไวรัส SAR-CoV-2 ขึ้นมา จากนั้นร่างกายจะรับรู้ว่าโปรตีนที่สร้างขึ้นมานั้นเป็นสิ่งแปลกปลอมและจะสร้างระบบภูมิคุ้มกันขึ้นมา และจากการศึกษาวิจัยพบว่า วัคซีนมีประสิทธิภาพผลข้างเคียงพบว่า อาการที่รุนแรงที่เกิดขึ้นไม่พบว่าเกี่ยวข้องจากการรับวัคซีน ซึ่งวัคซีนตัวนี้เป็นตัวที่รัฐบาลไทยได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตจากมหาวิทยาลัย Oxford และบริษัท AstraZeneca ซึ่งคาดว่าจะทยอยส่งมอบล็อตแรก จำนวน 26 ล้านโดส 

Inactivated Virus Vaccine

3.Inactivated Virus Vaccine 

เป็นวัคซีนของบริษัท Sinovac, Sinopharm, Wuhan Institute เป็นวัคซีนเชื้อตาย ผลิตโดยการเลี้ยงไวรัสชนิดนี้ให้ได้ปริมาณมากแล้วมาทำให้ตายด้วยสารเคมีหรือความร้อน เมื่อฉีดวัคซีนแล้วร่างกายจะรับรู้ว่าเป็นสิ่งแปลกปลอมและจะสร้างระบบภูมิคุ้มกันขึ้นมา เป็นชนิดที่น่าจะมาไกลที่สุด และได้เริ่มใช้แล้วในวงจำกัดที่ประเทศจีน ซึ่งการผลิตวัคซีนชนิดนี้มีความยุ่งยากไม่ได้ใช้เทคโนโลยี่ใหม่ เพราะต้องใช้ BSL3 facility เพื่อเพาะเลี้ยงเชื้อ และผลิตได้ไม่เร็ว แต่เป็นชนิดของวัคซีนที่น่าจะได้ผลดี เพราะเอาไวรัสทั้งตัวมาฆ่าให้ตาย จึงไม่มีข้อต้องกังวลใจมากนัก วัคซีนตัวนี้น่าจะเข้าสู่ท้องตลาดได้เร็วที่สุด และน่าจะมีราคาสูงที่สุดด้วย

4.Protein Subunit Vaccine 

เป็นวัคซีนที่ได้รับความร่วมมือกันระหว่าง Sanofi กับ GSK โดยการใช้เทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกับการผลิตวัคซีนอื่นๆ ก็ยังอยู่ในการวิจัยทางคลินิกระยะที่ 2 และยังมีที่ผลิตในอีกมากมายกว่า 10 บริษัทในหลากหลายประเทศ เป็นการผลิตวัคซีนมาจากโปรตีนส่วนหนึ่งของเชื้อไวรัส SAR-CoV-2 ที่ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย เมื่อฉีดวัคซีนแล้วร่างกายจะรับรู้ว่าเป็นสิ่งแปลกปลอมและจะสร้างระบบภูมิคุ้มกันขึ้นมา ผลิตได้ง่าย รวดเร็ว ราคาไม่แพง แต่ให้การตอบสนองทางภูมิคุ้มกันดี

อาการข้างเคียงจากการแพ้วัคซีนโควิด-19

อาการข้างเคียงที่อาจเกิดจากการแพ้วัคซีนไวรัสโควิด-19

องค์การอนามัยโลก แบ่งประเภทสาเหตุของอาการไม่พึงประสงค์ หรือแพ้วัคซีนไวรัสโควิด-19 ไว้ดังนี้ 

  • ปฏิกิริยาผลจากวัคซีนโดยตรง แบ่งเป็นอาการเฉพาะที่ เช่น ปวด บวม แดงบริเวณที่ฉีด และอาดารต่อระบบอื่นๆ ของร่างกาย เช่น ไข้ ปวดเมื่อย ชัก ภาวะแพ้รุนแรงก็จัดอยู่ในกลุ่มนี้
  • วัคซีนไม่ได้มาตรฐาน เช่น การปนเปื้อนของเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส หรือเชื้อราจากการควบคุมกระบวนการผลิตที่ไม่ดีพอ หรือการทำลายฤทธิ์ไม่มีประสิทธิภาพ
  • เกิดจากการบริหารจัดการและวิธีการให้วัคซีน เช่น การเก็บรักษาวัคซีนไม่เหมาะสม การเตรียมวัคซีนไม่ถูกต้อง การฉีดวัคซีนผิดวิธีหรือเกินขนาดที่แนะนำ
  • ความกลัวหรือความกังวลต่อการฉีดวัคซีน เป็นการตอบสนองของแต่ละคน บางคนกลัวเข็ม บางคนกังวลผลข้างเคียงจากการฉีดวัคซีน ทำให้มีอาการวิงเวียนศีรษะ หายใจเร็ว หน้ามืด เป็นลม
  • การเสียชีวิตในผู้สูงอายุหรือมีโรคประจำตัวอยู่เดิมเป็นเหตุการณ์ที่บังเอิญเกิดขึ้นภายหลังจากได้รับวัคซีน
ประกันวัคซีนโควิด

ประกันวัคซีนโควิดเพิ่มความอุ่นใจได้ 

นับตั้งแต่เกิดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 หรือโควิด-19 (COVID-19) ไปทั่วโลก เมื่อปีที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน ทำให้หลายประเทศได้ทำการคิดค้นพัฒนาวัคซีนโควิด-19 มากกว่า 150 ประเภท เช่น  อังกฤษ ฝรั่งเศส อเมริกา ฯลฯ ที่ฉีดวัคซีนโควิดเพื่อสร้างระบบภูมิคุ้มกันภายในร่างกายให้สามารถต่อสู้และเอาชนะเชื้อไวรัสได้ ซึ่งในบางรายอาจมีอาการผลข้างเคียงต่อร่างกายตามมา 

การมีประกันโควิด-19 อย่างเดียวอาจยังไม่เพียงพอ เนื่องจากเราก็ไม่มีทางรู้ว่าการฉีดวัคซีนจะแพ้มั้ยหรือจะแพ้มากน้อยแค่ไหน ฉะนั้นแล้วจึงจำเป็นต้องมีประกันแพ้วัคซีนโควิด-19 ด้วย เป็นแผนคุ้มครองเจอ-แพ้-จ่ายค่ารักษาซึ่งต้องเป็นผู้ป่วยในเท่านั้น โดยหากหมอวินิจฉัยว่าอาการแพ้มาจากวัคซีน สามารถเคลมค่ารักษาผู้ป่วยในได้เลย และบางสัญญาอาจจะได้รับเงินชดเงินค่ารักษาพยาบาลด้วย รวมถึงภาวะโคม่า รวมไปถึงการคุ้มครองอุบัติเหตุด้วย 


 

บทความแคร์สุขภาพ

Rabbit Care Blog Image 89748

แคร์สุขภาพ

โรคพุ่มพวงคืออะไร มีอาการอย่างไร อันตรายถึงชีวิตหรือไม่ ?

โรคที่คนไทยเรียกกันจนติดปากว่าโรคพุ่มพวง เนื่องจากคนไทยเรารู้จักโรคนี้กันอย่างแพร่หลายเมื่อศิลปินชื่อดังอย่างคุณพุ่มพวง ดวงจันทร์
Nok Srihong
23/05/2024