แคร์การเงิน

รู้จัก ‘สามเหลี่ยมทางการเงิน’ หรือพีระมิดทางการเงิน เพื่อการวางแผนอนาคตที่มั่นคงและยั่งยืน

ผู้เขียน : คะน้าใบเขียว
คะน้าใบเขียว

นักเขียนรุ่นไฮบริด เขียนบทความด้านการบริหารเงินส่วนบุคคลและการลงทุนต่าง ๆ กว่า 7 ปี เริ่มต้นที่งานเขียนที่ Rabbit Finance จนย้ายมาที่ Rabbit Care และ Asia Direct

close
linkedin icon
 
 
Published: December 13,2023
สามเหลี่ยมทางการเงิน

สามเหลี่ยมทางการเงินหรือพีระมิดทางการเงิน สิ่งที่ผู้ที่ต้องการวางแผนการเงินและอนาคตในระยะยาวต้องรู้จักเอาไว้ เพราะเพียงรู้จักเจ้าสามเหลี่ยมทางการเงินนี้ก็สามารถเปลี่ยนคุณภาพชีวิตของเราในวันข้างหน้าได้ สามเหลี่ยมการเงินนี้คืออะไร ? มีความสำคัญอย่างไร มีส่วนประกอบอะไร เหมาะกับใคร แรบบิท แคร์ รวมข้อมูลสรุปมาให้ รายละเอียดของผู้ช่วยวางแผนด้านการเงินที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล!

ประกันสุขภาพที่คุณเลือกเองได้ พร้อมชำระได้หลากหลายช่องทาง
icon angle up or down

เลือกแผนประกันสุขภาพที่คุณสนใจ

    ชื่อนามสกุล

    หมายเลขโทรศัพท์

    สามเหลี่ยมทางการเงิน คืออะไร ?

    สามเหลี่ยมทางการเงิน หรือที่บางคนอาจคุ้นชินกับชื่อพีระมิดทางการเงินนั้น คือ รูปแบบหรือวิธีการในการบริหารจัดการเงิน การใช้จ่ายเงิน และการเก็บเงินเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพที่สูงที่สุด ซึ่งในการวางแผนนั้นก็จะมีรูปแบบที่ถูกกำหนดไว้เป็นขั้นต่าง ๆ โดยเริ่มทำจากในส่วนของฐานหรือสิ่งที่เรียกว่าการจัดสรรการเงินในส่วนของฐานพีระมิด ก่อนจะไล่ระดับขยับสเตปไต่ขึ้นไปในขั้นที่สูงขึ้นเรื่อย ๆ โดยสามเหลี่ยมทางการเงินนั้นจะถูกแบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลัก ๆ หรือ 3 ระดับขั้น ด้วยกัน ซึ่งจะกล่าวอธิบายให้โดยละเอียดในหัวข้อถัดไป

    ส่วนประกอบของสามเหลี่ยมทางการเงิน

    อย่างที่ทราบกันไปแล้วว่าสามเหลี่ยมทางการเงินนั้นจะประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก ๆ ด้วยกัน เพื่อเป็นการแบ่งลำดับขั้นและจัดสรรบริหารการเงินของเราได้อย่างมีระเบียบแบบแผน โดยส่วนประกอบทั้ง 3 ส่วนของสามเหลี่ยมทางการเงินก็จะมีดังนี้

    ส่วนที่ 1 ของสามเหลี่ยมทางการเงิน : ความจำเป็นพื้นฐานและการจัดการความเสี่ยง (Basic Needs and Risk Management)

    ส่วนนี้ของสามเหลี่ยมทางการเงินนั้นนับเป็นจุดเริ่มต้น หรืออาจอธิบายให้มองเห็นภาพอย่างชัดเจนได้ง่าย ๆ ว่าคือส่วนฐานของพีระมิด และแม้จะเป็นส่วนแรกหรือสิ่งที่เหมือนจะเป็นพื้นฐานแต่ความจริงแล้วการวางแผนทางการเงินในส่วนนี้นั้นถือว่าสำคัญมาก ทุกคนควรที่จะเตรียมความพร้อมในส่วนนี้อยู่เสมอ เหตุผลก็เพราะหากการวางแผนและการจัดการทางการเงินในส่วนนี้ล้มเหลวก็จะส่งผลกระทบทำให้ส่วนอื่น ๆ ล้มเหลวไปด้วย เช่นเดียวกับการสร้างพีระมิดซึ่งหากฐานไม่มั่นคงแข็งแรงและถล่มล้มลง ส่วนอื่น ๆ ที่สูงขึ้นไปก็ย่อมพังลงมาไม่ต่างกันนั่นเอง

    สำหรับการจัดการทางการเงินในส่วนนี้ คือการมีเงินก้อนแรก ซึ่งเป็นเงินสำหรับสำรองฉุกเฉินจำนวน 3-6 เท่าของค่าใช้จ่ายต่อเดือน หรืออาจเรียกให้เข้าใจง่าย ๆ ว่าจะต้องมีเงินเก็บสำรองใช้ฉุกเฉินสำหรับการใช้จ่ายรายเดือนล่วงหน้าอย่างน้อย 3-6 เดือนเป็นอย่างต่ำ ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นหลักประกันสภาพคล่องให้กับตัวเองหรือเก็บไว้ลงทุนระยะยาวในภายภาคหน้า อีกทั้งเงินก้อนดังกล่าวอาจเป็นสิ่งที่จะช่วยเราได้ในวันที่เดือดร้อนหรืออับจนหนทางที่สุดได้อีกด้วย

    สำหรับการบริหารและจัดสรรเงินในส่วนนี้ของสามเหลี่ยมทางการเงินนั้น ขอแนะนำว่าให้ทำการฝากธนาคารหรือลงทุนในกองทุนรวมที่มีสภาพคล่องสูง และทำการจัดสรรโดย 

    • แบ่งเป็นเงินสำหรับเก็บออมและลงทุนจำนวน 10-30%
    • ภาระหนี้สินที่มีไม่ควรที่จะเกิน 35-45% 
    • ภาระหนี้สินที่ไม่รวมหนี้บ้านไม่ควรที่จะเกิน 15-20%

    นอกจากนี้ยังควรที่จะมีการบริหารจัดการความเสี่ยงจากเหตุการณ์ไม่คาดฝันที่อาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา เช่น การซื้อประกันสุขภาพ ประกันรถยนต์ ประกันอุบัติเหตุ หรือจะเลือกซื้อประกันออมทรัพย์ กับ แรบบิท แคร์ ก็นับเป็นทางเลือกที่ดี เนื่องจากสามารถช่วยในการเก็บออมเงิน ในขณะเดียวกันก็ได้รับการคุ้มครองชีวิตเหมือนกับการซื้อประกันชีวิตแบบฟรี ๆ เลยทีเดียว

    ส่วนที่ 2 ของสามเหลี่ยมทางการเงิน : การสะสมความมั่งคั่ง (Wealth Accumulation)

    สำหรับส่วนที่ 2 ของสามเหลี่ยมทางการเงินนั้น ในส่วนนี้จะเป็นส่วนของการลงทุนและตั้งเป้าหมายทางการเงินในอนาคต หรือการวางแผนเพื่อการเกษียณอายุ (Retirement Planning) และการวางแผนการศึกษา (Education Planning) โดยในปัจจุบันนั้นก็ได้มีผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่เป็นเสมือนดังตัวช่วยที่เหมาะสมกับการวางแผนการเกษียณอายุและการวางแผนการศึกษาอยู่มากมาย ซึ่งการลงทุนในส่วนนี้นั้นถือเป็นการลงทุนในระยะที่ค่อนข้างยาวนาน 

    ดังนั้นสำหรับการลงทุนในส่วนที่ 2 ของสามเหลี่ยมทางการเงินนี้นั้น ใครที่มีความรู้ความสามารถในเรื่องของการลงทุนในกองทุนรวมหรือการลงทุนในหุ้นก็สามารถทำการซื้อและลงทุนได้ด้วยตนเองในทันที แต่สำหรับใครที่ไม่มีความรู้ทางด้านนี้อีกทั้งยังมีเวลาในการศึกษาเกี่ยวกับการลงทุนอย่างจำกัด ก็ขอแนะนำว่าให้เริ่มต้นศึกษาลงทุนในกองทุนรวมที่มีความเสี่ยงในระดับ 5 ขึ้นไป และวิธีการออมเงินที่แนะนำก็คือ การเปิดบัญชีฝากประจำ กองทุนรวมผสม กองทุนรวมหุ้น หรือการซื้อประกันที่มีเงื่อนไขในระยะสั้นหรือระยะกลางนั่นเอง

    ส่วนที่ 3 ของสามเหลี่ยมทางการเงิน : การลงทุน (Investment)

    ส่วนที่ 3 ของสามเหลี่ยมทางการเงิน หรืออาจเรียกได้ว่าเป็นชั้นบนสุดของพีระมิดทางการเงินนั้น คือส่วนของการลงทุนตามความต้องการส่วนบุคคล ซึ่งสำหรับการเลือกลงทุนในส่วนนี้นั้นจะต้องพิจารณาจากความถนัดของผู้ลงทุนว่ามีความเชี่ยวชาญหรือความสามารถในการลงทุนในรูปแบบใด เหตุผลที่การลงทุนในส่วนยอดของสามเหลี่ยมทางการเงินนี้สามารถเลือกลงทุนตามความต้องการได้ เนื่องจากส่วนนี้เป็นส่วนที่สามารถรับความเสี่ยงได้อย่างเต็มที่นั่นเอง

    การลงทุนส่วนนี้นั้นสามารถแบ่งเป้าหมายการลงทุนเป็น 3 ส่วนด้วยกัน คือ การลงทุนระยะสั้น การลงทุนระยะกลาง และการลงทุนระยะยาว

    • เป้าหมายระยะสั้น ลงทุนในระยะเวลา 0-3 ปี เช่น การออมเงินโดยการฝากประจำหรือการซื้อกองทุนรวมตลาดเงิน
    • เป้าหมายระยะกลาง ลงทุนในระยะเวลา 3-7 ปี เช่น การลงทุนในกองทุนรวม กองทุนรวมหุ้นระยะยาว หุ้นสามัญ หรือตราสารหนี้
    • เป้าหมายระยะยาว ลงทุนในระยะเวลา 7 ปีขึ้นไป เช่น การลงทุนในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ การทำประกัน

    สามเหลี่ยมการเงิน

    ความสำคัญของสามเหลี่ยมทางการเงิน

    หลังจากรู้รายละเอียดเกี่ยวกับสามเหลี่ยมทางการเงินกันไปแล้ว อาจมีบางคนเริ่มสงสัยและอาจจะยังมองเห็นภาพได้ไม่ชัดนักว่าเจ้าสามเหลี่ยมทางการเงินนั้นมีความสำคัญอย่างไร ความจริงแล้วสามเหลี่ยมทางการเงินซึ่งถือเป็นรูปแบบการวางแผนทางการเงินนี้นั้นมีความสำคัญมาก คือ

    • สามเหลี่ยมทางการเงินช่วยสร้างพื้นฐานชีวิตและพื้นฐานทางการเงินให้อย่างมั่นคง
    • สามเหลี่ยมทางการเงินช่วยบริหารจัดการความเสี่ยงทางการเงินในอนาคตได้
    • สามเหลี่ยมทางการเงินทำให้เรามองภาพอนาคตและวางแผนทางการเงินในระยะไกล
    • เป็นสิ่งกระตุ้นให้เราเริ่มศึกษาเกี่ยวกับการทำให้เงินงอกเงยในทุกวัน
    • เป็นตัวช่วยให้สามารถบรรลุเป้าหมายในการมีชีวิตที่มั่นคง และมีอิสระทางการเงิน

    ใครบ้างที่เหมาะกับการใช้สามเหลี่ยมทางการเงิน

    สำหรับผู้ที่กำลังสงสัยว่าใครบ้างที่จะเหมาะกับการใช้การวางแผนทางการเงินในรูปแบบการใช้สามเหลี่ยมทางการเงินนั้น บอกได้เลยว่าไม่ว่าใครก็ล้วนสามารถใช้สามเหลี่ยมทางการเงินได้ เพราะถึงแม้คุณจะไม่ได้มีความสามารถทางการเงินมากนักในปัจจุบัน ก็สามารถเริ่มวางแผนจัดการส่วนที่หนึ่งหรือส่วนฐานของสามเหลี่ยมทางการเงินได้ จากนั้นค่อย ๆ ขยับขึ้นไป จนกลายเป็นบุคคลที่มีความมั่นคงและมีอิสระทางการเงินในท้ายที่สุดได้นั่นเอง

    เงินเดือนน้อยสามารถใช้สามเหลี่ยมทางการเงินได้ไหม ?

    บางคนอาจมีความคิดและความรู้สึกว่า การวางแผนทางการเงิน โดยเฉพาะในรูปแบบของการใช้สามเหลี่ยมทางการเงินนั้นเป็นสิ่งที่มีแต่คนรวยที่จะทำได้เพียงเท่านั้น หากเป็นคนที่หาเช้ากินค่ำ คงไม่สามารถที่จะนำเงินมาเก็บออมหรือใช้ลงทุนในส่วนต่าง ๆ ได้ เพราะแค่จะกินข้าวและใช้จ่ายในชีวิตประจำวันก็ยังแทบไม่พอใช้นั่นเอง

    สำหรับความกังวลและความคิดเช่นนี้นั้นความจริงแล้วก็ไม่อาจปฏิเสธได้ ว่าสำหรับผู้ที่มีภาระมากมายสวนทางกับความสามารถในการสร้างรายได้นั้นก็คงยากที่จะทำใจลงทุนกับการวางแผนทางการเงิน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องไม่ลืมว่า สำหรับการวางแผนทางการเงิน เราสามารถเริ่มทำได้เท่าที่เรามีเท่าที่เราไหว ดีกว่าที่จะไม่ทำอะไร หากเป็นเช่นนั้นชีวิตคงไม่มีวันที่จะหลุดพ้นจากวงจรการหาเช้ากินค่ำใช้เงินเดือนชนเดือน บางเดือนชักหน้าไม่ถึงหลังจนต้องไปกู้หนี้ยืมสิน

    ดังนั้นสำหรับคำถามที่ว่าคนเงินเดือนน้อยสามารถใช้สามเหลี่ยมทางการเงินได้หรือไม่นั้น แรบบิท แคร์ ขอตอบว่าสามารถใช้ได้ เพียงแต่ต้องค่อย ๆ เริ่มต้นตามที่เราไหว ค่อย ๆ ใช้เวลาสร้างและทำในส่วนพื้นฐานให้ได้ จากนั้นก็ค่อย ๆ ขยับไปทีละขั้น สักวันจะต้องประสบความสำเร็จและสามารถสร้างสามเหลี่ยมทางการเงินที่สมบูรณ์ได้อย่างแน่นอน


     

    บทความแคร์การเงิน

    Rabbit Care Blog Image 94185

    แคร์การเงิน

    ไม่มีรถคืนไฟแนนซ์ ต้องเจอปัญหาใหญ่แค่ไหน

    พอถึงเวลาที่เราผิดสัญญาไฟแนนซ์ต่อเนื่อง มีโอกาสถูกยึดรถสูงมาก แต่ถ้าไม่มีรถคืนไฟแนนซ์จะต้องเผชิญหน้ากับปัญหาที่ยิ่งใหญ่แค่ไหน
    Natthamon
    03/09/2024
    Rabbit Care Blog Image 93664

    แคร์การเงิน

    มรดกหนี้ คืออะไร ? เมื่อพ่อแม่เสียชีวิต ลูกต้องใช้หนี้ต่อหรือไม่ ?

    เคยได้ยินคำว่ามรดกหนี้หรือไม่ ? เคยสงสัยไหมว่าเมื่อพ่อแม่เสียชีวิตไปแล้วหนี้ที่มีอยู่จะต้องทำอย่างไร ใครต้องรับภาระเหล่านั้นเอาไว้ ? วันนี้ แรบบิท แคร์
    คะน้าใบเขียว
    22/08/2024
    Rabbit Care Blog Image 90939

    แคร์การเงิน

    ถูกยืมเงินบ่อย ๆ ควรปฏิเสธอย่างไร เพราะอะไรเราถึงมักตกเป็นเหยื่อการขอยืมเงิน ?

    ปัญหาชวนปวดหัวอย่างการถูกยืมเงินถือเป็นปัญหาที่ไม่ว่าใครก็ไม่อยากเผชิญ ไม่ว่าจะด้วยเพราะสถานการณ์การเงินที่เป็นอยู่ลำพังเอาตัวเองให้รอดก็ลำบาก
    คะน้าใบเขียว
    23/07/2024