ดอกเบี้ยทบต้น มหัศจรรย์การเงิน เมื่อเวลาจะสร้างความมั่งคั่งให้กับคุณ
ดอกเบี้ยทบต้น หรือ Compound interest เป็นอีกหนึ่งเวทย์มนต์ทางการเงินชิ้นสำคัญ ที่สามารถเปลี่ยนชีวิตของใครหลาย ๆ คนให้ได้พบเจอกับความมั่งคั่ง โดยดอกเบี้ยทบต้นเป็นอีกหนึ่งเทคนิคทางการเงินหรือการลงทุนที่ทำได้อย่างง่าย ๆ ไม่มีอะไรที่ซับซ้อนมากความเช่นเดียวกับการฝากเงินในเงินฝากดอกเบี้ยสูง อาศัยเพียงแค่ความอดทนเป็นหนึ่งในองค์ประกอบหลักในการบรรลุถึงจุดเป้าหมายที่ตั้งไว้ ซึ่งเมื่อมาถึงตรงนี้ เชื่อเหลือเกินว่าเพื่อน ๆ คนเริ่มสนใจแล้วว่าเจ้าเทคนิคทางการเงินนี้คืออะไร ซึ่งน้องแคร์จะพาเพื่อน ๆ ไปรู้จักกับตัวอย่างการคิดดอกเบี้ยทบต้น ไปดูว่าดอกเบี้ยทบต้น สูตรเป็นอย่างไร และอื่น ๆ อีกมากมายซึ่งรับรองได้เลยว่าเมื่ออ่านบทความชิ้นนี้จบเพื่อน ๆ ทุกคนจะเข้าใจเจ้าดอกเบี้ยทบต้น คํานวณออกมาได้อย่างง่ายดาย ๆ เพิ่มขึ้นอย่างแน่นนอน
ดอกเบี้ยทบต้น คืออะไร? หมายความว่าอย่างไรบ้าง
ดอกเบี้ยทบต้น คือ การนำเอาดอกเบี้ย ผลตอบแทนที่ได้จากเงินต้น หรือนำเอากำไรที่ได้จากการลงทุนมารวมเงินต้นก้อนแรกแล้วนำไปลงทุนต่อซ้ำกันไปเรื่อย ๆ ทุกปี คำนี้ในภาษาอังกฤษจะใช้คำว่า Compound interest โดยผลลัพท์ที่ได้จากการใช้เทคนิคดอกเบี้ยทบต้น จะก่อให้เกิดการเติบโตของเงินที่เราได้ลงทุนไว้ และยิ่งใช้เวลานานขึ้นเท่าไหร่ผลลัพธ์ที่ได้ก็จะทำให้เงินที่เรามีเจริญเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ
ซึ่งดอกเบี้ยทบต้นไม่ได้ใช้กับการลงทุนได้เพียงอย่างเดียวเท่านั้น ยังสามารถใช้กับการเก็บออมเงินได้อีกด้วย ซึ่งนี้เป็นเพียงแค่มุมดี ๆ ในการนำเอาเทคนิคนี้มาปรับใช้เพื่อสร้างความมั่งคั่งให้กับตัวเองเพียงเท่าน้้น ดอกเบี้ยทบต้นเองยังมีมอีกมุมหนึ่งซึ่งเชื่อเหลือเกินว่าคงไม่มีใครอยากจะให้เกิดขึ้นกับตัวเอง กับการเป็นหนี้ที่ถูกคิดในแบบดอกเบี้ยทบต้น ซึ่งจะส่งผลให้ยอดนี้ที่เป็นอยู่มีการงอกเงย หากคุณเป็นลูกหนี้จะต้องชำระหนี้เป็นจำนวนที่มากขึ้นจากปกติ
จำลองเหตุการณ์การใช้ดอกเบี้ยทบต้น ตัวอย่างการเพิ่มขึ้นของเงินสะสม
เพื่อให้หลาย ๆ คนได้เห็นถึงอานุภาพก่อนไปดูสูตรดอกเบี้ยทบต้นว่าจะส่งผลต่อความมั่งคั่งได้อย่างไรบ้าง เราขออนุญาตยกตัวอย่างประกอบด้านล่าง เพื่อให้เพื่อน ๆ ทุกคงได้เห็นภาพว่าดอกเบี้ยทบต้นสร้างอะไรได้บ้าง
กำหนดเหตุการณ์ดอกเบี้ยทบต้นโดยลองสมมุตให้มีคน 2 คนด้วยกันคือ A กับ B ทั้งสองคนมีเงินเก็บอยู่ก้อนหนึ่งอยากจะนำไปต่อยอดให้งอกเงยเป็นเวลา 10 ปีด้วยกัน ไม่ว่าจะด้วยการนำไปลงทุนเพื่อรับผลตอบแทนด้วยวิธีการต่าง ๆ หรือว่าจะนำเงินไปออมฝากไว้กับธนาคาร
โดยทั้ง A กับ B มีเงินต้นคนละ 100,000 บาท โดยที่การลงทุนที่ทั้งสองคนเลือกต่างให้ผลตอบแทนที่ 10% เท่ากันซึ่งคิดเป็นตัวเงิน 10,000 บาท พอสิ้นปีที่ 1 จะทำให้ทั้ง 2 คนมีเงินคนละ 110,000 บาท
พอขึ้นปีที่ 2 คุณ A ตัดสินใจใช้ดอกเบี้ยทบต้นช่วยในการลงทุน โดยการรวมดอกเบี้ยที่ได้กับเงินต้นส่งผลให้เงินลงทุนรวมของนาย A เป็น 110,000 บาท ส่วนคุณ B ไม่ได้เลือกใช้วิธีดอกเบี้ยทบต้น โดยที่ได้ถอนดอกเบี้ย 10,000 บาทออกมาใช้จ่าย เมื่อสิ้นปีเงินที่ได้จากการลงทุนรวมกับดอกเบี้ยของ A จะเป็น 121,000 บาท ส่วน B ได้รับเงินที่ 110,000 บาท
เหตุการณ์จำลองที่คนนึงเลือกใช้ดอกเบี้ยทบต้นและอีกคนไม่ได้ใช้ก็ได้ดำเนินไปครบ 10 ปี A จะได้รับเงินทั้งหมดที่ 259,374 บาท และในปีสุดท้ายนี้ B จะได้รับเงิน 110,000 บาท (ซึ่งเมื่อรวมย้อนหลัง B ผ่านเงินไปทั้งสิ้น 200,000 บาท) ซึ่งจะเห็นได้ว่าส่วนต่างจำนวนเงินของ A กับ B ได้จริงมีสูงถึง 59,374 บาทด้วยกัน จะเห็นได้ว่าดอกเบี้ยทบต้นมีความทรงพลังแค่ไหนในการทำให้เงินงอกเงย
ตัวอย่างตาราง ดอกเบี้ยทบต้นเปรียบเทียบในรูปแบบต่าง ๆ
จากการจำลองเหตุการเปรียบเทียบในข้างต้นจะเห็นได้ว่าดอกเบี้ยทบต้นจะสามารถทำให้เงินต้นเติบโตได้มากแค่ไหน ซึ่งในส่วนเราจะไปโฟกัสกับดอกเบี้ยทบต้นกันให้มากขึ้น ผ่านตาราง ดอกเบี้ยทบต้น ที่จะแสดงเงินต้นในจำนวนต่าง ๆ รวมไปถึงจำนวนปีที่ใช้การคิดดอกเบี้ยทบต้นที่แตกต่างกัน และความหลากหลายของอัตราผลตอบแทนหรือดอกเบี้ย
เงินต้น (บาท) | อัตราดอกเบี้ยหรือผลตอบแทน | ระยะเวลา (ปี) | ยอดเงินรวม (บาท) |
100,000 | 10% | 10 | 259,374.25 |
100,000 | 10% | 20 | 672,749.99 |
100,000 | 20% | 10 | 619,173.64 |
500,000 | 10% | 10 | 1,296,871.23 |
ปัจจัยที่ส่งผลต่อดอกเบี้ยทบต้น
จากตางรางในส่วนก่อนหน้านี้ที่ได้จัดปัจจัยต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อพลังของดอกเบี้ยทบต้นที่ทำให้สุดท้ายแล้วยอดเงินรวมมีการงอกเงยในจำนวนที่แตกต่างกัน ก็สามารแบ่งปัจจัยที่ส่งผลต่อดอกเบี้ยทบต้นไว้ได้ดังนี้
จำนวนเงินต้นหรือเงินที่ใช้ในการลงทุน
การเพิ่มเงินลงทุนให้เพิ่มขึ้นจากเดิมจะส่งผลดีต่อยอดเงินที่เพิ่มขึ้น จะเห็นได้ว่าเมื่อเพิ่มยอดเงินต้นขึ้นแล้วยอดรวมเงินสุดท้ายก็เพิ่มตาม เมื่อจัดให้ตัวแปรอื่น ๆ นั้นคงที่
อัตราดอกเบี้ยหรือผลตอบแทนที่ได้รับ
เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ส่งผลกับดอกเบี้ยทบต้นกับการเพิ่มอัตราผลตอบแทนหรืออัตราดอกเบี้ย ซึ่งอาจทำได้จากการปรับวิธีการลงในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อให้ผลตอบแทนเพิ่มขึ้น หรือเลือกออมเงินในธนาคารหรือสถาบันการเงินที่ให้ดอกเบี้ยที่สูงกว่า
ระยะเวลาที่ใช้ในการลงทุน
ปัจจัยเพิ่มศักยภาพให้กับดอกเบี้ยทบต้นอย่างการเพิ่มระยะเวลาในการลงทุนหรือว่าการเก็บออม เป็นวิธีที่ง่ายที่สุดที่ไม่ต้องไปดิ้นรนหาทุนเพิ่มหรือเสาะหาวิธีการเพิ่มผลตอบแทนใหม่ เพียงแค่คุณมีความอดทนที่มากพบ ใช้เทคนิคดอกเบี้ยทบต้นให้นานขึ้น ก็สามารถที่จะทำให้เงินคุณงอกเงยได้แล้ว
สูตรดอกเบี้ยทบต้นเป็นอย่างไร?
ลองนึกว่าจะต้องมานั่งคิดเงินจากดอกเบี้ยทบต้นที่ละครั้งเป็นจำนวนสัก 20 ปีเพื่อหาผลลัพธ์ที่ได้ก็น่าจะกินเวลาและสร้างความปวดหัวให้กับหลาย ๆ คนไม่น้อย ทำให้ผู้เชี่ยวชาญได้มีการสูตรดอกเบี้ยทบต้นออกมาเพื่อให้คนธรรมดาทั่วไปที่ต้องการคิดได้คำนวณออกมาง่าย ๆ ซึ่งตัวของสูตรดอกเบี้ยทบต้นจะหน้าตาเป็นอย่างไรไปติดตามกันได้เลย
ดอกเบี้ยทบต้น สูตรมาตราฐาน
เงินต้นรวมดอกเบี้ย = เงินต้น x (1+อัตราดอกหรือผลตอบแทน/จำนวนครั้งที่จ่ายผลตอบแทนต่อปี) ยกกำลังจำนวนปีที่คูณกับจำนวนครั้งที่จ่ายผลตอบแทนต่อปี
ตัวอย่างดอกเบี้ยทบต้น สูตรมาตราฐาน
- กำหนดให้เงินต้นเป็น 20,000 บาท ได้ผลตอบแทนหรือดอกเบี้ย 7% จ่ายดอกเบี้ยปีละ 2 ครั้ง ระยะเวลาในการใช้เทคนิคดอกเบี้ยทบต้นอยู่ที่ 20 ปี
- การคิดดอกเบี้ยทบต้น : เงินดอกเบี้ยทบต้น = 20,000 x (1+0.07/2)^(20×2) = 79,185.19บาท
อย่างสูตรดอกเบี้ยทบต้นอย่างง่าย
เงินต้นรวมดอกเบี้ย = เงินต้น x (1+อัตราดอกหรือผลตอบแทน) ยกกำลังจำนวนปี
เนื่องจากการลงทุนและการออมเงินส่วนใหญ่มักจะให้ผลตอบแทนหรือดอกเบี้ยปีละครั้ง จึงสามารถตัดจำนวนครั้งที่จ่ายผลตอบแทนต่อปีออกไปได้
ตัวอย่างดอกสูตรดอกเบี้ยทบต้นอย่างง่าย
- กำหนดให้เงินต้นเป็น 20,000 บาท ได้ผลตอบแทนหรือดอกเบี้ย 7% ระยะเวลาในการใช้เทคนิคดอกเบี้ยทบต้นอยู่ที่ 20 ปี
- การคิดดอกเบี้ยทบต้น : เงินดอกเบี้ยทบต้น = 20,000 x (1+0.07)^20 = 77,393.69 บาท
ข้อดี–ข้อเสียของดอกเบี้ยทบต้น
ข้อดี
- เทคนิคการคิดดอกเบี้ยทบต้นเป็นหนึ่งในแนวทางการทำให้เงินงอกเงยได้อย่างง่าย ๆ
- เป็นอีกหนึ่งการลงทุนเพื่อการเกษียนที่ใคร ๆ ก็ทำได้
- ก่อให้เกิดรายได้ที่เพิ่มขึ้น ดีกว่าถือเงินไว้เฉย ๆ
ข้อเสีย
- ต้องใช้เวลาและความอดทนค่อนข้างมาก เพื่อที่จะได้เห็นผลลัพธ์จากดอกเบี้ยทบต้น
- ในกรณีที่เป็นที่คุณเป็นลูกหนี้การถูกคิดด้วยระบบดอกเบี้ยทบต้น จะส่งผลให้คุณต้องจ่ายเงินเพิ่มมากขึ้น
จะเห็นได้ว่าดอกเบี้ยทบต้นหรือ Compound Interest เป็นอีกหนึ่งแนวทางการลงทุนที่น่าสนใจ สามารถทำให้เงินงอกเงยได้อย่างง่ายดาย มีสูตรดอกเบี้ยทบต้นที่ไม่ซับซ้อนทำให้มองเห็นภาพรวมของการลงทุนหรือสะสมได้ ซึ่งการใช้เทคนิคดอกเบี้ยทบต้นมีอาจจะต้องใช้ความอดทนสักหน่อยเพราะกว่าผลลัพธ์จะสำเร็จให้เห็นนั่นค่อนข้างใช้เวลาพอสมควร และอีกหนึ่งวิธีการลงทุนที่เราอยากแนะนำให้กับทุกคนรู้จักนั้นก็คือประกันสะสมทรัพย์ที่ถือว่าเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกชั้นดี เพราะนอกจากจะเป็นการเก็บออมเงินไว้ใช้ในอนคตแล้วยังได้รับความคุ้มครองชีวิตและอุบัติเหตุอีกด้วย ซึ่งถ้าใครสนใจสมัครประกันสะสมทรัพย์แล้วล่ะก็ สามารถสมัครง่าย ๆ ได้ที่ แรบบิท แคร์กันได้เลย
นักเขียนรุ่นไฮบริด เขียนบทความด้านการบริหารเงินส่วนบุคคลและการลงทุนต่าง ๆ กว่า 7 ปี เริ่มต้นที่งานเขียนที่ Rabbit Finance จนย้ายมาที่ Rabbit Care และ Asia Direct