แคร์การเงิน

แบงก์ชาติเผย หนี้เสียพุ่งสูง สวนทางสภาวะเงินออมที่ร่วงต่อเนื่อง

ผู้เขียน : กองบรรณาธิการ
กองบรรณาธิการ

ทีมกองบรรณาธิการ กลุ่มนักเขียนผู้มีประสบการณ์ด้านรถยนต์ การเงิน และประกันภัย ของ แรบบิท แคร์ ที่เปิดดำเนินการมาแล้วมากกว่า 10 ปี

close
Facebook iconIG iconlinkedin iconYoutube icon
แก้ไขโดย : คะน้าใบเขียว
คะน้าใบเขียว

นักเขียนรุ่นไฮบริด เขียนบทความด้านการบริหารเงินส่วนบุคคลและการลงทุนต่าง ๆ กว่า 7 ปี เริ่มต้นที่งานเขียนที่ Rabbit Finance จนย้ายมาที่ Rabbit Care และ Asia Direct

close
linkedin icon
 
Published: November 13,2018
  
Last edited: November 17, 2018
หนี้เสีย
  • แบงก์ชาติ เผย คุณภาพสินเชื่อธนาคารพาณิชย์ในไตรมาส 3 ของปีนี้ ยังคงตกชั้นเป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (หนี้เสีย) เพิ่มขึ้นเป็น 2.94%  โดยมียอดคงค้างอยู่ที่ 443,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนถึง 1,250 ล้านบาท หรือ 2.93% 
  • ไทยมีเงินกองทุนเพื่อการเกษียณต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ในอัตราที่ต่ำเพียง 7% ซึ่งถือว่าน้อยมาก เมื่อเทียบกับกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว (โออีซีดี) ที่มีกองทุนเพื่อการเกษียณอยู่ที่ 50%

เรื่องปัญหาการเงิน คงเป็นเรื่องหนักใจของในหลายๆครอบครัว เพราะการที่มีปัญหาการเงิน ย่อมทำให้สถานการณ์ในการใช้ชีวิตติดขัด จะทำอะไร ลงทุนทำอะไร ก็ทำได้ไม่เต็มที่ เพราะต้องนำเงินมาใช้หนี้ และแม้ปัจจุบันจะมีตัวช่วยทางการเงินเพิ่มมากขึ้น เพื่อเป็นการเสริมสภาพคล่องทางการเงินอย่างบัตรเครดิต แต่ถ้าคุณใช้เงินไม่เป็น ตัวช่วยทางการเงินเหล่านี้ ก็อาจจะกลายเป็นหนี้เสีย เพิ่มพูนเป็นดินพอกหางหมูจนแกะไม่ออกได้ทีเดียว

หนี้เสียพุ่งสูง

แบงก์ชาติเผยหนี้เสียของคนไทยพุ่งสูง

นายสมชาย เลิศลาภวศิน ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายกลยุทธ์สถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่าคุณภาพสินเชื่อธนาคารพาณิชย์ในไตรมาส 3 ของปีนี้ ยังคงตกชั้นเป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (หนี้เสีย) เพิ่มขึ้นเป็น 2.94%  โดยมียอดคงค้างอยู่ที่ 443,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนถึง 1,250 ล้านบาท หรือ 2.93% จากหนี้เสียบัตรเครดิตเพิ่มอยู่ที่ 2.54% จาก 2.42% เป็นหลัก และยังคงมีแนวโน้มตกชั้นเพิ่มจากยอดค้างชำระไม่เกิน 3 เดือน(เอสเอ็ม) เพิ่มเป็น 1.96% จาก 1.89% ในไตรมาสก่อน มียอดคงค้าง 365,000 ล้านบาท

เนื่องจากช่วงที่ผ่านมาธนาคารพาณิชย์มีการแข่งขันธุรกิจบัตรเครดิตสูง ทั้งร่วมมือพันธมิตรออกบัตรร่วม (โคแบรนด์) เร่งออกแคมเปญโปรโมชั่น ทำให้มีผู้ใช้งานบัตรเครดิตเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว

นอกจากนี้ หนี้เสีย ยังมาจากสินเชื่อรถยนต์ หรือที่ชาวบ้านเรียกว่าการจำนำรถ ที่มีการตกชั้นเพิ่มเป็น 1.57% จาก 1.52%  และยังคงมีเอสเอ็มที่รอตกชั้นเพิ่มจาก 7.25% เป็น 7.32% ในไตรมาสที่ 3 ซึ่งมองว่าเป็นเรื่องปกติของสินเชื่อรถยนต์ที่เป็นหนี้เสีย เพราะเมื่อเทียบกับระดับการเติบโตของสินเชื่อรถยนต์ยังคงไม่สูงมาก เนื่องจาก เมื่อลูกหนี้ค้างชำระรถจะถูกนำไปขายทอดตลาดส่งผลให้ลูกหนี้รายนั้นกลายเป็นหนี้เสีย

นางพิกุล ศรีมหันต์ รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส ธนาคารไทยพาณิชย์ ยังกล่าวว่า ธุรกิจเอสเอ็มอี ยังคงตกชั้นเป็นหนี้เสียต่อเนื่อง แม้เศรษฐกิจจะขยายตัวดีขึ้น ซึ่งธนาคารพบว่าปัญหาของเอสเอ็มอีส่วนใหญ่มีการนำสินเชื่อหมุนเวียน หรือวงเงินโอดี ไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ เช่น ซื้อที่ดินหรือรถหรู ไม่ได้เบิกวงเงินไปใช้ดำเนินธุรกิจหรือสต๊อกสินค้าจริง ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาตามมา หากลูกค้า มีความจำเป็นต้องใช้เงินในธุรกิจ ส่งผลให้การเงินตึงตัว นำไปสู่การผิดชำระหนี้ในอนาคต

หนี้เสียของคนไทย

คลังดัน กฎหมาย แก้หนี้เสีย

นายลวรณ แสงสนิท ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ สศค. ได้มีการสรุปข้อคิดเห็น การจัดทำร่างพ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดบริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ. 2541 ซึ่งจะเป็น พ.ร.บ. ที่ช่วยแก้ไขปัญหาหนี้เสีย ให้กับธุรกิจสินเชื่อรายย่อย และหนี้ครัวเรือน  โดยร่างกฎหมายได้ผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการกฤษฎีกา และจะส่งให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) ยืนยัน เพื่อเสนอให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) พิจารณาให้เสร็จทันในรัฐบาลชุดนี้

โดยสาระสำคัญในพ.ร.บ.ฉบับนี้ ได้มีการขยายการประกอบธุรกิจของบริษัทบริหารสินทรัพย์ให้สามารถรับซื้อโอน หรือรับจ้างบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพจากผู้ประกอบธุรกิจทางการเงิน ที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน ทั้งนี้ การโอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ ยังอยู่ภายใต้การกำกับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และไม่ได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมและ ภาษีอากรต่างๆอันเกิดจากการโอน

กฎหมาย แก้หนี้เสีย

ภาวะเงินออมไทย เข้าสู่ช่วงวิกฤต

นายไพบูลย์ นลินทรางกูร ประธานกรรมการ สภาธุรกิจตลาดทุนไทย กล่าวในงานสัมมนาระบบการออมเพื่อการเกษียณรองรับสังคมผู้สูงอายุ ว่า ไทยมีเงินกองทุนเพื่อการเกษียณต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ในอัตราที่ต่ำเพียง 7% เมื่อเทียบกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว (โออีซีดี) อยู่ที่ 50% และนอกกลุ่มโออีซีดีอยู่ที่ 20% ดังนั้นจึงควรมีการออกแบบระบบบำนาญให้ครอบคลุมแรงงานทั้ง 38 ล้านคนทั่วประเทศ เพื่อให้มีเงินเพียงพอต่อการยังชีพหลังชีวิตเกษียณ คือ

ต้องมีเงินออม 50% – 70% ของรายได้ขณะทำงาน ซึ่งในปัจจุบันนั้นมีเพียงข้าราชการเท่านั้นที่มีเพียงพอ ส่วนแรงงานในระบบประกันสังคมได้เพียง 24% แรงงานนอกระบบได้เพียง 10% และผู้ที่อยู่ในระบบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพทำได้ 12% หากรวมทั้ง 3 ระบบไม่ถึง 50% รัฐบาลจึงควรเร่งผ่านกฎหมายกองทุนบำเหน็จบำนาญแห่งชาติ (กบช.) ออกมาโดยเร็ว

ซึ่งแรงงานในระบบ 11.6 ล้านคน มีถึง 5 ล้านคนที่รายได้ต่ำกว่า 1 หมื่นบาท/เดือน และเงินที่ได้จากการออมในระบบประกันสังคม 15 ปีแค่ 4,000 บาท/เดือน และสูงสุดจะได้เพียง 7,500 บาท/เดือน ซึ่งไม่ถึง 20% ของรายได้เดือนสุดท้าย หากกฎหมาย กบช.ออกมา จะทำให้รายได้หลังเกษียณเพิ่มขึ้นอีก 7% ก็ช่วยบรรเทาได้ระดับหนึ่ง น.ส.สุปาณี จันทรมาศ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านการออม การลงทุนและพัฒนาตลาดทุน สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ได้กล่าวไว้


ในสถานการณ์ที่คนไทยมีหนี้เสียพุ่งสูงขึ้น อีกทั้งสภาวะเงินออมก็ร่วงลงอย่างเห็นได้ชัด ทำให้หลายๆคนต้องตระหนักแล้วว่า การใช้ชีวิตของคุณเองในปัจจุบันตอนนี้อาจจะมีปัญหา และส่งผลกระทบถึงวัยเกษียณของตัวคุณเองได้ ดังนั้น ควรปรับเปลี่ยนวิธีการใช้เงินของตัวเองตั้งแต่วันนี้เพื่ออนาคตของตัวเอง


ที่มา


 

บทความแคร์การเงิน

Rabbit Care Blog Image 98912

แคร์การเงิน

บัตรเครดิตเติมน้ำมัน (Fleet Card) คืออะไร ? มีข้อดี-ข้อเสียอย่างไร ?

ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่พร้อมจะเพิ่มให้ความสะดวกสบายในการใช้จ่ายในชีวิตประจำวันของเราเพิ่มขึ้นมาอย่างมากมาย บัตรเครดิตเติมน้ำมัน (Fleet Card)
Natthamon
30/12/2024
Rabbit Care Blog Image 97227

แคร์การเงิน

ผ่อนบอลลูน คือ อะไร มีข้อดีข้อเสียอย่างไร เหมาะสมกับใครมากที่สุด

เคยได้ยินกันไหมกับการผ่อนรถแบบผ่อนบอลลูน คำศัพท์ที่ดูแปลกและไม่ค่อยชินกันเท่าไหร่นัก เพราะในเวลาปกติเราตัดสินใจเลือกซื้อรถยนต์สักคันด้วยการกู้สินเชื่อ
คะน้าใบเขียว
14/11/2024
Rabbit Care Blog Image 94185

แคร์การเงิน

ไม่มีรถคืนไฟแนนซ์ ต้องเจอปัญหาใหญ่แค่ไหน

พอถึงเวลาที่เราผิดสัญญาไฟแนนซ์ต่อเนื่อง มีโอกาสถูกยึดรถสูงมาก แต่ถ้าไม่มีรถคืนไฟแนนซ์จะต้องเผชิญหน้ากับปัญหาที่ยิ่งใหญ่แค่ไหน
Natthamon
03/09/2024