Rabbit Care Logo
ใช้ใจแคร์ ดูแลครบ
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ในการเก็บข้อมูลเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการใช้งาน และเพื่อเก็บข้อมูลสถิติ ท่านสามารถศึกษารายละเอียด เพิ่มเติมได้ที่นโยบายคุกกี้

เลือกประกันสุขภาพที่ใช่ก็ไม่ต้องกังวลเรื่องค่ารักษา

เปรียบเทียบแผนง่าย
ไม่ต้องติดต่อตัวแทนขายประกัน

ข้อมูลส่วนตัวของท่านปลอดภัยแน่นอน

Social security _mobile.jpg
user profile image
เขียนโดยNok Srihongวันที่เผยแพร่: Jul 11, 2023

ประกันสังคม

ประกันสังคม คือ?

สำหรับใครที่ยังสงสัยอยู่ว่าประกันสังคม คืออะไร น้องแคร์มีคำตอบ! จริง ๆ แล้ว ประกันสังคม คือ การออมรูปแบบหนึ่งที่ถูกบังคับโดยภาครัฐ สนับสนุนให้คนไทยมีหลักประกันและความมั่นคง มีเงินเก็บส่วนหนึ่งเพื่อใช้ในยามเกษียณ โดยจะถูกนำมาใช้ในกลุ่มบุคคลที่มีรายได้ในการจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม เพื่อรับสิทธิ์ในกรณีการรักษาพยาบาล การคลอดบุตร ทุพพลภาพ เสียชีวิต ชราภาพและการว่างงาน เป็นต้น ประกันสังคมที่ผู้ประกันตนสามารถทำได้มีด้วยกัน 3 ประเภท ได้แก่ ประกันสังคมมาตรา 33 สำหรับพนักงานเอกชนทั่วไป (ภาครัฐบังคับทำ), ประกันสังคมมาตรา 39 สำหรับบุคคลที่เคยเป็นพนักงานเอกชนทั่วไปแต่ลาออกแล้ว และประกันสังคมมาตรา 40 สำหรับบุคคลที่ประกอบอาชีพอิสระ

ประกันสังคมมาตรา 40 คืออะไร?

ประกันสังคมมาตรา 40 คือ การสมทบเงินเข้ากองทุนประกันสังคมโดยสมัครใจของบุคคลที่ประกอบอาชีพอิสระหรือแรงงานนอกระบบต่าง ๆ อย่างเช่น อาชีพฟรีแลนซ์ อาชีพค้าขาย เกษตรกร เป็นต้น รวมถึงผู้พิการทางร่างกายที่ประกอบอาชีพอิสระ ที่มีสัญชาติไทยและมีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปี แต่ไม่เกิน 65 ปี ไม่เป็นผู้ประกันตนในมาตราอื่นอยู่ สามารถเลือกสมัครทำประกันสังคมมาตรา 40 ได้ โดยผู้ประกันตนสามารถเลือกจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมมาตรา 40 ได้ 3 ทางเลือก คือ

ทางเลือกที่ 1 จ่ายเงินสมทบในอัตรา 70 บาทต่อเดือน

จ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนเพื่อรับสิทธิประโยชน์ทดแทน กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย กรณีทุพพลภาพและกรณีเสียชีวิต ในอัตรา 70 บาทต่อเดือน
- กรณีนอนพักรักษาตัว 1 วันขึ้นไป รับเงินทดแทนการขาดรายได้วันละ 300 บาท - กรณีไม่ได้นอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล แต่มีใบรับรองแพทย์ให้หยุด 3 วันขึ้นไป รับเงินทดแทนการขาดรายได้วันละ 200 บาท หากหยุดไม่เกิน 2 วัน รับเงินทดแทนการขาดรายได้ครั้งละ 50 บาท (ไม่เกิน 3 ครั้งต่อปี) - กรณีเจ็บป่วยเป็นทั้งผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอกรวมกัน รับเงินทดแทนการขาดรายได้ไม่เกิน 30 วันต่อปี - กรณีทุพพลภาพ รับเงินทดแทนการขาดรายได้ 500-1,000 บาท 15 ปี หากเสียชีวิตระหว่างการทุพพลภาพ รับค่าทำศพ 25,000 บาท - กรณีเสียชีวิต รับค่าทำศพ 25,000 บาท หากจ่ายเงินสมทบครบ 60 เดือนก่อนเสียชีวิต รับเงินเพิ่มอีก 8,000 บาท - กรณีชราภาพ ไม่ได้รับความคุ้มครอง - กรณีสงเคราะห์บุตร ไม่ได้รับความคุ้มครอง

ทางเลือกที่ 2 จ่ายเงินสมทบในอัตรา 100 บาทต่อเดือน

จ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนเพื่อรับสิทธิประโยชน์ทดแทน กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย กรณีทุพพลภาพ กรณีเสียชีวิต และกรณีชราภาพ ในอัตรา 100 บาทต่อเดือน
- กรณีนอนพักรักษาตัว 1 วันขึ้นไป รับเงินทดแทนการขาดรายได้วันละ 300 บาท - กรณีไม่ได้นอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล แต่มีใบรับรองแพทย์ให้หยุด 3 วันขึ้นไป รับเงินทดแทนการขาดรายได้วันละ 200 บาท หากหยุดไม่เกิน 2 วัน รับเงินทดแทนการขาดรายได้ครั้งละ 50 บาท (ไม่เกิน 3 ครั้งต่อปี) - กรณีเจ็บป่วยเป็นทั้งผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอกรวมกัน รับเงินทดแทนการขาดรายได้ไม่เกิน 30 วันต่อปี - กรณีทุพพลภาพ รับเงินทดแทนการขาดรายได้ 500-1,000 บาท 15 ปี หากเสียชีวิตระหว่างการทุพพลภาพ รับค่าทำศพ 25,000 บาท - กรณีเสียชีวิต รับค่าทำศพ 25,000 บาท หากจ่ายเงินสมทบครบ 60 เดือนก่อนเสียชีวิต รับเงินเพิ่มอีก 8,000 บาท - กรณีชราภาพ รับเงินสมทบเดือนละ 50 บาท และผู้ประกันตนจ่ายเพิ่มได้ไม่เกินเดือนละ 1,000 บาท - กรณีสงเคราะห์บุตร ไม่ได้รับความคุ้มครอง

ทางเลือกที่ 3 จ่ายเงินสมทบในอัตรา 300 บาทต่อเดือน

จ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนเพื่อรับสิทธิประโยชน์ทดแทน กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย กรณีทุพพลภาพ กรณีเสียชีวิต กรณีชราภาพ และกรณีสงเคราะห์บุตร ในอัตรา 300 บาทต่อเดือน
- กรณีนอนพักรักษาตัว 1 วันขึ้นไป รับเงินทดแทนการขาดรายได้วันละ 300 บาท - กรณีไม่ได้นอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล แต่มีใบรับรองแพทย์ให้หยุด 3 วันขึ้นไป รับเงินทดแทนการขาดรายได้วันละ 200 บาท หากหยุดไม่เกิน 2 วัน ไม่ได้รับความคุ้มครอง - กรณีเจ็บป่วยเป็นทั้งผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอกรวมกัน รับเงินทดแทนการขาดรายได้ไม่เกิน 90 วันต่อปี - กรณีทุพพลภาพ รับเงินทดแทนการขาดรายได้ 500-1,000 บาท ตลอดชีวิต หากเสียชีวิตระหว่างการทุพพลภาพ รับค่าทำศพ 50,000 บาท - กรณีเสียชีวิต รับค่าทำศพ 50,000 บาท แต่จะไม่ได้รับเงินเพิ่มกรณีจ่ายเงินสมทบครบ 60 เดือนก่อนเสียชีวิต - กรณีชราภาพ รับเงินสมทบเดือนละ 150 บาท หากจ่ายสมทบครบ 180 เดือน รับเงินเพิ่ม 10,000 บาท และผู้ประกันตนจ่ายเพิ่มได้ไม่เกินเดือนละ 1,000 บาท - กรณีสงเคราะห์บุตร รับเงินสงเคราะห์บุตรแรกเกิด จนถึงอายุ 6 ปีบริบูรณ์ คนละ 200 บาท (คราวละไม่เกิน 2 คน)

การทำประกันสังคม ดียังไง?

ประกันสังคม ถือเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยที่ดีในการรักษาความมั่นคงทางด้านการเงินของประชาชนในกรณีที่เกิดเหตุที่ไม่คาดคิด ไม่ว่าจะเป็นการเจ็บป่วย การบาดเจ็บ การสูญเสียคนในครอบครัว การเกิดโรคร้ายแรง หรือการเกิดอุบัติเหตุ เป็นต้น ดังนั้นการมีประกันสังคมจะช่วยป้องกันไม่ให้คุณและคนในครอบครัวของคุณต้องเผชิญกับความเสี่ยงทางเศรษฐกิจในกรณีที่เกิดเหตุไม่คาดคิดได้ นอกจากนี้ยังช่วยสร้างความมั่นคงในการเงินในอนาคตของคุณจากเงินส่วนหนึ่งที่มีการจ่ายสมทบเพื่อรับเบี้ยยังชีพในรยามเกษียณอายุด้วย การทำประกันสังคมจึงมีประโยชน์สำหรับผู้ประกันตนในมาตราต่าง ๆ ดังนี้

• ได้รับค่ารักษาพยาบาลฟรี

ผู้ประกันตนสามารถเข้ารับการรักษาพยาบาลที่โรงพยาบาลของรัฐและเอกชนได้ฟรี โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ไม่ว่าจะเป็นค่ายา ค่าหัตถการ หรือค่าบริการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการรักษาพยาบาล

• ได้รับเงินทดแทนรายได้เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน

ผู้ประกันตนจะได้รับเงินช่วยเหลือในกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉิน เช่น การเจ็บป่วยรุนแรง อุบัติเหตุ หรือเหตุการณ์ฉุกเฉินอื่นๆ

• ได้รับเงินบำนาญ

ผู้ประกันตนจะได้รับเงินบำนาญเมื่อเข้าสู่วัยเกษียณ โดยจะได้รับเงินบำนาญตามจำนวนปีที่เข้าร่วมประกันสังคม

• เพิ่มความมั่นคงในการเงิน

การทำประกันสังคมยังช่วยเพิ่มความมั่นคงในการเงินของผู้ที่เข้าร่วมประกัน โดยจะช่วยให้มีเงินออมสะสมเพื่อเตรียมตัวในการเลิกงานหรือเกษียณอายุในอนาคต

รวมถึงสิทธิประโยชน์ในด้านอื่น ๆ อย่างเช่น การได้รับเงินสงเคราะห์บุตรและการได้รับเงินกรณีทุพพลภาพหรือเสียชีวิตร่วมด้วย ดังนั้น การทำประกันสังคมจึงถือเป็นการลงทุนที่ดีเพื่อประโยชน์ต่อชีวิตและการเงินในอนาคตของผู้ประกันตนนั่นเอง

สิทธิ์ประกันสังคม ใช้ได้ตอนไหน?

หากคุณเป็นพนักงานเอกชนทั่วไป บริษัทของคุณจะเป็นผู้ดำเนินการสมัครประกันสังคมมาตรา 33 โดยอัตโนมัติในฐานะพนักงานประจำผู้มีเงินได้ คุณจะได้รับสิทธิ์ในการใช้งานประกันสังคมได้ทันที โดยบริษัทจะหักเงินเดือนของคุณส่วนหนึ่งและบริษัทจ่ายให้คุณส่วนหนึ่งในการจ่ายเงินสมทบในทุก ๆ เดือน แต่หากคุณเป็นอดีตพนักงานบริษัทที่อยู่ในมาตรา 33 มาเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 12 เดือนขึ้นไป แล้วลาออกไปประกอบอาชีพอื่น คุณสามารถยื่นเรื่องเปลี่ยนจากการเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 มาเป็นมาตรา 39 ได้ ที่สำนักงานประกันสังคมในพื้นที่ที่คุณสะดวก และคุณจะต้องเป็นผู้จ่ายเงินสมทบด้วยตนเองทั้งหมด หรือหากคุณไม่ได้ทำงานเป็นพนักงานบริษัท ประกอบอาชีพอิสระต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นแม่ค้า ฟรีแลนซ์ เกษตรกร หรือว่างงาน เป็นต้น คุณก็สามารถสมัครทำประกันสังคมมาตรา 40 ได้ และต้องเป็นผู้จ่ายเงินสมทบด้วยตนเองทั้งหมดเช่นกัน หลังจากนั้นคุณจะสามารถใช้สิทธิ์ประกันสังคมตามเงื่อนไขในแต่ละมาตราที่คุณเป็นสมาชิกได้ทันที ไม่ว่าจะใช้ตอนป่วย ตอนทุพพลภาพ ตอนเสียชีวิต เป็นต้น โดยคุณสมบัติบุคคลที่สามารถสมัครประกันสังคมได้จะต้องเป็นบุคคลสัญชาติไทยที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป จนถึงอายุ 65 ปีบริบูรณ์

ต้องการรับเงินชราภาพ ประกันสังคมทําอย่างไร?

ผู้ประกันตนที่มีการจ่ายเงินสมทบไม่น้อยกว่า 180 เดือน จะสามารถรับสิทธิ์เงินชราภาพได้ โดยการจ่ายผลประโยชน์เงินชราภาพประกันสังคมจะเป็นไปตามเงื่อนไขของแต่ละมาตราที่ผู้ประกันตนสมทบ ซึ่งการขอรับเงินชราภาพประกันสังคม ทำอย่างไร? ทำตามขั้นตอนดังนี้ได้เลย

  • ผู้ประกันตนหรือทายาทผู้มีสิทธิ์ กรอกเอกสารแบบ สปส. 2-01 พร้อมลงลายมือชื่อและนำมายื่นที่ สำนักงานประกันสังคมพื้นที่ใกล้บ้าน หรือยื่นเอกสารขอรับทางไปรษณีย์
  • หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่จะดำเนินการตรวจหลักฐานและแจ้งผลการพิจารณาไปยังผู้ประกันตนหรือทายาทผู้มีสิทธิ์
  • สำนักงานประกันสังคมสั่งจ่าย เงินสด/เช็ค ผ่านธนาณัติหรือโอนเข้าบัญชีธนาคารตามบัญชีของผู้ขอรับประโยชน์ทดแทน

สำหรับหลักฐานที่ผู้ประกันตนจำเป็นจะต้องแนบมาเพื่อส่งตรวจสอบและพิจารณารับเงินชราภาพ มีดังนี้

  • แบบคำร้องขอรับผลประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพ (สปส. 2-01)
  • สำเนาบัญชีธนาคาร ที่มีชื่อและเลขที่บัญชีของผู้ยื่นคำขอ โดยจะต้องเป็นบัญชีของธนาคารดังต่อไปนี้ (กรุงไทย, กรุงศรีอยุธยา, กรุงเทพ, ไทยพาณิชย์, กสิกรไทย, ทหารไทย, ธนชาต, อิสลามแห่งประเทศไทย, ซีไอเอ็มบีไทย, ออมสิน, ธ.ก.ส.)
  • กรณีผู้ประกันตนเสียชีวิต จะต้องแนบเอกสารสำเนาใบมรณะบัตร, สำเนาทะเบียนบ้านผู้ตาย, สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน, สำเนาทะเบียนบ้านของผู้มีสิทธิรับเงินชราภาพ, สำเนาทะเบียนสมรสของผู้ประกันตนและของบิดามารดา (ถ้ามี), สำเนาสูติบัตรของบุตรหรือสำเนาทะเบียนบ้านของบุตร กรณีไม่มีสูติบัตร, หนังสือระบบให้เป็นผู้มีสิทธิรับเงินชราภาพ (ถ้ามี)

ประกันสังคมจ่ายยังไง?

การจ่ายเงินสมทบประกันสังคม ผู้ประกันตนในแต่ละมาตราจะมีวิธีการจ่ายที่แตกต่างกันไป โดยหากเป็นผู้ประกันตนในมาตรา 33 จะถูกหักออกจากเงินเดือนในทุก ๆ เดือนอยู่แล้ว ไม่ต้องทำเรื่องจ่ายประกันสังคมเอง แต่หากเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 หรือ ประกันสังคมมาตรา 40 ผู้ประกันตนจะต้องเป็นผู้ดำเนินการจ่ายเงินสมทบเอง โดยสามารถจ่ายผ่านระบบออนไลน์ได้ด้วยการหักจากบัญชีเงินฝากธนาคารอัตโนมัติทุกวันที่ 15 ของเดือน ซึ่งจะต้องไปทำเรื่องที่สำนักงานประกันสังคมด้วยตนเอง รวมถึงสามารถจ่ายประกันสังคมได้ผ่านช่องทางออฟไลน์ ดังนี้

  • จ่ายด้วยเงินสด ณ สำนักงานประกันสังคมทุกจังหวัดทั่วไประเทศ
  • จ่ายผ่านเคาน์เตอร์เซอร์วิสต่าง ๆ
  • จ่ายผ่านระบบ Pay at Post ที่เคาน์เตอร์ที่ไปรษณีย์

ทำประกันสุขภาพจากแรบบิท แคร์ ติดไว้ด้วย! ใช้ร่วมกับประกันสังคมได้

แม้ว่าคุณจะเป็นผู้ประกันตนประกันสังคมที่สามารถใช้สิทธิ์ในการรักษาพยาบาลจากประกันสังคมได้ แต่ต้องยอมรับว่าวงเงินในการรักษาอาจจะมีไม่มากเพียงพอต่อการเข้ารับการรักษาที่สามารถเข้าถึงแพทย์ได้รวดเร็ว เพราะมีผู้ใช้สิทธิ์ประกันสังคมเป็นจำนวนมาก ทำให้ผู้ป่วยต้องรอรับการรักษาเป็นเวลานาน ซึ่งในบางโรคที่ร้ายแรงอาจจะรักษาไม่ทันเวลา ดังนั้นการซื้อประกันสุขภาพจากแรบบิท แคร์ร่วมด้วยจึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ดีที่จะช่วยเสริมความคุ้มครองด้านสุขภาพให้กับคุณได้ การมีประกันสุขภาพร่วมด้วยมีข้อดี ดังนี้

  • คุ้มครองค่ารักษาพยาบาลที่สูงกว่าประกันสังคม
  • เลือกซื้อความคุ้มครองเงินชดเชยเพิ่มเติมได้ในกรณีที่ต้องเข้ารักษาพยาบาลต่อเนื่องนาน ๆ เป็นจำนวนที่มากกว่าประกันสังคม
  • เข้าถึงการรักษาและทีมแพทย์ที่ช่วยให้คำปรึกษา คำแนะนำได้อย่างรวดเร็วทันเวลา
  • สามารถใช้ในการเบิกเคลมร่วมกันกับประกันสังคมได้ ทำให้มีวงเงินความคุ้มครองในการรักษาพยาบาลเพิ่มมากขึ้น

ประกันสุขภาพที่ แรบบิท แคร์ แนะนำ

AIA Health Saver ประกันสุขภาพเหมาจ่าย AIA Health Saver

เหมาจ่าย

  • จ่ายเบี้ยเริ่มต้น 575 บาท/เดือน คุ้มครองครบ
  • คุ้มครองครบ เหมาจ่ายสูงสุด 500,000 บาท
  • แม้ไม่นอน รพ. คุ้มครอง OPD 30 ครั้ง/ปี
  • สมัครได้ทุกช่วงวัย ต่ออายุได้ถึง 98 ปี
  • เบิ้ลคุ้มครอง 2 เท่า ตรวจเจอโรคร้ายแรง
  • คุ้มครองค่ารักษา OPD 1,500 บาท/ครั้ง
  • รับสิทธิลดหย่อนภาษี สูงสุด 25,000 บาท
วิริยะ โกลด์ บาย บีดีเอ็มเอสวิริยะ โกลด์ บาย บีดีเอ็มเอส

สุขภาพและอุบัติเหตุ

  • ไม่ต้องสำรองจ่าย เบี้ยฯเริ่ม 46 บาท/วัน
  • คุ้มครองผู้ป่วยใน สูงสุด 5 ล้านบาท/ครั้ง
  • แคร์ค่าห้อง คุ้มครองสูงสุด 15,000 บาท/วัน
  • แคร์ทุกวัย สมัครได้ตั้งแต่อายุ 15 วัน
  • แคร์มะเร็ง คุ้มครองเคมีบำบัด สูงสุด 100,000 บาท
  • คุ้มครองผู้ป่วยนอก สูงสุด 2,500 บาท/วัน
  • แคร์เรื่องเงิน รพ. ในเครือ BDMS ไม่ต้องจ่ายก่อน
ประกันสุขภาพ ผู้สูงอายุGEN Senior Extra 7

ผู้สูงอายุ

  • สมัครประกันได้ตั้งแต่อายุ 41-70 ปี
  • คุ้มครองสุขภาพ เหมาจ่ายสูงสุด 1 ล้านบาท
  • คุ้มครองค่าห้อง รพ. สูงสุด 6,000 บาท/วัน
  • ค่ารักษาตัวที่บ้าน รับเงินสูงสุด 60,000 บาท
  • CT Scan คุ้มครอง ไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่ม
  • ค่าตรวจวินิจฉัย คุ้มครองสูงสุด 12,000 บาท
  • ค่าตรวจวินิจฉัย คุ้มครองสูงสุด 12,000 บาท
Health Lump SumHealth Lump Sum

สุขภาพและอุบัติเหตุ

  • ชดเชยรายได้ สูงสุด 500 บาท/วัน แคร์ครบ
  • เหมาจ่ายค่ารักษา สูงสุด 5 แสนบาท/ปี
  • จ่ายค่ารักษาตามจริง สูงสุด 75,000 บาท
  • สมัครได้ 16-60 ปี แคร์ครอบคลุม รพ. 322 แห่ง
  • ค่าห้องจ่ายตามจริง สูงสุด 365 วัน
  • คุ้มครองอุบัติเหตุ สูงสุด 150,000 บาท/ผู้ป่วยใน
  • ค่าบริการแพทย์ฉุกเฉิน 5,000 บาท/ครั้ง

ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ของเรา