เงินผู้สูงอายุโอนเข้าวันไหนบ้าง? ต้องลงทะเบียนยังไง มีเงื่อนไขอะไรบ้างที่ควรรู้ก่อน





สำหรับโครงการเงินผู้สูงอายุโดยปกติแล้ว จะมีการโอนเงินให้ในช่วงต้นเดือนของทุกเดือนอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับเงินช่วยเหลือในการดำรงชีพแต่ละเดือน หากผู้สูงวัยหลายท่านเพิ่งอายุครบ 60 ปี แต่ไม่รู้ว่าต้องลงทะเบียนที่ไหน ตัวเองมีสิทธิ์ได้รับเงินผู้สูงอายุหรือไม่ รวมถึงไม่เข้าใจวิธีการลงทะเบียนด้วยตัวเอง สามารถติดตามอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ในหัวข้อย่อยทั้งหมด ที่ แรบบิท แคร์ ได้เตรียมรวบรวมมาให้ผ่านบทความนี้
ทำความเข้าใจเบี้ยผู้สูงอายุ คือ อะไร
เงินผู้สูงอายุ เบี้ยผู้สูงอายุ หรือเงินคนแก่ ทั้งหมดนี้ คือ สวัสดิการที่รัฐบาลไทยจัดหามาให้สำหรับผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป นับว่าเป็นเงินช่วยเหลือที่ทำให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ดังนั้นไม่ว่าจะใช้คำไหนในการเรียกเงินผู้สูงอายุ ก็ถือว่าเป็นกลุ่มสวัสดิการเดียวกัน ซึ่งต้องมีเงื่อนไขในการลงทะเบียนเพิ่มเติม
ใครบ้างมีสิทธิ์ได้รับเงินผู้สูงอายุ
ผู้ที่มีสิทธิ์ได้รับเบี้ยผู้สูงอายุ หรือเงินคนแก่ จะต้องมีคุณสมบัติทั้งหมด 4 ข้อ ดังนี้
- ผู้ที่มีสัญชาติไทย มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตการปกครององค์กรส่วนท้องถิ่นตามทะเบียนบ้าน
- อายุครบ 59 ปีบริบูรณ์ เนื่องจากรัฐบาลได้มีการอนุญาต ให้ลงทะเบียนรับเบี้ยคนชรา ล่วงหน้าก่อนอายุ 60 ปีได้
- ผู้ที่มีบุตรทำงานในหน่วยงานภาครัฐ มีสิทธิ์ได้รับเงินบำนาญพิเศษตลอดชีวิต เพื่อเป็นการทดแทนที่บุตรทำหน้าที่เพื่อประเทศไทย นอกเหนือจากนั้นหากได้รับสวัสดิการคนจนจากภาครัฐแล้ว ยังมีสิทธิ์ได้รับเบี้ยคนชราเช่นกัน
- ต้องเป็นผู้ที่ไม่เคยได้รับสวัสดิการ หรือสิทธิประโยชน์จากรัฐ เช่น เงินบำนาญ ได้เงินเดือนจากรัฐบาล เป็นต้น
อายุเกิน 60 แล้วยังลงทะเบียนได้ไหม
อายุเกิน 60 แล้วยังสามารถลงทะเบียนรับเบี้ยคนชรา หรือเงินคนแก่ได้ตามปกติ เนื่องจากตัวสวัสดิการเงินผู้สูงอายุนั้นมีการดูแลไปตลอดจนถึง อายุมากกว่า 90 ปี ดังนั้นหากมีการขาดตกบกพร่องเรื่องลงทะเบียนรับเงินผู้สูงอายุไปตอน 60 ปี หลังจากนั้นยังสามารถลงทะเบียนได้ไม่ต้องกังวล

เงินผู้สูงอายุเข้าวันไหน
เงินผู้สูงอายุ โอนเข้าบัญชีวันไหน? โดยปกติแล้วทางรัฐบาลจะทำการโอนเงินผู้สูงอายุ หรือเงินคนให้ในช่วงไม่เกินวันที่ 10 ของทุกเดือน เว้นแต่ว่าวันที่ 10 ของเดือนไหนตรงกับวันหยุด ทางรัฐก็จะมีการโอนเงินให้ล่วงหน้าเร็วกว่าปกติ โดยภาพรวมของการโอนเงินคนแก่ หรือเงินผู้สูงอายุประจำปี 2568 มีดังนี้
- เดือนมกราคม เงินผู้สูงอายุเข้า วันศุกร์ที่ 10 มกราคม 2568
- เดือนกุมภาพันธ์ เงินผู้สูงอายุเข้า วันจันทร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ 2568
- เดือนมีนาคม เงินผู้สูงอายุเข้า วันจันทร์ที่ 10 มีนาคม 2568
- เดือนเมษายน เงินผู้สูงอายุเข้า วันพฤหัสบดีที่ 10 เมษายน 2568
- เดือนพฤษภาคม เงินผู้สูงอายุเข้า วันศุกร์ที่ 9 พฤษภาคม 2568
- เดือนมิถุนายน เงินผู้สูงอายุเข้า วันอังคารที่ 10 มิถุนายน 2568
- เดือนกรกฎาคม เงินผู้สูงอายุเข้า วันพฤหัสบดีที่ 10 กรกฎาคม 2568
- เดือนสิงหาคม เงินผู้สูงอายุเข้า วันศุกร์ที่ 8 สิงหาคม 2568
- เดือนกันยายน เงินผู้สูงอายุเข้า วันพุธที่ 10 กันยายน 2568
วิธีเช็คเงินเยียวยาผู้สูงอายุ
วิธีการเช็กว่ามีสิทธิ์ได้รับเบี้ยคนชราหรือไม่นั้น เพียงเข้าไปที่หน้าเว็บไซต์ govwelfare.cgd.go.th พร้อมกรอกข้อมูลเลขบัตรประจำตัวประชาชน ก็สามารถตรวจสอบสิทธิ์ได้อย่างครบถ้วนทันที ส่วนคนที่อยากรู้ว่าเงินเดือนผู้สูงอายุเข้าหรือยัง ต้องตรวจสอบจากบัญชีธนาคารที่ลงทะเบียนเอาไว้ ไม่ว่าจะเป็นจากแอปพลิเคชัน รวมถึงการนำสมุดบัญชีไปอัปเดตก็ได้เช่นเดียวกัน
เงินผู้สูงอายุได้เท่าไหร่
- อายุ 60 – 69 ปี ได้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เดือนละ 600 บาท
- อายุ 70 – 79 ปี ได้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เดือนละ 700 บาท
- อายุ 80 – 89 ปี ได้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เดือนละ 800 บาท
- อายุ 90 ปีขึ้นไป ได้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เดือนละ 1,000 บาท
วิธีลงทะเบียนผู้สูงอายุ
วิธรลงทะเบียนบัตรผู้สูงอายุ ต้องรู้ข้อมูลทั้งหมด 3 เรื่อง คือ ช่องทางการลงทะเบียน, เอกสารที่ต้องใช้ และขั้นตอนการลงทะเบียนเข้าร่วมรับสวัสดิการเงินคนแก่ โดยสรุปข้อมูลทั้งหมด เพื่อให้ลงทะเบียนได้อย่างครบถ้วนและถูกต้อง สามารถติดตามอ่านได้จากหัวข้อย่อยด้านล่างนี้
ช่องทางการลงทะเบียนเบี้ยผู้สูงอายุ
ช่องทางการลงทะเบียนเงินผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร ต้องไปลงที่สำนักงานเขตที่ตัวเองมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน และสำหรับต่างจังหวัด ต้องไปลงทะเบียนที่ อบต.(องค์การบริหารส่วนตำบล) หรือเทศบาลที่ตัวเองมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน
เอกสารสำหรับการลงทะเบียนเบี้ยผู้สูงอายุ
- กรณีลงทะเบียนด้วยตัวเอง : สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน จำนวน 1 ชุด, สำเนาทะเบียนบ้าน จำนวน 1 ชุด และเนาสมุดบัญชีเงินฝาก จำนวน 1 ชุด
- กรณีมอบอำนาจให้ผู้อื่นมายื่นคำขอรับเงินแทนได้ : ต้องเตรียมเอกสารเพิ่มเติม คือ หนังสือมอบอำนาจ (แบบฟอร์มมอบให้ติดต่อเจ้าหน้าที่โดยตรง), สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ และสำเนาทะเบียนบ้านของผู้รับมอบอำนาจ
ขั้นตอนการลงทะเบียนเบี้ยผู้สูงอายุ
ขั้นตอนการลงทะเบียนมีทั้งหมด 3 ขั้นตอนใหญ่ ๆ คือ ผู้สูงอายุยื่นคำขอขึ้นทะเบียนฯ พร้อมเอกสารหลักฐาน, เจ้าหน้าที่ตรวจสอบเอกสารหลักฐาน / สัมภาษณ์ / บันทึกข้อมูลเพิ่มเติม และทำการตรวจสอบเอกสารพร้อมข้อมูลที่ได้รับ
คำแนะนำเพิ่มเติม ปัจจุบันการรับเงินเยียวยาผู้สูงอายุ สามารถเลือกใช้งานผ่านระบบบัญชีธนาคารได้แล้ว แต่หากท่านไหนยังเลือกเป็นการรับเงินสดด้วยตัวเอง ต้องมีการติดต่อรับเบี้ยยังชีพด้วยตัวเอง พร้อมกับยื่นบัตรประชาชนเพื่อทำการตรวจสอบสิทธิ์ ภายในวันที่ 1-10 ของทุกเดือนเช่นเดียวกัน

ปัจจุบันสวัสดิการผู้สูงอายุมีอะไรบ้าง
- ด้านการแพทย์และสาธารณสุข : การจัดช่องพิเศษเพื่อให้ได้รับบริการที่สะดวกและรวดเร็ว
- ด้านการศึกษา การศาสนา และข้อมูลข่าวสาร : ศูนย์การเรียนรู้ในชุมชน และให้มีหลักสูตรการศึกษาเกี่ยวกับผู้สูงอายุ
- ด้านการประกอบอาชีพ ฝึกอาชีพที่เหมาะสม : ได้รับข้อมูล คำปรึกษา ข่าวตลาดแรงงาน การจัดหางาน โดยมีศูนย์กลางข้อมูลเฉพาะทางที่สำนักงานจัดหางานทุกแห่ง
- ด้านการพัฒนาตนเอง การมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม
- ด้านการอำนวยความสะดวก และความปลอดภัยในอาคาร สถานที่ ยานพาหนะ บริการสาธารณะอื่น
- ด้านการลดหย่อนค่าโดยสาร : เช่น รถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT), รถไฟฟ้า (BTS), รถโดยสารประจำทาง ขสมก., รถโดยสารบริษัทขนส่ง จำกัด (บขส.) และแอร์พอร์ต เรล ลิงค์ เป็นต้น
- ด้านการยกเว้นค่าเข้าชมสถานที่ของรัฐ : เช่น พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุทยานแห่งชาติ และอุทยานประวัติศาสตร์ เป็นต้น
- ด้านการช่วยเหลือผู้สูงอายุ กรณีถูกทารุณกรรม หรือถูกแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบด้วยกฎหมาย
- การให้คำแนะนำ ปรึกษา ดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาทางครอบครัว
- ด้านการช่วยเหลือด้านที่พักอาศัย อาหาร และเครื่องนุ่งห่ม
- ด้านการช่วยเหลือเงินเบี้ยยังชีพ
- การสงเคราะห์ในการจัดการศพตามประเพณี
- ด้านการลดหย่อนภาษีเงินได้
- ด้านกองทุนผู้สูงอายุ
กรณีที่เงินคนแก่หรือเงินผู้สูงอายุไม่เข้า ต้องติดต่อทางไหน
กรณีที่เงินเยียวยาผู้สูงอายุไม่เข้า ต้องติดต่อทางไหน? สามารถเข้าไปติดต่อได้ ณ หน่วยงานที่ทำการลงทะเบียนเอาไว้ โดยในกรุงเทพมหานครสามารถสอบถามได้ที่สำนักงานเขต
ส่วนต่างจังหวัดสอบถามได้ที่เทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบลในท้องถิ่น หรือติดต่อ
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เบอร์ 02-2419000 ต่อ 4131
คำแนะนำเพิ่มเติม หากท่านที่เคยลงทะเบียนไปแล้วมีการย้ายทะเบียนบ้าน จากการย้ายที่อยู่ ต้องมีการติดต่อยืนยันสิทธิ์ใหม่อีกครั้ง ณ อบต. (องค์การบริหารส่วนตำบลในท้องถิ่น) ไม่อย่างนั้นอาจทำให้เสียสิทธิ์และไม่ได้รับเงินผู้สูงอายุตามปกติ

สุดท้ายนี้เรื่องเงินผู้สูงอายุเป็นสวัสดิการที่ทุกท่านไม่ควรมองข้าม เพราะตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมาเราเองก็ทำงานมาอย่างหนัก จนอายุมากขึ้นเรื่อย ๆ อาจไม่สามารถทำงานได้มากเท่าเดิม ดังนั้นรายรับที่ลดลง สวนทางกับรายจ่ายที่เพิ่มขึ้น การมีเงินผู้สูงอายุเข้ามาอย่างน้อยก็จะช่วยดำรงชีพได้ดีขึ้น
และหากท่านไหนมีกำลังทรัพย์เหลือพอ แรบบิท แคร์ อยากขอให้พิจารณาเรื่องการทำประกันชีวิตผู้สูงอายุเผื่อเอาไว้ เพื่อให้ได้รับความคุ้มครองที่ครอบคลุม ซึ่งเบี้ยประกันเริ่มต้นเพียง 175 บาท/เดือน เท่านั้นเอง หากสนใจรับคำปรึกษาและข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อหา แรบบิท แคร์ ได้ตลอดเวลาที่เบอร์ 1438
สรุป
เบี้ยผู้สูงอายุ คือ สวัสดิการที่รัฐบาลไทยให้เป็นเงินช่วยเหลือสำหรับผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป โดยผู้สูงอายุจะได้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุแตกต่างกันออกไปตามอายุ ดังนี้
– อายุ 60 – 69 ปี ได้รับ 600 บาท/เดือน
– อายุ 70 – 79 ปี ได้รับ 700 บาท/เดือน
– อายุ 80 – 89 ปี ได้รับ 800 บาท/เดือน
– อายุ 90 ปีขึ้นไป ได้รับ 1,000 บาท/เดือน
ทั้งนี้ หากตรงกับเงื่อนไขต่าง ๆ ที่ภาครัฐฯกำหนดไว้ แม้จะอายุเกิน 60 ปี แล้ว ก็สามารถลงทะเบียนรับเบี้ยคนชรา หรือเงินคนแก่เพิ่มเติมได้ตามปกติ

เป็นนักเขียนสายสุขภาพและการเงินที่มีประสบการณ์ในการเขียนมากมาย โดยได้ฝากผลงานในหลากหลายรูปแบบที่เน้นด้านบริหารร่างกายและจิตใจ ทำงานที่ Rabbit Care และ Asia Direct ได้อย่างมืออาชีพ