
รวมที่จอดรถ mrt และอาคารจอดแล้วจร มีตรงไหนบ้าง? เช็กได้เลย!!
แม้ว่าเรื่องของการละเมิดลิขสิทธิ์จะเป็นสิ่งที่ทราบกันอย่างแพร่หลายว่าเป็นสิ่งที่ผิดทั้งในแง่ของกฎหมายและศีลธรรมอีกทั้งคนส่วนใหญ่ต่างก็หลีกเลี่ยงที่จะไม่ทำการละเมิดลิขสิทธิ์กันอย่างเคร่งครัดแต่ก็ต้องยอมรับว่าความจริงแล้วเรื่องของกฎหมายลิขสิทธิ์และความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการละเมิดลิขสิทธิ์ยังไม่ได้เป็นความรู้พื้นฐานที่หลาย ๆ คนรู้ลึกรู้จริงกันอย่างละเอียดแพร่หลาย ดังนั้นวันนี้ แรบบิท แคร์ จึงเลือกที่จะหยิบยกประเด็นความรู้เกี่ยวกับการละเมิดลิขสิทธิ์มาฝากทุกคนให้ได้อ่านทำความเข้าใจ การละเมิดลิขสิทธิ์นั้นมีโทษอย่างไร หากโดนละเมิดลิขสิทธิ์ต้องแจ้งที่ไหน หากไม่เคยจดลิขสิทธิ์สามารถแจ้งได้หรือไม่ บทลงโทษตามกฎหมายสำหรับคนที่ละเมิดลิขสิทธิ์ คืออะไร ? และความรู้พื้นฐานที่ควรทราบกันไว้เกี่ยวกับลิขสิทธิ์ในชีวิตประจำวัน
ก่อนจะเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการละเมิดลิขสิทธิ์ก่อนอื่นนั้นต้องทำความเข้าใจก่อนว่าคำว่า ‘ลิขสิทธิ์’ (Copyright) นั้นคืออะไร? โดยศูนย์ทรัพย์สินทางปัญญา ได้เผยแพร่ความหมายของลิขสิทธิ์ว่า ลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 4 นั้น ลิขสิทธิ์ หมายความว่า สิทธิ แต่เพียงผู้เดียวที่จะกระทำการใด ๆ ตามพระราชบัญญัตินี้เกี่ยวกับงานที่ผู้สร้างสรรค์ได้ทำหรือสร้างสรรค์ขึ้น และ “ผู้สร้างสรรค์” หมายความว่า ผู้ทำหรือผู้ก่อให้เกิดงานสร้างสรรค์อย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้
หรืออาจสรุปได้ว่าลิขสิทธิ์ คือความคุ้มครองทางกฎหมายที่มีให้แก่เจ้าของผู้สร้างสรรค์ผลงาน ซึ่งเป็นผลงานที่เกิดขึ้นจากการใช้ความคิดสร้างสรรค์ การใช้สติปัญญา ความรู้ ความสามารถ รวมถึงความวิริยะอุตสาหะซึ่งถือเป็นทรัพย์สินทางปัญญาประเภทหนึ่งที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ รวมถึงมีเพียงเจ้าของลิขสิทธิ์แต่เพียงผู้เดียวเท่านั้นที่จะกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับงานที่เป็นลิขสิทธิ์ของตนเอง โดยกฎหมายลิขสิทธิ์ยังได้ให้ความคุ้มครองรวมถึงสิทธิของนักแสดงด้วย
หลังจากที่ได้ทราบความหมายของคำว่าลิขสิทธิ์กันไปแล้ว ก็มาถึงจุดที่จะต้องทำความเข้าใจว่าการละเมิดลิขสิทธิ์ หมายถึงอะไร โดยการละเมิดลิขสิทธิ์นั้นก็คือการที่บุคคลหนึ่งได้ทำการคัดลอก นำมาดัดแปลง นำมาใช้ หรือทำซ้ำ ผลงานที่เกิดขึ้นจากการใช้ความคิดสร้างสรรค์ การใช้สติปัญญา ความรู้ ความสามารถ รวมถึงความวิริยะอุตสาหะซึ่งถือเป็นทรัพย์สินทางปัญญาประเภทหนึ่งที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจของผู้อื่นโดยที่ไม่ได้รับการยินยอม หรือมีการเจรจาซื้อขายจ่ายค่าลิขสิทธิ์ให้เป็นกิจจะลักษณะนั่นเอง
สำหรับผู้ที่สงสัยว่าหากตนเองได้สร้างสรรค์ผลขึ้นมาและกลัวที่จะถูกละเมิดลิขสิทธิ์จำเป็นที่จะต้องไปจดลิขสิทธิ์ก่อนถึงจะสามารถเอาเรื่องผู้ที่ละเมิดลิขสิทธิ์ของตนเองได้หรือไม่ คำตอบคือไม่จำเป็น เนื่องจากการได้มาซึ่งลิขสิทธิ์นั้น สิทธิ์จะเกิดขึ้นทันทีนับตั้งแต่ผู้สร้างสรรค์ผลงานได้สร้างผลงานขึ้นมาโดยที่ไม่จำเป็นต้องจดทะเบียนแต่อย่างใด ทั้งนี้เจ้าของลิขสิทธิ์ก็ควรที่จะทำการปกป้องคุ้มครองสิทธิ์ของตนเองไม่ให้ผู้อื่นมาทำการละเมิดลิขสิทธิ์ได้โดยการที่เป็นหลักฐานแสดงว่าได้ทำการสร้างสรรค์ผลงานชิ้นนั้น ๆ ขึ้น ไม่ว่าจะเป็นวันเวลาที่คิด ทำ และสร้างสรรค์ผลงานสำเร็จหรือหลักฐานประกอบอย่างอื่นก็ตาม เพื่อที่หากอนาคตเกิดกรณีพิพาทหรือการละเมิดลิขสิทธิ์ขึ้นจะได้ทำการพิสูจน์ได้ว่าตนเองเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ที่แท้จริง
คำตอบคือสามารถยื่นเรื่องขอจดลิขสิทธิ์ต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญาได้แต่ทั้งนี้การแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์ต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญานั้นก็ไม่ใช่การรับรองสิทธิของเจ้าของผลงานแต่อย่างใดแต่เป็นเหมือนการแจ้งต่อหน่วยงานราชการว่าตนเองเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในผลงานที่แจ้งไว้เท่านั้น
ซึ่งในส่วนนี้ผู้แจ้งจะต้องทำการรับรองตนเองว่าเป็นเจ้าของผลงานที่ตนเองได้นำมาแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์ โดยหนังสือรับรองที่กรมทรัพย์สินทางปัญญา ออกให้ก็ไม่ได้เป็นการรับรองว่าผู้แจ้งเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์แต่อย่างใด ในอนาคตเมื่อมีข้อโต้แย้งหรือมีข้อพิพาทในเรื่องของการละเมิดลิขสิทธิ์ก็จำเป็นต้องอาศัยหลักฐานที่ผู้สร้างงานเก็บเอาไว้และให้ศาลช่วยพิจารณาคดีให้ต่อไปนั่นเอง
สำหรับบทลงโทษของการละเมิดลิขสิทธิ์ตามที่กฎหมายได้กำหนดไว้นั้นจะถูกแบ่งเป็นหลายกรณีด้วยกัน คือ
สำหรับเจ้าของผลงานลิขสิทธิ์นั้น กรณีที่ถูกละเมิดลิขสิทธิ์จะต้องรวบรวมหลักฐานเพื่อนำไปใช้ดำเนินการร้องทุกข์กับเจ้าหน้าที่ตำรวจ ดังนี้
หลังจากที่ได้รวบรวมเอกสารสำหรับการแจ้งร้องทุกข์เมื่อโดนละเมิดลิขสิทธิ์แล้ว ในส่วนของสถานที่ที่จะเข้าแจ้งความร้องทุกข์นั้นจะสามารถแจ้งได้ที่สถานีตำรวจใกล้บ้านคุณได้เลย
งานที่เสี่ยงต่อการละเมิดลิขสิทธิ์ มีอะไรบ้าง ? กฎหมายคุ้มครองลิขสิทธิ์นั้นจะคุ้มครองงานทั้ง 9 ประเภท ดังนี้
และนี่ก็คือข้อมูลที่ทุกคนควรมีความรู้ติดตัวไว้เกี่ยวกับการละเมิด ลิขสิทธิ์เพื่อที่จะไม่ไปละเมิดลิขสิทธิ์โดยไม่ได้ตั้งใจ รวมถึงรู้ไว้เพื่อเป็นความรู้ในการปกป้องสิทธิประโยชน์ของตนเองยามเมื่อตนเองเป็นผู้ผลิตงานที่ถือเป็นงานลิขสิทธิ์ขึ้นมา
ทั้งนี้การผลิตชิ้นงานลิขสิทธิ์ที่สามารถสร้างรายได้ไม่รู้จบได้ก็เป็นอีกช่องทางการสร้างรายได้แบบ Passive Income ที่น่าสนใจ สำหรับใครที่ทำได้ก็อย่าลืมมองอนาคตให้ยาวไกล วางแผนอนาคตและการเงินในวันข้างหน้าไว้โดยอาจเริ่มจากการที่สร้างรายได้จากงานลิขสิทธิ์ที่ตนผลิตขึ้นมาซื้อประกันออมทรัพย์ กับ แรบบิท แคร์ ช่วยเก็บออมเงิน มีดอกเบี้ยให้ แถมยังได้รับความคุ้มครองเหมือนประกันชีวิตทุกประการ
ทีมกองบรรณาธิการ กลุ่มนักเขียนผู้มีประสบการณ์ด้านรถยนต์ การเงิน และประกันภัย ของ แรบบิท แคร์ ที่เปิดดำเนินการมาแล้วมากกว่า 10 ปี
บทความแคร์ไลฟ์สไตล์
รวมที่จอดรถ mrt และอาคารจอดแล้วจร มีตรงไหนบ้าง? เช็กได้เลย!!
ปักหมุด 8 อุทยานแห่งชาติที่กำลังมาแรงแห่งปี 2568 ใครชอบธรรมชาติติดใจแน่นอน
ข้อมูลสำหรับสายบินลัดฟ้า! พิกัดที่จอดรถสนามบินดอนเมือง ค่าจอดรถสนามบินดอนเมือง 2568