7 ลิสต์ที่ควรเช็ก เมื่อต้องเปรียบเทียบบัตรเครดิต
จะทำบัตรเครดิตทั้งที ใครต่อใครก็บอกให้เปรียบเทียบบัตรก่อนทำ แต่เอ๋? เคยสงสัยกันไหมว่า การที่เราจะทำบัตรเครดิตสักใบ ต้องเช็กเปรียบเทียบอะไรบ้างนะ ถึงจะได้บัตรเครดิตที่ดี และถูกใจจริงๆ?
วันนี้ Rabbit Care ก็มี 7 ลิสต์ ดีๆ ที่คุณควรเช็กให้ชัวร์ ก่อนเปรียบเทียบบัตรเครดิตมาฝากกัน
7 ลิสต์ที่ควรเช็ก เมื่อต้องเปรียบเทียบบัตรเครดิต
เช็กไลฟ์สไตล์ และความต้องการ
อ้าว ไลฟ์สไตล์เกี่ยวอะไรกับการทำบัตรเครดิตล่ะ บอกเลยว่าเกี่ยวมากๆ เพราะบัตรเครดิตแต่ละใบ แม้จะมาจากธนาคารเดียวกัน แต่ก็มีการดีไซน์โปรโมชัน ดีไซน์การใช้งานต่างๆ ที่แตกต่างกันออกไป และเพื่อที่เราจะได้ใช้ประโยชน์อย่างสูงสุด การเลือกบัตรเครดิตที่เหมาะกับไลฟ์สไตล์จึงจำเป็นมากๆ
เช่น หากคุณมีรถยนต์ ต้องเติมน้ำมันบ่อยด้วยบัตรเครดิตเสมอ การเลือกบัตรเครดิตที่ให้แต้มสะสม โปรโมชัน หรือส่วนลดกับปั๊มน้ำมันต่างๆ เป็นพิเศษแล้ว จะช่วยให้คุณประหยัดเงินได้มากยิ่งขึ้น
หรือ ถ้าคุณชอบช้อปปิ้ง หรือมีโอกาสต้องเข้าไปทานอาหารในห้างสรรพสินค้าบ่อยๆ ลองมองหาบัตรเครดิตที่มีโปรโมชันร่วมกับห้างสรรพสินค้า หรือให้แต้มเยอะๆ ดูสิ
หรือถ้าใครที่ชื่นชอบการเดินทางบ่อยๆ ชอบเดินทางด้วยเครื่องบินเป็นประจำ บัตรเครดิตที่เน้นสะสมแต้มด้วยระยะไมล์ต่างๆ ที่สามารถนำไปเป็นส่วนลดในการซื้อตั๋วเครื่องบินในครั้งหน้า
ลองคิดดูสิ บางบัตรเครดิตจะให้ส่วนลดพิเศษ หรือเราสามารถนำแต้มสะสมพิเศษต่างๆ มาแลกคืนเป็นเงิน เป็นส่วนลดได้อีกต่างหาก ฟังแล้วดูน่าสนใจไม่น้อยเลยล่ะ
เช็กวงเงินให้ชัวร์
อ้าว ทำไมเราต้องเช็กเปรียบเทียบวงเงินด้วยล่ะ โดยปรกติแล้วการทำบัตรเครดิตจะให้วงเงินในการรูดใช้บัตรโดยอ้างอิงจากเงินเดือนของผู้ทำบัตร หากเรารูดเต็มวงเงิน ก็จะไม่สามารถรูดใช้งานบัตรเครดิตได้อีกนั่นเอง
บางธนาคารอาจจะให้วงเงินคุณแค่ 1.5 เท่า แต่บางธนาคารให้มากถึง 2 เท่า สำหรับใครที่อาจจะใช้รูดซื้อสินค้าราคาแพงหน่อย วงเงินอาจจะเต็มเร็ว ทำให้เราไม่สามารถรูดซื้อสินค้าอื่นๆ ได้
จริงอยู่ที่ขอขยายวงเงินเพิ่มเติมได้ แต่บางธนาคารก็มีเงื่อนไขที่ยุ่งยาก บางธนาคารไม่ให้คุณขยายวงเงินเพิ่มได้ง่ายๆ หรืออาจจะไม่ให้เลยอีกต่างหาก
ยกตัวอย่างกันง่ายๆ ถ้าคุณต้องไปเที่ยวเดินทางต่างประเทศ ของบางชิ้นบางอย่าง บางคนอาจจะไม่ได้อยากซื้อด้วยเงินสด การรูดซื้อด้วยบัตรเครดิต หรือจ่ายค่าโรงแรม ค่าอาหารด้วยตัวบัตรเครดิตจึงเป็นตัวเลือกที่ดี แต่ถ้าเกิดจู่ๆ วงเงินเต็มขึ้นมากลางทางละ? บรื๋อ แค่คิดก็ขนลุกแล้วล่ะ
ดังนั้น ลองเช็กกันให้ดีๆ ว่าวงเงินที่จะได้มาจากบัตรเครดิตนั้น ให้คุณได้ตามที่คุณต้องการหรือเปล่า? ไม่อย่างงั้นอาจจะผิดแผน รูดไปวงเงินเต็ม ต้องควักจ่ายด้วยเงินสดไม่รู้ด้วยนะ!
เช็กโปรโมชันต่างๆ แบบไหนเวิร์กเหมาะกับตัวเองสุด
หลายๆ บัตรเครดิต ย่อมมีโปรโมชันที่น่าสนใจอยู่แล้ว แต่สิ่งที่เราต้องเช็กเป็นพิเศษ คือการเช็กว่าโปรโมชันเหล่านั้น เป็นเพียงแค่โปรโมชันเรียกกระแส หรือเป็นโปรโมชันที่น่าสนใจระยะยาว และการทำโปรโมชันต่างๆ ระหว่างร้านค้านั้นเป็นร้านที่เราใช้บริการบ่อยบ้างรึเปล่า?
โปรโมชันไม่ใช่แค่ส่วนลดราคาในเดือนนั้นๆ เพียงอย่างเดียว แต่ยังรวมไปถึงการผ่อนซื้อสินค้าต่างๆ (เพราะบางเจ้าให้คุณผ่อน 0% นาน 10 เดือน แต่บางเจ้าไม่ให้คุณผ่อนเลย ต้องเสียดอกเบี้ย 0.8% แทน)
การได้แต้มสะสมเพิ่ม การแลกเงินคืน บางเร้านค้า คุณอาจจะได้ของแถมเพิ่ม หรือได้แต้มพิเศษขึ้นไปอีกต่างหาก
บางครั้งอาจจะไม่ใช่แค่โปรโมชันจากฝั่งบัตรเครดิตแต่เพียงอย่างเดียว ในกรณีที่ใครทำบัตรเครดิตกับเหล่าโบรกเกอร์อื่นๆ เช็กโปรโมชัน หรือสิทธิพิเศษที่เราจะได้แยก ก็ไม่เลวเลย
ก็แหม จะมีบัตรเครดิตทั้งที ก็ต้องเอาให้คุ้มหน่อย จริงไหมล่ะ?
เช็กอัตราดอกเบี้ยเสมอ
เช็กจนได้บัตรในใจคร่าวๆ แล้ว สิ่งต่อมาที่เราไม่ควรละเลยในการเปรียบเทียบบัตรเครดิต ก็คืออัตราดอกเบี้ยนี่แหละ จริงอยู่ว่า หากเราจ่ายบัตรเครดิตเต็มจำนวนในรอบบิลถัดไปทุกครั้งได้ อัตราดอกเบี้ยก็ทำอะไรเราไม่ได้ เผลอๆ บางคนไม่จำเป็นต้องเสียดอกให้ธนาคารตลอดการมีบัตรเครดิตในครอบครองด้วยซ้ำ
แต่การที่เราเช็กดอกเบี้ยเอาไว้ก่อน อย่างน้อยๆ ถ้าเกิดพลาดขึ้นมา จะได้ไม่ต้องเจ็บหนัก เสียดอกเบี้ยมากยังไงล่ะ และการเลือกบัตรเครดิตที่ดี ควรเลือกแบบที่มีอัตราดอกเบี้ยต่ำที่สุด
และแน่นอนว่าแต่ละธนาคาร หรือแม้แต่ธนาคารเดียวกัน แต่คนละประเภทบัตรเครดิต ก็ให้ดอกเบี้ยไม่เหมือนกันอีกด้วยนะ
เช็กระยะปลอดดอกเบี้ย
ทำความเข้าใจกันก่อนว่า ระยะปลอดดอกเบี้ย ก็คือ ระยะเวลาที่คุณไม่ต้องเสียดอกเบี้ยถ้าหากว่าคุณชำระบัตรเครดิตเต็มจำนวน ซึ่งเจ้าระยะปลอดดอกฯ ที่ว่านี่ ก็จะแตกต่างกันออกไปแล้วแต่ธนาคารที่ออกบัตรเครดิตเช่นกัน
แน่นอนว่า การเช็กระยะปลอดดอกฯ ที่ดี ต้องเลือกที่มีระยะปลอดดอกเบี้ยนานๆ ก็จะเป็นประโยชน์กับคุณมาก โดยปรกติแล้ว ระยะปลอดดอกฯ ที่น่าสนใจคือ 45-55 วัน (และบางเจ้าอาจให้นานถึง 60 วัน เลยทีเดียว)
เพราะจะทำให้คุณสามารถบริหารเงิน หมุนเวียนเงินต่างๆ ให้มาจ่ายค่าบัตรเครดิตได้มากขึ้น และที่สำคัญ การเลือกระยะปลอดดอกเบี้ยที่ดี ควรสอดคล้องกับระยะเวลาที่เงินเดือนเราออกเป็นประจำด้วยล่ะ
เช็กครบ ทุกวันสรุปยอด
นอกจากเรื่องระยะปลอดดอกฯ แล้ว สิ่งที่คุณควรเช็กลำดับต่อมา คือเรื่องวันสรุปยอดนี่แหละ เราแวะมาทำความเข้าใจกันก่อนว่า ระยะปลอดดอกฯ ข้างต้น จะนับจากวันสรุปยอดของเดือนก่อนหน้าจนถึงวันสรุปยอดล่าสุดทั้งหมด
หรือถ้าให้พูดให้เข้าใจง่ายๆ ว่า ทุกวันที่ 1 ของเดือน จะเป็นวันสรุปยอดของบัตรเครดิตของคุณ ต่อมาวันที่ 15 เมษายน คุณใช้จ่ายผ่านบัตรไป 8,000 บาท และวันที่ 25 เมษายน คุณใช้จ่ายไปอีก 2,000 บาท เมื่อถึงวันที่ 1 พฤษภาคม ยอดค่าใช้จ่าย 10,000 บาท ที่คุณใช้ไปในเดือนที่แล้ว จะไม่นับดอกเบี้ยจากวันที่ 1 พฤษภาคม ไปอีก 45-55 วัน นั่นเอง
แต่ทุกวันนี้ บางธนาคารจะให้คุณได้สิทธิ์เลือกวันสรุปยอดได้ด้วยนะ ลองเช็กกันให้ดีๆ มองควบคู่สอดคล้องกับระยะปลอดดอกเบี้ย หัดรูดช่วงรอบตัดบัตรให้เป็น รับรองว่าสภาพการเงินคุณจะคล่อง หมุนเงินได้ไม่มีสะดุดสุดๆ เลย
เช็กค่าธรรมเนียมต่างๆ อย่าให้พลาด
รายได้ส่วนนึงของธนาคาร ก็คือค่าธรรมเนียมต่างๆ นี่แหละ แน่นอนว่าถึงแม้คุณจะเป็นคนที่มีระเบียบวินัยสูง จ่ายครบเต็มจำนวนทุกครั้งที่ใช้บัตร แต่ก็ต้องเช็กให้ดี เพราะบัตรเครดิตบางเจ้ามีค่าธรรมเนียมรายปีให้คุณจ่าย
ไม่ใช่แค่ค่าธรรมเนียมบัตรเครดิตเท่านั้นที่คุณต้องรู้ แต่ค่าใช้จ่ายต่างๆ เกี่ยวกับบัตรเครดิตเราก็ควรรู้ไว้เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น ค่าธรรมเนียมในการชำระล่าช้า, ค่าธรรมเนียมในการทวงถามหนี้ หรือกระทั่งค่าธรรมเนียมในการกดเงินสด
หลายคนมองว่า เป็นเรื่องที่ไม่ต้องรู้ก็ได้ เพราะคิดว่า ยังไงเราก็หลีกเลี่ยงได้อยู่แล้ว แต่ในความเป็นจริง หากจำเป็น เกิดฉุกเฉินขึ้นมา จะต้องกดเงินสดจริงๆ ค่าธรรมเนียมจึงเป็นเรื่องที่เราควรรู้ จะได้ตัดสินใจได้ถูกต้อง หรือคำนวณค่าใช้จ่ายต่างๆ ได้ล่วงหน้า เมื่อต้องจ่ายเงินคืนนั่นเอง
ต้องเช็กกันหลายเรื่อง ชวนให้ยุ่งยากเหลือเกิน แต่ทุกวันนี้คุณไม่จำเป็นต้องคอยถามโปรโมชัน ถามจากเหล่าธนาคารให้ลำบากอีกต่อไปแล้ว เพราะเราสามารถเปรียบเทียบสมัครบัตรเครดิตออนไลน์ ได้ที่ Rabbit Careได้ง่ายๆ แถมให้คุณเลือกเปรียบเทียบได้ ไม่จำเป็นต้องถ่อ หรือติดต่อกับธนาคารโดยตรง
บัตรเครดิต ถ้าเลือกให้ดี เลือกให้เหมาะ รับรองได้ว่าคุณจะได้ผู้ช่วยด้านการเงินเจ๋งๆ ช่วยให้การเงินไม่สะดุด ไม่ต้องลำบากจ่ายเงินทีเดียวครั้งละก้อนโตๆ แถมใช้ให้เป็น โปรโมชันต่างๆ ยังช่วยลดราคา สินค้า ได้อีกด้วยนะ!
นักเขียนรุ่นไฮบริด เขียนบทความด้านการบริหารเงินส่วนบุคคลและการลงทุนต่าง ๆ กว่า 7 ปี เริ่มต้นที่งานเขียนที่ Rabbit Finance จนย้ายมาที่ Rabbit Care และ Asia Direct