แคร์การเงิน

อิสรภาพทางการเงิน คืออะไร มีความสำคัญอย่างไร ? ต้องทำอย่างไรจึงจะมีอิสรภาพทางการเงิน ?

ผู้เขียน : คะน้าใบเขียว

นักเขียนรุ่นไฮบริด เขียนบทความด้านการบริหารเงินส่วนบุคคลและการลงทุนต่าง ๆ กว่า 7 ปี เริ่มต้นที่งานเขียนที่ Rabbit Finance จนย้ายมาที่ Rabbit Care

close
Published January 03, 2024

พูดถึงคำว่าอิสรภาพทางการเงิน (Financial Independence) สำหรับคนที่รู้ความหมายก็คงไม่มีใครที่ไม่อยากมี เพราะการมีอิสรภาพทางการเงินนั้นช่วยให้สามารถใช้ชีวิตได้อย่างสุขสบายและมั่นคง วันนี้ แรบบิท แคร์ จึงอยากชวนเพื่อน ๆ ที่อาจยังไม่รู้จักความหมายของคำดังกล่าว ให้รู้จักถึงความหมายและข้อดีของการมีอิสรภาพทางการเงินมากยิ่งขึ้น รวมถึงขั้นตอนในการสร้างอิสรภาพทางการเงิน และคุณสมบัติที่ควรมีและจำเป็นต้องมีหากอยากมีอิสรภาพทางการเงินนั่นเอง

เปรียบเทียบประกันสุขภาพกับ Rabbit Care พิเศษ! ผ่อน 0% นานสูงสุด 10 เดือน
icon angle up or down

เลือกแผนประกันสุขภาพที่คุณสนใจ

    ชื่อนามสกุล

    หมายเลขโทรศัพท์

    อิสรภาพทางการเงิน คืออะไร ?

    อิสรภาพทางการเงิน คือ การที่เรามีสภาพการเงินที่ดีพอที่จะสามารถรองรับความต้องการในชีวิตประจำวันโดยไม่ต้องพึ่งพาเงินเดือนจากการทำงานประจำในทุกเดือน และยังหมายถึงการมีเสรีภาพในการเลือกที่จะทำงานหรือไม่ทำงานต่อไปก็ได้ โดยที่ไม่ต้องกังวลเรื่องเงินทุกครั้งที่มีความต้องการในการใช้จ่ายหรือมีเหตุการณ์ที่ทำให้ต้องใช้จ่ายเกิดขึ้น 

    ทั้งนี้คำว่าอิสรภาพทางการเงินไม่ได้หมายความว่าเราไม่ต้องทำงานเลย แต่เป็นการที่เรามีความมั่นใจว่าเรามีทรัพยากรการเงินเพียงพอที่จะรองรับทุก ๆ ความต้องการในชีวิต สามารถเลือกได้ตามความต้องการของตนเองว่าอยากจะใช้ชีวิตแบบไหน ทำงานอะไร ไม่ว่าจะเป็นการเลือกทำงานที่ให้ความสุข ทำงานจิตอาสา หรือเลือกที่จะพักผ่อนและมีเวลาให้กับครอบครัว 

    การมีอิสรภาพทางการเงินทำให้สามารถที่จะใช้ชีวิตอย่างเต็มที่และมีความสุข โดยไม่ต้องคำนึงถึงการดิ้นรนหาเงินทองเป็นสำคัญตลอดเวลา และแม้กระทั่งมีภาระหน้าที่หรือความรับผิดชอบต่าง ๆ ในชีวิตอยู่ก็ตามก็ยังสามารถสบายใจและวางใจได้ว่าจะสามารถรับมือได้ มีความมั่นคงทางการเงินที่จะสามารถจัดการไหว จึงอาจกล่าวได้ว่าการมีอิสรภาพทางการเงินถือเป็นพื้นฐานที่สำคัญในการสร้างชีวิตที่มีความเป็นอยู่ที่มั่นคงและมีคุณค่าที่แท้จริงในทุก ๆ ด้านของชีวิตทั้งร่างกายและจิตใจ

    ความสำคัญของอิสรภาพทางการเงิน

    ความสำคัญของอิสรภาพทางการเงินไม่เพียงแต่เป็นเรื่องของการมีเงินเพียงพอเท่านั้น แต่เป็นรากฐานที่สำคัญในการสร้างชีวิตที่มั่นคงและมีความเสรีภาพทั้งในด้านการตัดสินใจและการมีชีวิตที่มีคุณค่า การมีอิสรภาพทางการเงินช่วยลดความเครียดทางการเงินและเสริมสร้างความมั่นคงในชีวิตประจำวัน ทั้งยังเป็นหลักประกันที่สามารถรับมือกับภัยคุกคามทางการเงินได้อย่างมีความมั่นใจ เช่น การสูญเสียงาน, การเปลี่ยนแปลงผันผวนในตลาดการเงิน  หรือสถานการณ์ฉุกเฉินที่ไม่คาดฝัน

    นอกจากนี้การมีอิสรภาพทางการเงินยังนับเป็นพื้นที่สำคัญที่ให้โอกาสในการต่อยอดและพัฒนาตนเองไปยังลู่ทางที่สนใจ โดยทำให้เราสามารถทำในสิ่งที่รัก หรือมีเวลาในการทำกิจกรรมที่เรารัก 

    และด้วยปัจจัยเหล่านี้ก็จะทำให้ชีวิตเป็นไปอย่างมีคุณค่าและสมดุลทั้งในด้านการใช้ชีวิตและคุณภาพชีวิต อาจกล่าวได้ว่าความสำคัญของอิสรภาพทางการเงินไม่เพียงแต่เชื่อมโยงกับความมั่นคงทางการเงินเพียงเท่านั้น แต่ยังมีผลที่ลึกซึ้งและส่งผลที่บวกในทุกด้านของชีวิตอย่างมากเลยทีเดียว

    ข้อดีของการมีอิสรภาพทางการเงิน

    หลังจากที่ได้ทราบความหมายรวมถึงความสำคัญของการมีอิสรภาพทางการเงินกันไปแล้ว ใครที่ยังคงมองภาพไม่ออกหรือไม่เข้าใจว่าทำไมจึงควรมี และการมีอิสรภาพทางการเงินนั้นส่งผลดีต่อตัวเรามากแค่ไหน แรบบิท แคร์ จะช่วยแจกแจงเป็นข้อให้เข้าใจง่าย ๆ เพื่อที่จะได้เป็นแรงบันดาลใจให้ทุกคนสร้างอิสรภาพทางการเงินให้กับตนเอง

    1. ลดความเครียดทางด้านการเงิน : การมีอิสรภาพทางการเงินช่วยลดภาระความกังวลเกี่ยวกับเรื่องเงินทองและทำให้สามารถจัดการกับสถานการณ์ทางการเงินได้อย่างมั่นคง

    2. ช่วยเสริมสร้างความมั่นคงให้กับชีวิต : เป็นการเตรียมตัวให้พร้อมในการรับมือกับภัยคุกคามทางการเงิน เช่น การสูญเสียงาน  ความผันผวนของตลาดการเงิน หรือค่าใช้จ่ายฉุกเฉินที่ไม่คาดฝัน

    3. เสริมสร้างอิสรภาพในการตัดสินใจเลือกสิ่งที่ดีและเหมาะสมกับตนเอง : การมีอิสรภาพทางการเงินช่วยให้สามารถตัดสินใจเลือกสิ่งต่าง ๆ ในชีวิตได้อิสระมากขึ้น โดยไม่ต้องขึ้นอยู่กับการทำงานอย่างเต็มที่ทุกวันเพื่อที่จะหาเงินเลี้ยงปากท้องและอุดค่าใช้จ่ายจำเป็นรายเดือน

    4. สามารถทำสิ่งที่รักได้อย่างเต็มที่ : มีเวลาและทรัพยากรเพียงพอในการทำกิจกรรมที่สนใจและรักได้ในชีวิตประจำวัน โดยไม่ต้องเอาเวลาเหล่านั้นไปคร่ำเคร่งอยู่กับการดิ้นรนหาเงินเลี้ยงปากท้อง

    5. เสริมสร้างโอกาสในการลงทุนและพัฒนาตนเอง : มีทรัพยากรการเงินที่สามารถนำไปใช้ในการลงทุน ทั้งในแง่ของการใช้เงินต่อเงิน การลงทุนกับตัวเองอย่างการศึกษาต่อหรือพัฒนาทักษะเพิ่มเติม

    6. เลือกเส้นทางชีวิตที่มีคุณค่าและมีความสุขให้กับตนเองได้ : การมีอิสรภาพทางการเงินช่วยให้เราสามารถสร้างชีวิตที่มีคุณค่า มีความสุข  และเพียบพร้อมตามค่านิยมของตนเอง

    7. สามารถช่วยเหลือผู้อื่นได้ : มีทรัพยากรการเงินเพียงพอที่สามารถให้ความช่วยเหลือแก่ผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นครอบครัว คนที่รัก คนใกล้ตัวที่ห่วงใย หรือแม้แต่ให้ความช่วยเหลือคนในชุมชนหรือคนยากไร้ได้อย่างไม่เดือดร้อนและเบียดเบียนตนเอง

    8. เป็นการเตรียมตัวสำหรับเกษียณอายุ : มีความมั่นใจว่าสามารถให้การสนับสนุนตนเองในช่วงเวลาเกษียณอายุโดยไม่ต้องพึ่งพาผู้อื่น

    9. สร้างโอกาสในการต่อยอด : มีโอกาสในการต่อยอดชีวิตในทางที่ต้องการ ไม่ว่าจะเป็นการท่องเที่ยว, การศึกษาต่อ, หรือการทำกิจกรรมที่เสริมสร้างประสบการณ์ชีวิต

    จะเห็นได้ว่าการมีอิสรภาพทางการเงินนั้นส่งผลเชิงบวกมากมายต่อชีวิตของเรา ดังนั้นจึงถือเป็นเรื่องดี ๆ ที่จะเริ่มสร้างอิสระทางการเงินให้กับตนเองตั้งแต่วันนี้ เริ่มต้นง่าย ๆ ด้วยการวางแผนก้าวแรกในการสร้างอิสระทางการเงินกันได้เลย

    อยากมีอิสรภาพทางการเงิน จำเป็นต้องลงทุนหรือไม่ ?

    แน่นอนว่าผู้ที่ประสบความสำเร็จและมีอิสรภาพทางการเงินนั้นต่างก็เป็นนักลงทุนเก๋าเกมในแวดวงธุรกิจ ทำให้ใครหลายคนอาจสงสัยว่าแล้วหากตนเองต้องการที่จะเป็นหนึ่งในผู้ที่มีอิสระทางการเงินด้วยนั้นจำเป็นจะต้องผันตัวเป็นนักลงทุนหรือไม่ สำหรับประเด็นนี้แน่นอนว่าการลงทุนนั้นเป็นส่วนหนึ่งที่จะทำให้เราสามารถเกิดอิสรภาพทางการเงินได้อย่างรวดเร็วมากขึ้น เพราะหากทำงานประจำใช้เงินเดือนชนเดือนไปวัน ๆ โดยไม่ทำอะไรเพิ่มเติม ก็คงปฏิเสธไม่ได้ว่ามีโอกาสน้อยมากที่จะเกิดอิสระทางการเงิน 

    แต่ทั้งนี้การลงทุนก็ไม่ได้จำกัดเพียงการนำเงินไปลงทุนซื้อหุ้น นำไปเทรด หรือลงทุนกับอะไรใหญ่ ๆ ที่จะเป็นต้องใช้เงินทุนก้อนใหญ่เพียงเท่านั้น แต่สามารถเริ่มต้นจากจุดเล็ก ๆ ก่อนได้ เช่น อาจลองซื้อกองทุนรวมกับธนาคาร ซื้อพันธบัตรรัฐบาล หรืออีกวิธีง่าย ๆ คุ้มค่าโดยไม่ต้องทำอะไรมากมายและถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีอย่างการซื้อประกันออมทรัพย์ กับ แรบบิท แคร์ ก็สามารถทำได้ ในก้าวแรกลองเลือกวิธีที่คิดว่าง่ายและสะดวกสบาย เพื่อให้มีกำลังใจทำต่อไปได้เรื่อย ๆ นั่นเอง

    ขั้นตอนการสร้างอิสรภาพทางการเงิน

    หลังจากที่ได้ทราบข้อดีต่าง ๆ กันไปแล้ว เชื่อว่าหลายคนคงมีแรงฮึดที่จะผลักดันให้ตนเองมีอิสรภาพทางการเงินกันอย่างเต็มที่ คราวนี้ก็ถึงเวลาที่ต้องมาดูขั้นตอนในการสร้างอิสรภาพทางการเงินกันสักที โดยธนาคารไทยพาณิชย์ได้ให้ความรู้ขั้นตอนการสร้างอิสรภาพทางการเงินไว้ดังนี้

    • มีเงินสำรองฉุกเฉินที่เพียงพอ อย่างน้อยสำหรับการใช้จ่ายประจำวันเป็นระยะเวลา 3-6 เดือน
    • ปลดหนี้/ทำให้ตัวเองไร้หนี้ที่เป็นค่าใช้จ่ายในการจับจ่ายใช้สอย (Consumer Debt)
    • ออมเงินเป็นจำนวนอย่างน้อย 10% ของรายได้ทั้งหมดที่ได้เป็นประจำทุกเดือน
    • เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการลงทุนเพื่อที่จะได้ต่อยอดในอนาคต
    • ลงทุนกับตัวเองในทุกแง่ เพื่อสร้างโอกาสในการทำให้เงินงอกเงย
    • มีวินัยในการทำรายรับ-รายจ่ายอย่างสม่ำเสมอ
    • มีความตั้งใจจริงและทำทุกข้อที่กล่าวมาอย่างไม่ย่อท้อแม้จะต้องใช้เวลานาน

    คุณสมบัติที่ดีของผู้ที่จะมีอิสรภาพทางการเงิน

    • มีเป้าหมายที่ชัดเจนในการสร้างอิสรภาพทางการเงิน
    • มีความมุ่งมั่นตั้งใจในการลงมือทำอย่างไม่ย่อท้อ
    • มีวินัยในตัวเอง ไม่มีนิสัยผัดวันประกันพรุ่ง
    • ให้ความสำคัญในการสร้างอนาคตที่มั่นคงให้กับตนเอง

    สรุป

    และทั้งหมดนี้ก็คือเรื่องน่ารู้ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างอิสรภาพทางการเงิน แรบบิท แคร์ หวังว่าจะช่วยสร้างแรงบันดาลใจและเติมไฟให้กับทุกคนมีแรงที่จะพยายามสร้างอิสรภาพทางการเงินให้กับตนเอง


    บทความแคร์การเงิน

    แคร์การเงิน

    ไฟแนนซ์ คืออะไร จัดไฟแนนซ์รถ รีไฟแนนซ์บ้าน ทำได้อย่างไรบ้าง

    หลายคนคงเคยได้ยินคำว่า จัดไฟแนนซ์ ขอไฟแนนซ์ หรือขอสินเชื่อกันมาพอสมควร แต่อาจจะยังไม่เข้าใจรายละเอียดเรื่องการจัดไฟแนนซ์ ว่ามีขั้นตอนอย่างไร
    Thirakan T
    11/04/2024

    แคร์การเงิน

    เป็นหนี้บัตรเครดิต ยึดทรัพย์ คู่สมรสได้ไหม?

    เรื่องหนี้สิน เป็นเรื่องละเอียดอ่อนสำหรับคู่สมรส โดยเฉพาะหนี้บัตรเครดิต ที่เกิดจากการใช้จ่ายของทั้งสองฝ่าย ทั้งในกรณีที่ใช้จ่ายร่วมกัน
    Thirakan T
    11/04/2024

    แคร์การเงิน

    ผ่อนบ้านไม่ไหว ขายคืนธนาคารได้ไหม หรือควรทำอย่างไรดี

    ปัญหาผ่อนบ้านไม่ไหว น่าจะเป็นอีกหนึ่งปัญหาใหญ่ที่น่าหนักใจสำหรับใครหลายคน เพราะดอกเบี้ยบ้านที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ปัญหาผ่อนบ้านไม่ไหว
    Thirakan T
    11/04/2024