เป็นแพทย์จบใหม่ที่รอเงินตกเบิก เลือกบัตรเครดิตยังไงดีนะ?
ใคร ๆ ก็บอกว่าแพทย์ คืออาชีพที่มั่นคง แถมรายได้ดี ไม่แปลกที่ผู้ใหญ่ทั้งหลายจะวาดหวังให้ลูกได้เป็นแพทย์บ้าง แต่ในความเป็นจริงแล้ว แพทย์เองก็ต้องพบปัญหามากมาย ทั้งปัญหาในการทำงาน การทำงานที่ต้องล่วงเวลาบ่อยครั้ง หรือแม้แต่ปัญหาเรื่องเงิน ๆ ทอง ๆ อย่าง การเฝ้ารอเงินเดือนตกเบิกของแพทย์จบใหม่! แบบนี้จะเลือกบัตรเครดิตยังไงดี? มีบัตรเครดิต แพทย์ 2564 ที่ผ่านมาแนะนำไหม? วันนี้เรามีคำตอบ!
ส่องเงินเดือนเหล่าแพทย์ ได้เงินเดือนเท่าไหร่?
จริงหรือหลอก ที่เขาบอกว่าหมอเงินเดือนเยอะ? โดยพื้นฐานแล้วเงินเดือนของหมอ หรือเหล่าแพทย์จบใหม่ จะเริ่มต้นเฉลี่ยที่ 18,000 บาท โดยเงินเดือนนั้นจะมีการปรับเพิ่มขึ้นตามอายุงาน เช่นเดียวกับอาชีพอื่น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นแพทย์ที่จบเฉพาะทาง หรือมีความชำนาญที่มากขึ้น
แต่สิ่งที่ทำให้เงินเดือนดูเยอะกว่าอีกชีพอื่น ๆ เพราะเหล่าแพทย์จะได้รับเงินจากส่วนอื่น ๆ เพิ่มเติมด้วย โดยแพทย์จบใหม่ในโรงพยาบาลรัฐฯ จะได้เงินเพิ่ม ดังนี้
- เงินP4P (Pay for Performance)
หรือเงินตอบแทนจากหน้าที่การงานที่ทำ โดยจะขึ้นอยู่กับปริมาณงาน, เคสคนไข้ที่ตรวจ และประเมินกลายเป็นตัวเงิน จะพิจารณาจากจำนวนการตรวจคนไข้ผู้ป่วยนอก, การตรวจผู้ป่วยใน, การทำหัตถการ(ผ่าตัด), ประชุมวิชาการเฉลี่ยอยู่ที่ราว ๆ 7,000 – 15,000 บาท
- เงินประจำตำแหน่ง (พ.ส.ต.)
คือเงินที่ให้มาสำหรับคนที่มีหน้าที่การงาน ชำนาญการ โดยแพทย์จบใหม่จะได้ที่ 5,000 บาท ส่วนแพทย์ที่จบเฉพาะทางจะได้เงินอยู่ที่ 10,000 บาท และถ้าจบสาขาที่ขาดแคลนเงินส่วนนี้จะเพิ่มขึ้นเป็นราว ๆ 15,000 บาท
- เงินค่าไม่ประกอบเวช
คือเงินที่ให้ตอบแทนสำหรับแพทย์ที่ไม่รับงานนอก หรือเปิดคลีนิค ทั้งนี้เพื่อเป็นการส่งเสริมให้แพทย์พร้อมประจำการกับทางโรงพยาบาลรัฐฯ ในส่วนนี้รัฐบาลจะจ่ายให้ 10,000 บาท
- เงินค่าเวร
ใน 1 เดือน แพทย์จะมีเวรอยู่ราว ๆ 11 เวร/เดือน (เวรวอร์ด และเวร ER) เฉลี่ยแล้ว ค่าเวรจะอยู่ที่ 15,300 บาท นอกจากนี้ ค่าเข้าเวรต่าง ๆ จะขึ้นอยู่กับโรงพยาบาลที่ประจำการด้วย
เมื่อลองคำนวนเฉลี่ยแล้ว แพทย์จบใหม่จะได้เงินเฉลี่ยราว ๆ 40,000 บาท ขึ้นไป และหากจบแพทย์เฉพาะทางเพิ่ม หรือทำงานเป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญมากยิ่งขึ้น ก็จะได้เงินต่าง ๆ มากถึง 50,000 บาท ขึ้นไป และอาจมากถึงเป็นหลัก 100,000 บาท/เดือน จึงไม่น่าแปลก ที่เหล่าแพทย์จบใหม่จะสามารถสมัครบัตรเครดิตได้แทบจะทันที เนื่องจากฐานเงินเดือนเริ่มต้นกับอาชีพอื่นๆ
แต่ถึงจะได้เงินเดือนที่มาก แต่เมื่อวิเคราะห์ดูดี ๆ แล้ว จะพบว่าชั่วโมงการทำงาน และภาระหน้าที่ที่หมอต้องทำก็มากตามไปด้วย เฉลี่ยแล้วเงินเดือนต่าง ๆ อาจได้ไม่คุ้มเสีย เพราะเนื้องานที่หนักหนา ต้องทำงานติดต่อหลายชั่วโมง บางครั้งก็แลกกับสุขภาพจิต และสุขภาพกาย นับได้ว่าเงินเดือนยังน้อย
โดยเฉพาะหากเทียบเงินเดือนกับแพทย์ในประเทศอื่น ๆ ที่นอกจากเงินเดือนเฉลี่ยเป็นเงินไทยมากถึงหลัก 300,000 กว่าบาท แถมยังมีสวัสดิการที่ดี งานล่วงเวลาน้อยกว่า หรือแม้แต่ลองเปรียบเทียบกับแพทย์จากโรงพยาบาลเอกชนในประเทศด้วยกันเอง ก็ยังได้เงินเดือนมากถึง 200,000 บาท!
ดังนั้นจึงไม่แปลก ที่หลายครั้งในโลกโซเชียลเริ่มมีการถกเถียงถึงเรื่องสวัสดิการต่าง ๆ ของผู้ที่ทำงานสาธารณสุข รวมไปถึงระบบเงินตกเบิกที่กลายเป็นข่าวอยู่บ่อยครั้ง และทำให้แพทย์จบใหม่ ข้าราชการ หรือแม้แต่เจ้าหน้าที่สาธารณสุขหลายฝ่ายต้องพบเจอกับปัญหาด้านการเงินที่ขาดมือได้ง่าย ๆ
เงินตกเบิกคืออะไร ทำไมถึงเป็นปัญหา?
มาทำความเข้าใจกันก่อนว่า ระบบราชการจะมีการตั้งเบิกจ่ายงบประมาณในแต่ละปี สำหรับข้าราชการและพนักงานราชการ แต่ถ้าเป็นลูกจ้างชั่วคราว หรือพนักงานกระทรวงสาธารณสุข ใช้เงินบำรุงของโรงพยาบาลเบิกจ่ายในแต่ละเดือน
ส่วนนี้เองที่มักเป็นประเด็นให้คนได้ถกเถียงกัน เพราะการตั้งเบิกจ่ายงบประมาณต่าง ๆ ไม่เป็นตามกำหนด ทำให้เกิดเป็นเงินตกเบิก หรือ เงินเดือนที่แพทย์ หรือข้าราชการคนอื่น ๆ ยังไม่ได้รับ เช่น
น.ส. ก เป็นแพทย์จบใหม่ เริ่มงานในโรงพยาบาลของรัฐฯมาทั้งหมด 4 เดือน แต่ปรากฎว่ามีการตกเบิกเงินทั้ง 4 เดือน หมายความว่า น.ส. ก จะไม่ได้รับเงินเดือนทั้ง 4 เดือน ต้องรอให้ทางโรงพยาบาลได้งบประมาณจ่ายเงินมาเสียก่อน จึงจะสามารถจ่ายเงินเดือนทั้ง 4 เดือน ให้ได้
โดยการจ่ายเงินตกเบิกนั้น จะจ่ายเป็นเงินก้อนเดียว อย่าง น.ส. ก แพทย์จบใหม่ได้เงินเดือนรวมกับค่าต่าง ๆ เฉลี่ยแล้วได้เดือนละ 42,000 x ระยะเวลาตกเบิก 4 เดือน = เงินที่ต้องได้คือ 168,000 บาท นั่นเอง
และจากข่าวที่ผ่านมา เคยมีการตกเบิกนานถึง 9 เดือน! จึงเกิดปัญหาข้าราชการหลายคน หรือแม้แต่ตัวแพทย์ต่าง ๆ เกิดปัญหาเงินขาดมือ ขาดสภาพคล่องทางการเงินได้ง่าย ๆ แม้ปกติทางโรงพยาบาล หรือสถานที่ราชการ จะมีกองทุนให้กู้ยืมช่วยเพิ่มสภาพคล่องทางการเงินให้ หากเงินตกเบิกมาถึงจะทำการหักลบหนี้สินให้ทันทีเลยก็จริง
แต่นี่ก็ยังเป็นประเด็นที่ต้องถกเถียงและต้องจับตาดูกันต่อไปว่าปัญหาการตกเบิกล่าช้าเหล่านี้จะได้รับการการแก้ไขอย่างไร? เพราะปัญหาเหล่านี้อาจทำให้ในอนาคตเกิดการรั่วไหลของบุคลากรต่าง ๆ จากภาครัฐฯ ย้ายไปทำงานภาคเอกชน หรือเลิกทำอาชีพได้
แบบนี้แพทย์จบใหม่ เลือกบัตรเครดิตยังไงดีนะ?
จริงอยู่ที่บางโรงพยาบาลอาจจะมีทุนสำรองที่คอยจ่ายเงินบางส่วนก่อน เพื่อให้เหล่าแพทย์จบใหม่ได้นำเงินไปหมุนเวียนใช้ในชีวิตประจำวัน หรือมีการตกลงให้กู้ยืมเงินบางส่วนก่อน แล้วค่อยนำเงินตกเบิกมาจ่ายคืน แต่บางครั้งถ้าอยากจะซื้อข้าวของที่มีราคา หรือต้องใช้จ่ายให้กับคนในครอบครัว การมีบัตรเครดิตติดตัวไว้ จะช่วยให้หมอจบใหม่เพิ่มสภาพคล่องทางการเงินในชีวิตประจำวันได้มากยิ่งขึ้น! ไม่ว่าจะเป็น การซื้อของเข้าบ้าน, การดูแลค่ารักษาพยาบาลของคนในบ้าน เป็นต้น
แต่จะเลือกบัตรเครดิตยังไง ยังคงเป็นปัญหาที่ไม่ว่าสายอาชีพไหน ๆ หรือชั่วโมงการทำงานมากน้อยเป็นปัญหายอดฮิต แน่นอนว่าแรบบิท แคร์ เราแคร์และเข้าใจคุณเป็นอย่างดี จึงได้ช่วยสรุปข้อมูลมาให้เเล้วว่า บัตรเครดิตสำหรับแพทย์จบใหม่ควรเลือกอย่างไร!
เบื้องต้นแล้ว แรบบิท แคร์ แนะนำให้เลือกใช้ตามไลฟ์สไตล์จะดีที่สุด โดยข้อดีของยื่นขอทำบัตรเครดิตด้วยอาชีพเฉพาะทาง จะช่วยให้บางบัตรอาจขอแค่บัตรประชาชนและใบประกอบโรคศิลป์ในการสมัคร โดยไม่ต้องยื่นเอกสารทางการเงินแต่อย่างใด ซึ่งบัตรเครดิต แพทย์ 2564 ที่หลายคนนิยมในปัจจุบัน จะเน้นเลือกใช้งานตามไลฟ์สไตล์เป็นหลัก ซึ่งบัตรเครดิตของซิตี้สามารถช่วยตอบโจทย์คุณได้ เช่น
- หากเป็นแพทย์ทำงานในกรุงเทพฯ เลือกบัตรเครดิตให้สิทธิพิเศษอย่างบัตรเครดิตซิตี้ ที่มีจุดเด่นด้านระบบแบ่งจ่ายรายเดือน Citi PayLite ด้วยอัตราดอกเบี้ย 0% ที่มีจุดเด่นด้านระบบแบ่งจ่ายรายเดือน 0% ตัวเลือกที่ทำให้คุณบริหารเงินได้ง่าย ๆ สบายกระเป๋า ให้คุณเป็นเจ้าของสินค้าในฝันที่ต้องการง่ายยิ่งขึ้น โดยมีร้านค้ามากมายที่เข้าร่วมรายการ
- หากเป็นแพทย์ทำงานในต่างจังหวัด เลือกบัตรเครดิตให้คะแนนสะสมหรือส่วนลดร้านค้าออนไลน์ อย่าง บัตรเครดิตซิตี้ รีวอร์ด ที่ให้คะแนนสูง x5 คะแนน ทั้งร้านอาหาร, ท่องเที่ยว, ใช้จ่ายด้วยสกุลเงินต่างประเทศ, ช่องทางออนไลน์ต่าง ๆ อาทิ Netflix, Spotify, Apple Music หรือ เมื่อใช้จ่าย Rabbit Line Pay, Lazada, Shopee, e-wallet และเลือกเปลี่ยน point เป็นเงินคืนได้เลยทันทีที่รูด
เพราะแรบบิท แคร์ เข้าใจดีถึงทุกความยากลำบากของเหล่าเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ดังนั้น เราจึงได้รวบรวมบัตรเครดิตครบทุกไลฟ์สไตล์ ไม่ว่าจะเป็น สมัครบัตรktc, สมัครบัตรเครดิตกรุงเทพ, สมัครบัตรเครดิต ttb และอื่นๆ ที่มาพร้อมโปรโมชั่นพิเศษสำหรับผู้ที่สมัครบัตรเครดิตผ่าน แรบบิท แคร์ เท่านั้น นอกจากนี้ ยังมีเจ้าหน้าที่พร้อมให้คำแนะนำในการเลือกบัตรเครดิตด้วยระบบเปรียบเทียบบัตรเครดิตที่ใช้งานง่าย แค่คลิกเช็กฐานเงินเดือน เลือกไลฟ์สไตล์ที่ชอบ เพียงเท่านี้ ก็ได้บัตรเครดิตไปใช้กันแล้ว!
สมัครง่าย อนุมัติไว แค่เลือกทำบัตรเครดิตซิตี้กับแรบบิท แคร์ คลิกเลย!
นักเขียนรุ่นไฮบริด เขียนบทความด้านการบริหารเงินส่วนบุคคลและการลงทุนต่าง ๆ กว่า 7 ปี เริ่มต้นที่งานเขียนที่ Rabbit Finance จนย้ายมาที่ Rabbit Care และ Asia Direct