เก็บเงินอย่างไร ถ้าต้อง work from home อีกครั้ง
สถานการณ์โควิดระลอกใหม่ ดูเหมือนจะรุนแรง และทำให้หลายๆ คน ลำบากกว่าที่คาดคิด ถึงแม้จะมีบางบริษัที่ให้พนักงานกลับมาทำงานที่บริษัทแล้ว แต่อีกหลายแห่งยังคงให้เหล่าพนักงานกลับไป work from home ต่อ ไหนๆ ก็ไม่ได้ออกไปไหนแล้ว แบบนี้เราจะเก็บเงิน เตรียมรับกับสถานการณ์ฉุกเฉินในอนาคตยังไงดี ? วันนี้ Rabbit Care มีเคล็ดลับดีๆ มาฝาก
เก็บเงินอย่างไร ถ้าต้อง work from home อีกครั้ง
เริ่มต้นเก็บเงินยังไงดี ในช่วง work from home
บางคนอาจจะมองว่า work from home นั้นน่าเบื่อ เพราะนอกจากจะไปไหนไม่ได้แล้ว ยังต้องคอยติดตามการแพร่ระบาดของโรค โควิด-19 จนชวนให้สุขภาพเสียอีก แต่นี่อาจจะเป็นโอกาสที่ดีสำหรับใครหลายๆ คน ที่จะได้เริ่มต้นเก็บเงิน!
ปฎิเสธไม่ได้เลยว่า เมื่อเราต้อง work from home ค่าใช้จ่ายในการเดินทางต่างๆ หรือค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่ ก็จะลดลง เอื้อต่อการเก็บออมเงินได้มากกว่าทุกครั้ง และถ้าใครยังไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไรดี ก็อาจจะตั้งเป้าหมายง่ายๆ แบ่งตามระยะเวลา ดังนี้
เป้าหมายระยะสั้น คือ แผนการวางแผนออมระยะสั้นๆ ไม่เกิน 1ปี เหมาะสำหรับคนที่เริ่มต้นออมเงิน เนื่องจากไม่กดดันมาก และเพิ่มความมั่นใจในการเก็บเงินได้มากขึ้น เช่น เก็บเงินเพื่อซื้ออะไรสักอย่าง หรือให้เป็นรางวัลชีวิตกับตัวเอง หรือบางคนอยากจะเก็บเงินไปเรียนต่อ, เก็บเงินเพื่อสร้างธุรกิจส่วนตัว
เป้าหมายระยะยาว คือ แผนการเงินที่มีการวางแผนระยะยาวๆ อาจจะเริ่มตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป หรือยาวนานไปจนถึง 10 ปี มักจะเป็นเป้าหมายจริงจัง ต้องมีการวางแผน มีการลงทุนที่รอบคอบ เช่น การออมเงินเพื่อการเกษียณ, การลงทุนซื้อกองทุนรวม
หลังจากที่เลือกเป้าหมายได้แล้ว ก็จะทำให้เราเลือกการออมเงินได้ง่ายมากขึ้น เช่น ถ้าบางคนอยากเก็บเงินไว้ระยะยาว ก็อาจจะใช้รายจ่ายเรื่องการเดินทางมาเก็บออมเพิ่ม เช่น ฝากเงินเพื่อในบัญชีเงินฝากประจำเพื่อเป็นเงินก้อนฉุกเฉิน หรือเลือกซื้อกองทุนรวมที่มีความเสี่ยงต่ำเพิ่ม ก็น่าสนใจมาก
แน่นอนว่าการเก็บออมเงินนั้น ไม่มีกฎที่ตายตัว คุณสามารถยืดหยุ่น ปรับเปลี่ยนได้ตามไลฟ์สไตล์ การเงินได้
ต้องระวังอะไร ในตอนที่เริ่มต้นเก็บเงิน ช่วง Work from home
จริงอยู่ ที่ทำงานที่บ้านนั้น สะดวกสบาย ลดค่าใช้จ่ายที่ต้องออกไปนอกบ้านได้มาก แต่ในความเป็นจริงแล้ว หลายคนทันทีที่ work from home มักจะประสบปัญหากับเก็บเงินไม่อยู่ หรือเผลอๆ ใช้จ่ายเกินตัวมากกว่าตอนออกไปข้างนอกเสียอีก! แล้วแบบนี้ต้องระวังอะไรบ้างนะ ?
ค่าไฟตัวดี
ยิ่งอยู่บ้านนานเท่าไหร่ ค่าไฟ ค่าน้ำ ก็ยิ่งเพิ่มมากเท่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในช่วงที่อากาศร้อน ส่งผลให้มิเตอร์ไฟของหลายๆ คนวิ่งไวกว่าปกติ จนกลายเป็นที่มาของค่าไฟบานปลาย เผลอๆ ค่าเดินทางของใครหลายคน อาจจะถูกกว่าค่าไฟช่วง work from home อีกนะ! โดยวิธีประหยัดไฟ อาจจะแก้ได้หลายหนทาง เช่น
- พยายามประหยัดไฟให้มากขึ้น ปิดทุกอย่างที่ไม่ใช้งาน เช่น เลือกเวลาเปิดปิดเครื่องปรับอากาศ ไม่เปิดทั้งวัน, พยายามนั่งทำงานในที่ๆ แสงธรรมชาติส่องถึง
- เลือกใช้หลอด LED แทนหลอดไฟธรรมดา เพราะประหยัดไฟกว่าหลอดธรรมดาทั่วไป หรือเลือกใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ประหยัดไฟ
- เช็กว่ามิเตอร์วัดค่าไฟยังทำงานได้ปกติอยู่รึเปล่า เพราะการที่มิเตอร์วิ่งไว อาจมีกระแสไฟฟ้ารั่วไหลเกิดขึ้นบ้านภายในบ้าน ให้รีบติดต่อช่างไฟฟ้าตรวจสอบ หรืออาจจะมาจากมิเตอร์ไม่ได้มาตราฐาน ส่งผลต่อค่าไฟได้
ช้อปปิ้งออนไลน์เผลอ เกินห้ามใจ
ใครบอกว่าอยู่บ้านแล้ว ช้อปปิ้งน้อยลง ขอบอกเลยว่าไม่จริง! เพราะรูดตัวอีกที หลายคนก็อาจะจเผลอซื้อ เผลอสั่งของ รูดซื้อสินค้าไปเรียบร้อยแล้ว! โดยคุณอาจลองถามตัวเองซ้ำอีกที ว่า สิ่งของเหล่านั้นจำเป็นไหม? ถ้ารูดซื้อมาเยอะๆ จะหมุนเงินทันไหม?
หรือถ้าอยากจะช้อปปิ้งจริงๆ อาจจะต้องละเอียดให้มากขึ้น กับโปรโมชั่นต่างๆ ที่อาจเป็นตัวช่วยลดราคาสินค้า ไม่ว่าจะเป็น โค้ดส่งฟรี, ส่วนลดพิเศษเมื่อถึงยอด, สมัครบัตรเครดิตที่นอกจากให้ผ่อน คุณอาจจะได้แต้มพิเศษเพิ่ม หรือได้ส่วนลดที่คาดไม่ถึงด้วย
มาสำหรับการแก้ไขปัญหาข้อนี้ หลายคนจะต้องมีวินัย ความใจแข็งอยู่พอควร กับ การตั้งงบประมาณสำหรับการช้อปปิ้งไว้ และพยายามรูดซื้อไม่เกินจากงบประมาณเหล่านั้น โดยคุณอาจจะใช้บริการจำกัดยอดรูดในแต่ละวัน หรือกำหนดวงเงินชั่วคราวในตลอดระยะเวลาที่ต้องทำงานอยู่ที่บ้านให้ชัดเจน
หรือเลือกหักเงินออมออกเป็นอย่างแรก ตั้งแต่ช่วงเงินออก ก่อนช้อปปิ้งเสมอ ก็จะช่วยได้เหมือนกันนะ
ฟู้ดเดลิเวอรี่ก็ใช่ย่อย
บางคนอาจจะหลีกเลี่ยงไปพบเจอผู้คนในที่ชุมชน หรือบางคนอาจจะงานยุ่งมาก จนไม่มีเวลาออกไปซื้อข้าวของ ฟู้ดเดลิเวอรี่จึงเป็นทางออกที่ดี และแน่นอนว่าค่าส่งต่างๆ หรือค่าอาหารที่รวมบริการต่างๆ ก็อาจจะมีการชาร์จเพิ่มราคาขึ้นบ้าง ดังนั้นจึงไม่แปลกที่หากสั่งติดต่อกันครั้งละมากๆ ก็อาจจะเสียเงินโดยใช่เหตุ
วิธีการแก้ไขนั้น คุณอาจจะทำอาหารทานที่บ้าน หรือที่ห้องมากขึ้น หรือกนอกเหนือจากการเลือกใช้โปรโฒชั่นต่างๆ แล้ว บางบัตรเครดิตก็มีส่วนลดทุกครั้งที่ใช้จ่าย หรือบางฟู้ดเดลิเวอรี่อาจจะมีแพคเกจเหมาค่าส่งด้วยนะ
เตรียมพร้อมรับมือทุกสถานการณ์เสมอ
เพราะสถานการณ์ฺ โควิด-19 ยังต้องจับตามองกันต่อ และเพื่อเตรียมรับทุกสถานการณ์ การเก็บออมเงินไว้ใช้ยามฉุกเฉิน จึงเป็นเรื่องที่ไม่ควรมองข้าม เพื่อป้องกันปัญหาทั้งเรื่อง รายได้ลดในหมู่ฟรีแลนซ์ หรือถูกให้ออกจากงานกระทันหัน
ซึ่งหากให้แนะนำ ควรมีเงินก้อนเก็บออมไว้ติดตัวให้เพียงพอสำหรับระยะยาว 6 เดือน โดยเงินจำนวนนี้จะต้องครอบคลุม ทั้ง ค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน, ค่าเช่าที่อยู่อาศัย รวมถึงค่าอาหารด้วย
เช่น คุณมีเงินเดือน 20,000 บาท หมายความว่า คุณควรมีเงินก้อนเก็บไว้ประมาณ 120,000 บาท – 200,000 บาท ขึ้นไป
นอกเหนือจากการเก็บเงิน เผื่อสถานการณ์ฉุกเฉินแล้ว สิ่งที่คุณควรเตรียมพร้อมเสมอคือสุขภาพกาย ที่ควรดูแลให้แข็งแรงอยู่เสมอ ลดไปยังพื้นที่เสี่ยงต่างๆ สังเกตถึงอากาเจ็บป่วยของตนบ่อยๆ แม้ทำงานที่บ้าน รวมไปถึงสุขภาพจิต ที่ต้องใช้ความสำคัญไม่แพ้กัน
แบบนี้ต้องคลิกเลย กับ Rabbit Care ที่นอกจากจะเป็นโบรกเกอร์ประกันภัยแล้ว เรายังมาพร้อมกับ ประกันออมทรัพย์ ที่ช่วยให้คุณเก็บออมเงินได้ง่ายมากขึ้น พร้อมความคุ้มครองที่ช่วยให้คุณอุ่นใจ แม้อยู่ท่ามกลางสถานการณ์ โควิด-19 !
นักเขียนรุ่นไฮบริด เขียนบทความด้านการบริหารเงินส่วนบุคคลและการลงทุนต่าง ๆ กว่า 7 ปี เริ่มต้นที่งานเขียนที่ Rabbit Finance จนย้ายมาที่ Rabbit Care และ Asia Direct