แคร์เรื่องประกันยานยนต์

ขั้นตอนการฟ้องคดีรถชนพร้อมกฎหมายอาญา และ พ.ร.บ. จราจรที่ต้องรู้

ผู้เขียน : Thirakan T
Thirakan T

Thirakan Thongseenual เป็นนักเขียนที่มีประสบการณ์มากกว่า 3 ปี ที่ RabbitCare และ Asia Direct โดยมีความชำนาญในประกันรถยนต์ เน้นเขียนบทความที่เผยแพร่บน Blog และมีความเชี่ยวชาญด้าน SEO กว่า 4 ปี ซึ่งเป็นสิ่งที่เธอได้ใช้ในการสร้างความรู้และเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายของ RabbitCare อย่างมีประสิทธิภาพ จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ปริญญาตรี สาขา Information Technology

close
linkedin icon
แก้ไขโดย : คะน้าใบเขียว
คะน้าใบเขียว

นักเขียนรุ่นไฮบริด เขียนบทความด้านการบริหารเงินส่วนบุคคลและการลงทุนต่าง ๆ กว่า 7 ปี เริ่มต้นที่งานเขียนที่ Rabbit Finance จนย้ายมาที่ Rabbit Care และ Asia Direct

close
linkedin icon
 
Published: March 18,2024
  
 
ขั้น ตอน การฟ้องคดีรถชน

เมื่อเกิดความเสียหายจากอุบัติเหตุรถชน ฝั่งผู้กระทำผิดปฏิเสธความรับผิดชอบ ไม่ยอมรับผิด หรือค่าสินไหมทดแทนไม่เพียงพอต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง ทำให้ใครหลายคนเรียกที่จะปรึกษาทนายความเพื่อทำเรื่องฟ้องร้องเรียกร้องค่าเสียหาย แต่ขั้นตอนการฟ้องร้องคดีรถชนไม่ใช่เรื่องที่เข้าใจได้ง่าย วันนี้ แรบบิท แคร์ รวบรวมข้อมูลโดยสรุปของขั้นตอนการฟ้องคดีรถชนมาฝากกัน

คัดมาให้แล้ว! ประกันรถสุดคุ้ม จากกว่า 30 บริษัทชั้นนำ

รถของคุณยี่ห้ออะไร

< กลับไป
< กลับไป

ระบุยี่ห้อรถของคุณ

ระบุปีผลิตรถของคุณ

เตรียมคดีทั้งทางแพ่งและทางอาญา

ขั้นตอนการฟ้องคดีรถชนขั้นตอนแรกที่ต้องเตรียมพร้อมอย่างดี คือ การเตรียมหลักฐานประกอบสำนวนคดีโดยหลักฐานที่เตรียมไว้ให้ทนายความ ควรต้องครอบคลุมถึงลักษณะการเกิดเหตุ ร่องรอยหลักฐานในที่เกิดเหตุภาพถ่ายในที่เกิดเหตุ ช่องทางติดต่อพยานหรือบุคคลเกี่ยวข้องในที่เกิดเหตุภาพถ่ายพยานวัตถุและพยานแวดล้อม ตลอดจนบันทึกความเห็นของพนักงานเคลมและหัวหน้าฝ่ายเคลมที่ควรต้องสอดคล้องกับพยานหลักฐานและข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น

นอกจากนั้นแล้ว ยังต้องเตรียมข้อมูลความคุ้มครองในสัญญากรมธรรม์ประกันรถยนต์ของผู้เอาประกัน วงเงินความคุ้มครอง จำนวนและระยะการเบิกจ่ายสินไหมที่ได้จ่ายไปแล้ว เป็นต้น

ร่างคำฟ้องทั้งทางแพ่งและทางอาญา

ขั้นตอนถัดไปของขั้นตอนการฟ้องคดีรถชนจะเป็นการที่เมื่อทนายความได้พิจารณาหลักฐานครบถ้วนแล้ว ทนายความจะสรุปรายละเอียดความคุ้มครองตามที่กรมธรรมืประกันรถยนต์ระบุ พร้อมรายละเอียดการเบิกจ่ายสินไหม และทุนคุ้มครองที่เหลืออยู่อีกครั้ง และร่างคำฟ้อง โดยจะชี้แจงประเด็นที่จะใช้ในการต่อสู้คดีกับลูกความ พร้อมวิเคราะห์จุดที่ได้เปรียบเสียบเปรียบของรูปคดี

การพิจารณาคดี

ขั้นตอนสุดท้ายของขั้นตอนการฟ้องคดีรถชนทั้งหมด จะเริ่มที่ศาลมักจะเริ่มต้นจากการไกล่เกลี่ยทั้งทางแพ่งและทางอาญาก่อน โดยเปิดโอกาสให้คู่กรณีได้มีการพูดคุยเพื่อประนีประนอมยอมความกัน

ทั้งนี้ คดีอาญาที่ผู้ขับขี่รถประกันถูกฟ้อง พนักงานอัยการบรรยายฟ้องว่าประมาทฝ่ายเดียว ในขณะที่คดีอาญาที่ผู้ขับขี่รถประกันถูกฟ้องพนักงานอัยการบรรยายฟ้องว่า ผู้เสียหายขับรถด้วยความประมาทด้วย และคดีอาญาที่ผู้ขับขี่รถประกันและผู้ขับขี่รถคู่กรณีถูกฟ้อง พนักงานอัยการบรรยายฟ้องว่า ผู้ขับขี่รถประกันและผู้ขับขี่รถคู่กรณีประมาททั้งสองฝ่าย

ฟ้องคดีรถชน

กฎหมายอาญาที่เกี่ยวข้องกับขั้นตอนการฟ้องคดีรถชนโดยประมาท 

มาตรา 291

ผู้ใดกระทำโดยประมาท และการกระทำนั้นเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปีและปรับไม่เกินสองแสนบาท ทั้งนี้ อัตราโทษ แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวล กฎหมายอาญา (ฉบับที่ 26) พ.ศ. 2560

มาตรา 300

ผู้ใดกระทำโดยประมาท และการกระทำนั้นเป็นเหตุให้ผู้อื่นรับอันตรายสาหัส ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ทั้งนี้ อัตราโทษ แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติแก้ไข เพิ่มเติมประมวล กฎหมายอาญา (ฉบับที่ 26) พ.ศ. 2560

มาตรา 390

ผู้ใดกระทำโดยประมาท และการกระทำนั้นเป็นเหตุให้ผู้อื่นรับอันตรายแก่กายหรือจิตใจ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ทั้งนี้ อัตราโทษ แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติแก้ไข เพิ่มเติมประมวล กฎหมายอาญา (ฉบับที่ 22) พ.ศ. 2558

รถชน

พระราชบัญญัติจราจรทางบกที่เกี่ยวข้องกับขั้นตอนการฟ้องคดีรถชนโดยประมาท

มาตรา 4

(1) “การจราจร” หมายความว่า การใช้ทางของผู้ขับขี่ คนเดินเท้าหรือ คนที่จูง ขี่ หรือไล่ต้อนสัตว์

(2) “ทาง” หมายความว่า ทางเดินรถ ช่องเดินรถ ช่องเดินรถประจำทางไหล่ทาง ทางเท้า ทางข้าม ทางร่วมทางแยก ทางลาด ทางโค้ง สะพาน และลานที่ประชาชนใช้ในการจราจร และให้หมายความรวมถึงทางส่วนบุคคลที่เจ้าของยินยอมให้ประชาชนใช้ในการจราจรหรือที่เจ้าพนักงานจราจรได้ประกาศให้เป็นทางตามพระราชบัญญัตินี้ด้วย แต่ไม่รวมไปถึงทางรถไฟ

(3) “ทางเดินรถ” หมายความว่า พื้นที่ที่ทำไว้สำหรับการเดินรถไม่ว่าในระดับพื้นดิน ใต้ หรือเหนือพื้นดิน

(4) “ช่องเดินรถ” หมายความว่า ทางเดินรถที่จัดแบ่งเป็นช่องสำหรับการเดินรถ โดยทำเครื่องหมายเป็นเส้น หรือแนวแบ่งเป็นช่องไว้

(5) “ช่องเดินรถประจำทาง” หมายความว่า ช่องเดินรถที่กำหนดให้เป็นช่องเดินรถสำหรับรถโดยสารประจำทางหรือรถบรรทุกคนโดยสารประเภทที่อธิบดีกำหนด

(6) “ทางเดินรถทางเดียว” หมายความว่า ทางเดินรถใดที่กำหนดให้ผู้ขับรถขับไปในทิศทางเดียวกันตามเวลา

มาตรา 43

ห้ามมิให้ผู้ขับขี่ขับรถ

(1) ในขณะหย่อนความสามารถในอันที่จะขับ

(2) ในขณะเมาสุราหรือของเมาอย่างอื่น

(3) ในลักษณะกีดขวางการจราจร

(4) โดยประมาทหรือน่าหวาดเสียว อันอาจเกิดอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สิน

(5) ในลักษณะที่ผิดปกติวิสัยของการขับรถตามธรรมดา หรือไม่อาจแลเห็นทางด้านหน้าหรือด้านหลัง ด้านใดด้านหนึ่งหรือทั้งสองด้านได้พอแก่ความปลอดภัย

(6) คร่อมหรือทับเส้นหรือแนวแบ่งช่องเดินรถ เว้นแต่เมื่อเปลี่ยนช่องเดินรถ เลี้ยวรถ หรือกลับรถ

(7) บนทางเท้าโดยไม่มีเหตุอันสมควร เว้นแต่รถลากเข็นสำหรับทารก คนป่วยหรือคนพิการ

(8) โดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัยหรือความเดือดร้อนของผู้อื่น

(9) ในขณะใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ เว้นแต่การใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่โดยใช้อุปกรณ์เสริมสำหรับการสนทนาโดยผู้ขับขี่ไม่ต้องถือหรือจับโทรศัพท์เคลื่อนที่นั้น

มาตรา 54

การหยุดรถหรือการจอดรถในทางเดินรถ ผู้ขับขี่ต้องให้สัญญาณด้วยมือและแขนตามมาตรา 37 หรือไฟสัญญาณตามมาตรา 38 ก่อนที่จะหยุดรถหรือจอดรถในระยะไม่น้อยกว่าสามสิบเมตร และจะหยุดรถหรือจอดรถได้ เมื่อผู้ขับขี่เห็นว่าปลอดภัย และไม่เป็นการกีดขวางการจราจร ผู้ขับขี่ต้องจอดรถทางด้านซ้ายของทางเดินรถ และจอดรถให้ด้านซ้าย ของรถขนานชิดกับขอบทางหรือไหล่ทางในระยะห่างไม่เกินยี่สิบห้าเซนติเมตร หรือจอดรถตามทิศทางหรือด้านหนึ่งด้านใดของทางเดินรถที่เจ้าพนักงานจราจร กำหนดไว้

แต่ในกรณีที่มีช่องเดินรถประจำทางอยู่ทางด้านซ้ายสุดของทางเดินรถห้ามมิให้ผู้ขับขี่จอดรถในลักษณะดังกล่าวในเวลาที่กำหนดให้ใช้ช่องเดินรถประจำทางนั้น

มาตรา 57 

เว้นแต่จะได้มีบทบัญญัติ กฎ หรือข้อบังคับตามพระราชบัญญัตินี้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น ห้ามมิให้ผู้ขับขี่จอดรถ

(1) บนทางเท้า

(2) บนสะพานหรือในอุโมงค์

(3) ในทางร่วมทางแยก หรือในระยะสิบเมตรจากทางร่วมทางแยก

(4) ในทางข้าม หรือในระยะสามเมตรจากทางข้าม

(5) ในเขตที่มีเครื่องหมายจราจรห้ามจอดรถ

(6) ในระยะสามเมตรจากท่อน้ำดับเพลิง

(7) ในระยะสิบเมตรจากที่ติดตั้งสัญญาณจราจร

(8) ในระยะสิบห้าเมตรจากทางรถไฟผ่าน

(9) ซ้อนกันกับรถอื่นที่จอดอยู่ก่อนแล้ว

(10) ตรงปากทางเข้าออกของอาคารหรือทางเดินรถ หรือในระยะห้าเมตรจากปากทางเดินรถ

(11) ระหว่างเขตปลอดภัยกับขอบทาง หรือในระยะสิบเมตรนับจากปลายสุดของเขตปลอดภัยทั้งสองข้าง

(12) ในที่คับขัน

(13) ในระยะสิบห้าเมตรก่อนถึงเครื่องหมายหยุดรถประจำทางและเลยเครื่องหมายไปอีกสามเมตร

(14) ในระยะสามเมตรจากตู้ไปรษณีย์

(15) ในลักษณะกีดขวางการจราจร

มาตรา 61 

ในเวลาที่มีแสงสว่างไม่เพียงพอที่ผู้ขับขี่จะมองเห็นรถที่จอดในทางเดินรถได้โดยชัดแจ้งในระยะไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยห้าสิบเมตรผู้ขับขี่ซึ่งจอดรถในทางเดินรถหรือไหล่ทางต้องเปิดไฟหรือใช้แสงสว่างตามประเภท ลักษณะและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง

มาตรา 78

ผู้ใดขับรถหรือขี่หรือควบคุมสัตว์ในทางซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคล หรือทรัพย์สินของผู้อื่นไม่ว่าจะเป็นความผิดของผู้ขับขี่หรือผู้ขี่หรือควบคุมสัตว์หรือไม่ก็ตาม ต้องหยุดรถ หรือสัตว์ และให้ความช่วยเหลือตามสมควร และพร้อมทั้งแสดงตัวและแจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ใกล้เคียงทันที กับต้องแจ้งชื่อตัว ชื่อสกุล และที่อยู่ของตนและหมายเลขทะเบียนรถแก่ผู้ได้รับความเสียหายด้วย

ในกรณีที่ผู้ขับขี่หรือผู้ขี่หรือควบคุมสัตว์หลบหนีไปหรือไม่แสดงตัวต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ สถานที่เกิดเหตุ ให้สันนิษฐานว่าเป็นผู้กระทำความผิดและให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจยึดรถคันที่ผู้ขับขี่หลบหนีหรือไม่แสดงตนว่าเป็นผู้ขับขี่ จนกว่าคดีถึงที่สุดหรือได้ตัวผู้ขับขี่ ถ้าเจ้าของหรือผู้ครอบครองไม่แสดงตัวต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ภายในหกเดือนนับแต่วันเกิดเหตุ ให้ถือว่ารถนั้นเป็นทรัพย์สินซึ่งได้ใช้ในการกระทำความผิด หรือเกี่ยวกับการกระทำความผิดและให้ตกเป็นของรัฐ

ขั้นตอนการฟ้องคดีรถชน

มาตรา 157

ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา 35 มาตรา 43 (3) (4) (6) (7) หรือ (9) มาตรา 45 มาตรา 46 มาตรา 47 มาตรา 48 มาตรา 53 มาตรา 65 วรรคหนึ่ง หรือมาตรา 125 ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่สี่ร้อยบาทถึงหนึ่งพันบาท

มาตรา 160

ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา 78 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ถ้าการไม่ปฏิบัติตามมาตรา 78 เป็นเหตุให้บุคคลอื่นได้รับอันตรายสาหัสหรือตาย ผู้ไม่ปฏิบัติตามต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับตั้งแต่ห้าพันบาทถึง สองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 43 (1) (5) หรือ (8) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

คดีรถชน ประกันแต่ละชั้นคุ้มครองต่างกันอย่างไร

การคุ้มครองของประกันภัยรถยนต์ในแต่ละชั้นจะแตกต่างกันไปตามระดับความคุ้มครองที่กำหนดไว้ ประกันภัยรถยนต์ในประเทศไทยแบ่งออกเป็นหลายชั้น โดยที่ชั้น 1 ถือว่ามีความคุ้มครองสูงสุด และลดหลั่นลงไปในชั้นที่ต่ำกว่า ดังนี้คือการเปรียบเทียบความคุ้มครองในแต่ละชั้น:

1. ประกันภัยรถยนต์ ชั้น 1

ประกันภัยชั้น 1 มีความคุ้มครองที่ครอบคลุมและกว้างขวางที่สุด

2. ประกันภัยชั้น 2+

ประกันชั้น 2+ มีความคุ้มครองคล้ายคลึงกับชั้น 1 แต่ไม่ครอบคลุมเท่าทั้งหมด

3. ประกันชั้น 2

ประกันชั้น 2 ให้ความคุ้มครองพื้นฐาน โดยเพิ่มความคุ้มครองบางส่วนที่มากขึ้นจากชั้น 3

4. ประกันชั้น 3+ ราคาย่อมเยาว์

ประกันชั้น 3+ คุ้มครองเฉพาะกรณีที่มีคู่กรณีเท่านั้น

5. ประกันภัยชั้น 3

เป็นประกันภัยที่มีค่าใช้จ่ายต่ำที่สุดและคุ้มครองน้อยที่สุด

การเลือกประกันภัยที่เหมาะสม

การเลือกประกันภัยขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ เช่น

ประกันแต่ละชั้นให้ความคุ้มครองแตกต่างกัน โดยคุณควรเลือกประเภทประกันที่เหมาะสมกับการใช้งานและความเสี่ยงในการขับขี่

แรบบิท แคร์ รวบรวมแบบประกันรถยนต์จากทุกบริษัทประกันชั้นนำมาให้ได้เลือกครบจบในออนไลน์ พร้อมรับส่วนลดเบี้ยประกันสูงสุด 70% และสิทธิพิเศษที่มากกว่าซื้อตรงจากบริษัทประกันภัย ไม่ว่าจะเป็นบริการช่วยเหลือฉุกเฉินทางถนนตลอด 24 ชั่วโมง บริการรถทดแทนระหว่างรอซ่อม นานสูงสุด 3 วัน และอื่นๆ อีกมากมาย ไม่ต้องปวดหัวกับขั้นตอนการฟ้องคดีรถชน ขอรับคำปรึกษาจากเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญได้ฟรีไม่มีค่าใช้จ่ายก่อนใครตั้งแต่วันนี้ โทรเลย 1438

บทความอื่น ๆ เกี่ยวกับกฏหมายจราจร


สรุป

สรุปบทความ

ขั้นตอนการฟ้องคดีรถชน เบื้องต้นจะต้องเตรียมตัว ดังนี้

  • การเตรียมหลักฐานประกอบสำนวนคดี โดยหลักฐานที่เตรียมไว้ควรครอบคลุมถึงลักษณะการเกิดเหตุ ร่องรอยหลักฐานในที่เกิดเหตุภาพถ่ายในที่เกิดเหตุ ช่องทางติดต่อพยานหรือบุคคลเกี่ยวข้องในที่เกิดเหตุภาพถ่ายพยานวัตถุและพยานแวดล้อม ตลอดจนบันทึกความเห็นของพนักงานเคลมและหัวหน้าฝ่ายเคลมที่ควรต้องสอดคล้องกับพยานหลักฐานและข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น
  • ร่างคำฟ้องทั้งทางแพ่งและทางอาญา
  • รอกระบวนการพิจารณาคดี โดยเบื้องต้นทางศาลมักจะเริ่มต้นจากการไกล่เกลี่ยทั้งทางแพ่งและทางอาญาก่อน  และเปิดโอกาสให้คู่กรณีได้มีการพูดคุยเพื่อประนีประนอมยอมความกัน
จบสรุปบทความ

ที่มา


 

บทความแคร์เรื่องประกันยานยนต์

Rabbit Care Blog Image 98908

แคร์เรื่องประกันยานยนต์

ประกันรถบรรทุก เป็นอย่างไร ต้องเป็นรถลักษณะไหนถึงจะได้รับความคุ้มครอง

การทำธุรกิจที่ต้องใช้งานรถบรรทุกเพื่อขนส่งสินค้าทั่วประเทศ สิ่งไม่ควรมองข้ามอย่างประกันรถบรรทุกก็ได้ถูกเพิ่มเติมเข้ามา
Natthamon
30/12/2024
Rabbit Care Blog Image 98896

แคร์เรื่องประกันยานยนต์

Ambulance ต้องทำประกันหรือไม่ ? ประกันรถพยาบาล คืออะไร ?

รถพยาบาล หรือ Ambulance นั้น เป็นรถฉุกเฉินที่เราต่างก็ทราบกันเป็นอย่างดีว่าหากพบเจอบนท้องถนนนั้นจะต้องรีบหลีกทางให้
Natthamon
28/12/2024
Rabbit Care Blog Image 98516

แคร์เรื่องประกันยานยนต์

ขับ Grabcar ใช้รถรุ่นไหนได้บ้าง แล้วต้องเลือกทำประกันรถยนต์ประเภทอะไร ถึงจะได้รับความคุ้มครอง

ในยุคที่ความสะดวกสบายเกิดขึ้นทุกหย่อมหญ้า บริการ Grabcar เองก็ถือเป็นหนึ่งในสิ่งที่หลายคนเลือกใช้งาน เพื่อเดินทางไปยังสถานที่ต่าง ๆ โดยไม่ต้องขับรถออกไปเอง
Natthamon
25/12/2024