แคร์การเงิน

ตอบทุกข้อสงสัยเงินสงเคราะห์บุตรคืออะไร? ลงทะเบียนอย่างไร? และสามารถได้เงินย้อนหลังหรือไม่?

ผู้เขียน : คะน้าใบเขียว
คะน้าใบเขียว

นักเขียนรุ่นไฮบริด เขียนบทความด้านการบริหารเงินส่วนบุคคลและการลงทุนต่าง ๆ กว่า 7 ปี เริ่มต้นที่งานเขียนที่ Rabbit Finance จนย้ายมาที่ Rabbit Care และ Asia Direct

close
linkedin icon
แก้ไขโดย : คะน้าใบเขียว
คะน้าใบเขียว

นักเขียนรุ่นไฮบริด เขียนบทความด้านการบริหารเงินส่วนบุคคลและการลงทุนต่าง ๆ กว่า 7 ปี เริ่มต้นที่งานเขียนที่ Rabbit Finance จนย้ายมาที่ Rabbit Care และ Asia Direct

close
linkedin icon
 
Published: February 24,2023
  
Last edited: May 14, 2024
เงินสงเคราะห์บุตร

เรียกได้ว่า “เงินสงเคราะห์บุตร” เป็นอีกหนึ่งสิ่งดี ๆ ที่เข้ามาช่วยเหลือในด้านค่าใช้จ่ายกับบรรดาพ่อแม่ เพราะสิ่งที่ตามมาหลังจากการมีลูกนั่นก็คือค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการเลี้ยงดูนั่นเอง น้องแคร์จึงอาสารวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเงินสงเคราะห์บุตร คืออะไร? หรือว่าจะเป็นเรื่องที่เงินสงเคราะห์บุตรไม่เข้า ต้องทำอย่างไรบ้าง อีกทั้งสารพันข้อมูลสำคัญต่าง ๆ ที่จะช่วยให้เพื่อน ๆ เข้าใจเงินก้อนนี้มากขึ้น

เปรียบเทียบประกันสุขภาพกับ Rabbit Care พิเศษ! ผ่อน 0% นานสูงสุด 10 เดือน
icon angle up or down

เลือกแผนประกันสุขภาพที่คุณสนใจ

    ชื่อนามสกุล

    หมายเลขโทรศัพท์

    เงินสงเคราะห์บุตร คืออะไร? ได้จำนวนเท่าไหร่?

    เงินสงเคราะห์บุตรคือสิทธิประโยชน์ของผู้ประกันตนในกองทุนประกันสังคมได้รับ โดยเป็นการนำเงินมาจากกองทุนประกันสังคม มาจ่ายเป็นเงินรายเดือนให้กับพ่อแม่ซึ่งจำนวนเงินที่จะได้รับอยู่ที่เดือนละ 800 บาทต่อบุตร 1 คน (200 บาท สำหรับมาตรา 40) จะจ่ายให้ตั้งแต่เด็กแรกเกินไปจนถึงอายุครบ 6 ปีบริบูรณ์ โดยที่พ่อแม่ต่างสามารถยื่นเรื่องไปที่สำนักงานประกันสังคมเพื่อขอรับสิทธิประโยชน์นี้ได้

    ก็ถือได้ว่าเงินสงเคราะห์บุตรเป็นอีกหนึ่งช่องทางเงินสนับสนุนสำหรับผู้ที่เป็นพ่อแม่เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายต่าง ๆ แต่ก็ต้องยอมรับอย่างหนึ่งว่าตัวเงินสงเคราะห์บุตรเองอาจไม่เพียงพอต่อการใช้จ่ายในบางกรณี โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อลูกของคุณป่วย ดังนั้นการทำประกันเด็กไว้ก็ถือว่าเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่จะสามารถช่วยในเรื่องของค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล

    เงินสงเคราะห์บุตร แตกต่างจาก เงินอุดหนุนบุตร อย่างไร?

    เชื่อว่าเพื่อน ๆ หลาย ๆ คนอาจคงเคยได้ยินเงินช่วยเหลืออีกประเภทหนึ่งอย่างเงินอุดหนุนบุตรกันมาบ้าง และก็คงเกิดข้อสงสัยขึ้นว่าเงินก้อนนี้แตกต่างจากเงินสงเคราะห์บุตรอย่างไร  ซึ่งก็ต้องบอกว่าเงินช่วยเหลือบุตรทั้งสองประเภทนี้มีความแตกต่างกันอยู่ในหลาย ๆ ด้านไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของจำนวนเงินที่ได้รับ คุณสมบัติและเงื่อนไข รวมไปถึงหน่วยงานหรือองค์กรที่เป็นคนจัดสรร น้องแคร์ได้ทำตารางเปรียบเทียบความแตกต่างของเงินสงเคราะห์บุตรกับเงินอุดหนุนบุตรไว้ด้านล่างนี้

    เงินสงเคราะห์บุตร

    เงินอุดหนุนบุตร

    จำนวนเงินที่ได้รับ

    800 บาท (200 บาท สำหรับผู้ประกันตน ม.40 ทางเลือกที่ 3)

    600 บาท

      ผู้ได้รับสิทธิ

    ผู้ประกันตน ม.33, ม.39, ม.40

    (ทางเลือกที่ 3)

    ประชาชนสัญชาติไทย รายได้เฉลี่ยต่อคนไม่เกิน 100,000 บาท/ปี

      หน่วยงานที่รับผิดชอบ

    สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน

    กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ 

    จะเห็นได้ว่าเงินเงินช่วยเหลือบุตรทั้งสองประเภทต่างมีข้อแตกต่างที่เห็นได้ชัด และยังมีความแตกต่างกันในเรื่องของรายละเอียดปลีกย่อยหรือว่าจะเป็นเรื่องของการเตรียมเอกสารต่าง ๆ อีกด้วย

    เงินสงเคราะห์บุตรได้กี่คน? อายุกี่เดือนจึงจะได้?

    หลังจากที่เราทราบกันไปแล้วว่าเงินสงเคราะห์บุตรคือเงินช่วยเหลือจากประกันสังคมให้กับผู้ประกันตนเดือนละ 800 บาทต่อบุตรหนึ่งคน (200 บาท สำหรับผู้ประกันตน ม.40) ซึ่งเงินสงเคราะห์บุตรประกันสังคมจะให้กับบุตรจำนวนคราวละไม่เกิน 3 คน โดยให้ตั้งแต่เด็กแรกเกิดไปจนถึงอายุครบ 6 บริบูรณ์ โดยที่เงินสงเคราะห์บุตรจะมีเงื่อนไขการได้รับสิทธิ์ต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

    เงื่อนไขการได้รับเงินสงเคราะห์บุตร

    โดยหลัก ๆ แล้วเงื่อนไขการได้รับสิทธิเงินสงเคราะห์ที่ระบุโดยสำนักงานประกันสังคมนั่นก็คือผู้ใช้สิทธิ์ต้องเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 มาตรา 39 หรือมาตรา 40 ทางเลือกที่ 3 ซึ่งยังมีรายละเอียดต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

    • ต้องเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33, มาตรา 39 หรือมาตรา 40 ทางเลือกที่ 3
    • จ่ายเงินสมทบไม่น้อยกว่า 12 เดือน ภายในระยะเวลา 36 เดือน ก่อนได้รับสิทธิ์
    • มาตรา 40 ทางเลือกที่ 3 ต้องจ่ายเงินสมทบไม่น้อยกว่า 24 ใน 36 เดือน
    • เป็นบุตรตามกฎหมาย (ยกเว้นบุตรบุญธรรม)
    • อายุบุตรแรกเกิดถึง 6 ปีบริบูรณ์ ได้คราวละไม่เกิน 3 คน
    • หากพ่อและแม่เป็นผู้ประกันตนทั้งคู่ จะใช้สิทธิรับเงินสงเคราะห์บุตรได้เพียง 1 สิทธิ

    ในผู้ประกันตนมาตรา 40 ทางเลือกที่ 3 ขณะรับเงิน จะต้องจ่ายเงินสมทบทุกเดือน

    การหมดสิทธิรับเงินสงเคราะห์บุตร

    • บุตรอายุครบ 6 ปีบริบูรณ์
    • ตัวบุตรเสียชีวิต
    • ได้ยกบุตรให้เป็นบุตรบุญธรรมของคนอื่น
    • สิ้นสุดการเป็นผู้ประกันตนลง

    จะเห็นได้ว่าตัวเงินช่วยเหลือบุตรที่ได้รับจากภาครัฐยังมีข้อจำกัดและเงื่อนไขต่าง ๆ อยู่พอสมควร ซึ่งในบางครั้งเราก็อาจติดข้อจำกัดต่าง ๆ ที่ถูกกำหนดไว้ เมื่อเปรียบเทียบกับตัวประกันเด็กที่มีความยืดหยุ่นในการทำที่มากกว่า อีกทั้งยังมีสิทธิพิเศษเพิ่มเติมอีกหลายข้อ นี่จึงเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่น่าสนใจที่ควรทำไว้ให้คนที่คุณรัก

    เงินสงเคราะห์บุตรประกันสังคม

    เงินสงเคราะห์บุตรได้ย้อนหลังไหม? ได้ถึงกี่ขวบ?

    สำหรับเพื่อน ๆ ที่เพิ่งรู้จักกับเงินสงเคราะห์บุตรและลูกของตัวเองก็อยู่ในเกณฑ์รับสิทธิ์นี้แต่ไม่เคยยื่นเรื่องขอรับสิทธิ์มาก่อน คงเกิดคำถามว่าแล้วอย่างนี้ถ้าขอยื่นเรื่องเงินสงเคราะห์บุตรได้ย้อนหลังหรือไม่ ต้องบอกเลยว่าเพื่อน ๆ สามารถได้รับเงินสงเคราะห์บุตรย้อนหลัง แต่จะได้ย้อนหลังเพียง 1 ปีเท่านั้นและต้องส่งเงินสมทบมาแล้วไม่ต่ำกว่า 12 เดือน ตลอดระยะเวลา 36 เดือนก่อนคลอดถึงจะมีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์บุตร

    ด้วยระยะเวลาที่จำกัดและถ้าหากยื่นขอรับสิทธิ์ช้าก็จะทำให้ได้รับสิทธิ์จากเงินสงเคราะห์บุตรน้อยลงไปด้วย แต่ว่าลูก ๆ ของเพื่อน ๆ กลับโตขึ้นอยู่ตลอดเวลาและมีค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นตามด้วย การเลือกทำประกันสะสมทรัพย์จึงเป็นอีกตัวเลือกเพื่ออนาคตที่ดีของคุณที่รัก เนื่องจากมีระยะเวลาคุ้มครองที่ยาวนาน และยังได้รับสิทธิพิเศษต่าง ๆ ตามมาด้วย

    เอกสารสำคัญสำหรับการยื่นเรื่องขอรับเงินสงเคราะห์บุตร

    1. แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกองทุนประกันสังคม (สปส. 2-01)

    2. กรณีผู้ประกันตนเคยยื่นใช้สิทธิแล้ว ต้องการจะใช้สิทธิกับบุตรคนเดิม ให้ใช้หนังสือขอใช้สิทธิบุตรคนเดิมกรณีกลับเข้าเป็นผู้ประกันตน จำนวน 1 ฉบับ

    3. กรณีผู้ประกันตนเป็นผู้หญิงใช้สิทธิ

    • สำเนาสูติบัตรบุตรจำนวน 1 ชุด (กรณีบุตรแฝดให้แนบสำเนาสูติบัตรของคู่แฝดด้วย)

    4. กรณีผู้ประกันตนเป็นผู้ชายใช้สิทธิ

    • สำเนาทะเบียนสมรส หรือสำเนาทะเบียนหย่าพร้อมบันทึกแนบท้ายของผู้ประกันตนหรือสำเนาทะเบียนรับรองบุตร หรือสำเนาคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลให้เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย จำนวน 1 ชุด
    • สำเนาสูติบัตรบุตรจำนวน 1 ชุด (กรณีบุตรแฝดให้แนบสำเนาสูติบัตรของคู่แฝดด้วย)

    5. สำเนาเอกสารใบเปลี่ยนชื่อ-นามสกุลด้วย จำนวน 1 ชุด (กรณีเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล)

    6. สำเนาบัตรประกันสังคมและสำเนาหนังสือเดือนทาง (Passport) หรือสำเนาหนังสือเดินทางชั่วคราวหรือเอกสารรับรองบุคคลที่ทางราชการออกให้ จำนวน 1ชุด (กรณีผู้ประกันตนต่างชาติขอรับประโยชน์ทดแทน)

    7. สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์หน้าแรกจำนวน 1 ฉบับ

    • ธนาคารกสิกรไทย จำกัด(มหาชน)
    • ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
    • ธนาคารกรุงไทย จำกัด(มหาชน)
    • ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด(มหาชน)
    • ธนาคารกรุงเทพ จำกัด(มหาชน)
    • ธนาคารทหารไทย จำกัด(มหาชน)
    • นาคารธนชาต จำกัด (มหาชน)
    • ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย
    • ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย จำกัด(มหาชน)

    * เอกสารที่ใช้ต้องเซ็นรับรองสำเนาถูกต้องอย่างละ 1 ฉบับ แสดงเอกสารนต้นฉบับเมื่อเจ้าหน้าที่ขอตรวจสอบ 

    ** เอกสารหลักฐานสำคัญที่เป็นภาษาต่างประเทศจะต้องแปลเป็นภาษาไทยและรับรองความถูกต้องให้ครบถ้วน

    เช็คสิทธิเงินสงเคราะห์บุตร

    การลงทะเบียนเงินสงเคราะห์บุตรประกันสังคม ทำอย่างไรบ้าง?

    เชื่อว่าหลาย ๆ คนคงอยากรู้แล้วว่าขั้นตอนการยื่นลงทะเบียนขอรับเงินสงเคราะห์บุตรนั้นมีความยุ่งยากหรือไม่ ซึ่งต้องบอกว่าเลยสำหรับขั้นตอนการลงทะเบียนไม่มีความยุ่งยาก โดยจะมีขั้นตอนเป็นอย่างไรบ้างน้องแคร์ได้ทำการรวบรวมมาให้เพื่อน ๆ แล้วดังนี้

    1. กรอกแบบ สปส.2-01 แล้วลงลายมือชื่อ นำมายื่นที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/สำนักงานประกันสังคมจังหวัดและสาขา หรือส่งเอกสารไปรษณีย์โดยมีหลักฐานครบถ้วน (กรณีผู้ประกันตนต้องการยื่นคำขอสำหรับบุตร 3 คน พร้อมกันสามารถใช้แบบคำขอฯ ชุดเดียวกันได้)
    2. รอเจ้าหน้าที่ตรวจหลักฐานและทำการอนุมัติ
    3. สำนักงานประกันสังคมส่งหนังสือแจ้งผลการพิจารณา
    4. หลังจากพิจารณาแล้วจะจ่ายเงินสงเคราะห์บุตรเป็นรายเดือนโดยโอนเข้าบัญชีเงินฝากธนาคาร

    โดยเมื่อยื่นคำขอเรียบร้อยแล้ว จะได้รับเงินเข้าบัญชีหลังได้รับสิทธิผ่านไปแล้ว 3 เดือน เช่น ยื่นขอในเดือนมกราคม จะได้รับเงินสงเคราะห์บุตรในช่วงปลายเดือนเมษายน

    สถานที่ยื่นเรื่องขอรับเงินสงเคราะห์บุตรประกันสังคม

    สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ต่าง ๆ หรือสำนักงานประกันสังคมจังหวัดและสาขาใกล้บ้านท่าน ในวันและเวลาราชการ 08.30-16.30 น. (ยกเว้นสำนักงานใหญ่ในบริเวณกระทรวงสาธารณสุข)

    เงินสงเคราะห์บุตรเข้าวันไหน

    เงินสงเคราะห์บุตรประกันสังคมเข้าวันไหน?

    อย่างที่ทราบกันดีว่าเงินสงเคราะห์บุตรหรือที่หลาย ๆ คนเรียกเงินสงเคราะห์บุตรประกันสังคมคือเงินช่วยเหลือผู้ประกันตนที่มีบุตรเดือนละ 800 บาทต่อคน (สำหรับผู้ประกันตน ม.40 ได้รับ 200 บาท) เพื่อน ๆ อาจสงสัยว่าเงินสงเคราะห์บุตรเข้าวันไหนจะได้วางแผนการเงินถูก ต้องบอกว่าตัวเงินจะโอนเข้าบัญชีเงินฝากทุก ๆ สิ้นเดือน แต่ถ้าติดวันหยุดหรือเสาร์อาทิตย์ จะทำโอนเข้าบัญชีให้ล่วงหน้าก่อน ไม่เกินเที่ยงคืน ซึ่งจะตรงกับวันต่าง ๆ ในปี 2566 ดังนี้

    • วันอังคารที่ 31 มกราคม 2566
    • วันอังคารที่ 28 กุมภาพันธ์ 2566
    • วันศุกร์ที่ 31 มีนาคม 2566
    • วันศุกร์ที่ 28 เมษายน 2566
    • วันพุทธที่ 31 พฤษภาคม 2566
    • วันศุกร์ที่ 30 มิถุนายน 2566
    • วันจันทร์ที่ 31 กรกฎาคม 2566
    • วันพฤหัสบดีที่ 31 สิงหาคม 2566
    • วันศุกร์ที่ 29 กันยายน 2566
    • วันอังคารที่ 31 ตุลาคม 2566

    เงินสงเคราะห์บุตรไม่เข้า ต้องทำอย่างไร?

    เป็นอีกหนึ่งปัญหาที่หลาย ๆ คนให้ความกังวลกับกรณีที่เงินสงเคราะห์บุตรไม่เข้าบัญชี ขอให้ทุกคนอย่าเพิ่งตกใจลองตรวจสอบข้อมูลต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น

    • เรื่องการขาดส่งเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสงคมเดือนใดเดือนหนึ่ง
    • มีการเปลี่ยนสถานะผู้ประกันจากมาตรา 33 เป็นมาตรา 39 ไม่ว่าจะเป็นการลาออก ตกงาน เปลี่ยนงานซึ่งจะต้องยื่นเรื่องขอรับเงินสงเคราะห์บุตรใหม่และรอรับเงินเป็นเวลา 3 เดือน
    • บัญชีเงินฝากมีปัญหา

    เช็กสิทธิเงินสงเคราะห์บุตร ได้จากที่ไหนบ้าง?

    ด้วยเทคโนโลยีในปัจจุบันสำนักงานประกันสังคมได้อำนวยความสะดวกในเรื่องการเช็คสิทธิเงินสงเคราะห์บุตรให้สามารถเข้าไปตรวจสอบได้ตามช่องทางออนไลน์ต่าง ๆ ได้ดังนี้

    • เว็บไซต์ประกันสังคม – เพียงล็อคอินเข้าไปที่เว็บไซต์ประกันสังคมจากนั้นไปในส่วนของ “การใช้สิทธิประโยชน์ทดแทน” จากนั้นจะพบหน้าจอแสดงรายการการจ่ายเงินสงเคราะห์บุตร
    • แอปพลิเคชัน SSO Connect – มีให้ใช้งานทั้งใน iOS และ Google play โดยหลังจจากที่ติดตั้งเสร็จแล้วให้เข้าสู่ระบบประกันสังคม จากนั้นไปที่เมนู “เบิกสิทธิประโยชน์” จะพบหน้าจอแสดงเงินสงเคราะห์บุตร
    • แอปพลิเคชันธนาคาร – เช็กเงินเข้าในบัญชีที่แจ้งไว้

    เปรียบเทียบเงินสงเคราะห์บุตรกับประกันเด็กและประกันสะสมทรัพย์

    เงินสงเคราะห์บุตร

    ประกันเด็ก

    ประกันสะสมทรัพย์

    สิทธิประโยชน์

    รายเดือน 800 บาทต่อ
    คน (200 บาท สำหรับผู้ประกันตน ม.40 ทางเลือกที่ 3)

    ได้รับเงินก้อนใหญ่เมื่อครบกำหนด, ได้รับค่ารักษาพยาบาล***

    ได้รับเงินก้อนใหญ่เมื่อครบกำหนด, ให้ความดูแลเมื่อเกิดอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วย***

    ระยะเวลาคุ้มครอง

    แรกเกิดถึง 6 ปีบริบูรณ์

    สมัครได้ตั้งแต่ลูกมีอายุครบ 15 วัน***

    ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแต่ละบริษัท บางแห่งผู้ทำได้เมื่อเอาประกันอายุ 1 เดือนขึ้น***

    เงื่อนไขการได้รับสิทธิ์

    กำหนดจากภาครัฐตายตัว

    เลือกเงื่อนไขกรมธรรม์ได้ตามต้องการ

    เลือกเงื่อนไขกรมธรรม์ได้ตามต้องการ

    วัตถุประสงค์

    ช่วยเหลือค่าใช่จ่าย

    เป็นการหลักประกันให้คนที่รัก

    เป็นการสะสมเงินในรูปแบบหนึ่ง

    การดูแล

    หน่วยงานรัฐ

    มีตัวแทนประกันคอยดูแลให้ความช่วยเหลือในด้านต่าง ๆ

    มีตัวแทนประกันคอยดูแลให้ความช่วยเหลือในด้านต่าง ๆ

    *** เงื่อนไขขึ้นอยู่กับกรมธรรม์และเป็นไปตามที่บริษัทกําหนด 


    จะเห็นได้ว่านอกจากเงินสงเคราะห์บุตรแล้วยังมีอีกหลายแนวทางที่คุณสามารถทำให้กับลูกของคุณได้ไม่ว่าจะเป็นประกันเด็กหรือว่าประกันสะสมทรัพย์โดยสองทางเลือกนี้ถึงแม้ว่าจะมีค่าใช้จ่ายที่สูงแต่ก็ได้รับผลตอบแทนและการคุ้มครองที่สูงตาม สำหรับเพื่อน ๆ คนไหนที่มีประกันสังคมอยู่แล้วล่ะก็ควรยื่นเรื่องเพื่อขอรับเงินสงเคราะห์บุตรเพื่อเป็นตัวช่วยในเรื่องค่าใช่จ่าย แต่ถ้าเพื่อน ๆ คนไหนที่เห็นข้อมูลด้านต้นและสนใจก็สามารถสมัครประกันเด็กและประกันสะสมทรัพย์ได้ที่ แรบบิท แคร์ กันได้เลย รับรองว่าที่นี้ตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์ของทุกคนอย่างแน่นอน


     

    บทความแคร์การเงิน

    Rabbit Care Blog Image 97227

    แคร์การเงิน

    ผ่อนบอลลูน คือ อะไร มีข้อดีข้อเสียอย่างไร เหมาะสมกับใครมากที่สุด

    เคยได้ยินกันไหมกับการผ่อนรถแบบผ่อนบอลลูน คำศัพท์ที่ดูแปลกและไม่ค่อยชินกันเท่าไหร่นัก เพราะในเวลาปกติเราตัดสินใจเลือกซื้อรถยนต์สักคันด้วยการกู้สินเชื่อ
    คะน้าใบเขียว
    14/11/2024
    Rabbit Care Blog Image 94185

    แคร์การเงิน

    ไม่มีรถคืนไฟแนนซ์ ต้องเจอปัญหาใหญ่แค่ไหน

    พอถึงเวลาที่เราผิดสัญญาไฟแนนซ์ต่อเนื่อง มีโอกาสถูกยึดรถสูงมาก แต่ถ้าไม่มีรถคืนไฟแนนซ์จะต้องเผชิญหน้ากับปัญหาที่ยิ่งใหญ่แค่ไหน
    Natthamon
    03/09/2024
    Rabbit Care Blog Image 93664

    แคร์การเงิน

    มรดกหนี้ คืออะไร ? เมื่อพ่อแม่เสียชีวิต ลูกต้องใช้หนี้ต่อหรือไม่ ?

    เคยได้ยินคำว่ามรดกหนี้หรือไม่ ? เคยสงสัยไหมว่าเมื่อพ่อแม่เสียชีวิตไปแล้วหนี้ที่มีอยู่จะต้องทำอย่างไร ใครต้องรับภาระเหล่านั้นเอาไว้ ? วันนี้ แรบบิท แคร์
    คะน้าใบเขียว
    22/08/2024