เงินอุดหนุนบุตร คืออะไร เหมือนเงินสงเคราะห์บุตรไหม? วิธีเช็กสิทธิ์และลงทะเบียน
เรื่องที่คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ต้องรู้ ‘เงินอุดหนุนบุตร’ สิทธิประโยชน์ที่ช่วยสนับสนุนประชาชนจากภาครัฐนั้นความจริงแล้วคืออะไร เหมือนเงินสงเคราะห์บุตรหรือไม่ มีเงื่อนไขในการยื่นขอรับสิทธิ์แบบไหน วันนี้ แรบบิท แคร์ ได้รวบรวมรายละเอียดที่จำเป็นต้องรู้มาให้ เผื่อคุณพ่อคุณแม่ท่านไหนสนใจจะยื่นขอรับสิทธิ์ต้อนรับสมาชิกใหม่ของครอบครัว
เงินอุดหนุนบุตร คืออะไร?
เงินอุดหนุนบุตรหรือเงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด คือ โครงการเพื่อช่วยเหลือในเรื่องค่าใช้จ่ายแก่ครอบครัวจากรัฐบาล ซึ่งจะมีการจ่ายเงินให้ทุกเดือน เดือนละ 600 บาทแก่ครอบครัวที่มีเด็กแรกเกิดจนถึงอายุ 6 ขวบ โดยสามารถลงทะเบียนเพื่อรับสิทธิ์ได้นับตั้งแต่คลอดบุตรเป็นต้นไป ไม่มีวันหมดเขตการลงทะเบียนจนกว่าเด็กจะมีอายุครบ 6 ปี ตามที่ทางรัฐบาลได้มีการกำหนดเอาไว้
แน่นอนว่าเงินจำนวนนี้พอจะช่วยแบ่งเบาค่าใช้จ่ายภายในบ้านจำนวนเล็ก ๆ น้อย ๆ ได้ จากค่าใช้จ่ายมากมาย แต่แน่นอนว่าสำหรับค่าใช้จ่ายก้อนใหญ่ที่จำเป็น เช่น ค่ารักษาพยาบาล ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่ต้องเจอเมื่อมีเด็กทารกในบ้าน เงินจำนวนนี้อาจยังไม่สามารถตอบโจทย์ได้ จึงแนะนำให้ทำประกันเด็กไว้ จะได้ไม่ต้องกังวลเรื่องค่าใช้จ่ายและคุณภาพชีวิตในอนาคตของลูกนั่นเอง
เงินอุดหนุนบุตร และเงินสงเคราะห์บุตร เหมือนกันไหม ต่างกันอย่างไร?
หลายคนอาจจะรู้สึกสับสนและสงสัยเกี่ยวกับเงินอุดหนุนบุตรและเงินสงเคราะห์บุตรว่ามีความแตกต่างกันหรือไม่ ความจริงแล้วเงินทั้งสองส่วนนี้มีความแตกต่างกันทั้งในด้านคุณสมบัติ เงื่อนไขในการรับ รวมถึงจำนวนเงินที่จะได้ โดยเงินอุดหนุนบุตรนั้นจะมีจำนวน 600 บาท เงินสงเคราะห์บุตรจะมีจำนวน 800 บาท และมีเงื่อนไขในการขอรับสิทธิ์ ที่สามารถเห็นถึงความแตกต่างอย่างชัดเจน ดังนี้
- เงินอุดหนุนบุตร : ผู้ขอรับสิทธิ์และบุตรจะต้องมีสัญชาติไทย และเป็นประชาชนทั่วไป มีรายได้เฉลี่ยต่อคน ไม่เกิน 100,000 บาท/ปี
- เงินสงเคราะห์บุตร : ผู้ขอรับสิทธิ์และบุตรจะต้องมีสัญชาติไทย และเป็นผู้ประกัน ม.33, ม.39, ม.40 (ทางเลือกที่ 3)
เห็นคร่าว ๆ เพียงเท่านี้ก็สามารถรู้ได้แล้วว่า การจะขอรับเงินอุดหนุนบุตรสำหรับทารกแรกเกิดของบ้านอาจไม่ได้ง่ายแบบที่คิด แต่ยังมีเงื่อนไขอีกมากดังที่จะกล่าวอย่างละเอียดในหัวข้อถัด ๆ ไป เพราะฉะนั้นใครที่อาจมองว่าเงื่อนไขในการขอรับสิทธิ์วุ่นวายเกินไป หรือคุณสมบัติไม่ตรงกับเงื่อนไข ก็สามารถเลือกวิธีทำประกันเด็กได้ ดูแลสุขภาพและความปลอดภัยคุ้มค่าแน่นอน
เงินอุดหนุนบุตรได้ถึงกี่ขวบ? รับย้อนหลังได้ไหม?
อย่างที่ทราบกันไปแล้วว่า เงินอุดหนุนบุตร หรือ เงินเด็กแรกเกิดนั้นจะสามารถลงทะเบียนขอรับสิทธิ์ได้ตั้งแต่คลอดเป็นต้นไป จนถึงอายุครบ 6 ปี ซึ่งจะไม่มีการหมดเขตในการยื่นขอรับสิทธิ์ แต่สิ่งที่ต้องระวังก็คือ จะไม่สามารถขอรับสิทธิ์ย้อนหลังได้ กล่าวคือ หากเริ่มรับสิทธิ์ในเดือนที่ 3 จะไม่สามารถขอเงินในส่วนของเดือนที่ 1 และ 2 ที่บุตรได้เกิดมาย้อนหลังได้นั่นเอง
เงื่อนไขสำหรับการยื่นขอรับสิทธิ์เงินอุดหนุนบุตร
- ต้องเป็นเด็กแรกเกิดที่มีสัญชาติไทย
- พ่อแม่ หรือคนใดคนหนึ่งมีสัญชาติไทย
- เด็กอาศัยอยู่ร่วมกับผู้ยื่นขอสิทธิ์
- เด็กมีอายุ 0-6 ปี
- ผู้ยื่นขอสิทธิ์เป็นผู้รับเด็กแรกเกิดไว้ในอุปการะ
- สมาชิกในบ้านมีรายได้เฉลี่ยไม่เกิน 100,000 บาทต่อคน/ต่อปี
เงินอุดหนุนเด็กโดนระงับในกรณีใดบ้าง
- เด็กมีอายุครบ 6 ปี
- เด็กเสียชีวิต
- ผู้ปกครองยื่นขอสละสิทธิ์เป็นหนังสือ
- ขาดคุณสมบัติในการขอรับเงินอุดหนุนบุตรตามที่กล่าวไปก่อนหน้า
- ไม่สามารถเบิกจ่ายเงินให้ได้ภายในระยะเวลา 6 เดือน นับจากวันอนุมัติการจ่ายเงินครั้งแรก
ดังนั้นใครต้องการรับสิทธิ์รีบยื่นกันตั้งแต่เนิ่น ๆ เพราะระยะเวลาการรับสิทธิ์นั้นมีถึงแค่อายุ 6 ขวบเท่านั้น ซึ่งถือว่าเป็นระยะเวลาที่สั้นมากสำหรับการดูแลเด็ก 1 คน แต่หากใครที่ไม่รีบร้อนและคิดว่าเงินจำนวนดังกล่าวอาจจะไม่สามารถช่วยเหลือคุ้มครองค่าใช้จ่ายได้มากพอ ก็สามารถเลือกการทำประกันเด็กได้ เงื่อนไขไม่วุ่นวาย เลือกงบประมาณที่ต้องจ่ายและเงื่อนไขความคุ้มครองได้ตามต้องการ
ลงทะเบียนเงินอุดหนุนเด็ก ต้องทำอย่างไรบ้าง?
การลงทะเบียนขอรับเงินอุดหนุนบุตรนั้น ผู้ปกครอง ‘จำเป็น’ ที่จะต้องนำเอกสารเข้าไปยื่นขอลงทะเบียนและแสดงตัวตนครั้งแรกที่สถานที่ลงทะเบียนที่ได้กำหนดไว้ในพื้นที่ซึ่งเด็กและผู้ปกครองอาศัยอยู่จริง โดยจะมีการเข้าไปลงทะเบียนเพียงครั้งเดียว จากนั้นรอฟังผลการพิจารณายื่นขอรับสิทธิ์ เมื่อผ่านการพิจารณาแล้วก็จะสามารถรอรับเงินโอนต่อเนื่องในทุก ๆ เดือนต่อไป
สถานที่ลงทะเบียนขอรับสิทธิ์เงินอุดหนุนบุตร
- พื้นที่กรุงเทพมหานคร : ลงทะเบียนได้ที่สำนักงานเขต
- พื้นที่เมืองพัทยา : ลงทะเบียนได้ที่ศาลาว่าการเมืองพัทยา
- พื้นที่ส่วนภูมิภาค : ลงทะเบียนได้ที่องค์การบริหารส่วนตำบล/เทศบาล
เช็คสิทธิ์เงินอุดหนุนเด็กได้จากช่องทางไหนบ้าง?
หลังจากทำการยื่นขอสิทธิ์รับเงินอุดหนุนบุตรหรือเงินอุดหนุนเด็กแรกเกิดไปแล้ว สิ่งต่อไปก็คือต้องรอลุ้นว่าขั้นตอนการตรวจสอบและพิจารณาสิทธิ์จะผ่านไปด้วยดีหรือไม่ แล้วจะมีการตรวจสอบหรือเช็คสิทธิ์เงินอุดหนุนเด็กว่าได้หรือไม่ได้จากช่องทางไหน แรบบิท แคร์ ได้สรุปมาให้ คุณพ่อคุณแม่บ้านไหนที่ยื่นขอไปเข้าไปเช็กสิทธิ์รับเงินเด็กแรกเกิดกันได้เลย
เช็คสิทธิ์เงินอุดหนุนเด็กได้ที่
- เว็บไซต์ระบบตรวจสอบสถานะสิทธิโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด และเช็ค เงินอุดหนุนบุตร ด้วย เลขบัตรประชาชน ล่าสุด โดยใช้เลขบัตรประชาชนของผู้ลงทะเบียนและเด็กแรกเกิด
- แอปพลิเคชัน ‘ทางรัฐ’ ซึ่งสามารถโหลดได้ทั้งใน Play Store และ App Store และเช็ค เงินอุดหนุนบุตร ด้วย เลขบัตรประชาชน ล่าสุด โดยใช้เลขบัตรประชาชนของผู้ลงทะเบียนและเด็กแรกเกิด
เพียงเท่านี้ก็จะสามารถเช็คสิทธิ์เงินอุดหนุนบุตรว่าได้รับหรือไม่ แต่หากผู้ปกครองท่านไหนที่ไม่อยากรอลุ้นผลและต้องการสิ่งที่สามารถช่วยดูแลและคุ้มครองบุตรหลานของท่านได้อย่างรวดเร็วทันใจ ขอแนะนำการทำประกันเด็กไว้เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่ดี
เงินอุดหนุนบุตร เข้าทุกวันที่เท่าไร? เข้าวันไหนบ้าง?
ในส่วนของการโอนจ่ายเงินอุดหนุนบุตรที่ถือเป็นการช่วยสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดจากทางรัฐบาลนั้น จะเป็นการทำจ่ายจากกรมบัญชีกลาง มีการโอนเข้าบัญชีซึ่งผู้ปกครองได้ทำการลงทะเบียนไว้ในทุกวันที่ 10 ของเดือน โดยหากในเดือนไหนที่วันที่ 10 ตรงกับวันเสาร์-อาทิตย์ หรือวันหยุดนักขัตฤกษ์ก็จะมีการโอนเข้าให้ก่อนล่วงหน้านั่นเอง
เงินอุดหนุนบุตร 2566 เข้าวันไหน
- วันอังคารที่ 10 มกราคม 2566
- วันศุกร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ 2566
- วันศุกร์ที่ 10 มีนาคม 2566
- วันจันทร์ที่ 10 เมษายน 2566
- วันพุธที่ 10 พฤษภาคม 2566
- วันศุกร์ที่ 9 มิถุนายน 2566
- วันจันทร์ที่ 10 กรกฎาคม 2566
- วันพฤหัสบดีที่ 10 สิงหาคม 2566
- วันศุกร์ที่ 8 กันยายน 2566
- วันอังคารที่ 10 ตุลาคม 2566
- วันศุกร์ที่ 10 พฤศจิกายน 2566
- วันศุกร์ที่ 8 ธันวาคม 2566
และนี่ก็เป็นวันที่ในแต่ละเดือนที่จะมีการโอนเงินอุดหนุนบุตรโอนเข้าซึ่ง แรบบิท แคร์ รวบรวมมาให้ เผื่อไว้วางแผนเรื่องค่าใช้จ่าย หรือหากใครที่กังวลเรื่องค่าใช้จ่ายฉุกเฉินที่อาจมาแบบไม่มีสัญญาณเตือนจากความเจ็บป่วยของลูกน้อยก็ควรทำประกันเด็กไว้ อุ่นใจไม่ต้องห่วงเรื่องค่าใช้จ่ายส่วนเกิน
เอกสารสำหรับยื่นขอรับเงินอุดหนุนบุตร
- แบบคำร้องขอลงทะเบียน ดร.01
- แบบรับรองสถานะของครัวเรือน ดร.02
- บัตรประจําตัวประชาชนผู้ปกครอง
- สูติบัตรของเด็กแรกเกิด
- สมุดบัญชีเงินฝาก/หมายเลขพร้อมเพย์ (เลขบัตรประชาชน) ที่ใช้รับเงิน
(บัญชีออมทรัพย์ธนาคารกรุงไทย ออมสิน หรือ ธ.ก.ส.) - สมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็ก เฉพาะหน้าที่ 1 ซึ่งมีชื่อของหญิงตั้งครรภ์
(กรณีที่สมุดสูญหาย ใช้สําเนาหน้า 1 พร้อมให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขบันทึกข้อมูลและรับรองสําเนา) - กรณีเป็นลูกจ้างประจำของหน่วยงานรัฐและเอกชน ต้องมีสลิปเงินเดือน หรือเอกสารหลักฐานที่นายจ้างลงนาม
- สําเนาเอกสาร หรือบัตรข้าราชการ เจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือเอกสารอื่นใดที่ผู้รับรองใช้แสดงตน (เพื่อใช้ยืนยันรายได้) ผู้รับรองคนที่ 1 (อาสาสมัครสาธารณสุข/ ประธานชุมชน/กำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน) ผู้รับรองคนที่ 2 (ผู้อำนวยการเขต/ ปลัดเมืองพัทยา หรือข้าราชการที่ปลัดเมืองพัทยามอบหมาย/ ปลัดเทศบาลหรือข้าราชการที่ปลัดเทศบาลมอบหมาย)
*เอกสารที่ใช้ต้องเซ็นรับรองสำเนาถูกต้องอย่างละ 1 ฉบับ
*หนังสือรับรองเงินเดือนต้องใช้ฉบับจริงเท่านั้น
สอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับการยื่นขอรับสิทธิ์เงินอุดหนุนเด็ก
สำหรับผู้ที่มีข้อสงสัย ทั้งในเรื่องคุณสมบัติ เงื่อนไขของผู้ที่ยื่นขอรับสิทธิ์เงินเด็กแรกเกิด การเตรียมเอกสาร หรือต้องการสอบถามเรื่องใดเพิ่มเติม เช่น เงินอุดหนุนบุตรไม่เข้า สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ ศูนย์ปฏิบัติการโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด ในช่วงวัน-เวลาราชการ โทร.
- 02-651-6534
- 02-651-6920
- 02-651-6902
- 02-255-5250 ต่อ 121,122,123,147,152
เปรียบเทียบข้อดีระหว่างเงินอุดหนุนบุตร-ประกันเด็ก
เงินอุดหนุนบุตร | ประกันเด็ก |
สามารถสมัครได้ตั้งแต่คลอดบุตร | สามารถสมัครได้ตั้งแต่ลูกมีอายุครบ 15 วัน |
เป็นเงินได้เปล่าจากรัฐบาล | เงื่อนไข-ข้อกำหนดคุณสมบัติยืดหยุ่น |
ได้รับเงินโอนเข้าบัญชีทุกเดือน | ระยะเวลาการคุ้มครองดูแลยาวนานกว่า |
ให้ความช่วยเหลือเด็กด้อยโอกาส | เลือกเงื่อนไขกรมธรรม์ได้ตามต้องการ |
ช่วยแบ่งเบาค่าใช้จ่ายเล็ก ๆ น้อย ๆ ของครอบครัว ที่มีรายได้น้อย | วงเงินคุ้มครองมาก ซัพพอร์ตการรักษาพยาบาล ได้อย่างครบครัน |
ประชาชนสัญชาติไทยทุกคนมีสิทธิ์ได้รับ | มีตัวแทนประกันคอยดูแลให้ความช่วยเหลือ ไม่ต้องเป็นธุระดำเนินการเอง |
จุดด้อยขอเงินอุดหนุนเด็กมีอะไรบ้าง?
หลังจากทราบรายละเอียดและเงื่อนไขเกี่ยวกับการขอเงินอุดหนุนบุตรหรือเงินอุดหนุนเด็กกันไปแล้ว ทุกคนคงจะเห็นกันว่า แม้โครงการดังกล่าวจะเป็นโครงการที่มีจุดประสงค์ที่ดีมากในการสนับสนุนช่วยเหลือประชาชน แต่ก็ยังมีจุดด้อยอยู่บ้างตรงที่จำนวนเงินที่ให้ต่อเดือนนั้นค่อนข้างน้อย และมีข้อจำกัดทางด้านคุณสมบัติและเงื่อนไขในการขอที่ค่อนข้างเฉพาะเจาะจง
เพราะฉะนั้นหากจุดประสงค์ของคุณพ่อคุณแม่ไม่ใช่การขอรับเงินอุดหนุนเด็กแรกเกิดเพื่อรับสิทธิ์อันพึงได้ที่รัฐมอบให้และนำมาช่วยเหลือค่าใช้จ่ายเล็ก ๆ น้อย ๆ ยิบย่อยภายในบ้าน หรือมีคุณสมบัติไม่ตรงตามเงื่อนไขในการขอรับสิทธิ์แล้วนั้น การเลือกทำประกันเด็ก จึงเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดในการเซฟค่าใช้จ่าย ช่วยคุ้มครองสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีของบุตรหลานของท่านมากกว่านั่นเอง
นักเขียนรุ่นไฮบริด เขียนบทความด้านการบริหารเงินส่วนบุคคลและการลงทุนต่าง ๆ กว่า 7 ปี เริ่มต้นที่งานเขียนที่ Rabbit Finance จนย้ายมาที่ Rabbit Care และ Asia Direct