แคร์สุขภาพ

แพ้กัญชาร้ายแรงแค่ไหน ก่อนบริโภคกัญชามีข้อควรระวังอะไรบ้าง?

ผู้เขียน : Nok Srihong
Nok Srihong

มีประสบการณ์มากกว่า 3 ปี เป็นนักเขียนด้านประกันสุขภาพ ประกันชีวิต เพื่อสุขภาพที่ Rabbit Care และ Asia Direct และ 12 ปี ในอุตสาหกรรม OTA อย่าง Laterooms.com , Expedia.com จึงมีความเชี่ยวชาญด้านการท่องเที่ยว จบการศึกษาปริญญาตรี สาขาการจัดการการเงิน มหาวิทยาลัยขอนแก่น

close
linkedin icon
แก้ไขโดย : คะน้าใบเขียว
คะน้าใบเขียว

นักเขียนรุ่นไฮบริด เขียนบทความด้านการบริหารเงินส่วนบุคคลและการลงทุนต่าง ๆ กว่า 7 ปี เริ่มต้นที่งานเขียนที่ Rabbit Finance จนย้ายมาที่ Rabbit Care และ Asia Direct

close
linkedin icon
 
Published: July 14,2022
  
Last edited: October 19, 2023
แพ้กัญชา

ตั้งแต่กลางปี 2565 เป็นต้นมาทางภาครัฐได้ปลดล็อกกัญญาเสรี ทำให้กัญชาเป็นพืชเศรษฐกิจถูกต้องตามกฎหมายที่สามารถใช้ประโยชน์ได้หลากหลายทั่วไป โดยเฉพาะร้านอาหารและเครื่องดื่มต่าง ๆ ก็เริ่มนิยมนำกัญชามาเป็นวัตถุดิบประกอบอาหาร หากผู้บริโภคมีอาการแพ้กัญชาหรือบริโภคกัญชาเกินขนาดก็อาจทำให้เกิดอันตรายร้ายแรงได้เช่นกัน แต่ประเด็นคือผู้ที่ยังไม่เคยลองกัญชาจะรู้ได้อย่างไรว่าเราแพ้กัญชา อาการแพ้กัญชาเป็นอย่างไร และการบริโภคกัญชาที่ถูกต้องควรทำอย่างไร น้องแคร์จะมาอธิบายให้ได้ทราบกันดังนี้ 

สรรพคุณของกัญชา

แม้ว่าในอดีตกัญชาจะเป็นสารเสพติดแต่ด้วยคุณประโยชน์ของมันก็ทำให้มีการปลอดล็อกเพื่อใช้ประโยชน์เชิงการแพทย์ ซึ่งกัญชานั้นมีคุณประโยชน์มากมาย เช่น ช่วยในการผ่อนคลายความเครียด แก้อาการซึมเศร้า ทำให้เจริญอาหาร ช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อ นอกจากนี้ในวงการแพทย์ยังใช้กัญชาในการรักษาภาวะคลื่นไส้อาเจียน ลมชัก การปวดเรื้อรัง ยับยั้งเซลล์มะเร็งด้วย ตลอดจนนำมาบรรเทาอาการเจ็บปวดของผู้ป่วยระยะสุดท้ายอีกด้วย เรียกได้ว่าหากใช้กันญาอย่างถูกวิธีในปริมาณเหมาะสมก็จะมีประโยชน์มากมายเลยทีเดียว

กัญชาเม็ด

อาการแพ้กัญชาเป็นอย่างไร?

เนื่องจากภาครัฐเพิ่งจะปลดล็อคกัญชา ทำให้ผู้ที่ยังไม่เคยบริโภคกัญชาหันมาสนใจเป็นจำนวนมาก ซึ่งบางคนก็ยังไม่เคยทราบว่าอาการแพ้กัญชานั้นเป็นอย่างไรเพราะไม่เคยได้ลองมาก่อน  เบื้องต้นแนะนำให้ลองบริโภคกัญชาปริมาณน้อย ๆ หากมีอาการแบบนี้แสดงว่าคุณแพ้กัญชาแน่นอน

อาการแพ้กัญชาแบบไม่รุนแรง

อาจเรียกได้ว่าเป็นผลข้างเคียงจากการเสพหรือบริโภคอาหารที่มีกัญชาเป็นส่วนผสม ซึ่งอาการเหล่านี้จะไม่รุนแรงมากนักและไม่ต้องไปพบแพทย์ ได้แก่ รู้สึกง่วงนอน ปากแห้งคอแห้งกระหายน้ำ วิงเวียนศรีษะและคลื่นไส้เล็กน้อย ซึ่งวิธีการแก้ก็คือให้ดื่มน้ำเปล่ามาก ๆ แต่ถ้ารู้สึกมึนเมาก็สามารถแก้อาการด้วยการดื่มน้ำมะนาวสดผสมเกลือเล็กน้อยก็จะช่วยบรรเทาการเมาได้เป็นอย่างดี สำหรับใครที่มีอาการเวียนหัวก็ให้ดื่มน้ำขิงก็จะช่วยได้เช่นกัน

อาการแพ้กัญชาอย่างรุนแรง

เป็นอาการแพ้ชนิดรุนแรง ผู้ที่มีอาการต้องไปพบแพทย์อย่างรวดเร็ว ซึ่งอาการดังกล่าวได้แก่ มีภาวะหัวใจเต้นเร็วผิดจังหวะ แน่นหน้าอกหายใจติดขัด มีอาการเกร็งชักเป็นลมหมดสติ รวมถึงมีอาการหลอนประสาทสับสนกระวนกระวาย หากมีอาการดังนี้ไม่ควรรอให้หายเองเพราะอาจร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ 

อาการแพ้กัญชาในแต่ละคนนั้นจะแตกต่างกัน บางรายอาจแพ้ไม่รุนแรงแป๊บเดียวก็หาย แต่บางรายอาจแพ้อย่างหนักแม้จะบริโภคกัญชาไปเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ด้วยเหตุนี้ก่อนบริโภคกัญชาคุณต้องระมัดระวังให้ดี ควรบริโภคในปริมาณที่เหมาะสม แต่ถ้าใครยังไม่เคยลองกัญชามาก่อนก็ให้เริ่มบริโภคในปริมาณเล็กน้อยเท่านั้น หรือถ้าจะให้ดีก็ควรบริโภคโดยมีแพทย์ผู้เชียวชาญคอยควบคุมดูแลอย่างใหล้ชิด

ผู้ที่ไม่ควรบริโภคกัญชา

– ผู้ป่วยสูงอายุที่เป็นโรคตับหรือโรคไต

– ผู้ป่วยที่ใช้ยาที่มีผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง โดยเฉพาะผู้ป่วยจิตเวช

– ผู้ป่วยโรคหัวใจ หรือโรคที่เกี่ยวกับหลอดเลือด

– ผู้ที่กำลังอยู่ในช่วงตั้งครรภ์

– เยาวชนอายุต่ำกว่า 20 ปี

– ผู้ป่วยที่ใช้ยาละลายลิ่มเลือดวาร์ฟาริน

เมนูอาหารกัญชา

วิธีบริโภคกัญชาอย่างถูกต้องและปลอดภัย

ทั้งนี้กัญชาจะมีสาร THC จำนวนมาก โดยสารดังกล่าวจะมีฤทธิ์ให้เกิดการมึนเมา ดังนั้นการนำมาประกอบอาหารจึงต้องใช้กระบวนการลดทอนปริมาณสาร THC ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมนั่นเอง รวมถึงต้องบริโภคในปริมาณที่เหมาะสมไม่ให้รับสาร THC  มากเกินไปดังนี้

– เลือกทานร้านอาหารผสมกัญชาที่ได้รับการรับรองจาก อย. หรือหากเลือกซื้อใบกัญชามาประกอบอาหารเองก็ต้องเลือกซื้อร้านที่ได้รับการรับรองเช่นกัน

– พยายามนำใบกัญชาสดมาประกอบอาหาร เพราะจะมีสาร THC น้อยกว่าใบกัญชาตากแห้ง

– ในการทานอาหาร 1 มื้อไม่ควรทานอาหารที่ผสมกัญชาเกิน 1 เมนูขึ้นไป 

– สำหรับการประกอบอาหารแนะนำให้ใช้ใบกัญชา 1 ใบ ต่อ 1 เมนู 

– ไม่ควรนำใบกัญชามาประกอบอาหารที่ต้องผ่านความร้อนเยอะ ๆ เช่น พวกเมนูทอด เพราะความร้อนจะทำให้สาร THC มีจำนวนมากขึ้น

– แนะนำให้ทานใบกัญชาสด เช่น การทานเป็นผัดสด สลัด หรือยำ ซึ่งใบสดจะมีสาร THC น้อยกว่า

– สำหรับผู้บริโภคกัญชาใหม่ ๆ ควรเริ่มต้นทานเพียง 1 เมนูต่อวัน หากมีอาการแพ้ให้หยุดทานทันที

แพ้กัญชาเคลมประกันสุขภาพได้หรือไม่

โดยทั่วไปแล้วประกันสุขภาพจะไม่คุ้มครองการเจ็บป่วยหรืออาการข้างเคียงที่เกิดจากการใช้ยาเสพติดรวมถึงการกระทำที่ผิดกฎหมาย แต่ในเมื่อกัญชาได้ปลดล็อคอย่างถูกกฎหมายแล้วหากมีอาการป่วยจากการแพ้กัญชาก็จะสามารถเคลมค่ารักษาจากประกันสุขภาพได้ เหมือนกับแพ้อาหารต่าง ๆ แต่อย่างไรก็ตามน้องแคร์ก็ขอแนะนำว่าควรบริโภคกัญชาในปริมาณที่เหมาะสมอย่าให้เกิดการแพ้ย่อมดีกว่าแน่นอน

สุดท้ายนี้น้องแคร์ขอฝากทุกทานว่าให้บริโภคกันชากันอย่างมีสติเหมือนเป็นสมุนไพรแก้อาการมากกว่าการบริโภคเพื่อเสพติด รวมถึงต้องบริโภคในปริมาณที่เหมาะสมตามคำแนะนำของแพทย์อย่างใกล้ชิด หรือหากใครมีอาการแพ้ก็ไม่ควรฝืนบริโภคต่อ หากมิเช่นนั้นแล้วจากสมุนไพรที่มีประโยชน์ก็จะกลายเป็นโทษแทน และที่สำคัญคืออย่าลืมทำประกันสุขภาพไว้ด้วยเพราะการเจ็บป่วยย่อมมีโอกาสเกิดขึ้นกับคุณได้เสมอ ซึ่งประกันสุขภาพจะช่วยค่ารักษาพยาบาลให้กับคุณ ทำให้คุณไม่ต้องควักกระเป๋าจ่ายหนักนั่นเอง


 

บทความแคร์สุขภาพ

Rabbit Care Blog Image 89748

แคร์สุขภาพ

โรคพุ่มพวงคืออะไร มีอาการอย่างไร อันตรายถึงชีวิตหรือไม่ ?

โรคที่คนไทยเรียกกันจนติดปากว่าโรคพุ่มพวง เนื่องจากคนไทยเรารู้จักโรคนี้กันอย่างแพร่หลายเมื่อศิลปินชื่อดังอย่างคุณพุ่มพวง ดวงจันทร์
Nok Srihong
23/05/2024