สิทธิ์-สวัสดิการของรัฐสำหรับผู้มีรายได้น้อย ผู้มีรายได้น้อย คืออะไร ใครบ้างที่เข้าเกณฑ์ ?
ผู้มีรายได้น้อย คืออะไร ? จะต้องมีคุณสมบัติอย่างไรถึงจะขอรับสิทธิ์และสวัสดิการต่าง ๆ ของผู้มีรายได้น้อยได้ บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ คืออะไร สามารถนำไปใช้ลดหย่อนหรือมีวงเงินสำหรับใช้จ่ายอะไรเท่าไหร่ สินเชื่อบ้านดอกเบี้ยต่ำสำหรับผู้มีรายได้น้อย คืออะไร ? มีเงื่อนไขอะไรบ้างที่กำหนดไว้ รวมข้อมูลทุกอย่างมากให้ จาก แรบบิท แคร์
ผู้มีรายได้น้อย คืออะไร ?
ผู้มีรายได้น้อยคือกลุ่มคนที่มีรายได้น้อยกว่ามาตรฐานที่ถือเป็นเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ำสำหรับการดำรงชีวิตในสังคมและในประเทศ โดยมาตรฐานเหล่านี้อาจมีการกำหนดโดยองค์กรระหว่างประเทศหรือภาครัฐ เพื่อให้คนที่มีรายได้ต่ำสามารถมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
เนื่องจากการที่มีรายได้ที่ต่ำกว่ามาตรฐานอาจส่งผลให้ผู้คนเหล่านี้ต้องเผชิญกับความยากจน การขาดแคลนอาหาร มีที่พักอาศัยที่ไม่มั่นคง ไม่สามารถที่จะเข้าถึงบริการทางสุขภาพและการศึกษาที่จำเป็นหรือสามารถเข้าถึงได้ไม่มากเท่าที่ควรจะได้ รวมถึงไม่เพียงพอต่อความจำเป็น
ดังนั้นทางรัฐบาลที่เล็งเห็นถึงปัญหาด้านการดำรงชีวิตของผู้มีรายได้น้อยและต้องการเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้มีรายได้น้อย จึงต้องผลักดันนโยบายต่าง ๆ เพื่อให้ความช่วยเหลือในด้านต่าง ๆ ต่อการดำรงชีวิตของผู้มีรายได้น้อยโดยเฉพาะดังเช่นปัจจุบัน
สิทธิ์-สวัสดิการของรัฐ ที่มีต่อผู้มีรายได้น้อย
อย่างที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าปัญหาคุณภาพชีวิตที่ย่ำแย่ของผู้มีรายได้น้อยในประเทศไทยของเรานั้นเป็นส่วนหนึ่งของปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคม ซึ่งปัจจุบันทางรัฐบาลก็ได้มีความพยายามผลักดันในการออกนโยบายเพื่อทำการช่วยเหลือภาคประชาชนอย่างเต็มที่โดยการมอบสวัสดิการต่าง ๆ ให้กับผู้มีรายได้น้อยเหล่านี้ ซึ่งสิทธิ์และสวัสดิการที่โดดเด่นของผู้มีรายได้น้อยที่ในช่วงหลายปีมานี้เรานั้นคุ้นหูกันดีก็จะมี บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ และสินเชื่อบ้านดอกเบี้ยต่ำสำหรับผู้มีรายได้น้อยนั่นเอง
บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ผู้มีรายได้น้อย
โครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ สำหรับผู้มีรายได้น้อย คือ โครงการรัฐบาลที่เป็นส่วนหนึ่งของนโยบายทา
สังคมที่มุ่งเน้นให้ผู้มีรายได้น้อยและคนที่มีฐานะยากจนมีโอกาสดำรงชีวิตอย่างมีมาตรฐาน โดยโครงการนี้มีวัตถุประสงค์ในการลดความเหลื่อมล้ำและช่วยดูแลกลุ่มคนผู้มีรายได้น้อยในด้านค่าใช้จ่ายในครัวเรือนและค่าใช้จ่ายในการเดินทาง
โดยผู้ที่มีสิทธิ์ในการรับบัตรสวัสดิการแห่งรัฐก็คือผู้ที่มีคุณสมบัติเป็นบุคคลที่มีรายได้ต่ำกว่ามาตรฐาน (ผู้มีรายได้น้อย) ที่กำหนดโดยรัฐ และมีความต้องการในการลดค่าใช้จ่ายเพื่อให้สามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีความสะดวกสบายมากขึ้น โครงการนี้มีไว้เพื่อสนับสนุนและช่วยเหลือผู้ที่อยู่ในสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่ยากลำบาก และเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงบริการสาธารณสุขและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
แต่หลังจากที่มีการผลักดันนโยบายนี้ออกมาและนำมาลองใช้จริงแล้วโครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐนี้กลับไม่สามารถช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยอย่างทั่วถึงตามที่ตั้งเป้าเอาไว้ เนื่องจากมีการตกหล่นในการแจกจ่าย อีกทั้งยังมีผู้ที่ไม่ใช่ผู้ซึ่งมีคุณสมบัติเป็นผู้มีรายได้น้อยหรือยากจนจริง ๆ หาช่องโหว่มารับเงินในส่วนนี้แทน
ดังนั้นในปี 2566 ทางรัฐบาลได้มีการปรับปรุงคุณสมบัติผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐและเงื่อนไขการใช้งานใหม่เพื่อให้มีเกณฑ์การรับบัตรสวัสดิการแห่งรัฐที่มีมาตรฐานมากยิ่งขึ้น และมีประสิทธิภาพในการช่วยเหลือผู้ที่มีรายได้น้อยและยากจนจริงๆ ภายใต้ความมุ่งมั่นที่จะปรับปรุงการช่วยเหลือดูแล ให้การสนับสนุนความต้องการของกลุ่มคนผู้มีรายได้น้อยในสังคมอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน
คุณสมบัติผู้มีสิทธิ์รับบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ผู้มีรายได้น้อย
อย่างที่ได้กล่าวไปแล้วในหัวข้อก่อนหน้าว่าในปี 2566 นี้ได้มีการปรับปรุงคุณสมบัติของผู้ที่มีสิทธิ์รับบัตรสวัสดิการแห่งรัฐของผู้มีรายได้น้อย ซึ่งผู้ที่ต้องการรับสิทธิ์บัตรสวัสดิการแห่งรัฐของผู้มีรายได้น้อยจะต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
- เป็นผู้ที่มีสัญชาติไทย
- เป็นผู้ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป
- เป็นผู้ที่รายได้ต่อปีของบุคคลรวมถึงรายได้เฉลี่ยของครอบครัวไม่เกิน 100,000 บาท ต่อคนต่อปี
- เป็นผู้ที่มีทรัพย์สินทางการเงิน เช่น เงินฝากในบัญชี พันธบัตรรัฐบาล สลากออมสิน และตราสารหนี้ของภาครัฐ ไม่เกิน 100,000 บาท ต่อคนต่อปี
- เป็นผู้ที่ไม่มีวงเงินกู้ หรือมีวงเงินกู้บ้านกำหนดไว้ไม่เกิน 1.5 ล้านบาท วงเงินกู้รถไม่เกิน 1 ล้านบาท
- เป็นผู้ที่ไม่มีกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ หรือมีกรรมสิทธิ์แต่ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ดังนี้
กรณีไม่มีครอบครัว ห้องชุดต้องไม่เกิน 35 ตร.ม. และมีที่ดินที่ไม่ใช่เพื่อการเกษตรไม่เกิน 1 ไร่ และมีที่ดินที่ใช้ในการเกษตรไม่เกิน 10 ไร่ มีบ้านพร้อมที่ดิน บ้านเดี่ยว ทาวน์เฮาส์ ตึกแถว เป็นพื้นที่ไม่เกิน 25 ตร.ว. และรวมทั้งหมดแล้วพื้นที่การเกษตรจะต้องไม่เกิน 10 ไร่
และนี่ก็เป็นเกณฑ์อัปเดตล่าสุดสำหรับให้ทุกคนเช็คสิทธิ์ผู้มีรายได้น้อยกันดูได้ ว่าตนเองตรงตามเกณฑ์ไหมเพื่อจะได้ยื่นขอในรอบถัดไปแบบไม่สับสนนั่นเอง
สิทธิ์สำหรับผู้มีสิทธิ์รับบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 2566
สำหรับผู้มีรายได้น้อยที่ได้ครอบครองบัตรสวัสดิการแห่งรัฐหรือบัตรคนจน จะได้รับเงินสงเคราะห์ผู้มีรายได้น้อย สิทธิ์หรือสวัสดิการในการลดหย่อนค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ดังนี้
- ได้รับวงเงินเพื่อซื้อสินค้าเพื่อการอุปโภคบริโภค 200 – 300 บาท
- วงเงินค่าไฟฟ้า ไม่เกิน 315 บาทต่อครอบครัว และค่าน้ำประปาไม่เกิน 100 บาทต่อครอบครัว
- วงเงินสำหรับค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ได้แก่ ค่าโดยสารรถบขส. 500 บาท/เดือน ค่าโดยสารรถไฟ 500 บาท/เดือน ค่าโดยสารรถ ขสมก./รถไฟฟ้า (MRT/BTS/ARL) 500 บาท/เดือน (*สำหรับผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล)
- ได้รับส่วนลดค่าซื้อก๊าซหุงต้ม 100 บาท/3 เดือน (ม.ค. – มี.ค. 66) *กรณีกลุ่มเปราะบางจะได้ส่วนลด 100 บาท ต่อรอบ 3 เดือน
- เงินพิเศษผู้พิการ 200 บาท
- สำหรับผู้ซึ่งถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ที่เป็นพ่อค้าแม่ค้าแผงลอย ขายของหาบเร่ หรือร้านค้าขนาดเล็กจะได้ส่วนลดก๊าซหุงต้มปตท. 100 บาท (ที่ร้านที่ร่วมรายการ)
- ได้รับเงินพิเศษผู้สูงอายุ 50 ถึง 100 บาทขึ้นอยู่กับเกณฑ์รายได้
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับบัตรสวัสดิการแห่งรัฐสำหรับผู้มีรายได้น้อยได้ที่
- กองทุนประชารัฐสวัสดิการเพื่อเศรษฐกิจฐานรากและสังคม กระทรวงการคลัง สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง ติดต่อ 094-858-9794
วันจันทร์ – ศุกร์ 08.30 – 16.30 น. (เว้นวันหยุดราชการ)
- สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ติดต่อ 02 273 9020 ต่อ 3502 3503 3506 3518 3536 3542 หรือ 08-5842-7102, 08-5842-7103, 08-5842-7104, 08-5842-7105, 08-5842-7106, 08-5842-7107, 08-5842-7108
วันจันทร์ – ศุกร์ 08.30 – 16.30 น. (เว้นวันหยุดราชการ)
- ศูนย์ลูกค้าสัมพันธ์บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ติดต่อ 021092345
วันจันทร์ – ศุกร์ 08.30 – 17.30 น. (เว้นวันหยุดราชการ)
สินเชื่อบ้านดอกเบี้ยต่ำ สำหรับผู้มีรายได้น้อย
อีกหนึ่งสวัสดิการสำหรับผู้มีรายได้น้อยซึ่งทางเคหะแห่งชาติจับมือร่วมกับธนาคารอาคารสงเคราะห์อย่างสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำสำหรับผู้มีรายได้น้อย (ธอสสินเชื่อบ้าน 2565 ผู้มีรายได้น้อย) โดยมีจุดประสงค์ให้คนไทยมีบ้านจึงได้ทำการแนะนำสินเชื่อหลากหลายรูปแบบที่ตอบโจทย์ทุกกลุ่มอาชีพและกลุ่มผู้มีรายได้ โดยเฉพาะกลุ่มผู้มีรายได้น้อย ซึ่งจะมีดังนี้
- โครงการสินเชื่อบ้านคนละหลัง : สำหรับผู้มีรายได้ไม่เกิน 25,000 บาท/เดือน วงเงินให้กู้รายละไม่เกิน 2 ล้านบาท
- โครงการบ้าน ธอส. เพื่อสานรัก : สำหรับผู้มีรายได้ไม่เกิน 35,000 บาทต่อเดือน วงเงินให้กู้รายละไม่เกิน 3 ล้านบาท
- โครงการสินเชื่อที่อยู่ที่อาศัยเพื่อบุคลากรภาครัฐ : สำหรับบุคลากรภาครัฐ ผู้มีสิทธิ์กู้เงินตามข้อตกลงจากโครงการสวัสดิการเงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัยประเภทไม่มีเงินฝาก วงเงินกู้ 1 ล้านบาท ฟรีค่าธรรมเนียมการยื่นกู้ รวมไปถึงค่าจดทะเบียนสิทธิ์และนิติกรรม
สำหรับใครที่สนใจอยากจะกู้บ้านแต่ไม่แน่ใจว่าควรจะต้องยื่นสินเชื่อแบบไหน หรืออยากลองปรึกษาทางเลือกในการยื่นกู้สินเชื่อบ้านดูก่อนก็สามารถปรึกษาการกู้สินเชื่อบ้าน กับ แรบบิท แคร์ ได้ บริการประทับใจ คอยแนะนำรายละเอียดให้ในทุกกระบวนการ
ทีมกองบรรณาธิการ กลุ่มนักเขียนผู้มีประสบการณ์ด้านรถยนต์ การเงิน และประกันภัย ของ แรบบิท แคร์ ที่เปิดดำเนินการมาแล้วมากกว่า 10 ปี