
บัตรเครดิตเติมน้ำมัน (Fleet Card) คืออะไร ? มีข้อดี-ข้อเสียอย่างไร ?
ก่อนโอนกรรมสิทธิ์ห้อง อย่ารีบเซ็นยอมรับเงื่อนไขหากยังไม่ได้ตรวจห้องให้แน่ใจว่าเราจะต้องซ่อมบำรุงอะไรบ้าง ทางที่ดีควรหาผู้เชี่ยวชาญมาช่วยตรวจ เพื่อความอุ่นใจก่อนการเข้าอยู่อาศัย แต่มีอะไรที่เราจะต้องเตรียมและต้องตรวจเช็คดีๆ บ้าง ไปดูกันครับ
พื้นห้องเป็นสิ่งพื้นฐานที่เราจะต้องตรวจเป็นอย่างแรก ๆ หากเป็นห้องที่ใช้พื้นไม้ลามิเนต ลองใส่ถุงเท้าแล้วลากเท้าไปตามพื้นห้อง เพื่อเช็คว่ารอยต่อของพื้นลามิเนจปูต่อกันดีหรือไม่ แล้วลองเหยียบที่พื้นแบบทิ้งน้ำหนักลงไป หากพื้นยวบเกิน 3 mm. ก็ให้แปะกระดาษโพสต์อิทไว้เพื่อที่ช่างจะได้แก้ไขได้ตรงจุด แต่หากเป็นพื้นกระเบื้อง ให้เช็กว่าพื้นปูกระเบื้องเต็มแผ่นหรือไม่ อาจจะใช้วิธีเดินไปรอบ ๆ ห้อง โดยเฉพาะบริเวณริมขอบห้อง รวมถึงคราบยาแนวที่ต้องเช็ดทำความสะอาดให้เรียบร้อย ไม่เป็นคราบเกาะกระเบื้องครับ
ส่วนใหญ่ที่เจอคือปัญหาสีปริแตก ไม่ใช่รอยร้าว แต่ก็ต้องลองให้ช่างเคาะไปตามผนังเบาๆ หากมีเสียงกลวงต้องรีบแก้ไขด่วนที่สุด เพราะอาจเป็นชนวนของโครงสร้างภายในที่เราจะต้องมาตามแก้ไขทีหลัง หรือถ้าติดวอลเปเปอร์ ก็ต้องไม่เป็นฟองอากาศด้านใน ไม่เป็นคลื่นนูนขึ้นมา เพราะอาจหมายความว่าวอลเปเปอร์ของคุณบวมและไม่เรียบสนิทครับ
ระดับฝ้าเพดานต้องมีความสูงเสมอกันทั้งห้องตามที่โครงการแจ้งไว้ ไม่มีรอยแตกร้าว สีด่าง หรือคราบน้ำต่างๆ รั่วซึม ขั้นตอนนี้ต้องใช้การมองอย่างละเอียดถี่ถ้วน เพราะเป็นสิ่งที่ลูกบ้านส่วนใหญ่ไม่ค่อยสังเกตกันครับ
ตรวจสอบการเปิด-ปิดประตู หน้าต่าง หรือบานพับ ว่าใช้ได้ปกติหรือไม่ วงกบขอบเรียบสนิทไปกับขอบประตู/หน้าต่างหรือไม่ หรือมีเสียงขณะเปิด-ปิดหรือไม่ รวมถึงกลอนประตูที่ส่วนใหญ่จะเจอปัญหากลอนฝืดด้วยครับ
ตรวจเช็คความลาดเอียงของพื้นห้องว่าน้ำสามารถไหลลงท่อระบายน้ำได้ง่ายหรือไม่ วิธีการคือปล่อยให้ลูกแก้วกลิ้งไปตามทางท่อระบายน้ำ หากลูกแก้วกลิ้งปกติก็แปลว่าน้ำจะสามารถไหลลงท่อระบายน้ำได้ง่ายครับ
ตรวจดูสภาพความพร้อมของอุปกรณ์ใช้งานในห้องน้ำว่าใช้งานได้ปกติหรือไม่ เช่น ฝักบัว ก๊อกน้ำ สายฉีดวาล์ว ลองกดใช้และเช็คความดันน้ำว่าไหลแรงหรือไม่ หรือหากเป็นคอนโดที่ให้บานเลื่อนกั้นแห้ง/เปียก อาจจะต้องลองเปิดดูว่าบานเลื่อนสะดุดหรือฝืดไหม ระบบล็อกแน่นหนาพอที่น้ำจะไม่กระเด็นออกมาหรือเปล่า ถ้าตรวจเจอก็ต้องให้ช่างรีบแก้ไขหรือเปลี่ยนบานเลื่อนให้นะครับ
ชุดเครื่องครัวเป็นสิ่งที่มักจะได้แถมมาจากหลายๆ โครงการ อย่าลืมทดสอบเปิดปิดการใช้งานเบื้องต้นว่าเปิดติดหรือไม่ ไฟเข้าหรือเปล่า ที่สำคัญ เก็บหนังสือหรือใบรับประกันไว้ด้วยกันทั้งหมด เผื่อมีสิ่งของอะไรเสียหายระหว่างใช้งานก็สามารถนำเอกสารมายืนยันกับช่างได้ครับ
ลองนำอุปกรณ์เสียบปลั๊กของเราไปชาร์จตามสวิตซ์ไฟว่ามีอันไหนเสียหรือเสียบไม่ติด รวมถึงไฟเพดานภายในห้อง ให้ลองเปิดไฟให้หมดทั้งห้อง แล้วลองยกคัทเอาท์ดูการใช้งานว่าดวงไหนติด/ไม่ติด จะได้ให้ช่างมาแก้ไขได้ทันครับ
ตรวจดูว่าแอร์ใหม่จริงหรือไม่ ความเย็นปรับลดได้หรือเปล่า รวมถึงเสียงของคอมเพรสเซอร์แอร์ ถ้าดังผิดปกติก็ต้องให้ช่างมาตรวจเช็ค รวมถึงการระบายน้ำว่าระบายออกไปยังจุดไหน และน้ำระบายได้ดีหรือไม่ครับ
วิธีเช็คอ่างล้างจาน ให้เปิดน้ำไว้จนเต็มอ่างเพื่อทดสอบการระบายน้ำ จากนั้นปิดน้ำและทิ้งไว้ประมาณ 15 – 20 นาที แล้วไปดูชุดท่อ รอยต่อใต้อ่าง เพื่อดูว่ามีน้ำรั่วซึมที่ท่อระบายน้ำใต้อ่างหรือไม่ครับ
หากตรวจทั้งหมดนี้ไม่ไหว แนะนำให้เลือกช่างตรวจบ้านที่มีความเชี่ยวชาญมาตรวจจะได้ความแม่นยำกว่าตรวจเอง เพราะเทคนิคด้านบนเป็นเพียงการตรวจแบบเบื้องต้นเท่านั้น แล้วอย่าลืมว่าจำเป็นจะต้องตรวจบ้านหรือตรวจห้องก่อนรับโอนทุกครั้ง ละเลยไม่ตรวจไม่ได้นะครับ
อ่านบทความเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ของ Bangkok Citismart ต่อได้ที่ www.bkkcitismart.com/บทความ
ทีมกองบรรณาธิการ กลุ่มนักเขียนผู้มีประสบการณ์ด้านรถยนต์ การเงิน และประกันภัย ของ แรบบิท แคร์ ที่เปิดดำเนินการมาแล้วมากกว่า 10 ปี
บทความแคร์การเงิน
บัตรเครดิตเติมน้ำมัน (Fleet Card) คืออะไร ? มีข้อดี-ข้อเสียอย่างไร ?
ผ่อนบอลลูน คือ อะไร มีข้อดีข้อเสียอย่างไร เหมาะสมกับใครมากที่สุด
ไม่มีรถคืนไฟแนนซ์ ต้องเจอปัญหาใหญ่แค่ไหน